เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต



ต่อตอนที่ 2 การเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

ควรอ่านเรื่องนี้ก่อน เพื่อความต่อเนื่อง


ในสมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยได้ติดต่อทำการค้าและมีไมตรีกับชาวต่างชาติมากขึ้น ประเทศมหาอำนาจในทางการค้า และด้านการทหาร คงหนีไม่พ้นประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส แม้กระทั่งประเทศจีน ซึ่งถือว่าเป็นประเทศศูนย์กลางอำนาจทางการค้า ยังต้องพ่ายแพ้ให้แก่ประเทศอังกฤษจนต้องสูญเสียเกาะฮ่องกงให้แก่ประเทศอังกฤษไป
การล่มสลายของประเทศจีนในครั้งนั้น ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศไทย ซึ่งสร้างความลำบากพระทัยให้แก่ในหลวงรัชกาลที่ 4 เป็นอย่างมาก ด้วยจีนนั้นเป็นประเทศที่ไทยเองยังยอมส่งบรรณาการให้ แต่กลับมาพ่ายแพ้แก่ฝรั่งอั้งม้อ คือประเทศอังกฤษ ทำให้ไทย จำต้องเดินหน้าเข้าสู่วงจรอำนาจของประเทศอังกฤษด้วยการทำสนธิสัญญาเบาวริ่ง ดูเหมือนจะเป็นการผูกมิตรเพื่อให้การค้านำการรบประเทศไทยจึงยังคงเป็นเอกราชมาได้โดยไม่ถูกยึดดินแดนเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ

อันที่จริงสนธิสัญญาเสรีทางการค้านั้น มิได้เพิ่งมาริเริ่มทำกันในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่ก่อนหน้านี้ในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็ได้เคยมีการทาบทามเพื่อทำสัญญาการค้าเสรีแล้ว แต่พระองค์ไม่ทรงเห็นด้วยที่จะทำการค้าอย่างเสรีด้วยเห็นว่า สยามจะเสียเปรียบฝรั่ง แต่เมื่อประเทศจีนยังแพ้แก่อังกฤษในสงครามฝิ่น ประเทศสยามจึงต้องจำยอมที่จะทำสัญญาการค้าเสรีกับอังกฤษ ดังนั้น เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระราชินีแห่งอังกฤษได้ส่ง เซอร์จอห์น เบาริ่ง เข้ามาทำสนธิสัญญาการค้าเสรี จึงสามารถตกลงกันได้สำเร็จ และตั้งชื่อสนธิสัญญาฉบับดังกล่าวว่า “สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง”
นอกจากข้อตกลงเรื่องการค้าในสนธิสัญญาเบาว์ริ่งแล้ว ยังมีข้อตกลงที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีในกรณีคนในบังคับของอังกฤษกระทำความผิดในประเทศไทยไม่ต้องขึ้นศาลไทย แต่ให้ขึ้นศาลกงสุลของประเทศอังกฤษแทน นับว่าเรื่องนี้นำความขมขื่นใจมาสู่คนไทยเป็นอย่างมาก หากคนในบังคับอังกฤษมาทำการปล้นฆ่า ข่มขืนคนไทย แต่กลับไม่ต้องถูกพิพากษาและลงโทษตามกฎหมายไทยโดยศาลไทย ทำให้ประเทศไทยเสียอำนาจอธิปไตยทางศาลอย่างรุนแรง ต่อมา สนธิสัญญาเบาว์ริงได้กลายเป็นแม่แบบของการที่ประเทศอื่น เข้ามาทำสัญญาแบบเดียวกันอย่างรวดเร็ว มีทั้งหมด 14 ประเทศที่ทำสนธิสัญญากับสยามตามลำดับ

1856 สหรัฐอเมริกา

1856 ฝรั่งเศส

1858 เดนมาร์ค

1859 โปรตุเกศ

1860 เนเธอร์แลนด์

1862 เยอรมนี

1868 สวีเดน

1868 นอรเวย์

1868 เบลเยี่ยม

1868 อิตาลี

1869 ออสเตรีย-ฮังการี

1870 เสปน

1898 ญี่ปุ่น

1899 รัสเซีย

ปัญหานี้ ยังความขมขื่นพระราชหฤทัยแก่พระมหากษัตริย์ไทยเป็นอย่างมาก จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ดำเนินการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ โดยเสด็จเยือนประเทศต่างๆ เพื่อกระชับไมตรี และทรงส่งพระราชโอรสไปร่ำเรียนยังต่างประเทศเพื่อให้รู้ถึงขนบธรรมเนียมของประเทศต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนาประเทศไทย พระราชโอรสพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ พระโอรสในเจ้าจอมมารดาตลับ ได้ถูกส่งไปเรียนกฎหมายยังประเทศอังกฤษ สภาพบ้านเมืองตอนนั้น สยามประเทศ เป็นที่หมายตาของนาๆ ประเทศ ดีที่ว่า พระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชอัจฉริยภาพผูกไมตรีกับนาๆ ประเทศไว้แล้ว จึงไม่มีประเทศใดกล้าหักหาญน้ำใจแย่งชิงแผ่นดินไทยได้ แต่อย่างไรก็ดี ฝรั่งเศสซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจ ก็ใช้อุบายยึดเอาสิบสองจุไทยของเราไปได้เป็นแห่งแรก และนำมาซึ่งการเสียดินแดนอีกหลายแห่งเป็นลำดับต่อมา รวมถึงการเสียแหลมมาลายูให้แก่อังกฤษด้วย

