เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สำนักทรัพย์สินฯ รายงาน ในหลวง ไม่ได้รวยสูงสุด

ส่วนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นทรัพย์สินของรัฐและของแผ่นดิน ซึ่งมีรัฐบาลโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการเป็นผู้รับผิดชอบ

สำนักทรัพย์สินฯ รายงาน ในหลวง ไม่ได้รวยสูงสุด

สำนักทรัพย์สินฯ รายงาน ในหลวง ไม่ได้รวยสูงสุด

สำนักทรัพย์สินฯรายงาน ในหลวง ไม่ได้รวยสูงสุด

สำนักทรัพย์สินฯรายงาน ในหลวง ไม่ได้รวยสูงสุด (ไอเอ็นเอ็น)

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล


สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เปิดรายงานประจำปี 2553 พิมพ์ 2 พันเล่ม พร้อมให้ดาวน์โหลดในเว็บไซต์ แจง "ในหลวง" ไม่ได้ทรงร่ำรวยที่สุดในโลกตามที่ฟอร์บส์อ้าง เผย 93% ของที่ดินให้เช่ากับภาครัฐ-ประชาชนในราคาถูก มีแค่ 7% ที่คิดราคาเทียบเอกชน เชื่อปี 54 ยกระดับองค์กรมีมาตรฐานระดับโลก

เมื่อวันศุกร์ ที่ 17 มิถุนายน เว็บไซต์สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้เผยแพร่ข้อมูลรายงานประจำปี 2553 ของสำนักงานฯ โดยเป็นเอกสารในรูปแบบ pdf มีความหนา 47 หน้า ซึ่งในรูปเล่มนั้นจะมีการพิมพ์ทั้งสิ้น 2,000 เล่ม โดยมีทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งเนื้อหาในรายงานดังกล่าวมีทั้งสิ้น 9 เรื่อง ประกอบด้วย

1. รายงานของผู้อำนวยการ

2. นโยบายและคน

3. การลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ : SCB และ SCG

4. ผลการดำเนินงานด้านอสังหาริมทรัพย์

5. การพัฒนาชุมชนในพื้นที่

6. การพัฒนา "ตลาด" โดยเฉพาะในภูมิภาค

7. การอนุรักษ์อาคารและพื้นที่ทางประวัติศาสตร์

8. การสนับสนุนกิจการสังคมที่หลากหลาย

9. บทส่งท้าย

ที่น่าสนใจคือ บทส่งท้ายที่ระบุว่า ตามที่นิตยสารฟอร์บส์ได้เคยลงข่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก เพราะสำนักงานฯ มีทรัพย์สินโดยเฉพาะที่ดินมีมูลค่ามากมายมหาศาล ซึ่งรัฐบาลโดยกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงไปยังนิตยสารนี้แล้วว่า ข้อมูลไม่เป็นความจริง เพราะไทยมีกฎหมายแบ่งแยกทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์อย่างชัดเจน แต่ถึงแม้ว่าจะได้มีการชี้แจงไปแล้วว่าพระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น คือ ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ส่วนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นทรัพย์สินของรัฐและของแผ่นดิน ซึ่งมีรัฐบาลโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการเป็นผู้รับผิดชอบ แต่ก็ยังมีผู้เข้าใจผิดเรื่องนี้อยู่ไม่น้อย ดังนั้นรายงานนี้น่าจะช่วยทำให้คนโดยทั่วไปเข้าใจสำนักงานทรัพย์สินฯ ถูกต้องขึ้น เนื่องจากสำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นผู้ดูแลทรัพย์สินของแผ่นดินนโยบายที่สำนักงานทรัพย์สินฯ รับมอบมาจากคณะกรรมการ จึงเป็นเรื่องของการดำเนินงานเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมมาโดยตลอด ดังที่ได้แสดงโดยกิจกรรมที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้

"อาจมีน้อยคนที่จะสามารถจำได้ว่าจากที่ดินที่ได้มอบให้สำนักงานทรัพย์สินฯ ดูแลตั้งแต่ก่อตั้งสำนักงานเมื่อปี 2479 นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินฯ (ส.ป.ก.) นำที่ดินประมาณครึ่งหนึ่ง (ประมาณกว่า 44,000 ไร่) ไปจัดสรรให้ประชาชนได้มีที่ทำกิน และได้ทรงตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบนที่ดินเหล่านี้ด้วย" บทส่งท้ายระบุ

บทส่งท้ายยังชี้ว่า ที่ดินที่เหลือที่ยังอยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินฯ ก็ไม่ได้ถูกใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์สูงสุดอย่างเช่นเอกชนทั่ว ๆ ไป แต่บริหารจัดการโดยมีนโยบายการพัฒนาระยะยาวเพื่อประโยชน์ของสังคมเป็นเป้าหมายหลัก ดังที่ในรายงานฉบับนี้ได้ระบุไว้ว่า ที่ดิน 93% ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ให้เช่ากับหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรที่ทำงานเพื่อสังคม และประชาชนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางในอัตราค่าเช่าที่ต่ำกว่าราคาตลาดอยู่มาก มีเพียงที่ดินประมาณ 7% เท่านั้น ที่ให้เอกชนเช่าออกไปพัฒนาในทางธุรกิจโดยได้ค่าเช่าในอัตราใกล้เคียงกับอัตราตลาด

นอกจากนั้น ในด้านของทรัพย์สินที่เป็นเงินลงทุน ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สินฯ มีการลงทุนหลักในสองกิจการ คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (SCG) ซึ่งมีนโยบายที่เข้มงวดในการที่จะบริหารกิจการโดยมีหลักธรรมาภิบาลและรับผิดชอบต่อสังคม

"ในปี 2553 สำนักงานทรัพย์สินฯ ได้เพิ่มบทบาทในการดำเนินการและสนับสนุนกิจการทางด้านสังคมที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งบนพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินฯ และโดยทั่วไป ซึ่งสำนักงานทรัพย์สินฯ มีความพอใจกับผลงานในระดับหนึ่ง เพราะกิจการและโครงการต่างๆ มีความก้าวหน้าตามพันธกิจและนโยบายที่ได้ตั้งไว้อย่างดี แต่ก็ตระหนักดีว่า หนทางข้างหน้ายังมีสิ่งท้าทายและปัญหาอีกไม่น้อย โดยเฉพาะการนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้คุณภาพของการบริหารจัดการในทุกๆ ด้านรวมทั้งการให้บริการแก่ผู้มีความสัมพันธ์กับสำนักงานทรัพย์สินฯ อยู่ในระดับมาตรฐานโลก สำนักงานทรัพย์สินฯ หวังว่าปี 2554 จะเป็นปีที่เราจะประสบความสำเร็จในพันธกิจนี้อย่างเต็มที่ต่อไป" บทส่งท้ายสรุปไว้



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

1 ความคิดเห็น:

  1. สวดดดดดยอดเลยหลวงพี่ ชัดเจนและแจ่ม ถ้าจะให้แจ่ม ต้องไปอ่านบทความเรื่อง ทรัพย์สินส่วนพระองค์ และ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จะแจ่มมากขึ้น อิอิ

    ตอบลบ