ชุมชนที่ยึดแนว ๓ ประสาน “บ้าน-วัด-ราชการ” ในย่านพระราม ๙ เจ้าอาวาสกล่าวถึงบทบาทของวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ที่มีต่อสังคมไทยในอนาคตว่า เป็นวัดตัวอย่างในลักษณะรูปแบบ
“บวร” ซึ่งคำนี้มาจาก
“บ้าน-วัด-ราชการ” มารวมกันหรือเรียกว่า ๓ ประสาน เหมือนในสังคมไทยเมื่ออดีต ซึ่งเป็นการผสมผสานของวิถีความสัมพันธ์แห่งการอยู่ร่วมกันระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน และราชการ เป็นแบบฉบับที่ยึดถือเป็นแนวทางการพัฒนาในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนเป็นศูนย์รวมของชุมชนเพื่อพัฒนาด้านจิตใจ และสร้างความเข้มแข็งเป็นปึกแผ่นของสังคมโดยส่วนรวม ถือเป็นวัดตัวอย่างขนาดเล็กในชุมชนเมือง ที่เน้นให้คนในชุมชนได้ใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น
แม้จะเป็นวัดขนาดเล็กที่มีภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษา ในพรรษาแรกของการจัดตั้งวัดเพียงแค่ ๗ รูป แต่กิจวัตรที่ภิกษุสามเณรทุกรูปได้ร่วมกันปฏิบัตินั้น
ล้วนแต่เพื่อนำพุทธศาสนิกชนให้เห็นความสำคัญของพุทธศาสนาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำนุบำรุงรักษาวัดให้เรียบร้อยและเงียบสงบ สร้างความสะดวกสบายแก่การปฏิบัติสมณธรรม และเอื้ออำนวยต่อการศึกษาและปฏิบัติธรรมของสาธุชน การเทศนาสั่งสอนประชาชนทุกวันพระ และนำพุทธศาสนิกชนประกอบพิธีบูชาในวันสำคัญทางศาสนาวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นวัดนิกายธรรมยุตที่เน้นการปฏิบัติและเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวทางของวัดบวรนิเวศวรวิหาร มีการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ทั้งการเผยแผ่คำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา การวิปัสสนาธุระ จิตตภาวนา การประกอบพิธีบูชาในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมสังคมสงเคราะห์ กิจกรรมพุทธบูชาและเฉลิมพระเกียรติ กิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมพุทธและประเพณีไทย กิจกรรมปลูกรากแก้วศาสนทายาทของแผ่นดิน และกิจกรรมปลูกมโนธรรมสำนึกแทนคุณ เป็นต้น
โครงการปลูกรากแก้วศาสนทายาท วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ที่สำคัญการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและอบรมจริยธรรมของวัด มีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๔ ประการ คือ เพื่อเป็นแบบอย่างการก่อสร้างวัดขนาดเล็กเพื่อเป็นที่สั่งสอนเผยแผ่พระพุทธศาสนา, เพื่อเป็นที่อบรมศีลธรรมจริยธรรม, เพื่อการพัฒนา และเพื่อเป็นตัวอย่างของการปลูกฝังความใกล้ชิดระหว่างวัด โรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานราชการ ให้มีลักษณะเกื้อหนุนและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน คือ
๑. จัดการสั่งสอนพระพุทธศาสนาแก่เยาวชน โดยให้ภิกษุสามเณรผู้มีความรู้ทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ไปสอนวิชาพระพุทธศาสนาแก่นักเรียนโรงเรียนวัดพระราม ๙ กาญจนภิกเษก ในชั่วโมงเรียนวิชาพระพุทธศาสนาและจัดบรรยายพิเศษนอกชั่วโมงเรียน เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ในพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง อันเป็นฐานของการขัดเกลาจิตใจสำหรับเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญแก่ประเทศชาติในอนาคต
