เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มันต้องคุยกันนะ...เนี่ยๆ

ประกันสังคม เตรียมเก็บเงินสมทบเพิ่มอ้างขาดทุน





ประกันสังคม เตรียมเก็บเงินสมทบเพิ่มอ้างขาดทุน (ไทยโพสต์)

รร.ดิเอ็มเมอรัลด์ แฉ สปส.เตรียมเก็บเงินสมทบผู้ประกันตนเพิ่ม อ้างกองทุนชราภาพขาดทุน คาดมีผลเดือน ก.ย.นี้ แต่สภานายจ้างค้านไม่เห็นด้วย เพราะระบบโดยรวมยังไม่เป็นธรรมสู้บัตรทองไม่ได้

เวลา 13.00 น. วันที่ 23 มิ.ย.2554 สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย ได้จัดงานสัมมนาเรื่อง "ทำไมผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2553 ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุน เพื่อให้ได้รับบริหารทางด้านสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน" นายประสิทธิ์ จงอัศญากุล ประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ค้าและบริการเครื่องอุปโภค-บริโภค และกรรมการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่าจากกรณีที่นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการ สปส. เตรียมเสนอขอเก็บเงินสมทบจากผู้ประกันตนเพิ่มเติม แต่ไม่ทราบว่าเท่าใด เพื่อลดภาระการขาดทุนของกองทุนชราภาพ รวมถึงเตรียมลดการจ่ายเงินให้กับผู้ประกันตนชราภาพลง เข้าสู่การประชุมคณะกรรมการ สปส. และคาดว่าจะมีผลในเดือน ก.ย.2554 นั้น ตนเห็นว่าเป็นการไม่ยุติธรรมสำหรับกลุ่มผู้ประกันตนที่ สปส.จะต้องเร่งแก้ไขระบบการบริหารจัดการให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ประกันตนอย่างรวดเร็ว

"ผมยืนยันว่าเงินของกองทุน สปส.ไม่มีปัญหาในการจัดการ แต่ปัญหาสำคัญอยู่ที่ระบบ ที่ยังยึดติดกับระบบราชการ ผมเป็นกรรมการประกันสังคม 5 ปี และเสนอให้ สปส.ตั้งอนุกรรมการฯ รับเรื่องร้องเรียนให้สปส.พิจารณาเรื่องโดยตรง ไม่ต้องผ่านกรรมการการแพทย์ ซึ่งมีแต่ผู้บริหาร รพ.เอกชน แต่ทุกวันนี้ยังตั้งไม่ได้เลย ในวันนี้เป็นหน้าที่ของผู้ประกันตนในการกระตุ้นให้กับสังคมรับรู้ หาทางผลักดันเรื่องนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกันตนบ้าง" นายประสิทธิ์กล่าว

นายภูมิ มูลศิลป์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.อัสสัมชัญ กล่าวว่า แม้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาจะประกาศว่าการดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคมนั้นให้สิทธิ์ไม่เท่าเทียมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ให้รักษาฟรี ขัดกับรัฐธรรมนูญนั้นก็มีความเป็นไปได้ ที่ศาลรัฐธรรมนูญอาจไม่ตัดสินไปในแนวทางเดียวกัน เพราะศาลรัฐธรรมนูญอาจวิเคราะห์ว่าทั้งสององค์กรมีรากฐานจากกฎหมายคนละมาตรากัน ซึ่งกลุ่มผู้ประกันตนอาจต้องเคลื่อนไหวในแนวทางอื่นโดยอาศัยมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ 2545 ที่ระบุให้กรรมการ สปสช. และคณะกรรมการ สปส.ให้บริการด้านสุขภาพที่เป็นธรรม แต่ถึงวันนี้ผ่านมาเกือบ 10 ปีแล้วยังไม่มีการตกลงกัน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น