เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การดับสลายซึ่งตัวตน

เถรวาท มหายาน และ วัชรยาน กับการดับสลายซึ่ง


ตัวตน

ข้าพเจ้าเข้าสู่การปฎิบัติสมาธิภาวนามาได้สองปีกว่าๆและได้มีโอกาสเรียนรู้ในแนวทาง

ของสายการปฎิบัติทั้งสามสายหลัก คือเถรวาท เซนมหายาน และวัชรยาน ในเริ่มต้น

นั้น ข้าพเจ้าอาจจะยังงุนงงสงสัย แต่ก็พยายามเรียนรู้ว่า ทั้งสามสายการปฎิบัตินั้น มี

แนวทางอย่างไร จุดมุ่งหมายคืออะไร มีอันหนึ่งที่ข้าพเจ้าพบก็คือ แม้ว่าแนวทางหรือ

เทคนิคจะต่างกันไป และใช้ภาษาที่ดูจะไม่เหมือนกันเลยในบางครั้ง แต่ทั้งสามสายนั้นมี

จุดประสงค์ร่วมกันอันหนึ่งก็คือ การดับสลายซึ่งตัวตนของผู้ปฎิบัติ แม้ชาวเถรวาทส่วน

ใหญ่จะมุ่งหวังไปสู่พระนิพพานอย่างแรงกล้า แต่ทว่าเมื่อถึงพระนิพพานแล้ว ครูบา

อาจารย์กล่าวว่า เมื่อถึงสภาวะนั้น ก็คือการดับสลายไปซึ่งตัวตนแล้วนั่นเอง

ข้าพเจ้าเคยได้รับฟังคำสอนของหลวงพ่อชา ใน youtube.com ที่มีคนมาโพสด์เรื่องราว

และบทสัมภาษณ์ของท่านตอนที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ มีตอนหนึ่งมีชาวฝรั่งมา

สัมภาษณ์ท่านว่า การเป็นพระควรมีความมุ่งหมายใด ปรารถนาถึงสิ่งใด หลวงพ่อท่าน

ตอบว่า ไม่ปรารถนาสิ่งใด ถ้ายังปรารถนาอยู่ ก็ถึงพระนิพพานไม่ได้สิ พระจึงไม่

ปรารถนาสิ่งใด แต่เราปฎิบัติเพื่อการปล่อย..วาง.. ว่าง.. จากนั้นท่านก็ยิ้ม เป็นรอยยิ้มที่

ข้าพเจ้าประทับใจมากจริงๆ

ในทางเถรวาทแล้วมีอะไรหลายๆอย่างที่ต่างกันไปบ้างในแนวทางปฎิบัติ แต่เมื่อไปเรียน

รู้คำสอนจากครูบาอาจารย์ทั้งหลายในสายเถรวาท ส่วนใหญ่ก็คือการสอนแนวทางและ

วิธีการที่จะละทิ้งซึ่งตัวตนทั้งสิ้น และที่โดดเด่นชัดเจนก็คือท่านพุทธทาส ที่เน้นย้ำเรื่อง

การละทิ้งซึ่งตัวกูของกู แถมท้ายด้วยว่า ถ้าจะนิพพานก็ให้ถึงพระนิพพานกันในชาตินี้

ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ไม่ต้องไปหวังชาติหน้าหรือชาติไหน แถมท้ายว่าเราทั้งหลายนั้นก็ตาย

เกิด ตายเกิดกันอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว เพราะเมื่อมีตัวกูของกูเกิดขึ้นมาหนึ่งครั้ง ก็คือ

การเกิดมาหนึ่งครั้ง พอสักพักก็หายไปตายไป เดี๋ยวก็เกิดขึ้นใหม่อีก เป็นแบบนี้ทั้งวัน

