เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มหาอำนาจโบราณ กลุ่มประเทศเสี่ยงล้มละลายใหม่ในยุโรป

PIGS : มหาอำนาจโบราณ กลุ่มประเทศเสี่ยงล้มละลายใหม่ในยุโรป

Posted Image

เอเธนส์, กรีซ : เหตุจลาจลเผาเมืองครั้งล่าสุดจากความไม่พอใจการตัดลดงบประมาณค่าจ้างของภาค รัฐ เพื่อขอความช่วยเหลือจาก IMF และกลุ่มประเทศยูโรโซน ชวนให้คิดถึงภาวะ Ochlocracy(οχλοκρατία) ที่ปรากฏในหนังสือเรื่อง Historie ของ Polybius(200 – 117 BC) ซึ่งเป็นภาวะฝูงชนที่ไม่พอใจการปกครองของรัฐเริ่มเข้าทุบทำลาย เผาศาสนสถานและหน่วยงานรัฐเพื่อล้มล้างรัฐบาลอันไม่น่าพึงพอใจเสียโดยขาด ความยับยั้งชั่งใจและหลักกฎหมาย เห็นได้ว่าเมื่อประชาชนไม่พอใจ “รัฐ” ที่ไม่อาจตอบสนองความต้องการของพวกเขาเสียแล้ว ลักษณะธรรมชาติของมนุษย์และสังคมก็ไม่เปลี่ยนแปลงอะไรไปเลยนับแต่ครั้งโบราณ

Posted Image

โรม, อิตาลี : ปัญหาโจรล้วงกระเป๋าในเขตท่องเที่ยวของกรุงโรม เป็นที่รู้จักกันดีและทางการก็ประกาศเตือนให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก จำนวนมิจฉาชีพในกรุงโรมก็เพิ่มขึ้น ความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างอิตาลีภาคเหนืออันเป็นแหล่งอุตสาหกรรมการค้า และแหล่งท่องเที่ยว เมื่อเปรียบเทียบกับอิตาลีตอนใต้ที่เป็นแหล่งเกษตรกรรมและประมงก็มีช่องว่าง ถ่างขยายอย่างรวดเร็ว ชาวอิตาลีตอนเหนือเริ่มไม่พอใจที่รัฐบาลนำเงินภาษีของตนไปอุ้มการพัฒนาและ อุดค่าใช้จ่ายภาครัฐในอิตาลีตอนล่าง รวมถึงปัญหามาเฟียที่เหิมเกริมมากขึ้นจากการเข้าถึงแหล่งทุนนอกกฎหมายในภาวะ เศรษฐกิจถดถอย คล้ายกับว่าอิตาลีได้ย้อนกลับไปในยุคนครรัฐยุคกลาง ที่เหล่านครอันเจริญรุ่งเรืองทางเหนือ ทั้งมิลาน ฟลอเรนซ์ เจนัว เวนิซ ตั้งข้อรังเกียจและกีดกันนครทางใต้จนอิตาลีอ่อนแอลง

Posted Image

มาดริด, สเปน : การทุ่มเงินมหาศาลซื้อคริสเตียโน โรนัลโด เข้ามาอยู่ในทีมเรอัล มาดริด เหมือนจะไม่ได้ช่วยให้ทีมฟุตบอลที่โด่งดังแห่งนี้ประสบความสำเร็จในเวที ยุโรปฉันใด การเทเงินของธนาคารกลางสเปนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศก็ไม่ประสบความ สำเร็จเช่นเดียวกับทีมเรอัล มาดริด ฉันนั้น ภาวะขาดดุลการคลังของสเปนที่ต่อเนื่องประกอบกับภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผล กระทบจากวิกฤตการเงิน ทำให้กรุงมาดริดเต็มไปด้วยมิจฉาชีพไม่แพ้กรุงโรม แม้ว่าภาวะเงินเฟ้อจะยังต่ำอยู่เนื่องจากการใช้เงินสกุลยูโร แต่เมื่อชาวบ้านเริ่มอดอยาก ความมั่นคงของรัฐก็เริ่มสั่นคลอน ไม่แตกต่างไปจากการล้มเหลวของเศรษฐกิจช่วงปลายยุคล่าอาณานิคมจากผลของการ ปล้นทองคำแห่งอินคามาใช้อย่างฟุ่มเฟือยในยุโรป

