เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พระพุทธศาสนาในตะวันตก



บทที่ 6

แนวคิด
1. พระพุทธศาสนาในตะวันตกยุคปัจจุบันมีอัตราการเติบโตรวดเร็วมากและเติบโตเร็วกว่าทุกศาสนา โดยเจริญรุ่งเรืองอยู่ในประเทศอังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกาและแคนาดา เป็นต้น ส่วนโซนโอเชียเนียนั้นพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอยู่ในประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
2. พระพุทธศาสนาเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวตะวันตกอย่างกว้างขวางเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 24 - 25 โดยพระพุทธศาสนาเถรวาทเข้าไปเผยแผ่ก่อนในพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งแพร่หลายอยู่ในหมู่นักวิชาการแต่ประชาชนทั่วไปยังไม่ค่อยรู้จัก จนกระทั่งพุทธศตวรรษที่ 25 นิกายมหายานหลายนิกายได้เข้าไปเผยแผ่ ซึ่งได้รับความนิยมมากทั้งในวงวิชาการและประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะนิกายเซนและพระพุทธศาสนาแบบทิเบต
สาเหตุสำคัญที่ชาวตะวันตกหันมานับถือพระพุทธศาสนานั้น ในเบื้องต้นเพราะเสื่อมศรัทธาในศาสนาเดิมที่สอนให้เชื่อเพียงอย่างเดียวโดยปราศจากเหตุผล ซึ่งขัดแย้งกับหลักวิทยาศาสตร์ที่กำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ในตะวันตก และเมื่อเขาเหล่านั้นได้ศึกษาพระพุทธศาสนาที่ท้าทายให้พิสูจน์โดยไม่บังคับให้เชื่อตาม อีกทั้งหลักคำสอนยังยึดเหตุผลและการไม่ใช้ความรุนแรง จึงทำให้ชาวตะวันตกศรัทธาและหันมานับถือพระพุทธศาสนา

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้นักศึกษาทราบภาพรวมของพระพุทธศาสนาในตะวันตกในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร เจริญรุ่งเรืองอยู่แถบไหนบ้าง
2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในตะวันตกตั้งแต่อดีตที่พระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้าไปจนถึงปัจจุบัน โดยกล่าวถึงประเทศที่สำคัญในตะวันตกเพียง 6 ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ เยอรมนี รัสเซีย ฝรั่งเศส อิตาลี สหรัฐอเมริกา และในโอเชียเนีย 1 ประเทศ คือ ประเทศออสเตรเลีย นอกจากนี้เพื่อนักศึกษาทราบสาเหตุที่ทำให้ชาวตะวันตกหันมานับถือพระพุทธศาสนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น