เปิดเงินเดือน ส.ส. ว่าแต่ทำงานคุ้มกับเงินเดือนหรือเปล่าหนอ?
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
วานนี้ (14 กรกฎาคม) ทางกกต.ได้ทยอยออกใบรับรอง ส.ส. อย่างเป็นทางการแล้ว งานนี้บรรดาว่าที่ ส.ส. ทั้งหลาย ที่ทาง กกต. รองรับ ก็ได้ออกมารายงานตัวกัน ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก ไม่ว่าจะเป็นส.ส.หน้าเก่า ที่คุ้นหน้าคุ้นตาเป็นอย่างดี หรือ ส.ส. หน้าใหม่ที่เพิ่งเข้าทำงานในสภาครั้งแรก ทั้งนี้ ส.ส. ในรัฐบาลใหม่จะได้ประเดิมการทำงานด้วยเงินประจำตำแหน่งในอัตราใหม่ หลังจากที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2553 เห็นชอบให้ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 5% ส่วน ส.ส. และ ส.ว. ปรับขึ้นเงินเดือนในอัตรา 14.3 - 14.7% เนื่องจากไม่ได้เงินเดือนให้ ส.ส. และ ส.ว. มานาน 2 ปีแล้ว โดยเงินเดือนข้าราชการ และ ส.ว. จะมีผลพร้อมกันในวันที่ 1 เมษายน 2554
อย่างไรก็ตาม การขึ้นเงินเดือนของ ส.ส. ดังกล่าว ยังไม่ร่วมสิทธิประโยชน์อื่น ๆ อาทิ เงินประกันสุขภาพ เบี้อประชุมกรรมาธิการ ค่ายานพาหนะ ค่าโดยสารต่าง ๆ ฯลฯ ทำให้หลายคนมองว่าเงินเดือน ส.ส. มีอัตราที่สูง และ ส.ส. บางท่านก็แสนจะเกียจคร้าน ไม่เข้าร่วมประชุมสภา จนทำให้สภาล่มอยู่บ่อย ๆ ... ว่าแต่ว่ารายได้ของเหล่า ส.ส. ปัจจุบัน ได้เท่าไหร่กันหนอ? แล้วจะทำงานคุ้มค่ากับเงินภาษีของประชาชนหรือเปล่านะ
สำหรับเงินเดือน ส.ส. ปัจจุบันมีดังนี้
ประธานสภา เงินประจำตำแหน่ง 75,590 บาท/เดือน
- เงินเพิ่ม 50,000 บาท/เดือน
- รวม 125,590 บาท/เดือน
รองประธานสภาเงินประจำตำแหน่ง 73,240 บาท/เดือน
- เงินเพิ่ม 42,500 บาท/เดือน
- รวม 115,740 บาท/เดือน
ผู้นำฝ่ายค้านเงินประจำตำแหน่ง 73,240 บาท/เดือน
- เงินเพิ่ม 42,500 บาท/เดือน
- รวม 115,740 บาท/เดือน
ส.ส. เงินประจำตำแหน่ง 71,230 บาท/เดือน
- เงินเพิ่ม 42,330 บาท/เดือน
- รวม 113,560 บาท/เดือน
แหม… หลายคนเห็นจำนวนเงินเดือนแล้ว ก็ได้แต่หวังว่า ท่านผู้ทรงเกียรติทุกคนจะทำงานให้คุ้มค่ากับเงินที่ได้ ... เพราะเงินเดือนของพวกท่านแต่ละบาทเป็นเงินภาษีจากพวกเราประชาชนตาดำ ๆ ทั้งนั้นค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น