เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

ญี่ปุ่นเพิ่มความรุนแรงทางนิวเคลียร์ เป็นระดับ 5

ญี่ปุ่นเพิ่มความรุนแรงทางนิวเคลียร์ เป็นระดับ 5


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยโพสต์


สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า ญี่ปุ่น ได้ประกาศยกระดับความรุนแรงทางนิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ ไดอิจิ จากระดับ 4 เป็นระดับ 5 แล้ว จากทั้งหมด 0 - 7 ระดับ ทั้งนี้ เป็นไปตามสภาพความเสียหายของเตาปฏิกรณ์ และปริมาณรังสีในบริเวณข้างเคียง

โดย ระดับ 5 หมายถึง อุบัติเหตุที่มีผลกระทบต่อภายนอกโรงงาน ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสถานปฏิบัติการนิวเคลียร์ หรือมีการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีออกสู่ภายนอก ในระดับเทียบเท่ากับกัมมันตภาพของไอโอดีน-131 ในช่วง 100-1,000 เทระเบ็กเคอเรล ทำให้ต้องมีการใช้แผนฉุกเฉินบางส่วน

ขณะที่สำนักงานความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น เผย พบกลุ่มควันออกมาจากอาคารคลุมเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ หมายเลข 2 ที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ - ไดอิจิ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่า อาจมาจากบ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้ว หรือจากการระเบิดในแหล่งเก็บน้ำระบายความร้อนฉุกเฉิน

ขณะเดียวกัน ไมนิจิ ชิมบุน สื่อดังของประเทศญี่ปุ่น ออกมาเผยว่า นายกรัฐมนตรี นาโอโตะ คัง ได้ปฏิเสธคำร้องขอในการถอนกำลังเจ้าหน้าที่ของ บริษัท โตเกียว อิเล็กทริก เพาเวอร์ โค หรือ เทปโก ก่อนจะได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยทางด้าน "เทปโก" ได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า "มันเป็นเรื่องยากลำบากมาก ที่จะต้องเห็นพนักงานของตนเอง ปฏิบัติหน้าที่ในโรงไฟฟ้า ที่มีการฟุ้งกระจายของสารกัมมันตรังสีในระดับสูง"

นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี นาโอโตะ คัง ได้ให้เหตุผล ในการสั่งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการในโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ - ไดอิจิ ว่า "การถอนคนงาน เป็นไปไม่ได้เด็ดขาด เทปโก จะล้มหรือไม่ ไม่สำคัญ สำคัญที่ญี่ปุ่นจะเสียหายมากน้อยแค่ไหน"

สำหรับ โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ - ไดอิจิ มีพนักงานในโรงไฟฟ้าถึง 5,000 คน แต่ทางด้าน "เทปโก" ไม่ได้เปิดเผยว่าในตอนนี้ มีพนักงานกี่คน ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ แต่มีการคาดการณ์ว่า น่าจะมีพนักงานปฏิบัติงานอยู่ 70 คน

ด้านองค์การสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ หรือ CTBT ออกมาระบุว่า สารกัมมันตรังสีที่รั่วไหลออกจากเตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ-ไดอิจิ หลังได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว และสึนามิ จะลอยมาถึงแคลิฟอร์เนีย และชายฝั่งทางตะวันตกของสหรัฐฯ ในวันศุกร์ที่ 18 มีนาคมตามเวลาท้องถิ่น (เวลาที่สหรัฐเดินช้ากว่าไทย 17 ชั่วโมง) และคาดว่า หลังจากนั้นจะลอยเข้าสู่ทางใต้ของแคลิฟอร์เนีย รวมถึง เนวาดา ยูทาห์ และแอริโซนา ด้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสหรัฐฯ คาดว่า สารกัมมันตรังสี ที่ลอยมาในชั้นบรรยากาศ น่าจะถูกเจือจางมาตลอดเส้นทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ก่อนจะถึงสหรัฐ