ทั้งคืน ทุกเวลานาที ที่หายใจเข้าออก ดังนั้นความหมายเรื่องตายและเกิดของท่านพุทธ

ทาส จึงไม่ใช่การตายเกิดแบบโลกๆที่เราเข้าใจกัน

ในทางเถรวาทแล้วการดับสลายซึ่งตัวตนนั้น ดูเหมือนว่าจะใช้หลักแห่งการมองเข้าไป

ในตัวเราอย่างแท้จริงในขณะทำสมาธิภาวนา เพื่อพิสูจน์ยืนยันว่า เราทั้งหลายนั้น

ประกอบด้วย รูป กับนามจริง แถมรูปนั้นก็ไม่เที่ยง นามหรือจิตนั้นก็ไม่เที่ยงด้วย ซึ่งนี่เป็น

ภาษาที่ยุ่งยากซับซ้อนมากสำหรับผู้คนในโลกวิทยาศาสตร์ที่ติดยึดในโลกของกายภาพ

และสมมติบัญญัติแต่มาเกิดในแดนเถรวาททั้งหลาย บางคนไม่เข้าใจแม้แต่น้อยว่านี่คือ

การพูดถึงสิ่งใด พอกล่าวถึงรูปและนาม ชาววิทยาศาสตร์จ๋าทั้งหลาย ก็จะนึกไปถึงว่า

รูปคือกาย นามก็คือสมอง ซึ่งเป็นคนละความหมายและแถมเป็นคนละเรื่องไปเลย

ข้าพเจ้าเองก็เคยเป็นเช่นนั้น แต่ปัจจุบันนี้หลังจากเข้าสู่การปฎิบัติสมาธิภาวนา

ข้าพเจ้าพบว่า เราทั้งหลายนั้นประกอบด้วยรูปกับนามจริง เรามีจิตหรือนามที่เป็นตัวรู้

กับมีกาย ที่เป็นเหมือนสรีระยนต์ให้จิตใช้งานหรือเป็นเครื่องมือที่ใช้ติดต่อกับโลก เรามี

แค่นั้น และในขณะนี้ข้าพเจ้าก็เข้าใจแล้วว่า กายนั้นไม่เที่ยง จิตก็ไม่เที่ยงด้วยเช่น

กัน

แต่การรู้ว่ากายนั้นไม่เที่ยงจิตนั้นไม่เที่ยงเป็นการรู้ด้วยความคิด ไม่ใช่รู้ด้วยจิตรู้จริงๆ ไม่

ได้รู้ในสมาธิภาวนาแบบเห็นแจ้งอะไร ข้าพเจ้าก็ยังไม่ได้ไปถึงไหนนักในเรื่องนี้ แต่

เข้าใจว่าแนวทางของเถรวาทคือเช่นนี้

ในระดับครูบาอาจารย์สายเถรวาทแล้ว ท่านมองเห็นว่ากายหรือรูปนี้ไม่เที่ยงจากการทำ

สมาธิภาวนา แถมรูปกายนี้เป็นเพียงองค์ประกอบของดิน น้ำ ลม ไฟเท่านั้นที่มาประชุม

กันอยู่ชั่วคราว เมื่อมองหาตัวตนของเราอย่างแท้จริงจึงไม่มี ส่วนจิตนั้นก็แปรเปลี่ยน

บังคับอะไรไม่ได้ มีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา นี่เป็นการแยกและจำแนกตัวตนของเรา

ออกมาอย่างจริงแท้ และถึงที่สุดก็พบว่า ทุกสิ่งที่เรามองเห็นนั้นหาสาระอะไรไม่ได้ แถม

ไม่มีจริง และยึดถือไม่ได้ นี่เป็นการดับสลายตัวตนที่น่าสนใจมาก เพราะสุดท้ายก็คือ

การยอมรับว่า ตัวตนที่เรายึดมั่นถือมั่นนั้นไม่มี และเมื่อไปถึงจิต ก็คือมีจิตที่บังคับไม่ได้

จิตนี้ก็ไม่ใช่ของเราอีกเช่นกัน ที่สุดของที่สุดในขั้นตอนสุดท้าย ครูบาอาจารย์ท่านกล่าว

