ชีวิตของ “ผู้ปฏิบัติธรรม” นั้น ถ้าเกิดอาการป่วยร้อยละ 95 เกิดขึ้นเพราะ “ป่วยใจ”
การดำเนินชีวิตบนถนน บนหนทางที่ “ทวนกระแสกิเลส” พวกเราทั้งหลายที่สมมติตนขึ้นมาแล้วใช้ชื่อว่า
“ผู้ปฏิบัติธรรม” นั้น ในทุก ๆ วันต้องเจอ ต้องต่อสู้กับอารมณ์อยู่ตลอดเวลา
ทั้งรัก ทั้งเกลียด ทั้งชอบ ทั้งชั้ง พอใจ ไม่พอใจ ไม่มีก็อยากได้ เมื่อได้แล้วไม่ชอบก็อยากผลักใสไป...
ครั้นเมื่อไม่ได้ตามสิ่งที่ใจปรารถนาก็ขุ่นข้อง หมองใจ
อยากนอนก็ไม่ได้นอน อยากพักก็ถูกเรียกขึ้นมา “ดัด” เมื่อไม่พอใจ คับข้องใจ ก็ “ป่วย...”
การป่วยของผู้ปฏิบัติธรรมจึงเกิดขึ้นมาจาก “สภาวะจิต” ที่ผิดปกติ
หลายครั้งที่เราป่วยเพราะเกิดจาก “ทิฏฐิ มานะ” ไม่ยอมกัน ไม่ลงรอยกัน “คิดมาก” เครียดมาก คิดไป
คิดมา เส้นต้นคอตึง เส้นหลังตึง พาลให้วิงเวียนศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน
ถ้ายังรั้น มีทิฏฐิ มานะ ไม่ปล่อยวาง คราวนี้ก็ถึงขั้นเป็นไข้ ได้ป่วย ต้องล้มหมอน นอนเสื่อ...
อาการแห่งจิตที่มัวครุ่นคิดแล้วไม่ได้ตามจิตที่ปรารถนานั้น เปรียบเสมือนการนำตนเข้าไปจมอยู่ใน “ถังขี้”
ถังขี้ที่ทั้งเหม็น ทั้งสกปรก มีแต่เชื้อโรค เมื่ออยู่นานเข้า นานเข้า ร่างกายที่ไม่เป็นอะไร ก็ต้อง “เป็นอะไร...”
เมื่อป่วยด้วยสาเหตุจากอาการแห่งจิตเช่นนี้ วิธีแก้ไขก็คือ “การทำความดี” และ “การเสียสละ”
หลาย ๆ ครั้งที่เราถูกสั่งให้ “หายป่วย”
หลังจากที่นอนซมมาหลายวัน อยู่ดี ๆ เราก็ถูกสั่งให้ลุกขึ้นมา “ทำงาน”
เอ้า... เราป่วยอยู่นะ ทำไมให้เราลุกขึ้นมาทำงานล่ะ....?
ตอนแรกก็งง ๆ แต่ด้วยความเคารพ ศรัทธา ในปัญญาแห่งพระอริยเจ้า เราก็ “ลุกขึ้นสู้”
อ้าว... หายป่วยแล้วนี่หว่า !
หายป่วยไปซะอย่างงั้น
ได้ออกมาทำงาน มาทำความดี มาเสียสละ
ตอนแรกก็เหมือนจะป่วย (เพราะคิดว่ายังป่วยอยู่) พอทำงานไป ทำงานมา “ลืมป่วย” ก็เลย “หายป่วย” ไป
โดยปริยาย (ออกกำลังกาย “คลายป่วย...” )
การให้โอกาส และปัญญาอันชาญฉลาดแห่งจิตนั้นเป็นสิ่งประเสริฐ
จิตนั้นเป็นนาย กายจึงเป็นบ่าว
จิตใจรักษากาย กายนั้นจะดำรงอยู่ได้เพื่อความดี...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น