ชื่อว่าบัณฑิตย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล | สาธุ โข ปณฺฑิโต นาม สํ. ส. ๑๕/๘๒๕ | |
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟสว่าง | ปณฺฑิโต สีลสมฺปนฺโน ชลํ อคฺคีว ภาสติ ที.ปา. ๑๑/๑๙๗ | |
บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ | อนตฺถํ ปริวชฺเชติ อตฺถํ คณฺหาติ ปณฺฑิโต องฺ.จตุกฺก ๒๑/๔๒ | |
ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด | ทนฺโต เสฎฺโฐ มนุสฺเสสุ ขุ. ธ. ๒๕/๓๓ | |
คนฉลาดย่อมละบาป | กุสโล จ ชหาติ ปาปกํ ขุ.อุ. ๒๕/๑๖๘ | |
คนมีปัญญา ย่อมแนะนำทางที่ควรแนะนำ | นยํ นยติ เมธาวี ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๑๘๑๙ | |
ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ | ธีโร โภเค อธิคมฺม สงฺคณฺหาติ จ ญาตเก ขุ.ชา. ๒๗/๙๓๖ | |
ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ | สนฺโต น เต เย น วทนฺติ ธมฺมํ สํ. ส. ๑๕/๗๒๕ | |
สัตบุรุษยินดีในการเกื้อกูลสัตว์ | สนฺโต สตฺตหิเต รตา ชาตฏฺฐกถา ๑/๒๓๐ | |
สัตบุรุษทั้งหลายย่อมปรากฎได้ในที่ใกล เหมือนภูเขาหิมพานต์ | ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ หิมวนฺโตว ปพฺพโต ขุ.ธ. ๒๕/๓๑ | |
สัตบุรุษมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า | สนฺโต สคฺคปรายนา ขุ. ชา. ๒๗/๑๔๔๘ | |
ผู้สงบใจได้ ย่อมนอนเป็นสุข | อุปสนฺโต สุขํ เสติ ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๔๑๕. | |
กลิ่นของสัตบุรุษย่อมหอนทวนลมได้ | สตญจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ ขุ. ธ. ๒๕/๑๔ | |
คนซึ่งรู้สึกตนว่าโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้นได้บ้าง | โย พาโล มญฺญติ พาลฺยํ ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส ขุ. ธ. ๒๕/๑๕ | |
อสัตบุรุษ แม้นั่งอยู่ในที่นี้เองก็ไม่ปรากฎ เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน ฉะนั้น | อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ รตฺติขิตฺตา ยถา สรา ขุ.ธ. ๒๕/๓๑ | |
อสัตบุรุษย่อมไปนรก | อสนฺโต นิรยํ ยนฺติ สํ. ส. ๑๕/๙๐ | |
ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ | สุวิชาโน ภวํ โหติ ขุ. สุ. ๒๕/๓๐๔ | |
ผู้เคารพย่อมมีผู้เคารพตอบ | ครุ โหติ สคารโว ขุ. ชา. ๒๘/๔๐๑ | |
ผู้ไหว้ย่อมได้รับไหว้ตอบ | วนฺทโก ปฎิวนฺทนํ ขุ. ชา. ๒๘/๔๐๑ | |
ผู้กินคนเดียวไม่ได้ความสุข | เนกาสี ลภเต สุขํ ขุ. ชา. ๒๗/๑๖๗๔ | |
คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก | นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต ขุ. ธ. ๒๕/๒๗ | |
คนแข็งกระด้างก็มีเวร | อติติกฺโข จ เวรวา ขุ. ชา. ๒๗/๑๗๐๓ | |
คนตรงไม่พูดคลาดความจริง | น อุชุภูตา วิตถํ ภณนฺติ ขุ. ชา. ๒๗/๕๐๓ | |
มารดาบิดาท่านว่าเป็นบูรพาจารย์ (ของบุตร) | ปุพพาจริยาติ วุจฺจเร องฺ.ติก. ๒๐/๑๖๘ | |
มารดาบิดาเป็นที่นับถือของบุตร | อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ ขุ.อิติ. ๒๕/๒๘๖ | |
สามีเป็นเครื่องปรากฏของสตรี | ภตฺตา ปญฺญาณมิตฺถิยา สํ.ส. ๑๕/๕๗ | |
บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟัง เป็นผู้ประเสริฐ | สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ สํ.ส. ๑๕/๑๐ | |
บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ | โย จ ปุตฺตา นมสฺสโว สํ.ส. ๑๕/๑๐ | |
