เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อินเตอร์เน็ตทำให้เรารู้เห็นได้ทุกอย่าง เราเลือกที่จะรู้เห็นอะไรบ้าง?

๔ คำสำคัญในยุค ๒๐๐๐


dungtrinเด็กที่เริ่มรู้ความในวันนี้
จะโตมาพร้อมกับการรู้จักคำหลักของยุค เช่น
อินเตอร์เน็ต กูเกิ้ล เฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์
เด็กคนไหนจะไม่เคยได้ยินคำใดอื่นนอกเหนือจากนี้ไม่เป็นไร
แต่ถ้าไม่ได้ยิน ๔ คำข้างต้น ก็แปลว่าอยู่ในที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้

คุณอาจนึกว่าผมลืมคำว่า "คอมพิวเตอร์" ไป
ความจริงไม่ลืมครับ แต่ผมมองว่าคนยุคเรา
จะเริ่มรู้สึกว่าคอมพิวเตอร์เป็นเพียงส่วนประกอบของอินเตอร์เน็
ทำนองเดียวกับที่รู้สึกว่านึกถึงคำว่า "บ้าน" ก็พอ
ไม่ต้องนึกถึงประตูรั้วหรือประตูเข้าบ้านก็ได้
คำว่า "บ้าน" ครอบคลุมพออยู่แล้ว ยังไงต้องมีประตูแน่ๆอยู่แล้ว
เราจะพูดคำว่า "เล่นเน็ต" มากกว่า "เล่นคอมพ์"
เราเริ่มไม่รู้ตัวว่าโทรศัพท์มือถือคือคอมพิวเตอร์
แม้แต่นาฬิกาก็เริ่มกลายเป็น "ประตูเข้าเน็ต" เต็มรูปแบบได้แล้ว

และใน ๔ คำสำคัญประจำยุค ๒๐๐๐ ทั้งหมด
ถ้าพูดถึงความเป็นอมตะ อินเตอร์เน็ตก็อมตะที่สุด
เพราะอินเตอร์เน็ตคือรากเหง้าของกูเกิ้ล เฟสบุ๊ค และทวิตเตอร์
สามตัวหลังจะไม่เกิดขึ้นถ้าไม่มีอินเตอร์เน็ต
เหมือนกับที่ลูกขาดพ่อแม่ไม่ได้
กูเกิ้ล เฟสบุ๊ค และทวิตเตอร์อาจล้มหายตายจาก
ถ้าเจอคู่แข่งทำยอดผู้ใช้ได้มากกว่า
แต่อินเตอร์เน็ตจะยังคงเป็นอินเตอร์เน็ตตลอดไป
ต่อให้มีระบบเครือข่ายล้ำยุคมาแทนที่แบบแผนในปัจจุบันก็ตาม
ข้อมูลจาก http://www.internetworldstats.com/stats.htm
บอกเราว่าปัจจุบันมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไม่ต่ำกว่าสองพันล้าน
คิดคร่าวๆคือ ๑ ใน ๓ ของประชากรโลกทั้งหมด
ทั้งที่เมื่อสิบปีก่อนเพิ่งมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพียง ๓๖๐ ล้าน เท่านั้น
เรียกว่าเว้นแต่ท้องที่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มีใครไม่ใช้อินเตอร์เน็ตแล้ว

มีคนเขียนหนังสือขึ้นมาบอกว่า
อินเตอร์เน็ตเมื่อร่วมมือกับกูเกิ้ลแล้ว ทำให้คนยุคเราโง่ลง
เพราะอยากรู้อะไรก็ได้รู้เร็วเกินไป
คีย์คำที่ต้องการเดี๋ยวเดียวก็ได้คำตอบ
ต่างจากสมัยก่อน กว่าจะรู้อะไรทีต้องหืดจับ
ทำให้สมองของเราไม่จดจำ
เหมือนทุกอย่างผ่านมาเพื่อผ่านไปแบบสายฟ้าแลบ

บางคนก็บอกว่าเฟสบุ๊คทำให้คนไม่อยู่ในโลกความเป็นจริง
หมกมุ่นอยู่แต่กับเพื่อนที่คุยถูกคอ
เล่นแต่เกมที่ถูกใจ แล้วก็ใช้เป็นเครื่องมือจับผิดแฟน
เรียกว่าเริ่มจีบกันในเฟสบุ๊ค
น้อยกว่าเริ่มตีกันเพราะเฟสบุ๊คเยอะ
ผมยังจำข่าวได้ว่าหนุ่มขี้หึงยิงเมียตัวเองดับคาแป้นพิมพ์เฟสบุ๊ค
เพื่อนในเฟสบุ๊คของเธอคงนั้นคงสยองพิลึก
หากรู้ว่าเธอถูกฆาตกรรมเพราะคุยกับเขาอยู่

บางคนก็บอกว่าทวิตเตอร์ทำให้คนเพ้อเจ้อเก่งขึ้น
อยากพล่ามอะไรก็พล่ามไปเรื่อยเปื่อย
ตัวเลข follower ทำให้สำคัญผิดไปว่าพูดอะไรไป
จะมีใครต่อใครได้ยินเป็นจำนวนเท่านั้น
มันทำให้คนยุคเรารู้สึกว่า
มีที่ที่เปิดโอกาสให้ตัวเองเป็นคนสำคัญ
พูดอะไรแล้วมีคนฟังเยอะๆ
เลยพูดทุกอย่างที่คิด เหมือนได้โชว์พาว
เหมือนได้เครื่องกระตุ้นให้พูดๆๆ อยากพูดอะไรก็พูด
หลายคนเริ่มงง หลังจากทวีตอย่างต่อเนื่องเป็นชั่วโมง
นี่เราทำอะไรลงไป พูดอยู่กับใครกันแน่ ใครบ้างที่ฟังเราอยู่

จะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม
๔ คำสำคัญกำลังมีบทบาทกับโลกมนุษย์อย่างใหญ่หลวง
ทุกข้อดีเป็นพันๆข้อของอินเตอร์เน็ต
กลายเป็นการเสพติด และกลายเป็นตัวกำหนดกรรม
กรรมทางความคิด คำพูด ตลอดจนการลงมือทำของคนรุ่นใหม่
แทบจะมีศูนย์กลางอยู่ที่ ๔ คำสำคัญนี้ไปแล้ว

สำหรับโลกภายนอกยกไว้
แต่สำหรับเรา อินเตอร์เน็ตก่อกุศลหรืออกุศลมากกว่ากัน?
ถามตัวเองง่ายๆ อินเตอร์เน็ตทำให้เรารู้เห็นได้ทุกอย่าง
เราเลือกที่จะรู้เห็นอะไรบ้าง?
อินเตอร์เน็ตทำให้เราพูดคุยได้ตลอดเวลา
เราเลือกที่จะพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องใดบ้าง?

ดังตฤณ
กรกฎาคม ๕๔

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น