เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นชีวิต






ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์

กองแห่งรูปธรรมและนามธรรมห้าหมวดที่ประชุมกันเข้าเป็นชีวิต

รูปขันธ์ กองรูป , ส่วนที่เป็นรูป , ร่างกาย , พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย , ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด , สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ
เวทนาขันธ์ กองเวทนา , ส่วนที่เป็นการเสวยรสอารมณ์ , ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉยๆ
สัญญาขันธ์ กองสัญญา , ส่วนที่เป็นความกำหนดหมายให้จำอารมณ์นั้นๆได้ , ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ 6 เช่นว่า ขาว เขียว ดำ แดง เป็นต้น
สังขารขันธ์ กองสังขาร , ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง , สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ , คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต
วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ , ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์ , ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6 มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ 6
ขันธ์ 5 นี้ ย่อมลงมาเป็น 2 คือ นาม และ รูป ; รูปขันธ์จัดเป็นรูป , 4 ขันธ์นอกจากเป็นนามอีกอย่างหนึ่ง จัดเข้าในปรมัตถธรรม 4 : วิญญาณขันธ์เป็นจิต , เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ เป็น เจตสิก , รูปขันธ์ เป็น รูป , ส่วน นิพพาน เป็นขันธ์วินิมุต คือ พ้นจากขันธ์ 5





ติดต่อเรา กลับไปข้างบน
<<ก่อนหน้านี้
หน้าถัดไป>>
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ผู้แต่ง พระธรรมปิฎก สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2546 หน้า 162



โปรดใช้หลักอย่าเชื่อ 10 ประการ (กาลามสูตร) ในการพิจารณา ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาได้จากที่มาที่อ้างอิงครับ

ผู้จัดทำขออนุโมทนาบุญให้ผู้ที่สนใจศึกษาธรรม และขออภัยหากมีความผิดพลาดหรือบกพร่องประการ ได้โปรดชี้แนะ ติดต่อ วรเดช ปัญจรงคะ มือถือ 06-5337199 โทรศัพท์ 02-6379999 ต่อ 2765 โทรสาร 02-6379999 ต่อ 2765 อีเมล์ voradaj@yahoo.com”

แก่นพุทธศาสนา | ประโยชน์พุทธศาสนา | พุทธศึกษา | เผยแพร่พุทธศาสนา
สื่อธรรมะ| กระดานกระทู้ | ติดต่อกับเรา | แผนผัง

เผยแพร่เป็นธรรมทานโดย www.buddha4u.org ปรับปรุงล่าสุด: 16 เมษายน 2549 Contact Email : voradaj@easyinsurance4u.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น