ถึง การทำลายจิตผู้รู้ ถึงที่สุดผู้ปฎิบัติก็จะปล่อยจิตผู้รู้ได้ นั่นคือจิตที่คิดที่นึก ที่ปรุง

แต่ง ที่รู้สึกรัก ที่รู้สึกเกลียด ก็เป็นจิตที่เกิดขึ้น ตามเหตุและปัจจัยที่มากระทบ บังคับไม่

ได้ และไม่ได้เป็นของเราอีกเช่นกัน การดับไปของอัตตาตัวตน ก็ดับด้วยแนวทาง

นี้ นั่นเอง

แต่ในแนวทางของสายเซนมหายาน จะมีแนวทางแห่งการดับสลายไปแห่งตัวตนอีก

แบบหนึ่ง โดยในหลักใหญ่ใจความของเซนมหายาน ก็มองเห็นว่า ตัวเราไม่มีอะไรให้

ยึด ที่เป็นดังนี้เพราะการปฎิบัติสมาธิภาวนา มุ่งเน้นให้เรามองเห็นว่าเราเป็นส่วน

ประกอบของสรรพสิ่ง เราสืบเนื่องมาจากเหตุและปัจจัยบางอย่าง ปรากฎมีขึ้นชั่วคราว

แล้วแปรเปลี่ยนไป ไม่มีอะไรเป็นของเราที่แท้จริง แต่เราเป็นส่วนหนึ่งของสรรพสิ่งทั้ง

หลาย และมาจากสรรพสิ่งทั้งหลายด้วย เรามาจากดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศธาตุ และถ้า

กล่าวแบบโลกสมมติบัญญัติก็คือ เรามาจากต้นไม้ จากดิน จากท้องฟ้า มาจากพ่อ มา

จากแม่ มาจากบรรพบุรษ มาจากทุกๆ สิ่งที่ปรากฏรอบตัว แถมเกี่ยวพันสืบเนื่องกันไป

ไม่มีที่สิ้นสุด คงเหมือนคำกล่าวว่า ทั้งหมดคือหนึ่ง และหนึ่งคือทั้งหมด เราจึงไม่ควรยึด

มั่นถือมั่นและอหังการว่า เรามีตัวมีตนเป็นเอกเทศ เป็นผู้ยิ่งใหญ่มาจากไหน เพราะทุกๆ

อนูเซลของเราก็คือการหยิบยืมมาจากทุกๆ สิ่งในโลกนี้ในจักรวาลนี้ เป็นการหยิบยืมมา

ชั่วคราว แล้วเราก็ปรากกฎมีขึ้น เราไม่ได้ถูกสร้างมาจากใคร และเราก็ไม่ได้สร้างตัว

เองมาด้วย แถมเรายังหลงผิดและคิดผิดมาสรรสร้างตัวเองด้วยสมมติบัญญัติต่างๆ

มากมายเพิ่มเติมอีก หลังออกมาจากท้องแม่ และติดยึดกับภาพลักษณ์ที่เราคิดสร้างสรร

ไปแบบโลกๆ นั้น จนกลายเป็นอัตตาตัวตนมากมายหลายชั้นในที่สุด ในแนวทางของ

เซนมหายาน เราจึงต้องอ่อนน้อมถ่อมตน และขอบคุณในทุกๆสรรพสิ่ง ที่ปรากฎมีขึ้นมา

ให้เราเห็น ขอบคุณทุกสิ่งแม้สิ่งนั้นไม่ดี ไม่น่ารัก เพราะเราก็คือส่วนหนึ่งในทุกๆสิ่งนั้น

