เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

หลวงพ่อเทียน การทำความรู้สึก ภาค ๒ (การเดินทาง)



หลวงพ่อเทียน
การทำความรู้สึก
ภาค ๒ (การเดินทาง)

ภาค ๒ การเดินทาง

เราต้องพยายามทำไปแต่ต้นๆ ให้เป็นไปตามขั้นตอน อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านว่าไว้นั้น ถ้าหากเราไม่ทำอย่างนี้ ไม่แก้ตรงนี้ก่อนแล้ว...ไปยาก การปฏิบัติธรรมจะไม่ก้าวหน้า การปฏิบัติธรรมจะก้าวหน้า ต้องเริ่มแต่ต้นๆ

การปฏิบัติเบื้องต้น

คนใหม่นี่ต้องทำจังหวะมากๆ ทำช้าๆ นานๆไปพอดีมันรู้เล็กๆน้อยๆ ที่เรียกว่ารู้เรื่องรูปเรื่องนามนี้ บัดนี้ต้องเดิน จงกรมให้มาก การเดินจงกรมนั้นก็ดี แต่ว่ามันสู้การทำจังหวะไม่ได้-คนใหม่ การทำจังหวะต้องทำช้าๆ นิ่มๆ หรือทำอ่อนๆ นี่ ถ้าทำเรงทำไวๆ มันกำหนดบ่ทัน สติเฮาบ่ทันแข็งแรง จึงว่าทำช้าๆ อ่อนๆ ทำให้เป็น จังหวะๆ ให้รู้สึกว่ามันหยุด มันนิ่งก็ให้รู้สึก มันไหวไป ไหวมา ก็ให้มันรู้สึก

ทำให้มันเข้าใจ ทำจังหวะช้าๆ แล้วก็รู้...เบื้องต้นให้รู้จักรูป-นาม ให้เรารู้จริงๆ เรื่องรูป-นามนี้ เรื่องความคิดไม่ ต้องห้ามมันเลย ให้มันคิด...

มันเกิดปิติ...อันความปิตินี้มันดึงเราออกไป ให้มันไม่รู้รูปนามนี่เอง มันจะไปอยู่กับอารมณ์(ของปิติ) เมื่อ มันไปอยู่กับอารมณ์ ก็เลยไม่รู้รูป-นาม เมื่อไม่รู้รูป-นามนานๆเข้า ก็เศร้าหมองขุ่นมัวไป

บัดนี้มันคิด คิดแล้วก็แล้วไป เรามาทำความรู้สึกกับรูป-นาม ให้มันรู้รูป-นามนี่แหละ ต้องให้รู้อยู่เสมอ-วิธีปฏิบัติ อย่างนี้แต่ให้มันคิด ห้ามคิดไม่ได้...

ให้มันคิด ถ้ามันไม่คิด มันจะเป็นอันตราย หรือมันมึนหัว หรือแน่นอกแน่นใจ ให้มันคิด แต่เราทำให้มันสบาย ไม่ต้องวิตกกังวลอะไร รู้ก็ได้ ไม่รู้ก็ได้ บัดนี้ เราต้องรู้กับรูป-นาม นี่มันเป็นรูป เป็นนาม เป็นรูปทำ เป็น นามทำ...ให้รู้อยู่กับอารมณ์เหล่านี้(ทบ)ทวนกลับไปกลับมา...รู้อยู่ในวงนี้ทั้งหมด อันนี้เรียกว่า อารมณ์ รูป-นาม ให้(ทบ)ทวนอารมณ์อันนี้ แล้วก็มันคิดก็แล้วไป เมื่อรู้สึกตัว ก็มาอยู่กับอารมณ์อันนี้ ทวนกลับไป กลับมา ไม่ต้องหลงไม่ต้องลืม นี่ ให้มันฝังแน่นหรือแนบแน่นอยู่กับความรู้สึกอันนี้

