พระนิพพานไม่ได้อยู่ในกฎของไตรลักษณ์
ธรรมมีความอิ่มพอได้เป็นขั้นๆ นับแต่ขั้นสมาธิไป สมาธิที่พอตัวก็อิ่มตัวในสมาธิ ไม่ใช่จะหิวโหยในสมาธิเรื่อยไป มีความอิ่มตัว มีความผาสุกเย็นใจ อิ่มต่ออารมณ์ต่างๆ ที่เป็นเรื่องของกิเลส อยู่ด้วยความสงบเย็นใจ เช่นเดียวกับเรารับประทานอิ่มแล้วนอนสบายเช่นนั้น ปัญญาก็มีความอิ่มตัวเมื่อถึงขั้นอ่ิม
ขึ้นชื่อว่าธรรมไม่มีคำว่าเตลิดเปิดเปิง มีประมาณ มีความพอตัวตามขั้นตามภูมิของธรรม จนกระทั่งเต็มภูมิของจิต เต็มภูมิของธรรมแล้ว ใจก็อิ่มตัวเต็มที่ ที่เรียกว่า เมืองพอ
คำว่า "นิพพาน" ถ้าพูดตามหลักธรรชาติเกี่ยวกับเรื่องความหิวโหยแล่้ว ก็คือความพอตัวอ่ิมตัวเต็มที่นั่นแล นอกจากอิ่มตัวเต็มที่แล้ว ยังคงเส้นคงวาตลอดอนัตตกาลอีกด้วย ไม่มีสมมุติใดๆ เข้าไปเกี่ยวข้องวุ่นวายหรือสัมผัสสัมพันธ์ในธรรมชาตินั้นตลอดไป ที่ท่านว่า "นิพพานเที่ยง" ก็หมายถึง จิตที่อิ่มตัวเต็มที่แล้ว หรือพ้นแล้วจากความหิวโหยโดยประากรทั้งปวง ท่านจึงเรียกว่า เที่ยง ถ้ายังจะมีแปรผันกันอยู่ นั่นก็เป็นสมมุติธรรมดานี่แล แม้จะมีอายุยืนนานถึงกี่ล้านปีก็ตาม ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงอยู่แล้วก้ยังตกอยู่ในไตรลักษณ์ คือ อนิจฺจํ หาความแน่นอนไม่ได้อยู่นั่นแล
ด้วยเหตุนี้ คำว่า "จิตที่บริสุทธิ์" กับ คำว่า "นิพพาน" นั้น จึงไม่ได้อยู่ในกฎของไตรลักษณ์ที่จะเอื้อมเข้าถึง อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนฺตา นี้เป็นรังแห่งสมมุติทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นส่วนหยาบ ส่วนกลาง ส่วนละเอียดขนาดไหน ก็เป็นเรื่องของสมมุติทั้งมวล ส่วนจิตที่บริสุทธิ์ล้วนๆ หรือนิพพานนั้นไม่ได้อยู่ในกฎอันนี้ นอกเหนือจากกฎนี้ไปแล้ว
เพราะฉน้ัน การพิจารณาเพื่อนิพพาน จึงต้องก้าวเดินไปตามทางสาย อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนัตฺตา อันเป็นทางเดินเพื่อความหลุดพ้น เมือ่หลุดพ้นไปแล้ว ธรรมทั้ง ๓ ประเภทนี้ก็ปล่อยวางไว้ตามความจริง หมดสิ่งที่เกี่ยวข้องกันต่อไป
ธรรมที่กล่าวมานี้มีผู้ใดสามารถนำมาส่ังสอนโลกได้ ก็มีพระพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียวเท่าน้ัน เป็นผู้ฉลาดสามารถเหนือมนุษ์มนา เทวดาและสัตว์โลกทั้งหลาย เกินกว่าที่จะนำมาเทียบเคียงได้ และไม่ทรงศึกษาอบรมกับผุ้หนึ่งผู้ใดด้วย ทรงเป็นสยัมภู รุ้ด้วยความสามารถของพระองค์เพียงผุ้เดียวเท่าน้ัน แล้วนำธรรมน้ันมาส่ังสอนสัตว์โลกให้รุ้บุญ รู้บาป รู้นรก รู้สวรรคื รู้จนถึงความหลุดพ้น คือ พระนิพพาน ไม่บกพรองในอุบายวิธีการสั่งสอน
ธรรมมีความอิ่มพอได้เป็นขั้นๆ นับแต่ขั้นสมาธิไป สมาธิที่พอตัวก็อิ่มตัวในสมาธิ ไม่ใช่จะหิวโหยในสมาธิเรื่อยไป มีความอิ่มตัว มีความผาสุกเย็นใจ อิ่มต่ออารมณ์ต่างๆ ที่เป็นเรื่องของกิเลส อยู่ด้วยความสงบเย็นใจ เช่นเดียวกับเรารับประทานอิ่มแล
ขึ้นชื่อว่าธรรมไม่มีคำว่าเตลิด
คำว่า "นิพพาน" ถ้าพูดตามหลักธรรชาติเกี่ยวกับเ
ด้วยเหตุนี้ คำว่า "จิตที่บริสุทธิ์" กับ คำว่า "นิพพาน" นั้น จึงไม่ได้อยู่ในกฎของไตรลักษณ์ท
เพราะฉน้ัน การพิจารณาเพื่อนิพพาน จึงต้องก้าวเดินไปตามทางสาย อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนัตฺตา อันเป็นทางเดินเพื่อความหลุดพ้น
ธรรมที่กล่าวมานี้มีผู้ใดสามารถ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น