กุศลกรรมบท ๑๐ (ทางแห่งกุศลกรรม, ทางทำความดี, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติ – Kusala-kmappamatha : wholesome course of action) ว่าโดยหัวข้อย่อ ดังนี้
ก. กายกรรม ๓ (การกระทำทางกาย – Kayakamma : bodily action)
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี* (เว้นจากปลงชีวิต – Panatipata veramani : abstention from killing)
๒. อทินฺนาทานา เวรมณี (เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้โดยอาการขโมย – Adinnadana : abstention from taking what is not given)
๓. กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี (เว้นจากการประพฤติผิดในกาม – Kamesumicchacara : abstention from sexual misconduct)
ข. วจีกรรม ๔ (การกระทำทางวาจา – Vacikamma : verbal action)
๔. มุสาวาทาเวรมณี (เว้นจากการพูดเท็จ – Musavada : abstention from false speech)
๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เว้นจากการพูดส่อเสียด – Pisunaya vacaya : abstention from tale-bearing)
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เว้นจากพูดคำหยาบ – Pharusaya vacaya : abstention from harsh speech)
๗. สมฺผปฺปลาปา เวรมณี (เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ – Samphappalapa : abstention from vain talk or gossip)
ค. มโนกรรม ๓ (การกระทำทางใจ – Manokamma : mental action)
๘. อนภิชฺฌา (ความไม่คิดเพ่งเล็กอยากได้ของเขา – Anabhijjha : non-convetousness)
๙. อพฺยาปาท (ความไม่คิดร้ายต่อผู้อื่น – Abyapada : non-illwill)
๑๐. สมฺมาทิฏฺฐิ (ความเห็นชอบ ถูกต้องตามคลองธรรม – Sammaditthi : right view)
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
Dictionary of Buddhism
Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto)
ISBN 974-8357-89-9
พิมพ์ที่ บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด
*เวรมณี แปลว่า “เจตนาที่ทำให้เว้น” หรือ “เจตนาที่ตรงข้าม” เมื่อจะแปลให้เต็มความ จึงควรแปลว่า “การกระทำที่ว่างจากการคิดเบียดเบียน” หรือ “การทำดีที่ตรงข้ามกับการเบียดเบียนชีวิต” ดังนี้เป็นต้น
D.III 269,290. ที.ปา.11/360/284; 471/337. (
อักษรย่อชื่อคัมภีร์)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น