เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อริยทรัพย์ ๗ อริยทรัพย์ ๗ (ทรัพย์อันประเสริฐ, ทรัพย์คือคุณธรรมประจำใจอย่างประเสริฐ – Ariya-dhana : noble treasures) ๑. ศรัทธา (ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ –

อริยทรัพย์ ๗

อริยทรัพย์ ๗ (ทรัพย์อันประเสริฐ, ทรัพย์คือคุณธรรมประจำใจอย่างประเสริฐ – Ariya-dhana : noble treasures)

๑. ศรัทธา (ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ – Saddha : conduct; virtue)
๒. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติถูกต้องดีงาม – Sila : morality; good conduct; virtue)
๓. หิริ (ความละอายใจต่อการทำความชั่ว – Hiri : moral shame; conscience)
๔. โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อความชั่ว – Ottappa : moral dread; fear-to-err)
๕. พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก – Bahusacca : great learning)
๖. จาคะ (ความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ – Caga : liberality)
๗. ปัญญา (ความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผล ดีชั่ว ถูกผิด คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ รู้คิด รู้พิจารณา และรู้ที่จะจัดทำ – Panna : wisdom)

อริยทรัพย์ เป็นทรัพย์อันประเสริฐอยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เพราะไม่มีผู้ใดแย่งชิง ไม่สูญหายไปด้วยภัยอันตรายต่าง ๆ ทำใจให้ไม่อ้างว้างยากจน และเป็นทุนสร้างทรัพย์ภายนอกได้ด้วย

ธรรม ๗ นี้ ท่านเรียกว่าเป็น พหุการธรรม หรือ ธรรมีอุปการะมาก (Bakukaradhamma : virtures of great assistance; D.III.282; ที.ปา.11/433/310) เพราะเป็นกำลังหนุนช่วยส่งเสริมในการบำเพ็ญคุณธรรมต่าง ๆ ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จได้อย่างกว้างขวางไพบูลย์ เปรียบเหมือนคนมีทรัพย์มาก ย่อมสามารถใช้จ่ายทรัพย์เลี้ยงตนเลี้ยงผู้อื่นให้มีความสุข และบำเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ ได้เป็นอันมาก

D.III.163,267; A.IV.5. ที.ป.11/326/264; องฺ.สตฺตก.23/6/5. (อักษรย่อชื่อคัมภีร์)



อริยทรัพย์ ๗ (ทรัพย์อันประเสริฐ, ทรัพย์คือคุณธรรมประจำใจอย่างประเสริฐ – Ariya-dhana : noble treasures)

๑. ศรัทธา (ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ – Saddha : conduct; virtue)
๒. ศีล (การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติถูกต้องดีงาม – Sila : morality; good conduct; virtue)
๓. หิริ (ความละอายใจต่อการทำความชั่ว – Hiri : moral shame; conscience)
๔. โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อความชั่ว – Ottappa : moral dread; fear-to-err)
๕. พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก – Bahusacca : great learning)
๖. จาคะ (ความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ – Caga : liberality)
๗. ปัญญา (ความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผล ดีชั่ว ถูกผิด คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ รู้คิด รู้พิจารณา และรู้ที่จะจัดทำ – Panna : wisdom)

อริยทรัพย์ เป็นทรัพย์อันประเสริฐอยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เพราะไม่มีผู้ใดแย่งชิง ไม่สูญหายไปด้วยภัยอันตรายต่าง ๆ ทำใจให้ไม่อ้างว้างยากจน และเป็นทุนสร้างทรัพย์ภายนอกได้ด้วย

ธรรม ๗ นี้ ท่านเรียกว่าเป็น พหุการธรรม หรือ ธรรมีอุปการะมาก (Bakukaradhamma : virtures of great assistance; D.III.282; ที.ปา.11/433/310) เพราะเป็นกำลังหนุนช่วยส่งเสริมในการบำเพ็ญคุณธรรมต่าง ๆ ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จได้อย่างกว้างขวางไพบูลย์ เปรียบเหมือนคนมีทรัพย์มาก ย่อมสามารถใช้จ่ายทรัพย์เลี้ยงตนเลี้ยงผู้อื่นให้มีความสุข และบำเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ ได้เป็นอันมาก

D.III.163,267; A.IV.5. ที.ป.11/326/264; องฺ.สตฺตก.23/6/5. (อักษรย่อชื่อคัมภีร์)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น