เป็นที่น่าแปลกใจว่า ในที่สุดของการปฎิบัติสมาธิภาวนาในแนวทางของเซนมหายาน ก็

คือการหายไปซึ่งตัวตนเช่นกัน แถมเกิดความเมตตาและขอบคุณในทุกๆสรรพสิ่ง นี่เป็น

วีถีที่งดงามมากทีเดียว และทำให้เราอ่อนโยนกับตัวเอง กับชีวิตมากขึ้น

ในขณะที่วัชรยานนั้น การดับสลายตัวตนมีแนวทางที่ห้าวหาญ และกล้าแ็ข็ง เถรวาท

อาจจะเป็นแนวทางที่ทุกข์และรับได้ยากสำหรับหลายๆ คน แต่วัชรยานกลับแรงกว่า แม้

ข้าพเจ้าจะยังไม่ลึกซึ้งมากมายกับแนวทางนี้ เพราะเป็นการเรียนรู้เพียงแค่เริ่มต้นมาได้ปี

กว่าๆ แต่ด้วยความที่ข้าพเจ้ามีความเคารพนับถือในแนวทางของท่านดาไล ลามะ

พร้อมชื่นชอบคำสอนที่มีหลักแห่งความเมตตาของท่านมาก ข้าพเจ้าจึงสนใจใน

แนวทางของวัชระยานด้วย

แต่สายการปฎิบัตินั้น ข้าพเจ้าเริ่มต้นที่สายคากิว เป็นการเริ่มต้นมากๆ และไม่ได้รู้ลึกซึ้ง

อะไรมากมายนัก ทว่าครูตั้ม -วิจักขณ์ พานิช ได้แนะนำแนวทาง และสอนการปฎิบัติ

แบบวัชรยานในเบื้องต้นไปบ้าง บวกกับหนังสือที่ได้อ่าน เกี่ยวกับเรื่องราวของครูบา

อาจารย์สายนี้ เป็นอีกมิติหนึ่งที่น่าสนใจ และความจริงแล้วข้าพเจ้าก็อ่านหนังสือของ

ท่านเชอเกียม ตรุงปะ มานานหลายปี ทว่าไม่ได้สนใจในเรื่องราวและชีวิตส่วนตัวของ

ท่านนัก การเข้าสู่การเรียนรู้แนวทางของวัชรยานสายคากิว ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจอะไร

หลายๆอย่างเพิ่มขึ้น แถมวัชรยานก็มีแนวทางและวิธีการที่จะดับสลายซึ่งตัวตนที่หาญ

กล้ามากๆ ข้าพเจ้าไม่แปลกใจที่ครูตั้มบอกว่า การเข้าสู่เส้นทางนี้มีอันตราย ประมาณ

ว่าอินทรีย์ไม่แข็งกล้า อย่ามาเดินดีกว่า เพราะด้วยคำว่า เผาพระไตรปิฏกเป็นเชื้อเพลิง

แห่งปัญญา ก็อาจทำให้ชาวเถรวาทจ๋าทั้งหลายอกแตกตายได้

การสลายตัวตนแบบวัชรยานเท่าที่ข้าพเจ้าสัมผัส ก็คือการภาวนา เพื่อถอดหน้ากากของ

ตัวเองออก แถมต้องลดทอนตัวตน ด้วยการลงมาเดินบนพื้นดิน และต้องคลุกฝุ่น แถม

บางทีอาจต้องมุดเข้าไปในถังขยะเลยก็ว่าได้ การถอดถอนความอหังการของเราก็คือ

การที่จะรู้จักยอมรับตัวเราอย่างแท้จริงก่อน ยอมรับว่าเราไม่ได้ดีเลิศประเสริฐศรีอะไร

ยอมรับว่าเรานั้นมีความชั่วร้ายในจิตที่แอบแฝงอยู่มากมายขนาดไหน เป็นการถอด

หน้ากากและเปลือยเปล่าตัวตนของเราเอง และเราอาจจะเจ็บหนัก เมื่อได้รับรู้ว่า ที่แท้

แล้วเราไม่ได้ดิบไม่ได้ดีอย่างที่เราคิด และจะเป็นการรับทราบอย่างแท้จริงว่าเรานั้นต่ำ