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐ กล่าวแสดงเพื่อเรียกคืนความมั่นใจให้แก่ประชาชน ที่กำลังหวาดวิตกอยู่กับสารกัมมันตรังสี ว่า สารกัมมันตรังสี ที่เข้าถึงสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็น เวสต์โคสต์, ฮาวาย, อลาสก้า หรือ ดินแดนของสหรัฐในแปซิฟิก จะไม่มีอยู่ในระดับที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ไม่ได้คาดหวังในระดับที่เป็นอันตราย

ส่วนเครื่องบินเช่าเหมาลำเที่ยวแรกของสหรัฐฯ เดินทางออกจากประเทศญี่ปุ่น มุ่งหน้าไปยังไต้หวันแล้ว พร้อมผู้โดยสาร เกือบ 100 คน ที่ประสงค์จะเดินทางออกประเทศท่ามกลางความหวาดกลัวหายนะจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์ โดยผู้โดยสารส่วนใหญ่ เป็นสมาชิกครอบครัวของบุคลากรทางการสหรัฐ ส่วนเที่ยวบินอื่น ๆ จะออกเดินทางจากประเทศญี่ปุ่นในวันนี้เช่นเดียวกัน





ดร.บุรินทร์ อัศวพิภพ


ด้าน ดร.บุรินทร์ อัศวพิภพ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนกำลังเข้าใจผิดเกี่ยวกับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ระเบิดที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น ยืนยันเตายังไม่ระเบิด แต่เป็นระบบหล่อเย็นมีปัญหา ทำให้สารกัมมันตรังสีรั่วไหลออกมา ส่วนที่ระเบิด เป็นแค่ตัวอาคารด้านนอก เพราะตัวเตาปฏิกรณ์จะอยู่ด้านใน อย่างไรก็ตาม หากเตามีปัญหาจริง จะมีความรุนแรงกว่านี้ โดยหากคนทั่วไป ได้รับสารจะไม่สามารถทราบได้ ต้องใช้เครื่องตรวจวัดจึงจะทราบได้ แต่คนที่ได้รับเป็นปริมาณจำนวนมาก จะมีอาการวิงเวียนศีรษะ อาเจียน และอาจเสียชีวิตได้ ซึ่งหากมีการรั่วไหลเป็นปริมาณที่มากแล้วไหลเข้าไปในแหล่งน้ำ สัตว์ทะเล ก็จะมีการปนเปื้อนไปด้วย

สำหรับสารกัมมันตรังสีที่รั่วไหลอยู่ในเมืองฟุกุชิมะ ซึ่งห่างจากกรุงโตเกียว 200 กิโลเมตรนั้น เชื่อว่า คนโตเกียวยังไม่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตามผลกระทบ หากมีสารกัมมันตภาพรังสี ปนเปื้อนในอากาศจำนวนมาก อาจทำให้สิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์ได้ ขณะที่คน ก็อาจจะเป็นมะเร็งได้ เพราะทำให้เซลล์ในร่างกายแตกตัวผิดปกติ และปัจจุบันยังรักษาไม่ได้

ดร.บุรินทร์ ยังมองว่า สำหรับประเทศไทย ยังไม่พร้อมที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพราะไม่มีความพร้อม ทั้งทางด้านบุคลากร และประชาชน เนื่องจากประชาชนยังไม่สามารถยอมรับได้ ดังนั้นจึงฝากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไปคิดทบทวนเป็นการบ้านว่า จำเป็นต้องมี หรือไม่มี ควรมีการประเมินถึงผลดีและผลเสียด้วย










[17 มีนาคม] ญี่ปุ่นรับวิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อยู่เหนือการควบคุม - เป็นอันตราย

รัฐบาลญี่ปุ่นรับวิกฤตที่โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ หมายเลข 1 อยู่เหนือการควบคุมแล้ว สารกัมมันตภาพรังสีรั่วอยู่ในระดับอันตราย เจ้าหน้าที่ 25 คน ได้รับบาดเจ็บ และอีก 19 คน ได้รับรังสีในปริมาณมาก


ความคืบหน้าความเสียหายในโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ-ไดอิจินั้น องค์การความปลอดภัยในอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ประเมินว่า แท่งเชื้อเพลิงที่เตาปฏิกรณ์หน่วยที่ 1 ได้รับความเสียหายราว 70% ขณะที่สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า แท่งเชื้อเพลิงของหน่วยที่ 2 ได้รับความเสียหาย 33% และแกนของเตาหน่วยที่ 1 และ 2 ได้หลอมละลายบางส่วนแล้ว

