หลักธรรมสำหรับผู้บริหาร และนักการเมืองผู้ถือหางเรือที่ชื่อว่าราชอาณาจักรไทย....
พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนหลักธรรมในเรื่องต่างๆ ซึ่งเราได้พิสูจน์แล้วว่า พระสัทธรรมนั้นเป้นอกาลิโก ไม่จำกัดกาลเวลา ไม่มีคำว่า "ล้าสมัย"
สำหรับผู้บริหาร (รวมถึงบริหารประเทศ) หรือผู้เป็นหัวหน้างาน คงประดุจราชสีห์ที่สามารถให้คุณให้โทษแก่ใต้ผู้บังคับบัญชาได้ การปฏิบัติตนให้สมควรแก่ความเป็นผู้บังคับบัญชาจึงมีความสำคัญมาก ข้าพเจ้าเห็นข้าราชการ นายทหาร นายตำรวจหลายท่าน เมื่อครายังมีอำนาจก็ยังเป็นราชสีห์อยู่ เมื่อคราหมดอำนาจก็ไม่ต่างจากสุนัขตัวหนึ่งที่ไม่มีใครมาเหลียวแล นั่นเพราะ เขามิได้ใช้หลักธรรมในการปกครองผู้ใต้บังคับบัญชา อาศัยใช้แต่พระเดชไม่สนพระคุณ
หลักธรรมที่ผู้บริหารควรจะน้อมเข้าใส่ใจและนำไปปฏิบัติ ได้แก่
พรหมวิหารสี่
พรหมวิหาร 4 (ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ, ธรรมประจำใจอันประเสริฐ, หลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์, ธรรมที่ต้องมีไว้เป็นหลักใจและกำกับความประพฤติ จึงจะชื่อว่าดำเนินชีวิตหมดจด และปฏิบัติตนต่อมนุษย์สัตว์ทั้งหลายโดยชอบ - holy abidings; sublime states of mind)
1. เมตตา (ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า - loving-kindness; friendliness; goodwill)
2. กรุณา (ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์ - compassion)
3. มุทิตา (ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง กอปรด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป - sympathetic joy; altruistic joy)
4. อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน - equanimity; neutrality; poise)
ผู้ดำรงในพรหมวิหาร ย่อมช่วยเหลือมนุษย์สัตว์ทั้งหลายด้วยเมตตากรุณา และย่อมรักษาธรรมไว้ได้ด้วยอุเบกขา ดังนั้น แม้จะมีกรุณาที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์แต่ก็ต้องมีอุเบกขาด้วยที่จะมิให้เสียธรรม
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=161
อ่านประกอบเมตตาสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=3328&Z=3470&pagebreak=0
ผู้บริหารที่ดำรงอยู่ในพรหมวิหารสี่ จะทำให้เป็นผู้ไม่มีภัยเวร ไม่ถูกทำร้ายจากผู้ใต้บังคับบัญชา
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ละอคติสี่ประการ
อคติ หมายความว่า การกระทำอันเป็นความลำเอียงทำให้เสียความเที่ยงธรรม มี 4 ประการ
1. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่
2. โทสาคติ ลำเอียงเพราะโกรธ
3. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
4. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว
ติดตามอ่านเพื่อเทียบเคียงได้ที่
http://natjar2001law.blogspot.com/2011/03/blog-post_09.html
อ่านประกอบพระสูตร ปาริวาร เกี่ยวกับอคติทั้งสี่ประการ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘
ปริวาร
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=08&A=9836&Z=9942
