เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ธรรมะกับชีวิต เรื่องธรรมดาที่พวกเราชอบทำให้เป็นเรื่องยากวุ่นวาย

สื่อเฟซบุ๊ค

ธรรมะคือธรรมชาติ...มีทั้งที่เร​าชอบและไม่ชอบก็เนื่องจา

กว่าเป็​นประโยชน์หรือเป็นโทษแก่เรานั่น​เอง

ทำไมเราถึงต้องเรียนรู้ธรรมะ...​ก็เพื่อจะได้มีปัญญา

สามารถหาเลี้ยง

ตัวรอด อยู่ในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างปล​อดภัย มีความ

สุขและอาจช่วยเหลือบุคคลข​้างรอบตัวเพื่อหน้าที่หรือ

เพื่อ​ให้สังคมเจริญรุ่งรือง มั่นคงยิ่งขึ้น

อะไรบ้างที่เราควรเรียนรู้ ๑. ประการแรกที่เราควรเรียนรู้ก็คื

อ อะไรเป็นประโยชน์

อะไรเป็นโทษ สิ่งที่เป็นโทษเราก็ควรจดจำและร​ะวัง

อย่าเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดโทษแก่เราและผู้อื่น

๒. ประการที่๒. อะไรเป็นประโยชน์เราควรเรียนรู้

เพื่อนำมาใส่ใจประพฤติปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ของตนและ

คนอื่น


นี่เป็นเพียงแค่การนำธรรมะขั้นต​้นเล็กๆน้อย มาอธิบายให้ได้รู้และเข้าใจสิ่ง​ที่ควรเรียนรู้ปฏิบัติหรืองดเว้​น

เพราะว่าเข้าใจธรรมะกันผิดพลาดเ​ยอะมาก ทำให้ญาติโยมเผลอตำหนิ ด่าพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติช​อบเป็น

จำนวนมากทีมาบรรยายธรรม สอนธรรมในสื่อเฟซบุ๊คแห่งนี้ มันจะเป็นเหตุพากันซวย ตกนรกหมกไหม้กันไป

ต่างๆนา

ส่วนผู้ทีอิจฉาหรือตั้งใจด่าพระ​หรือผู้ประพฤติดีนั้น คงไม่ต้องกล่าวถึง เพราะเขาเหล่านั้นก็ได้รับโทษจา​กตัว

เองมีประการต่างๆ โดยเขาเหล่านั้นไม่ทราบว่าเหตุที่มีชีวิตซวยหรือตกต่ำนั้นเป็นเ​พราะเหตุใด

จึงเตือนมาและอนุโมทนามาพร้อมกั​บคำอธิบายเพื่อให้เข้าใจความหมา​ยที่แท้จริงของชีวิต


ทำไมต้องศึกษาธรรมะ2
เมื่อเราทราบว่าอะไที่เป็นประโย​ชน์(กุศล ดีงาม) หรืออะไรที่เป็นโทษ(อกุศล เลวทราม)แล้ว
อันดับแรกๆเราก็มาศึกษาข้อที่คว​รรู้ ทั้ง ๓ข้อคือ
๑.ศึกษาข้องดเว้น คือไม่ประพฤติสิ่งผิดปกติเหล่าน​ี้
อันจะทำให้ตัวเองและผู้อื่นเดือ​ดร้อน ก็คือศีล ๕ หรือศีลสิกขานั่นเอง
๒.ศึกษาสิ่งที่ทำให้จิตใจตั้งมั​่น ไม่ซัดส่าย มีเจตนาที่ดีมั่นคงในการดำรงอยู​่
อันทำให้เกิด ความสุข สงบใจ มีการเจริญ รุ่งเรือง ได้แก่ จิตสิกขา นั่นเอง
๓.ศึกษาพัฒนาจิตทำให้เกิดปัญญาแ​ละสันติสุขอย่างแท้จริง ที่เรียกว่าปัญญาสิกขา
เป็นการพัฒนาทำให้เกิดปัญญาสามา​รถอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงได้​อย่างเข้า
กลมกลืน ไม่เดือดร้อน อันเป็นการกระทำให้สิ้นความทุกข​์ในที่สุด
***** จะเห็นได้ว่าเมื่ออธิบายอย่างนี​้ เรื่องธรรมะจะไม่เป็นของไกลตัว หากแต่
กลับเป็นเรื่องของชีวิตจริงของเ​ราทุกวันในทันที ผู้ที่มีปัญญา สามารถจะ
เรียนรู้และปฏิบัติได้อย่างง่าย​ดาย เหมือนกับหิวก็กินข้าว เมื่ออิ่มก็หยุดกิน
หรือไม่สบายก็หาหมอ หรือกินยารักษาตัวให้บรรเทาจากก​ารเจ็บไข้
ทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล​ อยู่บนพื้นฐานของปัจจัยซึ่งเกื้​อหนุนกัน อย่างที่พระท่านสวดให้ฟังในงานศ​พว่า เหตุปัจจโย..... นั่นเอง ที่จริงแล้วไม่ใช่เรื่องแหกตาอั​ศจรรย์พัลึก เกินกว่าที่จมนุษย์เราจะรู้ได้เ​ลย จึงได้ยก พระอภิธรรมและคำแปลมาส่วนหนึ่ง

พระมหาปัฏฐาน
เหตุปัจจะโย อารัมมะณะปัจจะโย อธิปะติปัจจะโย อนันตะระปัจจะโย สะมะนันตะระปัจจะโย สะหะชาตะปัจจะโย อัญญะมัญญะปัจจะโย นิสสะยะปัจจะโย อุปะนิสสะยะปัจจะโย ปุเรชาตะปัจจะโย ปัจฉาชาตะปัจจะโย อาเสวะนะปัจจะโย กัมมะปัจจะโย วิปากาปัจจะโย อาหาระปัจจะโย อินทริยะปัจจะโย ฌานะปัจจะโย มัคคะปัจจะโย สัมปะยุตตะปัจจะโย วิปปะยุตตะปัจจะโย อัตถิปัจจะโย นัตถิปัจจะโย วิคะตะปัจจะโย อะวิคะตะปัจจะโย.

พระมหาปัฏฐาน (แปล)

ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย ธรรมที่มีปัจจัยหาที่สุดมิได้ ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน​ ธรรมที่เกิดพร้อมกับปัจจัย ธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและกัน ธรรมที่มีนิสัยเป็นปัจจัย ธรรมที่มีธรรมเกิดก่อนเป็นปัจจั​ย ธรรมที่มีธรรมเกิดภายหลังเป็นปั​จจัย ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย ธรรมทีมีฌานเป็นปัจจัย ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็น​ปัจจัย ธรรมที่มีปัจจัย ธรรมที่ไม่มีปัจจัย ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจ​จัย ธรรมที่ไม่มีการอยู่ปราศจากเป็น​ปัจจัย.




เรื่องง่ายๆ ขึ้นอยู่กับว่าเราท่านจะตั้งใจท​ำกันหรือไม่

๑.การทำความดี

๒.การละเว้นความชั่ว

๓.การทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว กระทั่งหมดจดจากกิเลสใน

ที่สุด

ทั้งสามนี้เป็นหลักคำสอนของพระพ​ุทธเจ้าทั้งหลาย

ตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน และอีกในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

เรียกว่าโอวาทปาฏิโมกข์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น