เมื่อมันคิดขึ้นมา ก็มาทำความรู้สึก เดินจงกรมมันก็จะเดินเร็ว เพราะว่ามันไปตามอารมณ์มาก ทำจังหวะ...มันก็ จะทำไว้ขึ้นเร็วขึ้น นี่ แต่เราพยายามทำให้มันรู้สึกตัว ก็ช้า(ลง)ไป บางทีก็หลงไป เข้าไปในความคิด ก็ (ทำ)ไวขึ้น มันไปเพ่ง...เราต้องทำช้าๆ ใช้เวลานานก็ช่างมัน

เราต้องปฏิบัติเรื่องๆ อย่าเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ถ้าเราไปนึกว่าเหน็ดเหนื่อยแล้วหยุด อันนั้นเรียกว่าไม่ ติดต่อไม่สัมพันธ์กัน มันไม่โยงกันตั้งแต่ต้นจนปลาย

การเห็นความคิด เห็นจิต เห็นใจ

รู้เรื่องรูป-นามแล้ว (ดูภาคผนวก) อย่าเอาสติมาใช้รูป-นาม ให้เอาสติคอยดูความคิด ให้ดูอยู่ตรงนี้แหละ แต่อย่าไปบังคับมัน เพียงทำเล่นๆ ดูเล่นๆ

เมื่อเราปฏิบัติรู้รูป-นามแล้ว ก็ทำจังหวะให้มันเร็วขึ้น เดินจงกรมให้มันเร็วขึ้น(แต่ไม่ถึงกับวิ่ง)

มันคิดแล้วรู้ รู้แล้วทิ้งเลย อย่าไปตามความคิด

พอดีมันคิดปุ๊บ ดีใจก็ตาม เสียใจก็ตาม ทำความรู้สึกตัว เมื่อเราทำความรู้สึกตัวแล้ว ความคิดมันถูกหยุดทันที

แต่ทีแรกเรายังไม่เคย มันก็ต้องคิดไปก่อน ลากไปเหมือนแมวกับหนูนี่เอง หนูตัวโตมีกำลัง แมวตัวเล็ก เรียกว่า ความรู้สึกตัวเรามันน้อย เป็นอย่างนั้น เมื่อหนูออกมาแมวมันไม่เคยกลัวนี่ มันก็จับหนู หนูก็ตื่นไป แล่นไปวิ่งไป แมวก็ติดหนูไป เป็นอย่างนั้น นานๆมาแมวมันเหนื่อยไป (มัน)ก็วาง(เอง)มัน ความคิดที่มันคิด ไปร้อยอันพันอย่าง มันค่อยเซาผู้เดียวมัน(มันหยุดเอง)อันนั้น เป็นอย่างนั้น

บัดนี้พอดีเฮาให้อาหารแมว เรียกว่าอาหาร ถ้าหากพูดตามภาษาภาคปฏิบัติก็ว่า เราทำความรู้สึกตัว ก็เรียกว่า เป็นอาหาร เป็นอาหาร(ของ)สติ หรือเป็นอาหารแมว(สติ ปัญญา)หรือว่าทำความรู้สึกตัว แล้ว แต่จะพูด...ให้เราทำความรู้สึกตัวมากๆ พอดีมันคิดปุ๊บ ความรู้สึกตัวมันจะไม่ไป ความคิดก็หยุดทันที...

ถ้าหากว่า(ความคิด)มันมาแรง เราก็ต้องกำ(มือ)แรงๆ กำแรงๆ กำมือแรงๆหรือ จะทำวิธีไหน ก็ตามแหละ ทำให้มันแรง เมื่อความแรงดันเข้ามาพอแล้ว มันหยุดเองมัน... ทำบ่อยๆ ทำมากๆ เมื่อมันคิดขึ้นมาปุ๊บ มันจะรู้ทันที เหมือนกับที่หลวงพ่อเคยพูดให้ฟังบ่อยๆว่า มีเก้าอี้ตัวเดียว บัดนี้เราก็มีสองคน คนหนึ่งเข้าไปมีแรงดันไว้ คนไปทีหลังก็เข้าไปไม่ได้ เป็นอย่างนั้น บัดนี้คนไปทีหลังนั่งไม่ได้ ก็คือ แต่ก่อนนั้นเรามีแต่ความ "ไม่รู้" ไปอยู่ ความ "รู้" นั้นไม่มี บัดนี้เราพยายามฝึกหัดความ "รู้" นั้นเข้าไปมากๆ แล้ว ความ "ไม่รู้" นั้นก็ลดน้อยไปๆ