ผู้บริหารที่ปราศจากอคติทั้งสี่ประการ จำตัดสินกิจกรณีใดจะเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม ไม่ก่อภัยเวรแก่ตนเองและผู้อื่น
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ เป็นหลักธรรมสำหรับพระราชาที่ผู้บริหารควรดำเนินรอยตาม
หลักทศพิธราชธรรม 10 ประการ มีอยู่ดังนี้
1. ทาน คือ การให้ปัน ซึ่งอาจเป็นการให้เพื่อบูชาคุณหรือให้เพื่อเป็นการอนุเคราะห์
2. ศีล ได้แก่การสำรวม กาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อยสะอาดดีงาม
3. บริจาค ได้แก่ การให้ทรัพย์สิ่งของเพื่อเป็นการช่วยเหลือหรือความทุกข์ยากเดือดร้อนของผู้อื่นหรือเป็นการเสียสละเพื่อหวังให้ผู้รับได้รับความสุข
4. อาชวะ ได้แก่ ความมีอัธยาศัยซื่อตรงมั่นในความสุจริตธรรม
5. มัทวะ ได้แก่ ความมีอัธยาศัยดีงาม ละมุนละไม อ่อนโยน สุภาพ
6. ตบะ ได้แก่ การบำเพ็ญเพียรเพื่อขจัดหรือทำลายอกุศลกรรมให้สิ้นสูญ
7. อโกรธะ ได้แก่ ความสามารถระงับหรือขจัดเสียได้ซึ่งความโกรธ
8. อวิหิงสา ได้แก่ การไม่เบียดเบียนคนอื่น
9. ขันติ ได้แก่ ความอดกลั้นไม่ปล่อยกาย วาจา ใจ ตามอารมณ์หรือกิเลสที่เกิดมีขึ้นนั้น
10. อวิโรธนะได้แก่ การธำรงค์รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม
[๒๔๐] ดูกรพระยาหงส์ เราพิจารณาเห็นชัดซึ่งอายุอันเป็นอนาคตยังยืนยาวอยู่
เราตั้งอยู่แล้วในธรรม ๑๐ ประการ จึงไม่สะดุ้งกลัวปรโลก เราเห็นกุศล
ธรรมที่ดำรงอยู่ในตนเหล่านี้ คือ
ทาน
ศีล
การบริจาค
ความซื่อตรง
ความอ่อนโยน
ความเพียร
ความไม่โกรธ
ความไม่เบียดเบียน
ความอดทน
และความไม่พิโรธ
แต่นั้นปีติและโสมนัสไม่ใช่น้อย ย่อมเกิดแก่เรา
ก็สุมุขหงส์นี้ไม่ทันคิดถึงคุณสมบัติของเรา ไม่ทราบความประทุษร้ายแห่งจิต
จึงเปล่งวาจาอันหยาบคาย ย่อมกล่าวถึงโทษที่ไม่มีอยู่ในเรา
คำของสุมุขหงส์นี้ ย่อมไม่เป็นเหมือนคำของคนมีปัญญา.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=28&A=1559&Z=1566
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
อรรถกถาเรื่องราวของสุมุขหงส์
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=199
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
สังคหวัตถุ ๔
[๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ
ทาน การให้ ๑
เปยยวัชชะ ความเป็นผู้มีวาจาน่ารัก ๑
อัตถจริยา ความประพฤติประโยชน์ ๑
สมานัตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายสังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แล ฯ
การให้ ๑
ความเป็นผู้มีวาจาน่ารัก ๑
ความประพฤติประโยชน์ในโลกนี้ ๑
ความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอในธรรมนั้นๆ ตามสมควร ๑ ธรรมเหล่านั้นแล
เป็นเครื่องสงเคราะห์โลกประดุจสลักเพลาควบคุมรถที่แล่นไปอยู่ไว้ได้ ฉะนั้น
ถ้าธรรมเครื่องสงเคราะห์เหล่านี้ ไม่พึงมีไซร้
มารดาหรือบิดาไม่พึงได้ความนับถือหรือบูชาเพราะเหตุแห่งบุตร
ก็เพราะเหตุที่บัณฑิตพิจารณาเห็นธรรมเครื่องสงเคราะห์เหล่านี้ ฉะนั้น
พวกเขาจึงถึงความเป็นใหญ่ และเป็นที่น่าสรรเสริญ ฯ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=863&Z=876
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น