๒. จัดฝึกอบรมศีลธรรมจริยธรรมแก่เยาวชน เป็นการฝึกธรรมจิตด้วยสมาธิวิธีและพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนมีสติ รู้จักยับยั้งชั่งใจ มีสมาธิในการเรียน มีสำนึกในทางศีลธรรม มีมารยาทที่ ดีงาม รู้จักทั้งประโยชน์แก่ส่วนรวมตามควรแก่สถานภาพ นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มี “ห้องสมุดธรรมะ” และ “ห้องโสตทัศนศึกษา” สำหรับฉายวีดีทัศน์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น
ในห้องสมุดธรรมะของวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกแห่งนี้ มีหนังสือหลายเล่มที่น่าสนใจ และหนังสือที่วางแจกไว้เป็นธรรมทานที่สะกิดนักอ่านก็คือ หนังสือธรรมะจากผลงานเขียนของ
พระราชญาณกวี (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่
พระศรีญาณโสภณ ซึ่งใช้นามปากกาว่า
“ปิยโสภณ”พระราชญาณกวี (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ๑) เรื่อง “เสน่ห์ผ้าชี้ริ้ว” ซึ่งมีคำคมเตือนใจไว้ว่า
- ก่อนจะคิดการใหญ่ ต้องหัดคิดการเล็กให้ได้ก่อน จะเป็นผู้บริหารต้องยอมตัวเป็นผู้บริหาร เหมือนผ้าขี้ริ้ว
- ผู้บริหาร คือ ผู้ยอมรับใช้เหมือนผ้าขี้ริ้ว ถ้าผ้าขี้ริ้วไม่สะอาดเสียแล้ว จะนำไปเช็ดถูอะไร ที่ไหนก็มีแต่จะเพิ่มความสกปรกให้ที่นั่น
๒) เรื่อง “รากแก้วของชีวิต” ซึ่งมีบทความตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า
- การปลูกสำนึกดี ไม่ต้องใช้งบประมาณใดๆ แต่ต้องการจิตวิญญาณของพ่อแม่ เป็นน้ำ เป็นปุ๋ย
- รางวัลอันแท้จริงของชีวิต คือ ความรัก ความอบอุ่น ความอุดม ร่มเย็นเป็นสุขของคนส่วนใหญ่ในแผ่นดิน
- รอยเท้าของบรรพบุรุษ คือ รากแก้วทางความคิด
- “บ้าน” คือ เบ้าหลอมความรักที่ดีที่สุดในโลก
- ขอให้เรามาช่วยกันทำบ้านให้เป็นสวนสวรรค์ของชีวิต สร้างบ้านให้เป็นเรือนพักกาย พักใจ ยามอ่อนล้าหมดแรง
๓) เรื่อง “อ้อมกอดแม่” มีคำคมที่อ่านแล้วน้ำตาคลอ คือ
- ครอบครัว คือ จุดเริ่มต้นของความรัก
พ่อแม่ คือ ต้นกำเนิดศาสนา
หากรู้สึกมีทุกข์ กอดลูกไว้ให้แน่น และหากรู้สึกไม่สบายใจ อ้อมกอดแม่อบอุ่น
- ยามรู้สึกอ่อนล้า ยาวิเศษคือกำลังใจ
กำลังใจ คือ กำไรของชีวิต กำลังใจ คือ ทิพย์โอสถ
กำลังใจหาได้จากครอบครัว ความรักที่แม่มีต่อลูก ความเอื้ออาทรที่ลูกมอบให้แม่
- กำลังใจ คือ ทิพย์โอสถของชีวิต ที่สามารถขจัดโรคร้ายทุกชนิดไปจากชีวิตได้ จงใช้โอสถทิพย์ชโลมใจ
- เราอาจสูญเสียบางอย่างไป แต่ก็เป็นเพียงส่วนเกินที่เราได้มาเราอาจคิดว่าเราสูญเสียทุก อย่างแล้ว ความจริงเป็นเพียงบางส่วนที่เป็นกำไร มิใช่ “ต้นทุน”
- ต้นทุนแท้จริงคือตัวชีวิต ตราบใดที่เรามีชีวิตเรายังสามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้
๔) “บ้านมีชีวิต”
- บ้านเป็นแหล่งอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ บ้านเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เมื่อพิจารณาให้ดี “บ้าน” มิใช่เพียงที่พักกาย แต่เป็นที่พักใจ และเรือนตายของคนทุกคนอีกด้วย
- กระท่อมน้อยที่มีความรักความเข้าใจ อาจเป็นวิมาณแสนสุขของพ่อแม่ลูกได้ดีกว่าคฤหาสน์ที่ปราศจากความอ่อนโยน
๕) เทปชุด “คำสอนของแม่” เรื่อง “ชีวิตคืออะไร”
ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ ๗ ประเด็น คือ
- ชีวิตคือการแข่งขัน
- ชีวิตคือการเดินทาง
- ชีวิตคือการเปลี่ยนแปลง
- ชีวิตคือการต่อสู้
- ชีวิตคือการเรียนรู้
- ชีวิตคือการแสวงหา
- ชีวิตคือความพ่ายแพ้และชัยชนะ
ศาลาราย วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก(มีต่อ ๒)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น