ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี | อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย ขุ.ธ. ๒๕/๒๙ | |
ได้ยินว่าตนแลฝึกยาก | อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม ขุ.ธ. ๒๕/๓๖ | |
ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นแสงสว่างของบุรุษ | อตฺตา สุทนฺโต ปุริสสฺส โชติ สํ.ส. ๑๕/๒๔๘ | |
ตนแล เป็นที่พึ่งของตน | อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ขุ. ธ. ๒๕/๓๖, ๖๖. | |
ตนแล เป็นคติของตน | อตฺตา หิ อตฺตโน คติ ขุ. ธ. ๒๕/๓๖. | |
ตนทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง | อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ ขุ.ธ. ๒๕/๓๗ | |
ตนไม่ทำบาปเอง ย่อมหมดจดเอง | อตฺตนา อกตํ ปาปํ อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ ขุ.ธ. ๒๕/๓๗ | |
มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด | อตฺตตฺถปญฺญา อสุจี มนุสฺสา ขุ.สุ. ๒๕/๒๙๖/๓๓๙ | |
บัณฑิต ย่อมฝึกตน | อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา ขุ.ธ. ๒๕/๒๕ | |
ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตน | อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา ขุ.ธ. ๒๕/๓๔ | |
บุคคลมีตนฝึกดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้ยาก. | อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ. ขุ.ธ. ๒๕/๓๖ | |
ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้นให้ดี | อตฺตานญฺเจ ปิยํ ชญฺญา รกฺเขยฺย นํ สุรกฺขิตํ ขุ.ธ. ๒๕/๓๖ | |
ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น | อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ ขุ.ธ.๒๕/๓๖ | |
จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น | ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร ขุ.ธ. ๒๕/๕๘ | |
บุคคลไม่พึงยังประโยชน์ของตนให้เสื่อม เพราะประโยชน์ของผู้อื่นแม้มาก บุคคลรู้จักประโยชน์ของตนแล้ว พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน | อตฺตทตฺถํ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย อตฺตทตฺถมภิ�ฺ�าย สทตฺถปสุโต สิยา ขุ.ธ. ๒๕/๒๒/๓๗ | |
ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น ผู้ฝึกตนดี ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่าตนแลฝึกยาก | อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ สุทนฺโต วต ทเมถ อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม ขุ.ธ. ๒๕/๓๖ | |
บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน สอนผู้อื่นภายหลัง จึงไม่มัวหมอง | อตฺตานเมว ปฐมํ ปฏิรูเป นิเวสเย อถญฺญมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต ขุ.ธ. ๒๕/๓๖ | |
ตนแล เป็นที่พึ่งของตน คนอื่น ใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้ ก็บุคคลมีตนฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้ยาก. | อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ. ขุ. ธ. ๒๕/๓๖. | |
ความรักเสมอด้วยความรักตนไม่มี ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มี แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี ฝนต่างหากเป็นสระยอดเยี่ยม | นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ นตฺถิ ธญฺญสมํ ธนํ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา วุฏฐิ เว ปรมา สราติ สํ.ส. ๑๕/๒๙/๙ | |
ผู้ใดมีความไร้ศีลธรรม (ทุศีล) ครอบงำ เหมือนเถาย่านทรายคลุมไม้สาละ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมทำตนเหมือนถูกผู้ร้ายคุมตัว | ยสฺส อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ มาลุวา สาลมิโวตฺถตํ กโรติ โส ตถตฺตานํ ยถา นํ อิจฺฉตี ทิโส ขุ.ธ. ๒๕/๒๒/๓๗ |
__________________
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น