ผู้มีความดี จงรักษาความดีของตนไว้ | คุณวา จาตฺตโน คุณํ ขุ.ชา.สตฺตก. ๒๗/๒๑๒ | |
เมื่อเขาขอโทษ ถ้าผู้ใดมีความขุ่นเคือง โกรธจัด ไม่ยอมรับ ผู้นั้นชื่อว่า หมกเวรไว้ | อจฺจยํ เทสยนฺตีนํ โย เจ น ปฏิคณฺหติ โกปนฺตโร โทสครุ ส เวรํ ปฏิมุจฺจติ สํ.ส. ๑๕/๑๑๐ | |
ผู้ที่มีมารดาบิดาเลี้ยงมาได้โดยยากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดาบิดา ประพฤติผิดในมารดาบิดา ย่อมเข้าถึงนรก | เอวํ กิจฺฉาภโต โปโส ปิตุ อปริจารโก ปิตริมิจฺฉาจริตฺวาน นิรยํ โส อุปปชฺชติ ขุ.ชา. ๒๘/๑๖๒ | |
ถีงเป็นคนมีเดช มีปัญหาเฉียบแหลม อันคนเป็นอันมากสักการบูชา อยู่ในอำนาจสตรีเสียแล้วย่อมไม่รุ่งเรือง เหมือนพระจันทร์ถูกพระราหูบังฉะนั้น | เตชวาปิ หิ นโร วิจกฺขโณ สกฺกโต พหุชนสฺส ปูชิโต นารีนํ วสงฺคโต น ภาสติ ราหุนา อุปหโตว จนฺทิมา ขุ.ชา. ๒๘/๓๑๓ | |
สัตบุรุษทั้งหลายย่อมปรากฎได้ในที่ใกล เหมือนภูเขาหิมวันต์ อสัตบุรุษทั้งหลายถึงในที่นี้ก็ไม่ปรากฎ เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน ฉะนั้น | ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ หิมวนฺโตว ปพฺพโต อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ รตฺติขิตฺตา ยถา สรา ขุ.ธ. ๒๕/๓๑ | |
ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ เพราะการสงเคราะห์นั้น เขาย่อมได้เกียรติ ละไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์ | ธีโร โภเค อธิคมฺม สงฺคณฺหาติ จ ญาตเก เตน โส กิตฺตึ ปปฺโปติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ ขุ.ชา. ๒๗/๙๓๖ | |
ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น | มธุวา มญฺญตี พาโล ยาว ปาปํ น ปจฺจติ ยทา จ ปจฺจติ ปาปํ อถ (พาโล) ทุกฺขํ นิคจฺฉติ ขุ.ธ. ๒๕/๑๕ | |
ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว ละเสียได้ด้วยกรรมดี ผู้นั้นย่อมยังโลกให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆ | ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ กุสเลน ปิถียติ โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา ม.ม. ๑๓/๕๓๔ | |
บุคคลนั่งหรือนอน (อาศัย) ที่ร่มเงาตันไม้ใด ไม่ควรรานกิ่งต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม | ยสฺส รุกฺขสฺส ฉายาย นิสีเทยฺย สเยยฺย วา น ตสฺส สาขํ ภญฺเชยฺย มิตฺตทุพฺโภ หิ ปาปโก ขุ.เปต. ๒๖/๑๐๖ | |
ผู้ใดย่อมเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้ เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ | โย มาตรํ ปิตรํ วา มจฺโจ ธมฺเมน โปสติ อิเธว นํ ปสํสนฺติ เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ ขุ.ชา. ๒๘/๕๒๒ | |
ผู้ใดไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ถึงความหมดจด มีทิฏฐิสมบูรณ์ มีปัญญา, พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นอริยะ. | อกฺโกธโน อนุปนาหี อมกฺขี สุทฺธตํ คโต สมฺปนฺนทิฏฺฐิ เมธาวี ตํ ชญฺญา อริโย อิติ (สารีปุตฺตเถร) ขุ ปฏิ. ๓๑/๒๔๑. | |
คนเขลาย่อมซูบซีด เพราะคำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง เพราะเศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เหมือนต้นอ้อสดที่ถูกตัด. | อนาคตปฺปชปฺปาย อตีตสฺสานุโสจนา เอเตน พาลา สุสฺสนฺติ นโฬว หริโต ลุโต. สํ. ส. ๑๕/๗. | |