Posted Image

ลิสบอน, โปรตุเกส : มหานครแห่งการสำรวจในศตวรรษที่ 17-18 กลับเงียบเหงาลงถนัดตา เมื่อเหล่าเรือใบสามเสาหมดสิ้นมนต์ขลังแห่งการค้า โปรตุเกสประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอยพร้อมๆกับสเปน หลังจากเสียเมืองท่าอาณานิคมสำคัญในอินเดียอย่าง Gao ให้แก่อังกฤษ เศรษฐกิจกว่า 60% ของโปรตุเกสก็ต้องผูกติดอยู่กับการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านในคาบสมุทรไอบี เรียที่พรมแดนติดกันมาตั้งแต่ช่วงปลายยุคอาณานิคม หนึ่งในสามของพันธบัตรรัฐบาลโปรตุเกสถูกครอบครองโดยรัฐบาลสเปน และเมื่อเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่งทรุดลง ทั้งสองประเทศก็เสียหายไปพร้อมกันเช่นเดียวกับการล่มลงของกองเรือผสมอาร์มาดา

กลุ่ม PIGS หรือกลุ่มประเทศเศรษฐกิจยุโรปใต้ ถูกเรียกขานครั้งแรกในปี 1997 และถูกนำมาใช้เมื่อวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจเริ่มปะทุขึ้นที่สหรัฐอเมริกา ในปี 2007 เนื่องจากทั้งสี่ประเทศ ได้แต่ โปรตุเกส อิตาลี กรีซ และสเปน เป็นประเทศที่มีหนี้สินภาครัฐสูงเมื่อเทียบกับ GDP โดยนักลงทุนมองว่าทั้งสี่ประเทศมีความเสี่ยงสูง และให้ค่าความเชื่อมั่นในพันธบัตรต่ำ จึงเป็นที่จับตามองของทั้งนักธุรกิจ นักการเงิน และนักการเมืองของยุโรปเรื่อยมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศยูโรโซนที่เกรงว่าหากทั้งสี่ประเทศนี้ประสบ ปัญหา จะพลอยทำให้ความฝันการรวมยุโรปตามปฏิญญาลิสบอนพังทลายลงไปอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มอย่างจริงจัง

ประเทศที่มีปัญหาหมักหมมและหนักหนาสาหัสที่สุดในกลุ่มนี้คือประเทศกรีซ กรีซมีหนี้สาธารณะอยู่ 2.36 แสนล้านเหรียญคิดเป็น 113.40% ของ GDP ซึ่งมองดูอาจจะน้อยถ้าเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นซึ่งมีหนี้สาธารณะอยู่ 192.10% ของ GDP แต่ปัญหาของกรีซคือ หนี้ทั้งหมดนั้นเป็นหนี้ต่างประเทศ แตกต่างจากญี่ปุ่นที่เป็นหนี้ภายในประเทศ หรือเป็นเงินออมของคนกันเอง อีกทั้งหนี้ของกรีซเป็นหนี้ภาครัฐมากกว่าหนี้ภาคเอกชน หมายความว่ารัฐบาลกรีซต้องหาเงินมาใช้หนี้ที่ตัวเองกู้ไว้ในอดีตมาจ่ายพร้อม ดอกเบี้ย ซึ่งเป็นดอกเบี้ยอัตราสูงในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น โดยที่ประเทศกรีซเองขาดสมรรถภาพในการหาเงินเข้าประเทศ ลองกวาดสายตาดูรอบตัวเราสิครับว่า เรามีสินค้าอะไรที่นำเข้าจากประเทศกรีซบ้าง แน่นอนว่าคงหาไม่เจอ เพราะรายได้หลักของประเทศกรีซมาจากการส่งออกน้ำมันมะกอกและการท่องเที่ยว และหลังจากกรีซเข้าร่วมใช้เงินยูโรโดยนักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักเตือนว่า เศรษฐกิจของกรีซเองยังไม่เข้มแข็งพอที่จะใช้เงินตราที่แข็งค่าจนทำให้ขีด ความสามารถในการแข่งขันลดต่ำลงขนาดนั้น กรีซยังก่อหนี้มากมายโดยเฉพาะการทุ่มทุนให้กับการสร้างสนามกีฬาและการจัด โอลิมปิก 2004 ที่ขาดทุนย่อยยับและต้องเสียค่าบำรุงรักษาทุกปีไปเปล่าๆ