ให้มันคิด มันยิ่งคิดก็ยิ่งรู้มากขึ้น รู้มากขึ้น มันจะทันความคิด เอ้า! สมมุติให้ฟัง มันคิด ๑๐๐ เรื่อง เราจะรู้เรื่อง เดียว - ทีแรก บัดนี้มันคิด ๑๐๐ เรื่องเราจะรู้ ๑๐ เรื่อง บัดนี้มันคิดมา ๑๐๐ เรื่อง เราจะรู้มันถึง ๒๐ มันก็ เหลืออยู่ ๘๐ สมมุติ เอาเป็นสิบๆเข้าไปนะครับอันนี้ บัดนี้มันรู้ ๘๐ แล้ว เรายังไม่รู้ ๒๐ บัดนี้ ตอนนี้ต้องทำ ความเพียรให้มากนะ บัดนี้มันรู้ถึง ๙๐ ยังไม่รู้ ๑๐ เดียว มันรู้ถึง ๙๕ เรื่อง มันคิดขึ้นมาปุ๊บ..ทันปั๊บได้ ๙๕ เรื่อง ยังไม่รู้ ๕ เรื่อง อันยังไม่รู้ทันความคิดนะครับ สมมุติบัดนี้เราต้องพยายามทุ่มเทความเพียร บัดนี้ทุ่มเท จริงๆ ทำโดยไม่ท้อถอยไม่ย่อหย่อน แต่ห้ามนอนบัดนี้ กลางวันไม่ต้องนอน เด็ดขาดได้เท่าไรยิ่งดีครับ กลาง คืนต้องนอน

พอดีมันคิดปุ๊บ...ทันปั๊บ...คิดปุ๊บ...ทันปั๊บ มันไปไม่ได้ มันจะทำให้จิตใจเราเปลี่ยนแปลงที่ตรงนี้แหละ ความเป็นพระอริยบุคคลจะเกิดขึ้นที่ตรงนี้ หรือเราจะได้ต้นทางที่ตรงนี้ ได้กระแสพระนิพพานที่ตรงนี้

จิตใจของเรามืดตื้ออยู่แต่ก่อน มันไม่รู้จักทางไป บัดนี้พอดีทันอันนี้แล้ว มันจะสว่างขึ้นภายในจิตใจ แต่ไม่ใช่ สว่างที่ตาเห็นนะครับ จิตใจมันจะสว่างขึ้น เบาอกเบาใจ เรียกว่า "ตาปัญญา" อันนี้(เป็น)ลักษณะ ปัญญาญาณของวิปัสสนาเกิดขึ้น

เราต้องทำจังหวะ เดินจงกรม ทำช้าๆก็ได้ ทำไวก็ได้ ทำให้มันถูกจริตครับ

ต้องทำความเพียรขึ้นให้มาก "เดินไป" เรียกว่าไม่ใช่เดินด้วยเท้า (คือ)ให้ปัญญามันเดินไป ให้ปัญญา เดินเข้าไปรู้ "อารมณ์" โดยไม่ต้องศึกษาเล่าเรียนจากครูอาจารย์ ไม่ต้องไปศีกษาเล่าเรียนจากตำรับตำราที่ไหน แล้วก็จะรู้ไป เป็นขั้นเป็นตอนไปเป็นพักๆเรียกว่า เป็นปฐมฌาน เป็นปัญญาเข้าไปรู้นะ เป็นทุติยฌาน เป็นตติยฌาน เป็นจตุตถฌาน เป็นปัญจมฌานขึ้นไป เป็นอย่างนั้น

