เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553

ทาง ๗ สาย ๑


ทาง ๗ สาย

เราชาวพุทธทั้งหลาย ทราบและเข้าใจดีว่า สัตว์ทั้งหลายมีการเวียนว่าย ตายเกิด เป็นธรรมดา การเกิดในแต่ละชาติ จะได้ไปสู่ภพใด ภูมิใด นั่นขึ้นอยู่ที่กรรมของผู้นั้น ๆ และนั่นคือ ทาง ๗ สายที่ ผู้นั้น ๆ จะต้องไปเกิด

ทาง ๗ สาย คือ

๑. สัตว์นรก
๒. เปรต อสุรกาย
๓. ดิรัจฉาน
๔. มนุษย์
๕. เทวดา
๖. พรหม
๗. นิพพาน

อันนี้จำแนกออกตาม สภาพจิตของสัตว์ที่จะไปเกิด

โทสะ นำไปสู่ นรก
โลภะ นำไปสู่เปรต
โมหะ นำไปสู่ ดิรัจฉาน
ศีล ๕ นำไปสู่มนุษย์

การทำความดีทั่ว ๆ ไป รวมถึงการรักษาศีลนำไปสู่สวรรค์
ศีล ๘ และสมถะกรรมฐาน นำไปสู่พรหม
วิปัสสนากรรมฐาน นำไปสู่ นิพพาน

อันนี้ ว่ากันคร่าว ๆ ตามตำราไปก่อน ส่วนรายละเอียดปลีกย่อย มีอีกเยอะ ซึ่งอาจไม่เป็นไปตามแบบดังกล่าว

เพียงแต่ในที่นี้ ขอให้ท่านทั้งหลายเห็นว่า การทำความชั่ว นำไปสู่ทุคติภูมิ คือไปเกิดในที่ไม่ดี การทำความดี นำไปสู่สุคติภูมิ คือไปเกิดในที่ดีดี การทำความชั่ว และการทำความดีแบบทั่ว ๆ ไป คงไม่ต้องกล่าวในที่นี้ กระมัง เพราะ ความดี ความชั่ว สิ่งดี สิ่งไม่ดี ระดับพื้นฐานทั่วไป มีอยู่ในฐานความเชื่อของทุกคนอยู่แล้ว และทุกคนก็ รู้ดีว่า จิตของคนเราเจือด้วยกิเลส ตัณหา ยากที่จะถอดถอน อันนี้ เป็นความเชื่อ ความรู้ที่มีอยู่ในสัญญา ความจำทุกคนอยู่แล้ว

ความโกรธ หรือ บางครั้งภาษาปาก เรียกว่า โมโห บ้าง นั้น เป็นส่วนหนึ่งของมูลฐานกิเลสที่เรียกว่า “โทสะ” และโทสะ นั้น นับได้ว่าเป็นผู้มีอิทธิพลมากมีอำนาจมาก ในบรรดา กิเลส ผู้มีอิทธิพล ๓ ชนิด ลูกสมุนของโทสะ เช่น ความหงุดหงิด อารมณ์เสีย ขุ่นเคือง เคียดแค้น ไม่พอใจ หมั่นไส้ และอื่น ๆ อีกมากมาย

ความโลภ หรือบางครั้งภาษาปาก เรียกว่า ละโมบ บ้างนั้น เป็นส่วนหนึ่งของมูลฐานกิเลสที่เรียกว่า โลภะ หนึ่งในกิเลสผู้มีอิทธิพลมาก ๓ ชนิด ซึ่งลูกสมุนของโลภะ เช่น ความอยากได้ของคนอื่น ความหวง ความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว เป็นต้น

ความหลง ความงมงาย หรือการที่ทำอะไรไปโดยไม่แจ้งใจถึงบาปบุญ คุณโทษ เป็นส่วนหนึ่งของมูลฐานกิเลสที่เรียกว่า โมหะ หนึ่งในกิเลสผู้มีอิทธิพลมาก ๓ ชนิด ซึ่งลูกสมุนของโมหะ เช่น ความหลงใหล ความหดหู่ ความเซ็ง ความเศร้า เป็นต้น

การที่เราทำกรรมด้วยใจที่แปดเปื้อน หรือเจือด้วยกิเลสเหล่านี้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การที่กิเลสเหล่านี้ชักนำให้เราทำกรรมใด ๆ ก็ตาม กรรมนั้น ๆ แล จะเป็นตัวชี้นำ นำพา ผู้ทำกรรมเข้าสู่ทางแห่งมัน เข้าสู่บ้านมัน เข้าสู่ที่พำนักมัน

เมื่อเราพยายามไม่ทำตามอำนาจของกิเลสเหล่านั้น นี่แล คือการพยายามทำความดี และผลของมันย่อมนำออกนอกทางต่ำ ๓ อย่าง ดังกล่าวข้างต้น แล้วชักพาเข้าสู่ทางที่สูงกว่ามีมนุษย์ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น