เตี้ยแค่ไหน และสกปรกอย่างไร แถมเราต้องยอมรับมันให้ได้

ปัญหาหลักของผู้ปฎิบัติสมาธิภาวนามาระยะหนึ่งก็คือ การติดดี เป็นการยึดติดที่น่ากลัว

ยิ่งกว่าสิ่งใด เราอาจจะคิดเห็นกันไปว่า การติดชั่วนั้นไม่ดี แต่ความจริงแล้ว ในระยะ

หลังๆ ข้าพเจ้าพบว่า ปัญหาทั้งหมดของเราทั้งหลายคือการยึดติดในตัวกูของกูและยึด

ติดในความดีของกูเข้าไปด้วยนั่นแหละ คนหลายๆคนในโลกนี้อับอายขายหน้าถ้าจะมี

คนพบว่าตนเป็นคนชั่ว ขนาดที่ตนเองทำชั่วมากๆ จริง แต่ก็จะพยายามปกปิดเอาไว้

เนื่องจากติดดี อยากให้คนอื่นๆ มองเห็นว่าตนเป็นคนดีอยู่เสมอ ส่วนผู้ที่ปฎิบัติดีอยู่แล้ว

ยิ่งติดดีมากกว่า เมื่อมีการติดดีมากมายเท่าไหร่ ก็จะมองเห็นคนอื่นต่ำต้อยมากขึ้น

เท่านั้น และกลับกลายเป็นการเสริมพลังในการเป็นตัวกูของกูมากขึ้น เพราะมีความ

ภูมิใจในความดีของกูเข้าไปด้วย นั่นคือการเกิดอัตตาตัวตนมากขึ้นไปอีกหลายเท่า

แถมข้าพเจ้าพบว่า ผู้คนที่ภูมิใจในความดีของกูเหล่านี้ มีมากมายในสังคมของเรา และ

การยึดติดอันนี้แกะออกได้ยากมาก ยากกว่าคนที่ติดชั่วเป็นไหนๆ

ท่านเชอเกียม ตรุงประ เป็นธรรมาจารย์ที่แสดงให้โลกเห็นถึงเรื่องนี้ และท่านแสดงออก

มาผ่านการกระทำของตนเองด้วยการทำลายการยึดติดดีแบบโลกๆ และเป็นการแสดง

ที่ต้องใช้ชีวิตของตนเป็นบทเรียนให้กับผู้อื่น เป็นการยากที่จะเข้าใจได้ในความคิดเห็น

ของใครหลายๆคน โดยเฉพาะในบรรดาผู้ที่ติดดีทั้งหลาย อาจจะประนามหยามเหยียด

ท่านด้วยซ้ำ แต่ท่านผู้นี้ มองโลกแบบตรงไปตรงมา และพยายามสอนถึงหลักแห่ง

ความไม่แน่นอนของชีวิต และท่านคงจะมองเห็นอริยสัจสี่อย่างชัดแจ้ง ทั้งด้วยปัญญา

อันเฉียบแหลมท่านตีความชีวิต และหลักของความไม่แน่นอนให้คนยุคใหม่เข้าใจได้โดย

ง่ายแบบตรงไปตรงมาผ่านการใช้ชีวิตในทางโลก ความวุ่นวายความปั่นป่วนของโลก

ของชีวิต เป็นของจริงแท้ที่เราต้องดำรงอยู่ แถมตัวเราก็ไม่มีสาระอะไรที่จะมาภูิมิใจใน

ตัวตนที่ก็ไม่ได้มีอะไรดีสักเท่าไหร่ และแม้เราจะคิดเห็นว่าเราดีเลิศอย่างไรก็ตาม แต่

หลังการภาวนาในแนวทางนี้ อาการติดดีเราจะหายไปเรื่อยๆ แล้วจะรู้จักเจียมเนื้อเจียม

ตัว มีความอ่อนน้อมต่อคนอื่นๆ มากขึ้น และเริ่มละทิ้งตัวตนได้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น