ปัญญาของญาณวิปัสสนา เข้าไปรู้ เข้าไปเห็น เรียกว่ายาน(ญาณ) จึงเป็นพาหนะขนส่ง แล้วมันจะเบาไป เป็นขั้นเป็นตอนไปครับ มันเป็นอย่างนั้น

รู้-เห็น-เข้าใจอย่างนี้แล้ว มันจะไวความคิดนะครับ นี่ "อารมณ์" มันอันนี้ เรียกว่าเป็นพักๆไป

มันจะเห็นว่าตนตัวเรานี่แหละ มันถึงที่สุดแล้ว ญาณย่อมมี ท่านบอกไว้อย่างนี้ "ถึงที่สุดแล้ว ญาณย่อม มีนะครับ มันปรากฏขึ้นมาเอง" เมื่อผมเป็นอย่างนี้ ผมก็เลยรู้ว่า พระพุทธเจ้าตัดผมครั้งเดียว ผมก็เลย เห็น-เลยเข้าใจ-เป็น-มี

มัน"เป็น"แล้วนะครับ จึงจะรู้นะครับ อย่าไปรู้ล่วงหน้านะ ถ้าไปรู้ล่วงหน้าแล้ว มันเป็นความรู้ มันเป็นจินตญาณ มันรู้เอาเอง มันคิดเอาเอง อันนั้นไม่ใช่"เป็น" ไม่ใช่ "มี" มันรู้นะ - อันนั้น

อันที่ผม"เป็น"ผม"มี"นี่ มันไม่รู้ครับ มันเห็น-มันเป็น-มันมี ครับ มัน"มี"มัน"เป็น" แล้ว มันจึงรู้ ญาณจะ เกิดขึ้น คือ ญาณ เกิดขึ้นแล้ว มันจึงรู้ครับ

พอดีผมเห็น-รู้-เข้าใจอันนี้แล้ว โอ! พระพุทธเจ้าตัดผมครั้งเดียวนั้น ไม่ใช่ตัดผมจริงๆ คืออันนี้แหละ มัน ขาดออกจากกันครับ เลือดทุกหยดจะหวนกลับทั้งหมด เชือกที่เราผูกไว้นั้นนะครับ มันจะกลับเข้าไปสู่หลักเดิม มันทั้งหมด อันนี้แหละครับ มันจะรู้-เห็นมัน เปลี่ยนแปลงไปอย่างนี้ เรียกว่าอาการ ความเปลี่ยนแปลงไป เบาไม่มี อะไรหมดตัวละครับ เรียกว่า "จบ" ถึงที่สุดแล้วญาณย่อมมี มันถึงที่สุดแล้วครับ มันจึงรู้ครับ

คำแนะนำ(เพิ่มเติม)

อันตัวความคิดนี้ มีอยู่ ๒ ประเภท

ความคิดชนิดหนึ่ง มันคิดขึ้นมาแวบเดียว มันไปเลย อันนั้นมันเป็นเรื่องความคิด ความคิดอันนี้มันนำโทสะ โมหะ โลภะ เข้ามา

อัน(ความคิด)ที่เราตั้ง(ใจ)คิดขึ้นมานั้น มันไม่นำโทสะ โมหะ โลภะ อันนั้นมันตั้ง(ใจ)คิด มาด้วยสติปัญญา

วิธีนี้ไม่ต้องห้ามความคิด ให้มันคิด มันยิ่งคิดเรายิ่งรู้ มันคิดมากเท่าไรก็ดีแล้ว เราจะรู้มากขึ้น บางคนรำคาญ ว่าจิตใจฟุ้งซ่าน ไม่มีสมาธิ แน่ะ! เข้าใจไปอย่างนั้น ดีแล้ว จิตใจฟุ้งซ่านรำคาญมาก ให้มันคิด มันยิ่งคิดเรายิ่งรู้ แต่ ทำความรู้สึกให้มากอย่าหยุดทำความรู้สึก แต่อย่าเพ่ง

