เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พระพุทธศาสนา เข้าสู่ตะวันตก




คลื่น


พระพุทธ


ศาสนา ใน


ตะวันตก


1

สำหรับเหตุผลที่พระพุทธศาสนา แพร่เข้าสู่ตะวันตก นอกเหนือไปจากความสนใจ ที่ชาวตะวันตกมีต่อ

วรรณคดีพุทธศาสนาแล้ว ก็น่าจะได้แก่ ความยอดเยี่ยมของหลักคำสอน นั่นเองเป็นสำคัญ

พระพุทธศาสนา เข้าสู่ตะวันตก


ไม่มีใครทราบแน่นอนว่า พระพุทธศาสนา เข้าสู่ตะวันตกครั้งแรกเมื่อไหร่ เรื่องนี้ นายคริสต์มาส ฮัมเฟรย์



เคยสืบหาหลักฐาน แต่ก็ได้ทราบแต่เพียงว่า คลีเมนต์แห่งเมืองอะเล็กซานเดรีย เคยเขียนถึงพระพุทธเจ้าไว้

ว่า



"บรรดาชาวอินเดียที่เชื่อถือ ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ต่างก็พากันสรรเสริญเยินยอถึง พระพุทธ


คุณ ต่าง ๆ นานา และให้เกียรติยกย่องพระองค์ว่าเป็นเทพเจ้า" แต่นอกจากเรื่องนี้ และมีผู้เอ่ยถึงเทพเจ้า


ของ


ชาวอินเดีย ในที่อื่น ๆ ลางแห่งแล้ว ความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาของชาวตะวันตก ดูจะเริ่มต้นที่งานแปล


คัมภีร์พระพุทธศาสนา เป็นภาษาตะวันตกเป็นครั้งแรก มิส ไอ. บี. ฮอนเนอร์ กล่าวว่า ผู้ที่เป็นหัวเรี่ยว


หัวแรง


สำคัญ ในวงการพระพุทธศาสนาของตะวันตก มี คโซมา เดอ โกรอส, ชเลกินต์เวต, และ รอคฮิลล์ ต่อมา


ก็


มี

โอลเดนเบอร์ก, บีล, ชิลเดอรส์, และ ฟอสบอลล์ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกทางให้กับ แมกซ์ มุลเลอร์ ท่านหลังนี้เป็น

ผู้ก่อตั้ง และ ผู้ดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือชุด "คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของตะวันออก" อันมีชื่อเสียง


อย่างไรก็ดี ถ้าจะพูดถึงความรู้ของชาวตะวันตก ที่ได้รับเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาแล้ว เราคงจำชื่อบุคคล


สำคัญอีกสองท่านได้ คือ ศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ และภรรยาของท่าน ทั้งสองท่านนี้ ได้อาศัยสมาคมบาลี


ปกรณ์ ดำเนินการถ่ายทอด จัดพิมพ์คัมภีร์พระไตรปิฎกบาลี พร้อมทั้งอรรถกถาฎีกา ออกมาเป็นอักษรโรมัน


ต่อจากนั้น ก็จัดพิมพ์ฉบับแปลภาษาอังกฤษออกมา รวมทั้งหนังสือพุทธศาสนาที่ท่านแต่งเองด้วย ท่านทั้ง


หลายที่ได้กล่าวนามมานี้ และท่านที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันก็ดี ชื่อว่า ได้มีส่วนช่วยนำพระพุทธศาสนา เข้าสู่


ตะวันตก และ ชาวตะวันตกก็ยอมรับว่า เป็นหนี้บุญคุณของท่านเหล่านี้อยู่มากทีเดียว



ในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๕ พระพุทธศาสนา จำกัดแวดวงอยู่ภายในหมู่นักปราชญ์ ผู้ศึกษา เท่านั้น ทั้ง


ๆ ที่เรื่อง "ประทีปแห่งทวีปเอเชีย" ของ เซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ได้รับการจัดพิมพ์แพร่หลายทั้วไปแล้วก็ตาม


และก็หนังสือเล่มนี้เอง ที่ยังครองความเป็น เพชรน้ำเอก ในวงวรรณกรรมของพระพุทธศาสนา ในตะวันตก


อยู่แม้ในปัจจุบัน


สำหรับเหตุผลที่พระพุทธศาสนา แพร่เข้าสู่ตะวันตก นอกเหนือไปจากความสนใจ ที่ชาวตะวันตกมีต่อ

