สธ.พบไวรัสหวัดนกกลายพันธุ์ หวั่นแพร่เชื้อง่ายขึ้น
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
กระทรวงสาธารณสุข เผยไวรัสเอช 5 เอ็น 1 อาจกลายพันธุ์ แพร่เชื้อได้มากขึ้น สถานการณ์การแพร่ระบาดอาจเลวร้ายลง
รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่ามีการศึกษาถึงเชื้อ ไวรัสเอช 5 เอ็น 1 ที่เป็นสาเหตุของโรคไข้หวัดนก พบว่า ไวรัสชนิดนี้สามารถปรับตัวอยู่ได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่นเดียวกับในสัตว์ปีก เพราะมีการตรวจสอบพบว่าหมูที่ติดเชื้อเอช 5 เอ็น 1 แต่กลับไม่มีการแสดงอาการของโรค นอกจากนี้ ยังเชื่อว่า อาจมีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของเชื้อไวรัสเอช 5 เอ็น 1 เพราะ เมื่อราว 2 ปีที่ผ่านมา มีรายงานของประเทศอินโดนีเซียว่าสัตว์ปีกที่ติดเชื้อไวรัสเอช 5 เอ็น 1 รอดชีวิตถึงร้อยละ 70 จากเดิมที่ตายทั้งหมด ซึ่งการที่สัตว์ปีกติดเชื้อไวรัสนี้แล้วรอดชีวิตจากที่เดิมจะตายทั้งหมดนั้น อาจกล่าวได้ว่าเชื้อไวรัสหวัดนกเริ่มกลายพันธุ์บ้างแล้วในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเท่ากับเชื้อไวรัสจะสามารถแพร่เชื้อได้มากขึ้น
ทั้งนี้ หากเชื้อไวรัส เอช 5 เอ็น 1 สามารถแพร่เชื้อได้มากขึ้น จะทำให้มีสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนกอาจเหมือนการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งแต่เดิมที่โรคไข้หวัดนกจะเป็นโรคของคนในชนบท ส่วนโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 เป็นโรคของคนในเมือง แต่หากว่าไข้หวัดนกปรับตัวกลายเป็นโรคของคนเมืองเมื่อไหร่ สถานการณ์ก็จะยิ่งเลวร้ายลงกว่าเดิมแน่นอน อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยต้องมีการเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
กระทรวงสาธารณสุข เผยไวรัสเอช 5 เอ็น 1 อาจกลายพันธุ์ แพร่เชื้อได้มากขึ้น สถานการณ์การแพร่ระบาดอาจเลวร้ายลง
รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่ามีการศึกษาถึงเชื้อ ไวรัสเอช 5 เอ็น 1 ที่เป็นสาเหตุของโรคไข้หวัดนก พบว่า ไวรัสชนิดนี้สามารถปรับตัวอยู่ได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่นเดียวกับในสัตว์ปีก เพราะมีการตรวจสอบพบว่าหมูที่ติดเชื้อเอช 5 เอ็น 1 แต่กลับไม่มีการแสดงอาการของโรค นอกจากนี้ ยังเชื่อว่า อาจมีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของเชื้อไวรัสเอช 5 เอ็น 1 เพราะ เมื่อราว 2 ปีที่ผ่านมา มีรายงานของประเทศอินโดนีเซียว่าสัตว์ปีกที่ติดเชื้อไวรัสเอช 5 เอ็น 1 รอดชีวิตถึงร้อยละ 70 จากเดิมที่ตายทั้งหมด ซึ่งการที่สัตว์ปีกติดเชื้อไวรัสนี้แล้วรอดชีวิตจากที่เดิมจะตายทั้งหมดนั้น อาจกล่าวได้ว่าเชื้อไวรัสหวัดนกเริ่มกลายพันธุ์บ้างแล้วในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเท่ากับเชื้อไวรัสจะสามารถแพร่เชื้อได้มากขึ้น
ทั้งนี้ หากเชื้อไวรัส เอช 5 เอ็น 1 สามารถแพร่เชื้อได้มากขึ้น จะทำให้มีสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดนกอาจเหมือนการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งแต่เดิมที่โรคไข้หวัดนกจะเป็นโรคของคนในชนบท ส่วนโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 เป็นโรคของคนในเมือง แต่หากว่าไข้หวัดนกปรับตัวกลายเป็นโรคของคนเมืองเมื่อไหร่ สถานการณ์ก็จะยิ่งเลวร้ายลงกว่าเดิมแน่นอน อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยต้องมีการเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น