เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ดีเอสไอ ลุยใช้ พ.ร.บ.คอมฯ เล่นงานมือป่วนเน็ต เต็มรูปแบบ

ดีเอสไอ ลุยใช้ พ.ร.บ.คอมฯ เล่นงานมือป่วนเน็ต เต็มรูปแบบ






นับถอยหลัง "23 สิงหา" ดีเดย์ ประกาศ พ.ร.บ.คอมฯ มีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ "ญาณพล" เชื่อมั่นสาวถึงตัวมือป่วนเน็ต มือส่งภาพ-คลิปโป๊ เน้นเก็บข้อมูลการจราจรทางเน็ต ขู่ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 5 แสน

หลังจาก 1 ปีที่ พ.ร.บ.คอมฯ มีผลบังคับใช้ มาแล้วนั้น ให้จับตา 23 สิงหาคม นี้ เพราะประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะมีผลบังคับเต็มรูปแบบ ให้ทุกหย่อมหญ้า ผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต เล็ก-ใหญ่ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ สถานศึกษา ไม่เว้นร้านเน็ต เกมออนไลน์ ทั่วประเทศ ที่ได้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลหรือลูกค้าในองค์กร ต้องเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 90 วัน "ดีเอสไอ" เชื่อสาวถึงตัวป่วนเน็ต และพวกชอบส่ง-อัพโหลด ภาพลามก เผยองค์กรใดไม่ทำตาม เตรียมรอโทษปรับ 5 แสนบาท

ปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเมืองและโลกการค้า การบริโภคข้อมูลข่าวสาร ที่ต้องการความฉับไวเป็นอันดับต้นๆ แต่ความรวดเร็ว ฉับไวนั้นก็มาพร้อมๆ กับความเสี่ยงและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจทำให้ "ความลับ" ที่เป็นส่วนตัวของคน และองค์กร ถูกนำมาใช้โดยมิชอบหรือเพื่อประโยชน์ด้านอื่น หรือถูกก่อกวนเพื่อให้เกิดความผิดพลาดเสียหาย นำไปสู่การสูญเสีย ชื่อเสียง ภาพพจน์ ทรัพย์สิน และบางครั้งอาจรวมถึงชีวิตของคนที่เรารักก็เป็นได้ ความเสียหายเหล่านี้กระทบกระเทือนต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน

ดังนั้น ความสำคัญของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์และอาจก่อให้เกิดความเสียหายนี้ จึงได้รับความสำคัญจากภาครัฐได้ตราเป็น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ขึ้น และเริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่ 18 กรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมา โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้มีประกาศกระทรวงไอซีที ถึงระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน เมื่อ 23 สิงหาคม 2550

หนึ่งปีเต็มสำหรับผลการบังคับใช้ พ.ร.บ. ดังกล่าว แต่การสืบสวนสอบสวนเพื่อติดตามตัวผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวมารับโทษยังมีข้อจำกัดหลายด้าน โดยเฉพาะข้อจำกัดด้านความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสืบสวนสอบสวนนำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงได้ออกประกาศกระทรวงฯ ให้กลุ่มองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ทยอยดำเนินการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ไว้ไม่น้อยกว่า 90 วัน ซึ่งคำว่า "ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์" นั้นหมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น

โดยกลุ่มแรกที่ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.นี้แล้ว คือกลุ่ม ผู้ให้บริการโทรศัพท์ทั้งเคลื่อนที่และระบบไร้สาย ได้เริ่มจัดเก็บข้อมูลของผู้บริโภคที่ใช้โทรศัพท์ติดต่อ หรือส่งข้อความส่งคลิปวีดีโอไปแหล่งใดหรือได้รับจากแหล่งใดผู้ให้บริการจะต้องเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2550 ที่ผ่านมา ส่วนกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มผู้ให้บริการเข้าถึงระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ ISP ไม่ว่าจะเป็น ทรู ซีเอสล็อกอินโฟ สามารถ เคเอสซี เอเน็ต เอเชียเน็ต TOT ได้เริ่มเก็บข้อมูลการให้บริการเหล่านี้ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา

ในวันที่ 23 สิงหาฯนี้ "กลุ่มที่ 3" ซึ่งอาจเรียกได้ว่าที่เหลือจากกลุ่มที่หนึ่งและสองทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต แก่ข้าราชการหรือพนักงานหรือลูกค้าของตน เช่น หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถานศึกษา โรงแรม แฟลต อพารต์เม้นท์ ห้องเช่า บ้านเช่า ร้านกาแฟ ร้านเน็ตคาเฟ่ จะต้องเริ่มจัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ไม่น้อยกว่า 90 วัน เช่นเดียวกัน ยกเว้นแต่ผู้ใช้ระบบอินเทอร์เน็ตตามบ้านพักอาศัยทั่วไป เท่านั้น

พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการ สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า ที่ผ่านมาพบว่ามีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะการส่งต่ออีเมลล์หรือดาวน์โหลด อัพโหลด เผยแพร่ ภาพลามกอนาจาร หรือการเขียนข้อความหมิ่นประมาทผู้อื่นรวมถึงก่อความไม่สงบสุขต่อบ้านเมืองจำนวนมาก ซึ่ง กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้เฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของผู้กระทำความผิดในรูปแบบต่างๆ พร้อมกับแจ้งเตือนประชาชนเป็นระยะ แต่การสืบหาตัวผู้กระทำความผิดแม้ที่ผ่านมาจะมีการสืบสวนสอบสวนกระทั่งได้ตัวผู้กระทำความผิดมาแล้วหลายราย ขณะเดียวกันยังมีอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่สามารถติดตามตัวผู้กระทำผิดตัวจริงมาดำเนินคดีได้

พ.ต.อ.ญาณพล เปิดเผยว่า ในวันที่ 23 สิงหาคม 2551 ที่จะถึงนี้จะเป็นวันแรกที่ ประกาศกระทรวงไอซีที ที่อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จะมีผลบังคับใช้ให้ หน่วยราชการ สถานศึกษา องค์กร ร้านค้า บริษัท ห้างร้าน ธนาคาร โรงแรม บ้านเช่า แฟล์ต อพาร์ตเม้นท์ ร้านอินเทอร์เน็ตคาร์เฟ่ ผู้ให้บริการร้านเกมส์ออนไลน์ ต้องเก็บข้อมูลการใช้บริการไม่น้อยกว่า 90 วัน โดยสิ่งที่ผู้ให้บริการร้านอินเทอร์เน็ต ต้องเก็บข้อมูล 3 ส่วน คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ เช่น ชื่อ สกุล หรือ หมายเลขบัตรประชาชน เป็นต้น ส่วนที่ 2วันเวลาที่ลูกค้าเข้ามาใช้ และเลิกใช้เครื่อง และ ส่วนที่ 3 หมายเลขเครื่องที่ใช้ IP Address (ภายนอกและภายใน) และ URL ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการตามรอยผู้กระทำความผิด เช่น หากบุคคลในองค์กรไปส่งรูปลามกอนาจาร หรือทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ จะได้ตรวจสอบผู้กระทำความผิดได้ไม่ยาก

และภายหลังจากที่กฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้และพบว่าหน่วยงานใดไม่ดำเนินการตามกฎหมายหน่วยงานหรือองค์กรนั้นๆ จะต้องรับผิดชอบโดยมีโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท

ส่วนการสร้างระบบที่จะจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวเป็นหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน ที่จะดำเนินการหรือสั่งการ เช่น ให้ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรติดตั้งระบบล็อกอินก่อนเข้าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อให้สามารถระบุผู้ใช้บริการได้ชัดเจน

การดำเนินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 โดยเฉพาะในการเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ดังกล่าวถือเป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานของภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็กหรือใหญ่ หากยังไม่มีมาตรการใดที่จะห้ามมิให้บุคลากรในหน่วยงานของท่าน กระทำผิดกฎหมาย อาทิ ส่งข้อมูลโป๊ ลามก โกหก หลอกลวง สร้างความไม่สงบต่อบ้านเมืองหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี ส่งเมลไปให้ผู้อื่นจนทำให้เกิดความเบื่อหน่าย รำคาญใจ ส่งไวรัส สัญญาณก่อกวน แฮ๊กข้อมูลบุคคลอื่น ซึ่งล้วนเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น

"ท่านจะต้องเก็บข้อมูลการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรท่านไว้อย่างน้อย 90 วัน ไม่อย่างนั้นแล้วหากมีการสืบสวนแล้วพบว่า มีบุคคลในองค์กรของท่านได้ใช้คอมพิวเตอร์ของท่านเพื่อกระทำความผิดดังกล่าว แต่หน่วยงานนั้น ไม่ได้จัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ หน่วยงานของท่านจะต้องถูกปรับไม่เกินห้าแสนบาท ซึ่งไม่เพียงหมายถึงทรัพย์สิน งบประมาณ รายได้ที่ขององค์กรที่ต้องสูญเสียไปกับค่าปรับ แต่หากยังรวมถึง หน้าตา ชื่อเสียง ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ของหน่วยงานท่านด้วย" พ.ต.อ.ญาณพล กล่าว



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น