ด้านสถานการณ์ล่าสุดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ไดอิจิ หมายเลข 1 ยังพบว่า มีกลุ่มควันพวยพุ่งออกมาจากเตาปฏิกรณ์ที่ 3 ทำให้รัฐบาลต้องออกมากล่าวถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายขึ้นกับแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และมีโอกาศมากขึ้นที่กลุ่มควันที่พวยพุ่งขึ้นมานั้น จะหลอมเอาสารกัมมันตรังสีขึ้นมาด้วย ทางด้าน พนักงานโรงไฟฟ้าฟูกูจิมะ ประมาณ 180 คน เร่งทำงานเพื่อป้องกันไม่ให้สารกัมมันตรังสีรั่ว ทั้งที่รู้ว่าเสี่ยงกับการเสียชีวิต แต่ทุกคนก็ต้องทำ เนื่องจากหากสารดังกล่าวรั่วออกมา อาจทำให้เกิดผลกระทบมากมาย

ขณะที่ เว็บไซต์หนังสือพิมพ์อาซาฮี ของญี่ปุ่น รายงานว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟุกุชิมะ หมายเลข 1 กำลังจะอยู่เหนือการควบคุม หลังเกิดการระเบิดถึง 3 ครั้ง และไฟไหม้ 2 ครั้ง มีสารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลในระดับอันตราย จากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 4 เตา จากทั้งหมด 6 เตา ทั้งนี้ นายยูคิโอะ เอดาโน เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น และโฆษกรัฐบาล เปิดเผยว่า ระดับของสารกัมมันตรังสี เพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ ระดับ 400 มิลลิซีเวิร์ต รอบเตาปฏิกรณ์ทั้ง 4 แห่ง และเป็นระดับเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์

ทั้งนี้ หลังจากเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งสิ้น 180 คน ได้เสี่ยงชีวิตเพื่อร่วมกันปฏิบัติภารกิจยับยั้งการรั่วไหลของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ หลังจากสั่งอพยพผู้คนออกจากเมืองเพื่อหลีกเลี่ยงจากอันตรายของสาร กัมมันตรังสีที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อวานนี้ ล่าสุด มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่จำนวน 25 คน ได้รับบาดเจ็บจากการพยายามควบคุมการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ขณะที่อีก 19 คน ถูกตรวจพบว่าได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก ส่วนรายงานผู้เสียชีวิตและผู้สูญหายขณะนี้ มีจำนวนรวมกว่า 14,650 คนแล้ว


ด้าน ประธานาธิบดีอูโก ชาเวซ ของเวเนซุเอลา เผยว่า ได้สั่งยุติแผนการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์แล้ว "เป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงมากและเป็นอันตรายแก่โลก ขนาดญี่ปุ่นซึ่งมีเทคโนโลยีและมีความก้าวหน้าก็ยังเจอวิกฤติ" วันเดียวกัน คณะรัฐมนตรีของจีนประกาศว่าจีนได้ระงับการอนุมัติโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่แล้ว ซึ่งจีนกำลังก่อสร้างเตาปฏิกรณ์ประมาณ 28 หน่วย หรือราว 40% ของโครงการที่กำลังก่อสร้างรวมกันทั้งโลก

ในขณะที่ประธานาธิบดีลี มุงบัก ของเกาหลีใต้ ก็ได้สั่งการให้ตรวจสอบความปลอดภัยที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในประเทศ โดยเฉพาะการประเมินความพร้อมรับมือภัยธรรมชาติ ซึ่งเกาหลีใต้มีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 21 ตัว ผลิตไฟฟ้าได้ 40% ของประเทศ และกำลังหาพื้นที่เพื่อสร้างเตาปฏิกรณ์เพิ่ม