แม้ว่าในตอนนี้ (ต้นมิถุนายน 2010) ทั้ง IMF และกลุ่มประเทศยูโรโซน จะลงมติให้เงินช่วยเหลือแก่รัฐบาลกรีซในการกอบกู้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ แล้วกว่า 8 แสนล้านยูโร แต่ก็เหมือนเป็นการเติมเชื้อไฟให้กับภาวะความไม่มั่นคงทั้งทางเศรษฐกิจที่ ลามไปถึงการเมืองของกรีซเข้าเสียอีก เพราะทั้ง IMF และ ยูโรโซน ยื่นเงื่อนไขว่าก่อนจะช่วยต้องลดการขาดดุลเสียก่อน ไม่งั้นช่วยเท่าไรก็ถมไม่เต็ม และทางเลือกของกรีซในการแก้ปัญหางบประมาณขาดดุลก็เหมือนกับการแก้ปัญหาเงิน ไม่ทันใช้ของคนธรรมดานี่ล่ะครับ คือถ้าไม่ลดรายจ่าย ก็ต้องเพิ่มรายได้ ในเมื่อรายได้จากสินค้าส่งออกของกรีซดูมืดมนหมดหนทางขายของเพิ่ม ก็ต้องหั่นรายจ่ายของตัวเองทิ้ง และรายจ่ายที่ตัดง่ายที่สุดเห็นทีจะไม่พ้นเงินเดือนของข้ารัฐการ และลูกจ้างรัฐต่างๆนั่นเอง

ทีนี้ก็จลาจลเป็นการใหญ่ล่ะครับ ไม่มีใครจะอยากได้เงินน้อยลงหรอก ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะโฆษณาประชาสัมพันธ์บอกว่าเป็นเรื่อง “ช่วยชาติ” แต่ถ้า “ช่วยชาติ” แล้วต้องอดมื้อกินมื้อ คนก็คงต้องดิ้นรนเพื่อปากท้องของตัวเองมากกว่าประเทศชาติที่เอาเงินไปใช้ทาง ไหนก็ไม่รู้ หรือรู้ทั้งรู้แต่ก็ได้สมยอมมานานแล้วสักเท่าไร งานนี้ก็เผาบ้านเผาเมืองไปหลายจุดจนมีคนเจ็บคนตายไปเหมือนกัน (แต่ก็ใช้ตำรวจปราบจลาจลและกระบองบวกแก๊สน้ำตานะครับ ไม่ได้ใช้ M16 หรือสไนเปอร์) รัฐบาลกรีซเองก็ตกที่นั่งลำบากถูกบีบทั้งภายในและภายนอก ถ้าไม่ตัดรายจ่ายก็ล้มละลาย ถ้าตัดรายจ่ายรัฐบาลก็ล้มเหลว ว่าไปก็เหมือนเกือบๆจะเสียเอกราชไปกลายๆแล้วทีเดียว