ผลจากการเสียดินแดน ทำให้คนที่เคยอยู่ในบังคับของศาลไทย ย้ายไปอยู่ในบังคับของศาลกงสุลอังกฤษและฝรั่งเศส การเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางศาลยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ความวุ่นวายในการศาลของบ้านเมืองยิ่งมีมากขึ้น ดังนั้น เมื่อพระราชโอรสได้เสด็จกลับมาจากการเรียนกฎหมายที่ประเทศอังกฤษ จึงทรงปรึกษากับพระราชโอรสและพระเจ้าน้องยาเธอทบทวนกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย และยอมรับว่ากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของไทยนั้นล้าหลังและป่าเถื่อนไม่เหมือนกับนาๆ อารยะประเทศ จึงทรงมีพระราชวินิจฉัยให้ปรับปรุงกฎหมายเสียใหม่ ในครั้งนั้น ทรงลำบากพระทัยในการเลือกระบบกฎหมายว่าจะใช้ คอมมอนลอว์แบบอังกฤษ หรือซีวิลล์ลอว์แบบฝรั่งเศสดี พระราชโอรสซึ่งทรงร่ำเรียนกฎหมายมาจากอังกฤษมีความชำนาญในด้านกฎหมายอังกฤษมากกว่า ทรงเสนอให้เลือกกฎหมายแบบอังกฤษ แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าประเทศไทยยังไม่มีคำพิพากษาที่จะนำมาเป็นบรรทัดฐานเพื่อให้เป็นกฎหมายได้อย่างประเทศอังกฤษ ทั้งการสั่งสมคำพิพากษาแต่ละคดีจนเป็นกฎหมายได้นั้น ต้องใช้เวลานาน จึงทรงเลือกใช้ประมวลกฎหมายแบบอย่างประเทศฝรั่งเศส และไม่มีวิธีการอื่นใดที่จะทำได้เร็วไปกว่าการ “ลอก” กฎหมายของประเทศที่ใช้ซิวิลล์ลอว์อยู่ก่อนแล้ว จึงได้ทรงพระกรุณาแต่งตั้งคณะกรรมการร่างกฎหมายที่ประกอบด้วยนักกฎหมายไทยและต่างประเทศทำการร่าง (หรือบางทีอาจจะเรียกว่าลอก แต่มิใช่ลอกทั้งหมด เพียงแต่ใช้เป็นแม่แบบ) กฎหมายของประเทศต่างๆ เช่น ประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ซึ่งสามารถทำการร่างเสร็จภายในเวลาเพียง 11 ปี

ในด้านการศึกษากฎหมายไทย พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ (พระบิดา) ได้ทรงเปิดโรงเรียนกฎหมาย และทรงทำหน้าที่เป็นครูด้วยพระองค์เอง โรงเรียนกฎหมายนั้น ปัจจุบันคือ เนติบัณฑิตไทย ผลิตนักกฎหมายไทยอย่างมีคุณภาพ

ในด้านวิธีพิจารณาคดี ในหลวงทรงเลือกแบบของอังกฤษ รวมถึงระบบศาลเดี่ยวแบบอังกฤษด้วย เหตุที่พระราชโอรสทรงจบจากประเทศอังกฤษ เรียนรู้และเข้าใจระบบศาลของอังกฤษ และระบบวิธีพิจารณาแบบอังกฤษได้เป็นอย่างดี ทำให้ประเทศไทยใช้ระบบวิธีพิจารณาแบบกล่าวหา คู่กับระบบกฎหมายแบบซีวิลลอว์ ซึ่งมีลักษณะผิดฝาผิดตัว นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ด้วยการแก้ปัญหาโดยวิธีเลือกใช้ระบบกฎหมายแบบฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสและประเทศซีวิลลอว์ ยอมรับและไม่มีปัญหาในด้านกฎหมายและศาลกับประเทศไทยอีกต่อไป ส่วนในด้านระบบวิธีพิจารณาและระบบศาล การเลือกแบบอังกฤษ ทำให้ประเทศอังกฤษพอใจและยอมรับระบบกฎหมายและระบบศาลของประเทศไทย นับแต่นั้นมา สิทธิสภาพนอกอาณาเขตของประเทศต่างๆ จึงสิ้นสุดไป ต่างพากันยอมรับกฎหมายและการวินิจฉัยคดีของศาลไทยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น