สำหรับความเคลื่อนไหวในไทยนั้น แถลงการณ์ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฉบับที่ 7 ได้แจ้งข้อมูลปริมาณรังสีแกมมาในอากาศ ที่สถานเฝ้าระวังทางรังสีแห่งชาติ เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 15 มีนาคม ว่าทั้งหมดอยู่ในระดับปกติของรังสีที่มีในธรรมชาติ โดย กทม. มีอัตรา 0.045 ไมโครซีเวิร์ต, เชียงใหม่ 0.042 ไมโครซีเวิร์ต, ขอนแก่น 0.054 ไมโครซีเวิร์ต, อุบลราชธานี 0.068 ไมโครซีเวิร์ต, ตราด 0.084 ไมโครซีเวิร์ต, ระนอง 0.101 ไมโครซีเวิร์ต และสงขลา 0.050 ไมโครซีเวิร์ต

ฝรั่งเศสคาดใน 2 วัน ญี่ปุ่นจะเท่าเชอร์โนบิล

เทียร์รี ชาร์ลส์ เจ้าหน้าที่สถาบันเพื่อการปกป้องอันตรายจากรังสีและความปลอดภัยนิวเคลียร์ ของฝรั่งเศส ได้ออกมาเตือนญี่ปุ่น ว่า ให้รีบตัดสินใจในการแก้ปัญหาวิกฤตินิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ ซึ่งเกิดระเบิดขึ้น 4 ครั้ง ไฟไหม้ 2 ครั้ง หลังแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่ผ่านมา เพราะอาจจะเกิดหายนะเลวร้ายกว่าเหตุระเบิดที่โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ในยูเครน เมื่อ 20 ปีก่อน

โดยผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า เวลา 48 ชั่วโมง นับจากนี้ เป็นช่วงเวลาสำคัญของญี่ปุ่น ในการตัดสินใจแก้ปัญหาที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เพราะว่าที่ผ่านมา ยังไม่เห็นว่าความพยายามวิธีไหนจะได้ผล และสถานการณ์เสี่ยงมากยิ่งขึ้น แต่ก็ยังหวังว่าญี่ปุ่น จะหาทางควบคุมได้

อังกฤษ เชื่อ ญี่ปุ่น คุมรังสีได้

มัลคอล์ม กริมสตัน ผู้เชี่ยวชาญนิวเคลียร์ของอังกฤษ กลับมีความเห็นต่างกัน ระบุว่า เหตุการณ์ที่โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ จะไม่เหมือนที่เชอร์โนบิล พร้อมทั้งอธิบายว่า กระบวนการทำงานของเตาปฏิกรณ์หยุดลงเกือบ 5 วัน แล้ว ทำให้มั่นใจว่า น่าจะเหลือสารกัมมันตภาพรังสีเพียงเกือบ 2 ใน 3 และสารกัมมันตภาพรังสีบางชนิดก็สูญสลายไป

ทั้งนี้ ข้อมูลจากสมาคมนิวเคลียร์โลก ระบุ เตาปฏิกรณ์ 11 เครื่องจากทั้งหมด 54 เครื่อง ในญี่ปุ่น ใช้งานมากว่า 35 ปี และ 2 เครื่อง ในจำนวนนี้ ถูกจัดให้เป็นกลุ่มเตาปฏิกรณ์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด 10 เครื่องของโลกด้วย


ยูเครน ชี้ควรยกระดับความรุนแรงรังสีในฟุกุชิมะ

ผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์ของประเทศยูเครน ได้ออกมาเตือนญี่ปุ่นและพลเมือง ว่า การระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่เมืองฟุกุชิมะ ว่า อาจจะรุนแรงเหมือนกับ เชอร์โนบิล ในยูเครน เมื่อ 20 กว่าปีก่อน โดยระบุว่า เวลานี้ โรงไฟฟ้าของญี่ปุ่น น่าจะถูกยกระดับความรุนแรงของสารกัมมันตภาพรังสี จากขั้นที่ 3 ไปสู่ขั้นที่ 4 จากทั้งหมด 7 ระดับแล้ว โดยระดับที่ 3 หมายถึง อาจจะมีผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน ส่วนระดับ 4 หมายถึง รังสีอันตรายถึงชีวิตต่อผู้ปฏิบัติงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น