ที่มันคิด เราไม่ต้องห้ามมัน แต่ก็หลบตัวมาอยู่(กับ)ความรู้สึก ให้มันคิด พอดีมันคิด เราก็หลบตัวมาอยู่ความรู้สึก ความรู้สึกนี่แหละจะได้ทำงานความไม่รู้ตัวนี้

การดูความคิดนี่แหละเป็นหลักสำคัญ โดยมากคนมันพลาดที่ตรงนี้ เมื่อมันคิดขึ้นมา เราก็เลยเข้าไปในความคิด ไป วิพากษ์วิจารณ์อันนั้นอันนี้ บทนั้นบทนี้ นั้นเรียกว่า เราเข้าไปในความคิด ไม่ใช่ตัดความคิดได้ มันรู้คิด-อันนั้น ไม่ใช่ว่าเห็น ความคิด มันรู้เข้าไปในความคิด

เมื่อเข้าไปในความคิดแล้ว มันก็เลยปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราว เขาเรียกว่าสังขารปรุงแต่ง ถ้าเราไปนั่งเฝ้า ไม่มีการเคลื่อนไหว มันเข้าไปในความคิด พอดีมันคิดขึ้นมา มันก็เลยไปรู้กับความคิดเลย เรียกว่า รู้"เข้า" ไปในความคิด ไม่ใช่รู้"ออก"จากความคิด

อันนั้นเพราะมันไม่มีอัน (อะไร) ดีงไว้ ดังนั้นจึงมีการฝึกหัดการเคลื่อนไหวของรูป(กาย) ให้รูป(กาย)เคลื่อน ไหวอยู่เสมอ เราคอยให้มันมีสติรู้อยู่กับการเคลื่อนไหวของรูป(กาย) พอดี-ใจคิดขึ้นมา เราจะเห็น เราจะรู้

วิธีนี้เห็นอันใด(อะไร)ไม่ได้ เห็นผีเห็นเทวดา เห็นพระพุทธรูป เห็นดวงแก้ว ที่สุดเห็นพระพุทธเจ้าก็ไม่ถูกต้อง เพราะ จิตของเรามันคิดออกไป เราไม่เห็นความคิด มันถูกปรุง คือจิตใจมันปรุงเอง มันปรุงเพราะเราไม่เห็น "ต้นตอของความคิด" นี่เอง

ใจของเรานี่มันเร็ว เราไม่เห็นมันคิด มันคิดปุ๊บออกไปนี่ มันไปแสดงเป็นผี เป็นสี เป็นแสง เป็นเทวดา เป็นนรก เป็นสวรรค์ แล้วแต่มันจะแสดงเรื่องใด เราต้องเห็นตามภาพที่จิตใจมันแสดงนั่นเอง มันเป็นมายาของจิตใจ เราเรียกว่าเป็นกลไก ของจิตใจ...

จึงว่าสิ่งที่เห็นนั้นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็นนั้นไม่จริง มันจึงแก้ทุกข์ไม่ได้ ถ้าหากเห็นของจริงแล้ว มันต้องแก้ทุกข์ได้

อันนี้แหละลัดสั้นที่สุด มันคิดปุ๊บ...เห็นปั๊บขึ้นมา อันนี้แหละเป็นการปฏิบัติธรรมแท้ๆ อันที่เราทำจังหวะนั้น เป็นวิธีการครับ เพราะ ว่าคนมีระดับสติปัญญาไม่เหมือนกันครับ ถ้าหากคนมีปัญญาจริงๆแล้ว ดูความคิด มันคิดปุ๊บ...เห็นปั๊บ นี่เป็นการปฏิบัติธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น