Posted Image
การจลาจลในกรุงเอเธนส์ มีนาคม 2010 : Gettyimages

เมื่อกรีซมีปัญหาหนัก กลุ่มประเทศยุโรปที่ใช้เงินยูโร ที่เรียกกันว่ายูโรโซนก็อ่วมอรทัยไปตามๆกัน เมื่อนักลงทุนไม่เชื่อมั่นในการแก้ปัญหาของ IMF ยูโรโซน และรัฐบาลกรีซ ก็พากันเทขายพันธบัตรกรีซ, สินค้าโภคภัณฑ์ที่มีความเสี่ยง เช่น น้ำมัน, สินค้าเกษตร, และ หุ้น ทิ้ง พาให้ตลาดทุนดิ่งเหวกันระนาวทั่วยุโรป และการที่นักลงทุนหันไปซื้อสินค้าที่มีความมั่นคงสูงอย่างทองคำก็ทำให้ราคา ทองคำแท่งทะยานขึ้นไปเรื่อยๆ ยิ่งเป็นปัญหาต่อการหาทองคำแท่งไปประกันเงินตราเข้าไปใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ PIGS ที่ไม่สามารถออกธนบัตรมาเองหลังจากเข้าร่วมกับยูโรโซน ทำให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศไม่มีอำนาจควบคุมสภาพการเงินภายในประเทศของ ตัวเองจนกว่าจะหาทองคำไปประกันและส่งเรื่องให้ธนาคารกลางยุโรปพิมพ์เงินยูโร เพิ่มให้รัฐบาลของตนมาใช้จ่าย แต่รัฐบาลก็ไม่มีปัญญาหาเงินไปซื้อทองคำแท่งที่มีราคาสูงเสียแล้วกลายเป็น วัฏจักรมรณะที่ฉุดให้เศรษฐกิจภาพรวมของทั้งกลุ่ม PIGS และยูโรโซนสาละวันเตี้ยลงและค่าเงินยูโรก็อ่อนลงอย่างรวดเร็ว จนถึงตอนนี้ถ้าเทียบกับเงินบาทแล้ว 1 ยูโรแลกได้เพียง 39 บาท จากต้นปีที่แลกได้กว่า 47 บาท ทำให้หนี้ในสกุลเงินตราต่างประเทศทวีค่าทบขึ้นไปอีกเรื่อยๆ ไม่ต่างกับวิกฤตต้มยำกุ้งที่ส่งผลต่อเงินบาทไทยนัก

อีกสามประเทศที่เหลือ เหตุการณ์มีความแตกต่างกันไปตามสถานภาพของแต่ละประเทศ อิตาลีมีข้อได้เปรียบในเรื่องอุตสาหกรรมและการส่งออก สเปนมีหนี้สาธารณะในระดับต่ำที่สุด แต่อย่างไรก็ดี ทั้งสี่ประเทศนี้มีหนี้สาธารณะผูกพันไขว้กันไปมาจนแกะไม่ออก ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งล้มละลาย งดการจ่ายหนี้หรือ Debt Moratorium ไป จะทำให้ดุลบัญชีของประเทศอื่นๆเสียหายทันที เพราะต้องกันเงินส่วนหนึ่งไว้สำรองหนี้เสีย และเศรษฐกิจก็จะติดขัดต่อกันเป็นลูกโซ่ นักเศรษฐศาสตร์และนักการเงินแสดงความเป็นห่วงอย่างยิ่งต่อประเทศอิตาลีว่า อาจเป็นรายต่อไปหากกรีซประกาศยุติการชำระหนี้จริงๆ เพราะยอดหนี้สาธารณะของอิตาลีสูงสุดกว่า 1.4 ล้านล้านเหรียญเป็นหนี้ต่างประเทศกว่า 8.96 แสนล้านเหรียญ หรือ 101% ของ GDP ซึ่งยูโรโซนและ IMF เองก็อาจไม่มีปัญญาจะหาเงินมาอุ้มภาวะเศรษฐกิจของอิตาลีได้ และเสถียรภาพของรัฐบาลอิตาลีเองก็ง่อนแง่นหากนายกรัฐมนตรีจอมเจ้าชู้ อย่างซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ที่ทำให้ผู้เสีย ภาษีส่วนมากในภาคเหนือไม่พอใจอย่างรุนแรงได้