คนฉลาด ไม่ฟุ่งซ่าน ไม่คลอนแคลน มีปัญญา สำรวมอินทรีย์ มีมิตรดี พึงทำที่สุดทุกข์ได้. | อนุทฺธโต อจปโล นิปโก สํวุตินฺทฺริโย กลฺยาณมิตฺโต เมธาวี ทุกฺขสฺสนฺตกโร สิยา. (อญฺญาโกณฺฑญฺญเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๖๖. | |
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก, บัณฑิตรู้ดังนี้แล้ว ไม่ใยดีในกามแม้เป็นทิพย์. | อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา อิติ วิญฺญาย ปณฺฑิโต อปิ ทิพฺเพสุ กาเมสุ รตึ โส นาธิคจฺฉติ. ขุ. ธ. ๒๕/๔๐. | |
ผู้ประกอบตนในสิ่งที่ไม่ควรประกอบ และไม่ประกอบตนในสิ่งควรประกอบ ละประโยชน์เสีย ถือตามชอบใจ ย่อมกระหยิ่มต่อผู้ประกอบตนเนืองๆ. | อโยเค ยุญฺชมตฺตานํ โยคสฺมิญฺจ อโยชยํ อตฺถํ หิตฺวา ปิยคฺคาหี ปิเหตตฺตานุโยคินํ. ขุ. ธ. ๒๕/๔๓. | |
ผู้ใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษและของสัตบุรุษ ทั้งภายใน ทั้งภายนอก มีเทวดาและมนุษย์บูชาในโลกทั้งปวง ผู้นั้นจึงล่วงข่ายคือเครื่องข้องได้ และเป็นมุนี. | อสตญฺจ สตญฺจ ญตฺวา ธมฺมํ อชฺฌตฺตํ พหิทฺธา จ สพฺพโลเก เทวมนุสฺเสหิ จ ปูชิโต โย โส สงฺคชาลมติจฺจ โส มุนิ. ขุ. สุ. ๒๕/๔๓๒. ขุ. มหา. ๒๙/๔๐๖. | |
สมณะภายนอกไม่มี, สังขารเที่ยงไม่มี, ความหวั่นไหวของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี, เหมือนรอยเท้าไม่มีในอากาศ. | อากาเสว ปทํ นตฺถิ สมโณ นตฺถิ พาหิโร สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ นตฺถิ พุทฺธานมิญฺชิตํ. ขุ. ธ. ๒๕/๔๙. | |
เกียรติยศย่อมเจริญแก่ผู้ขยัน มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วจึงทำ สำรวมแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท. | อุฏฺฐานวโต สตีมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ. ขุ. ธ. ๒๕/๑๘. | |
ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์ คนละความชนะและความแพ้ได้แล้ว สงบใจได้ ย่อมนอนเป็นสุข | ชยํ เวรํ ปสวติ ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต อุปสนฺโต สุขํ เสติ หิตฺวา ชยปราชยํ. ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๔๑๕. | |
(เพราะธรรมของสัตบุรุษยากที่อสัตบุรุษจะประพฤติตาม) คติที่ไปจากโลกนี้ของสัตบุรุษและอสัตบุรุษจึงต่างกัน, คืออสัตบุรุษไปนรก, สัตบุรุษไปสวรรค์. | ตสฺมา สตญฺจ อสตญฺจ นานา โหติ อิโต คติ อสนฺโต นิรยํ ยนฺติ สนฺโต สคฺคปรายนา. ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๔๑๕ | |
เพราะนักปราชญ์มีสติตั้งมั่นในธรรมวินัยนี้ ไม่เสพกามและบาป พึงละกามทั้งทุกข์ได้ ท่านจึงกล่าวบุคคลนั้นว่า ผู้ไปทวนกระแส. | ตสฺมา หิ ธีโร อิธุปฏฺฐิตาสติ กาเม จ ปาเป จ อเสวมาโน สหาปิ ทุกฺเขน ชเหยฺย กาเม ปฏิโสตคามินี ตมาหุ ปุคฺคลํ. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๗. | |
เมื่อสัตบุรุษให้สิ่งที่ให้ยาก ทำกรรมที่ทำได้ยาก, อสัตบุรุษย่อมทำตามไม่ได้ เพราะธรรมของสัตบุรุษยากที่อสัตบุรุษจะประพฤติตาม | ทุทฺททํ ททมานานํ ทุกฺกรํ กมฺมกุพฺพตํ อสนฺโต นานุกุพฺพนฺติ สตํ ธมฺโม ทุรนฺวโย. (โพธิสตฺต) ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๖๓. | |
บุคคลเป็นคนเลวเพราะชาติก็หาไม่ เป็นผู้ประเสริฐเพราะชาติก็หาไม่ (แต่) เป็นคนเลวเพราะการกระทำ เป็นผู้ประเสริฐก็เพราะการกระทำ. | น ชจฺจา วสโล โหติ น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ กมฺมุนา วสโล โหติ กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ. ขุ. สุ. ๒๕/๓๕๒. | |
