เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคคติเป็นอันหวังได้ | จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา ม.มู. ๑๒/๖๔ | |
เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้ | จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา ม.มู. ๑๒/๖๔ | |
โลกถูกจิตนำไป | จิตฺเตน นียติ โลโก สํ.ส. ๑๕/๑๘๑ | |
การฝึกจิตเป็นความดี | จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ ขุ. ธ. ๒๕/๑๙ | |
จิตที่ฝึกแล้วนำสุขมาให้ | จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ ขุ. ธ. ๒๕/๑๓ | |
จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ | จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ ขุ. ธ. ๒๕/๑๓ | |
ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก | วิหญฺญตี จิตฺตวสานุวตฺตี ขุ. ชา. ๒๗/๓๑๖ | |
พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรที่เต็มด้วยน้ำมัน | เตลปตฺตํ ยถา ปริหเรยฺย เอวํ สจิตฺตมนุรกฺเข ขุ. ชา. ๒๗/๙๖ | |
จงตามรักษาจิตของตน | สจิตฺตมนุรกฺขถ ขุ.ธ. ๒๕/๕๘ | |
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต | จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี ขุ. ธ. ๒๕/๑๙. | |
ก็บาปเกิดจากอารมณ์ใด ๆ พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้น ๆ | ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย สํ.ส. ๑๕/๖๓ | |
เมื่อจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม มีความเลื่อมใสเลื่อนลอย ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์ | อนวฏฺฐิตจิตฺตสฺส สทฺธมฺมํ อวิชานโต ปริปฺลวปสาทสฺส ปญฺญา น ปริปูรติ ขุ. ชา. ๒๗/๑๓ | |
สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ใดไม่อบรมให้บริบูรณ์ ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็หวั่นไหว | อานาปานสฺสติ ยสฺส อปริปุณฺณา อภาวิตา กาโยปิ อิญฺชิโต โหติ จิตฺตมฺปิ โหติ อิญฺชิตํ ขุ. ปฏิ. ๓๑/๓๖๙ | |
สติกำหนดลมหายใจเข้าออก อันผู้ใดอบรมบริบูรณ์ดีแล้ว ทั้งกายทั้งจิตของผู้นั้นก็ไม่หวั่นไหว | อานาปานสฺสติ ยสฺส ปริปุณฺณา สุภาวิตา กาโยปิ อนิญฺชิโต โหติ จิตฺตมฺปิ โหติ อนิญฺชิตํ ขุ. ปฏิ. ๓๑/๓๖๙ | |
โจรกับโจรหรือไพรีกับไพรี พึงทำความพินาศให้แก่กัน ส่วนจิตตั้งไว้ผิด พึงทำให้เขาเสียหายยิ่งกว่านั้น | ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา เวริ วา ปน เวรินํ มิจฺฉา ปณิหิตํ จิตตํ ปาปิโย นํ ตโต กเร ขุ. ธ. ๒๕/๑๓ | |
มารดาบิดาหรือญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำเหตุนั้นให้ได้ ส่วนจิตที่ตั้งไว้ดีแล้ว พึงทำเขาให้ดีกว่านั้น | น ตํ มาตา ปิตา กยิรา อญฺเญ วาปิจ ญาตกา สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ เสยฺยโส นํ ตโต กเร ขุ. ธ. ๒๕/๑๓ | |
ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีฉันใด ราคะย่อมรั่วรดจิตที่ไม่ได้อบรมฉันนั้น | ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ วุฏฺ€ี สมติวิชฺฌติ เอวํ อภาวิตํ จิตฺตํ ราโค สมติวิชฺฌติ ขุ. ธ. ๒๕/๑๑ | |
ภูเขาหินแท่งทึบ ไม่สั่นสะเทือนเพราะลมฉันใด บัณฑิตย่อมไม่หวั่นไหวในนินทาและสรรเสริญฉันนั้น | เสโล ยถา เอกฆโน วาเตน น สมีรติ เอวํ นินฺทาปสํสาสุ น สมิญฺชนฺติ ปณฺฑิตา ขุ. ธ. ๒๕/๑๖ | |
ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว ผู้มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ผู้ตื่นอยู่ ย่อมไม่มีภัย | อนวสฺสุตจิตฺตสฺส อนนฺวาหตเจตโส ปุญฺญปาปปหีนสฺส นตฺถิ ชาครโต ภยํ ขุ.ธ. ๒๕/๒๐ | |
บุคคลรู้กายนี้ที่เปรียบด้วยหม้อ กั้นจิตที่เปรียบด้วยเมืองนี้แล้ว พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญา และพึงรักษาแนวที่ชนะไว้ ยับยั้งอยู่. | กุมฺภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา. ขุ. ธ. ๒๕/๒๐. | |
โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว | จิตฺเตน นียติ โลโก จิตฺเตน ปริกิสฺสติ จิตฺตสฺส เอกธมฺมสฺส สพฺเพว วสมนฺวคู สํ.ส. ๑๕/๑๘๑ | |
การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ เป็นความดี, (เพราะว่า) จิตที่ฝึกแล้ว นำสุขมาให้. | ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโน. จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ. ขุ. ธ. ๒๕/๑๙. | |
ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพี่น้องพ่อแม่ ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา. | ปทุฏฺฐจิตฺตสฺส น ผาติ โหติ น จาปิ นํ เทวตา ปูชยนฺติ โย ภาตรํ เปตฺติกํ สาปเตยฺยํ อวญฺจยี ทุกฺกฏกมฺมการี. (นทีเทวตา) ขุ. ชา. ติก. ๒๗/๑๒๐. | |
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่, (เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองแล้ว นำสุขมาให้. | สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ. ขุ. ธ. ๒๕/๑๙. |
เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ
ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "
หน้าเว็บ
เกี่ยวกับฉัน
- Nitinandho
- อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย
ผู้ติดตาม
วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554
พุทธศาสนสุภาษิตหมวดจิต
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น