วรรณคดีพุทธศาสนาแล้ว ก็น่าจะได้แก่ ความยอดเยี่ยมของหลักคำสอน นั่นเองเป็นสำคัญ ธรรมะคำสั่งสอน

ของพระพุทธเจ้า ทำให้ปัญญาชนชาวยุโรป ต้องนำไปครุ่นคิด เพราะ เป็นหลักคำสอนที่ไม่มุ่งหมาย ทำลาย

กัน ตั้งอยู่บนหลักเหตุผล เป็นระบบทางจริยศาสตร์ และ ปรัชญา ที่มีใจกว้างพอ ไม่ต้องการให้ผู้นับถือ เชื่อ

ถือตามอย่างงมงาย ไม่ต้องการให้ใคร ๆ ยึดมั่นอยู่กับคัมภีร์ หรือ ติดในพิธีรีตอง อันไร้แก่นสาร เนื่องจาก

ความเป็นลัทธิที่มีเหตุผลในตัวเอง และ มีความใจกว้างพอนี่เอง พระพุทธศาสนา จึงค่อย ๆ หยั่งราก ตั้งมั่น

ในยุโรป ชาวพุทธมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พุทธสมาคมต่าง ๆ ได้อุบัติขึ้น ในเกือบทุก ๆ ประเทศทางตะวันตก


เหตุผลอีกประการหนึ่งก็คือว่า พระพุทธศาสนา เข้าไปตั้งมั่นในตะวันตกได้ ในฐานะเป็น พลังผลักดัน อัน


ใหม่ ที่จะช่วยชาวตะวันตก ให้พ้นจากลัทธิและความเชื่อถืออันงมงาย ให้หันกลับมาค้นหาสาเหตุอันถ่องแท้


ของความตึงเครียดของโลกในปัจจุบัน ชาวตะวันตก ไม่ได้รับความพอใจ ในอันที่จะอยู่กับ คำปลอบโยนลม


ๆ แล้ง ๆ อย่างที่เคยได้รับมาแต่ก่อน จากพวกนักสอนศาสนา ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า ชีวิตความเป็น


อยู่ของมนุษย์เรานั้น นับวันก็จะมีแต่ความตึงเครียด ขัดแย้งกัน ไม่ลงรอยกัน ฉะนั้น จึงจำเป็นที่จะต้อง


แสวงหาความจริง เพื่อเอาชนะ ความขัดแย้งของมนุษย์ ในข้อนี้ให้ได้


มนุษย์เท่านั้น ที่จะต้องประคับประคองตนเองให้ตลอดรอดฝั่ง โดยอาศัยการกระทำของตนเอง ไม่ไปหวัง

ความเป็นไท ที่อะไร ๆ จะมาหยิบยื่นให้จากภายนอก เป็นหน้าที่ที่ทุกคนจะแสวงหาความเป็นไท ด้วยตนเอง

หากว่าต้องการความหลุดพ้น จุดมุ่งหมายของมนุษย์ จึงจะต้องหาทางแก้ทุกข์ ซึ่งมนุษย์เป็นผู้ก่อ อันนี้ต้อง

อาศัย การดำเนินชีวิตที่ถูกต้องคลองธรรม ไม่ประมาท รู้จักข่มใจ และ บังคับตัวเอง ให้อยู่ในกรอบแห่ง

จริยธรรมอันดีงาม


ค่าที่พระพุทธศาสนาตั้งอยู่บนหลักเหตุผล ทำให้ชาวตะวันตก ซึ่งเคยยึดมั่นอยู่กับลัทธิที่ให้เชื่อตามผู้อื่น


หันเหออกมาจากลัทธิดังว่านั้น การแบ่งชั้นวรรณะ และพิธีรีตองต่าง ๆ ไม่มีในพระพุทธศาสนาที่แท้จริง คำ


สอนของพระพุทธเจ้า กินความซึ้งแต่ไม่คลุมเครือ และชาวตะวันตกก็ย่อมจะเล็งเห็น หลักความจริงเกี่ยวกับ


ผลการกระทำ ในชีวิตประจำวันของตนว่า "ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลสืบเนื่องมาแต่สิ่งที่


เราคิด มาก่อนแล้วทั้งสิ้น" (มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา) เพราะฉะนั้น หลักแห่งการกระทำตนให้หลุดพ้น ในทาง


พระพุทธศาสนา จึงต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อน และจะต้องแสวงหาทางที่จะทำใจ ให้หลุดพ้น โดยการค้นให้พบ


