เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พระอรหันต์ ๔ ประเภท



“ภิกษุทั้งหลาย
พระขีณาสพทั้งหลายนั้น
ไม่ยินดีในกามสุข
ไม่เสพกาม
เปรียบเสมือน
หยาดน้ำตกลงบน
ใบบัวแล้วไม่ติดอยู่
ย่อมกลิ้งตกไป”

นตฺถิ เสยฺโยว ปาปิโย ได้แก่จิตที่บริสุทธิ์หลุดพ้นเรียบร้อยแล้วนั้นเสมอกันหมด นอกนั้นมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงต่างกัน
ภูมิของศาสดาก็รู้ลึกซึ้ง กว้างขวางเต็มภูมิของศาสดา สาวกแต่ละองค์ๆ ก็เป็นตามนิสัยวาสนาของตน
ที่สร้างมามากน้อย กว้างแคบเป็นลำดับลำดามา
เพราะฉะนั้น ท่านถึงยกพระอรหันต์ขึ้นเป็น ๔ ประเภทด้วยกัน
ประเภทที่หนึ่ง สุกขวิปัสสโก การปฏิบัติอย่างเรียบๆ ราบๆ ไปเรื่อยๆ สม่ำเสมอ
ไปเรื่อย วิปัสสโกเกี่ยวกับเรื่องวิปัสสนา สติปัญญาติดตามฆ่ากิเลสเรียบไปเลย
รู้อย่างสงบสบาย ไม่กระทบกระเทือน ไม่ตื่นไม่เต้นเกี่ยวกับเรื่องธาตุเรื่องขันธ์
มากนัก ภูมิจากนั้นกระเทือนธาตุขันธ์ กระเทือนจิตใจเป็นพักๆ การบำเพ็ญ
กิเลสมีหลายคลื่น ธรรมะต้องมีหลายคลื่นด้วยกัน รับกัน ตอบรับกัน ฟัดกันบน
เวที สำหรับสุกขวิปัสสโก รู้สึกท่านจะไปอย่างเรียบๆ แต่เราเล็งเอาตามศัพท์
ที่ท่านแปลออกมา แล้วการปฏิบัติของเรามันก็เข้ากันทุกอย่าง เพราะฉะนั้น
เราจึงไม่สงสัยที่เทียบเคียงเหล่านี้

ได้แก่ ประเภทที่ ๑ สุกขวิปัสสโก ผู้ที่รู้อย่างสงบเรียบไปเลย

ประเภทที่ ๒ เตวิชโช บรรลุแล้วยังได้วิชชา ๓ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติย้อนหลังได้ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ

ประเภทที่ ๓ นี่ก็ ฉฬภิญโญ ได้อภิญญา๖ หมายถึงกรณีพิเศษ เครื่องประดับท่านเป็นพิเศษๆ ไป

ประเภทที่ ๔ จตุปฏิสัมภิทัปปัตโตนี่เรียกว่า สุดยอดบารมีของพระอรหันต์ท่าน เรียกว่าผู้แตกฉานมาก
อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา นี้แตกฉานหมด นี่เรียกว่า จตุปฏิสัม-
ภิทัปปัตโต อรหันต์ประเภทที่ ๔ เครื่องประดับของท่านเรียกว่าหยดย้อยมากทีเดียว นี่ก็คือเป็นไปตาม
ความปรารถนาของท่าน

เวลาท่านปรารถนา เช่น ความวิมุตติหลุดพ้นต้องการด้วยกัน แต่มีความปรารถนาปลีกย่อยใน
เครื่องประดับ เหมือนต้นไม้ ต้นลำของมันเป็นต้นไม้ชนิดเดียวกันก็ตาม แต่กิ่งก้านสาขาแตกแขนงไปจะ
ต่างกันๆ มีลักษณะต่างกันอย่างนั้น อรหันต์ ๔ นี้เหมือนกัน หลักของอรหันต์นั้นก็ได้แก่ ผู้สิ้นจากกิเลส
ด้วยกันเรียบร้อยแล้ว นี่เสมอกันหมด เรียกว่าต้นลำ ทีนี้กิ่งก้านสาขาที่แตกออกไปก็แตกไปเป็น สุกขวิปัสสโก
เตวิชโช ฉฬภิญโญ จตุปฏิสัมภิทัปปัตโต ๔ ประเภท แยกสาขา คือกิ่งก้านของท่านออกไปตามนิสัยวาสนาที่
ผู้มีความปรารถนาอย่างไรๆ เป็นเครื่องประดับความบริสุทธิ์ ท่านก็ปรารถนามา เวลาสำเร็จแล้ว กิ่ง ก้าน สาขาดอก ใบ ซึ่งเป็นความปรารถนาปลีกย่อยก็รวมๆ เป็นกิ่งเป็นก้านสวยงามตามนิสัยวาสนาของท่านที่ได้ทำ
ความปรารถนามา นี่อรหันต์ ๔
ท่านทั้งหลายให้ทราบเสียนะ ว่าอรหันต์ ๔ อยู่ในศาสนาพระพุทธเจ้า ที่เป็นต้นลำของพุทธศาสนา
เรียกว่าชั้นเอกอุ ในสามแดนโลกธาตุไม่มีศาสนาใดที่จะเทียบเสมอเหมือนพุทธศาสนาได้เลย เป็นศาสนาคู่โลกคู่สงสารจริงๆ ไม่บกพร่องเลย นี่เป็นอันหนึ่ง คือพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสมบูรณ์อรรถธรรมทั้งหลาย
เต็มภูมิของศาสดา จากนั้นก็มาสอนสาวก นี่คือออกจากพุทธศาสนานะ พอแตกออกมาก็เป็นสาวก
บารมีญาณ สาวกทั้งหลายไปศึกษาอบรมจากท่าน แตกกระจัดกระจายออกมาเป็นมรรคเป็นผล แตก
กระจัดกระจายไปหมดจากพุทธศาสนา เรื่อยมาจนกระทั่งบัดนี้ เมื่อยังมีผู้ปฏิบัติตามหลักศาสนธรรมอยู่
มรรคผลนิพพานจะกระจายอยู่อย่างนี้ตลอด

เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๕ อรหันต์ ๔ มีในพุทธศาสนาเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น