เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ที่มาของ "แซ่" นามสกุลของคนจีน

ที่มาของ "แซ่" นามสกุลของคนจีน

ที่มาของ แซ่


ที่มาของ "แซ่" นามสกุลของคนจีน

คนไทยเรานั้น นอกจาก “ชื่อ” แล้ว ยังต้องมี “นามสกุล” กำกับอยู่ด้วยเพื่อบ่งบอกให้รู้ว่า ตนถือกำเนิดขึ้นในตระกูลใด คนจีนก็เช่นเดียวกัน คือต้องมี “แซ่” หรือนามสกุล ซึ่งเริ่มใช้กันมาตั้งแต่เมื่อสองพันปีก่อน ตามพระบัญชาของจักรพรรดิ จึงถือว่าเป็นชนชาติแรกที่มีนามสกุลใช้กันอย่างเป็นทางการ


แต่เดิมคนจีนมีเพียงชื่อที่ใช้เรียกเพื่อบ่งบอกตัวบุคคล ต่อมาเมื่อสังคมจีนขยายตัว จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชื่อที่ใช้เรียกตัวบุคคลจึงซ้ำไปซ้ำมาเป็นจำนวนมาก จนเกิดความสับสนในการระบุตัวบุคคล ประกอบกับบรรดาขุนศึก ขุนนาง และชนชั้นสูงในสังคมจีนยุคจ้านกว๋อ หรือยุคเลียดก๊ก (พ.ศ.66 - 321) ต้องการสะสมกำลังคนเพื่อสร้างฐานอำนาจให้กับตนเอง จึงตั้งชื่อตระกูลหรือ “แซ่” ขึ้น แล้วรวบรวมผู้คนเข้ามาอยู่ในแซ่เดียวกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่นขึ้นกว่าการเป็นนายและบ่าวแบบเดิม


จากนั้นก็เริ่มมีการใช้แซ่กันอย่างแพร่หลายขึ้น จนกระทั่งในรัชสมัย “สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู” (พ.ศ.337 - 348) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่น ได้โปรดเกล้าฯ ให้ประชาชนทุกคนมีแซ่ตระกูลประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ขุนนาง พ่อค้า ไปจนถึงไพร่สามัญชน โดยให้แซ่ถ่ายทอดจากฝ่ายบิดาลงมาสู่บุตร ตั้งแต่นั้นประเทศจีนจึงมีการใช้แซ่ขึ้นอย่างเป็นทางการ และสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน


แม้คนจีนทุกคนจะมีแซ่ใช้กันอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่เมื่อสองพันกว่าปีก่อน แต่จำนวนแซ่กลับมีอยู่ไม่มาก เพราะไม่ตั้งกันขึ้นมาอย่างพร่ำเพรื่อ แต่ใช้การสืบทอดต่อๆ กันมานานนับพันปี จากการสืบค้นทางประวัติศาสตร์พบว่าในอดีตเคยมีแซ่อยู่ประมาณ 24,000 แซ่ แต่ปัจจุบันหายสาบสูญไปมาก เหลือที่ใช้กันจริงอยู่ประมาณ 5,000 แซ่ แต่แซ่ที่พบเห็นได้บ่อยๆ มีอยู่เพียงประมาณ 2,000 แซ่เท่านั้น ในขณะที่คนจีนมีอยู่มากถึง 1 ใน 4 ของประชากรโลก ทำให้หนึ่งแซ่หรือหนึ่งตระกูลของคนจีนมีจำนวนสมาชิกอยู่มากมายมหาศาล


เมื่อปี พ.ศ.2550 รัฐบาลจีนได้ทำสำรวจแซ่ตระกูลจีนที่มีมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน พบว่า แซ่ที่มีการใช้มากที่สุด 3 อันดับแรกในประเทศจีนคือ แซ่หวัง (เฮ้ง), หลี่ (หลี) และจาง (เตีย) ซึ่งมีผู้ใช้รวมกันเกือบ 300 ล้านคน หรือประมาณแซ่ละ 100 ล้านคน ซึ่งเพียงแค่แซ่เดียวก็มากเกือบเป็นสองเท่าของประชากรไทยทั้งประเทศแล้ว


10 อันดับแซ่ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในประเทศจีน ได้แก่

  1. หวัง (เฮ้ง) 王
  2. หลี่ (หลี) 李
  3. จาง (เตีย) 张
  4. หลิว (เล่า) 刘
  5. เฉิน (ตั้ง) 陈
  6. หยาง (เอี๊ย) 杨
  7. หวง (อึ๊ง) 黄
  8. จ้าว (เตี๋ย) 赵
  9. อู๋ (โง้ว) 吴
  10. โจว (จิว) 周
โดยแต่ละแซ่มีผู้ใช้มากกว่า 20 ล้านคน


ส่วนคนจีนในประเทศไทยหรือชาวไทยเชื้อสายจีนที่ยังคงใช้แซ่ก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเมื่อปี พ.ศ.2535 มีการสำรวจพบว่า แซ่ที่มีผู้ใช้มากที่สุด 3 อันดับแรกในประเทศไทยคือ แซ่เฉิน (ตั้ง), หลิน (ลิ้ม) ประมาณแซ่ละ 80,000 คน และแซ่หลี่ (หลี) ประมาณ 50,000 คน ส่วนอันดับต่อมาอีก 7 อันดับ มีผู้ใช้อยู่ในหลักหมื่นคน


10 อันดับแซ่ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่

  1. เฉิน (ตั้ง) 陈
  2. หลิน (ลิ้ม) 林
  3. หลี่ (หลี) 李
  4. หวง (อึ๊ง) 黄
  5. อู๋ (โง้ว) 吴
  6. สวี่ (โค้ว) 徐
  7. จาง (เตีย) 张
  8. เจิ้ง (แต้) 郑
  9. หลิว (เล่า) 刘
  10. หวัง (เฮ้ง) 王
ปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายจีนจำนวนมากได้แปลงแซ่มาเป็นนามสกุลตามภาษาไทย เพื่อให้กลมกลืนกับคนไทยมากขึ้น แต่บางนามสกุลก็ยังพอที่จะสืบไปถึงแซ่เดิมได้อยู่ เช่น “ป๋วย อึ๊งภากรณ์” มีแซ่เดิมคือ “หวง” (อึ๊ง) ก็ใช้การเติมคำไทยต่อท้ายแซ่ กลายเป็น “อึ๊งภากรณ์” หรือ “สนธิ ลิ้มทองกุล” มีแซ่เดิมคือ “หลิน” (ลิ้ม) ก็กลายเป็น “ลิ้มทองกุล”


นอกจากนั้นยังใช้การแปลความหมายของแซ่เป็นภาษาไทย แล้วตั้งเป็นนามสกุลใหม่ เช่น “บรรหาร ศิลปอาชา” แซ่เดิมคือ “หม่า” (เบ๊) ที่แปลว่าม้า (อาชา) จึงแปลงเป็นนามสกุลไทยว่า “ศิลปอาชา” หรือนามสกุล “อัศวเหม” ที่แปลว่าม้าทองคำ ก็มาจากแซ่ “หม่า” (เบ๊) เช่นเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น