เหตุแห่งความทุกข์ ด้วยตัวของตัวเองให้ได้ ก็การที่จะทำเช่นนั้นได้ ก็ต้องอาศัยสติปัฏฐาน ๔ คือ กายานุปัส


สนา ๑ เวทนานุปัสสนา ๑ จิตตานุปัสสนา ๑ และธรรมานุปัสสนา ๑ โดยวิธีการนี้เพียงอย่างเดียว มนุษย์เรา


ก็สามารถที่จะเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง ถึงลักษณะอันถ่องแท้แห่งชีวิตขั้นมูลฐานได้ เมื่อมีความเห็นชอบ


ปัญญา คือ ความรู้ทั่ว ก็จะเกิดขึ้น กำจัดความมืด คือ โมหะ ให้หมดสิ้นไป


คติของพระพุทธศาสนาในข้อนี้ ทำให้ชาวตะวันตกกลับได้คิด โลกนี้ไม่มีใครลิขิต ไม่ว่าพระเป็นเจ้าหรือ

เทพยดานางฟ้ามาแต่ไหน แต่น้ำมือมนุษย์นี้แลสร้าง สำหรับพระพุทธศาสนาแล้ว ธรรม คือ ความถูกต้อง นี่

แหละเป็นแรงขับเคลื่อนจักรวาล ธรรมะ จึงไม่ใช่ธรรมชาติลอย ๆ แต่เป็น สัจธรรม คือ ความจริง ที่กำหนด

ทางเดินของชีวิตทุก ๆ ชีวิต และ การเห็นแจ้งแทงตลอดในหลักธรรมนั้น ก็คือ การตรัสรู้ธรรม นั่นเอง ดังนั้น

พระพุทธศาสนา จึงนับว่าเป็น พลัง ที่สำคัญมากในโลกตะวันตก ในฐานะที่เป็นหลักคำสอน อันว่าด้วยความ

หลุดพ้นและความสงบสุข ซึ่งสามารถยึดเหนี่ยวปัจเจกบุคคลแต่ละคนไว้ ในสังคมของมนุษย์ ไว้ในคัมภีร์

ศักดิ์สิทธิ์ หรือถูกสั่งสอนมาจากเกจิอาจารย์


แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง ก็ไม่ทรงให้ใครมาเชื่อถือตามอย่างงมงาย แต่ให้มีความเห็นที่ถูกต้อง (ซึ่งเป็น

อริยมรรคข้อแรกในอัฏฐังคิกมรรค) ซึ่งบุคคลจะได้รับ ก็โดยการคิดหาเหตุผลมาศึกษาให้ทราบข้อเท็จจริง มี

ความบากบั่น มุ่งมั่นอย่างแรงกล้า ทำใจให้สงบ และยึดถือข้อปฏิบัติตามหลักจริยธรรม อันว่าด้วยความไม่

เห็นแก่ตัว และความเมตตาเอ็นดูในสรรพสัตว์ใหญ่น้อย พุทธศาสนิก ไม่จำเป็นต้องปฏิญญาว่า จะต้องเชื่อ

ตามศาสนาของตนอยู่ตลอดไป ทั้งไม่มีผู้ใดจากภายนอก จะมาหยิบยื่นรางวัลแห่งความดี หรือลงโทษแก่

ความชั่ว ที่เราประพฤติได้ พระพุทธศาสนา ไม่เคยสอนเลยว่า ความดีหรือความชั่ว หรือความคิดเกี่ยวกับ

ปฐมบาป อย่างที่ชาวตะวันตกเข้าใจกัน จะมาเป็นสิ่งหยิบยื่นรางวัลความดี หรือลงโทษตอบความชั่ว


ปกติแล้ว พระพุทธศาสนา สอนแต่เรื่อง ความรู้ กับ ความไม่รู้ กล่าวคือ ปัญญาความรู้ทั่วไป เป็นตัวขจัด


โมหะ ความมืดเขลาให้หมดไป พุทธศาสนิกย่อมจะเชื่อว่า ผู้มีปัญญา ย่อมพิจารณาเห็นว่า หาใช่ตัวบาปไม่ที่


จะมาลงโทษเรา แต่เพราะ ผลจากบาปนั้นทำให้เราเศร้าหมอง พุทธศาสนิกย่อมจะเชื่อต่อไปว่า นอกจาก


ความคิด ความเสวยอารมณ์ แล้ว ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากใจคิดทั้งสิ้น


ทรงวิทย์ แก้วศรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น