บุคคลถึงความสำเร็จแล้ว (พระอรหันตผล) ไม่สะดุ้ง ปราศจากตัณหา ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ตัดลูกศรอันจะนำไปสู่ภพได้แล้ว ร่างกายจึงชื่อว่า มีในที่สุด. | นิฏฺฐํ คโต อสนฺตาสี วีตตณฺโห อนงฺคโณ อจฺฉินฺทิ ภวสลฺลานิ อนฺติโมยํ สมุสฺสโย. ขุ. ธ. ๒๕/๖๓. | |
ผู้ใดมีความสัตย์ มีธรรม มีความไม่เบียดเบียน มีความสำรวม และมีความข่มใจ ผู้นั้นแล ชื่อว่า ผู้มีปัญญา หมดมลทิน เขาเรียกท่านว่า เถระ. | ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา สญฺญโม ทโม ส เว วนฺตมโล ธีโร โส เถโรติ ปวุจฺจติ. ขุ. ธ. ๒๕/๕๐. | |
เมื่อใด บัณฑิตรู้ว่า ชราและมรณะเป็นทุกข์ กำหนดรู้ทุกข์ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งปุถุชน มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประกอบความยินดีที่ยิ่งกว่านั้น. | ยทา ทุกฺขํ ชรามรณนฺติ ปณฺฑิโต อวิทฺทสู ยตฺถ สิตา ปุถุชชนา ทุกฺขํ ปริญฺญาย สโต ว ฌายติ ตโต รตึ ปรมตรํ น วินฺทติ. (ภูตเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๔๔. | |
คนบางพวกเหล่าใด ไม่สำรวมในกาม ยังไม่ปราศจากราคะ เป็นผู้บริโภคกามในโลกนี้, คนเหล่านั้นถูกตัณหาครอบงำ ลอยไปตามกระแส (ตัณหา) ต้องเป็นผู้เข้าถึงชาติชราร่ำไป. | เย เกจิ กาเมสุ อสญฺญตา ชนา อวีตราคา อิธ กามโภคิโน ปุนปฺปุนํ ชาติชรูปคา หิ เต ตณฺหาธิปนฺนา อนุโสตคามิโน. องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๗. | |
คนเหล่าใดเขลา มีปัญญาทราม มีความคิดเลว ถูกความหลงปกคลุม, คนเช่นนั้น ย่อมติดเครื่องผูกอันมารทอดไว้นั้น. | เย จ โข พาลา ทุมฺเมธา ทุมฺมนฺตี โมหปารุตา ตาทิสา ตตฺถ รชฺชนฺติ มารกฺขิตฺตสฺมิ พนฺธเน. (นนฺทกเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๑๒. | |
ผู้มีปัญญาเหล่าใด ประกอบด้วยศีล ยินดีในความสงบด้วยปัญญา ผู้มีปัญญาเหล่านั้น เว้นไกลจากความชั่วแล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น. | เย จ สีเลน สมฺปนฺนา ปญฺญายูปสเม รตา อารกา วิรตา ธีรา น โหนฺติ ปรปตฺติยา. (โพธิสตฺต) ขุ. ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๔๓. | |
ผู้มีปัญญาเหล่าใด ขวนขวายในฌาน ยินดีในความสงบอันเกิดจากเนกขัมมะ เทวดาทั้งหลายก็พอใจต่อผู้มีปัญญา ผู้รู้ดีแล้ว มีสติเหล่านั้น. | เย ฌานปสุตา ธีรา เนกฺขมฺมูปสเม รตา เทวาปิ เตสํ ปิหยนฺติ สมฺพุทฺธานํ สตีมตํ. ขุ. ธ. ๒๕/๓๙. | |
ผู้ใดเป็นคนขัดเคือง เหนียวแน่น ปรารถนาลามก ตระหนี่ โอ้อวด ไม่ละอาย และไม่เกรงกลัวบาป พึงรู้ว่า ผู้นั้นเป็นคนเลว. | โรสโก กทริโย จ ปาปิจฺโฉ มจฺฉรี สโฐ อหิริโก อโนตฺตปฺปี ตํ ชญฺญา วสโล อิติ. ขุ. สุ. ๒๕/๓๕๑. | |
ผู้มีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร, ผู้มีโคย่อมเศร้าโศกเพราะโคเหมือนกัน, นรชนมีความเศร้าโศกเพราะอุปธิ, ผู้ใด ไม่มีอุปธิ ผู้นั้น ไม่ต้องเศร้าโศกเลย. | โสจติ ปุตฺเตหิ ปุตฺติมา โคมิโก โคหิ ตเถว โสจติ อุปธีหิ นรสฺส โสจนา น หิ โส โสจติ โย นิรูปธิ. สํ. ส. ๑๕/๙. |
เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ
ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "
หน้าเว็บ
เกี่ยวกับฉัน
- Nitinandho
- อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย
ผู้ติดตาม
วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554
พุทธศาสนสุภาษิต หมวดบัณฑิต
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น