Posted Image
แผนผังแสดงหนี้ที่ไขว้กันไปมาระหว่างกลุ่ม PIIGS : NYTIMES

สภาพการณ์ในสเปนและโปรตุเกสนั้นดำรงอยู่เป็นคู่ขนานกัน ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งยังยืนหยัดได้ อีกประเทศก็จะพลอยรอดไปด้วย แต่ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งพลาดท่าล้มลงล่ะก็จะพาลทำให้ล้มกันทั้งสองประเทศ เช่นกัน แม้ว่าหนี้สินต่างประเทศของสเปนจะต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับ GDP คือ 56.6% แต่ยอดหนี้ที่มหาศาลไม่แพ้อิตาลีที่ 1.1 ล้านล้านเหรียญก็อาจทวีค่ามากขึ้นในชั่วข้ามคืนหากค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง อย่างรุนแรง และสิ่งที่ตามมาจากวิกฤตที่เกิดขึ้นคือความไม่มั่นคงทางการเมืองทั้งใน ประเทศที่ประสบปัญหา และประเทศที่ให้การช่วยเหลือ เช่น เยอรมัน ที่พรรคพันธมิตรคริสเตียนเดโมแครตของนางแมร์เคิล เสียที่นั่งในสภาไปจำนวนหนึ่งเนื่องจากประชาชนไม่พอใจที่นำภาษีของชาว เยอรมันที่ขยันขันแข็งไปช่วยเหลือประเทศที่ชาวเยอรมันมองว่าเกียจ คร้านอย่างกรีซ

นอกจากกลุ่ม PIGS สี่ประเทศ นักวิเคราะห์ยังจับตามองอีกสองประเทศอย่างใกล้ชิดด้วยเกรงว่าหนี้สินสาธารณะ และภาวะถดถอยจะลุกลามไปถึง คือ ไอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร บทความจากหลายสำนักได้ขยายการจับตาเป็นกลุ่ม PIIGGS (I – Ireland และ G – Great Britain) เนื่องจากทั้งไอร์แลนด์และสหราชอาณาจักรมีหนี้สินต่างประเทศเมื่อเทียบกับ GDP สูง และศักยภาพในการแข่งขัน ส่งออก ต่ำลง ไอร์แลนด์ได้ทุ่มทุนกับการศึกษาและการลดภาษีเพื่อดึงดูดธุรกิจไฮเทคในช่วง ต้นทศวรรษที่ 2000 จนงบประมาณขาดดุลสะสมมาก ส่วนอังกฤษเสียงบประมาณรั่วไหลไปให้กับระบบสาธารณสุขและสวัสดิการสังคมอย่าง ต่อเนื่อง เมื่อฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์และธุรกิจการเงินแตกลง เงินในระบบที่หายไปจึงเริ่มแสดงอิทธิฤทธิ์ในภาคเศรษฐกิจจริง

Posted Image

แผนที่แสดงหนี้ต่างประเทศต่อ GDP ของประเทศในยุโรป : BBC-Eurostat

ทั้งโลกจึงจ้องจับตาการเคลื่อนไหวของ ยูโรโซนกับการแก้ไขปัญหานี้อย่างใกล้ชิด ก่อนที่จะกระจายตัวเป็นวงกว้างจนควบคุมไม่ได้เหมือนสมัยทศวรรษที่ 1930’s ซึ่งเริ่มต้นจากวิกฤตภาคการเงินในอเมริกา ก่อนจะนำไปสู่ลัทธิกีดกันการค้า ชาตินิยมฟาสซิสม์ และสงครามโลกในไม่ถึงสิบปีนับจากแบล็คมันเดย์ในวอลสตรีตปี 1929

หวังว่าประวัติศาสตร์จากประเทศเก่าแก่โบราณเหล่านี้จะ สอนเราได้ และมนุษย์จะไม่เดินไปในหนทางหายนะร่วมกันอีกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น