เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เขตอำนาจศาลโลก




วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เขตอำนาจศาลโลก

“ศาลโลก” หรือ “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” International Court of Justice เป็นคนละศาลกับศาลอาญาระหว่างประเทศ International Criminal Court

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เป็นองค์กรหลักของสหประชาชาติเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างรัฐใน ประเด็นกฎหมายและข้อเท็จจริงต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับการตีความและการใช้กฎหมายระหว่างประเทศและอนุสัญญาระหว่างประเทศ

ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างรัฐนั้น คู่กรณีจะต้องเป็นรัฐด้วยกัน เช่น ประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา โดยรัฐบาลของประเทศนั้นๆ ถ้าไม่ใช่รัฐบาลไม่อาจนำคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ ดังนั้น ฝ่ายการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ เช่น พธม. หรือ นปช. เอกชนหรือนิติบุคคลจะเป็นคู่กรณีในศาลโลกไม่ได้ ไม่อาจเป็นโจทก์ยื่นฟ้องร้องต่อศาลโลกให้วินิจฉัยได้เลย

ปัญหาข้อกฎหมายภายในของประเทศหนึ่งประเทศใด เช่น การเลือกตั้งเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม การทุจริตคอรัปชั่นต่างๆ การตีความรัฐธรรมนูญ ฯลฯ ที่เป็นกฎหมายบริหารจัดการภายในประเทศของแต่ละประเทศ ไม่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่จะวินิจฉัยได้ เพราะศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่มีอำนาจวินิจฉัยกฎหมายภายในของแต่ละรัฐ อันเป็นการใช้อำนาจเหนืออำนาจรัฐต่างๆ

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ไม่อาจรื้อคดีที่ได้พิจารณาไปแล้วขึ้นพิจารณาใหม่ได้อีก เพราะไม่มีศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

ตามที่มีการกล่าวอ้างว่า หน่วยงานหรือกลุ่มบุคคลใดจะฟ้องร้องประเทศไทย รัฐบาลไทยต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่อาจทำได้เลย เพราะศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะพิจารณาคดีในกรณีคู่พิพาทเป็นรัฐหนึ่งกับอีกรัฐหนึ่งเท่านั้น (เหมือนคำว่า สงครามที่หมายถึงการรบระหว่างรัฐหนึ่งกับอีกรัฐหนึ่ง มิใช่การต่อสู้ของคนในรัฐเดียวกัน)

อย่างไรก็ดี พึงเข้าใจด้วยว่า การนำคดีขึ้นสู่ศาลโลกนั้น ต้องได้กระทำโดยสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายรัฐ (รัฐพิพาท) เพื่อให้ศาลโลกใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดกรณีนั้น ดังเช่นคดีเขาพระวิหารที่เราและกัมพูชาเคยจูงมือกันนำคดีขึ้นสู่ศาลมาแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น