บัวสามเหล่าไม่ใช่สี่เหล่า..... บัวสามเหล่า บุคคลสี่จำพวก เป็นไฉน?..... >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>> [๕๑๑] ดูกรราชกุมาร ครั้นอาตมภาพทราบว่าท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนา และอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี เปรียบเหมือน ในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ บางเหล่ายังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติด ฉันใด ดูกรราชกุมาร เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ฉันนั้น ฯลฯ http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=13&item=510&items=2&preline=1 จากพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>> พระสูตรนี้ตรัสถึงบัวสามเหล่า คือ เหล่าที่ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ ๑ เหล่าที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ ๑ เหล่าที่ตั้งขั้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติด ๑ สรุป บัวสามเหล่าได้แก่ บัวใต้น้ำ เสมอน้ำ และพ้นน้ำ เท่านั้นค่ะ ต่อมาดูพุทธพจน์เรื่องคนสี่ประเภทนะคะ >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>> คนสี่ประเภท ๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ อุคฆฏิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมแต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง ๑ วิปจิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น ๑ เนยยะผู้พอแนะนำได้ ๑ ปทปรมะ ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=21&item=133&items=1&preline=0 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อรรถกถาอธิบายพุทธพจน์เฉพาะบุคคลสี่จำพวกนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับบัวสี่เหล่าเลยค่ะ พึงทราบความต่างกันแห่งบุคคลแม้ ๔ จำพวกด้วยสูตรนี้ ดังนี้ อุคฆฏิตัญญูเป็นไฉน? บุคคลตรัสรู้ธรรมขณะที่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง เรียกว่าอุคฆฏิตัญญูบุคคล. วิปจิตัญญูบุคคลเป็นไฉน? บุคคลตรัสรู้ธรรมต่อเมื่อท่านแจกแจงความโดยพิสดาร เรียกว่าวิปจิตัญญูบุคคล. เนยยบุคคลเป็นไฉน? บุคคลต้องเรียน ต้องสอบถาม ต้องใส่ใจโดยแยบคาย ต้องคบหา อยู่ใกล้กัลยาณมิตร จึงตรัสรู้ธรรมตามลำดับขั้นตอน เรียกว่าเนยยบุคคล ปทปรมบุคคลเป็นไฉน? บุคคลฟังมากก็ดี พูดมากก็ดี ทรงจำมากก็ดี สอนมากก็ดี ยังไม่ตรัสรู้ธรรมในชาตินั้น เรียกว่าปทปรมบุคคล. จบอรรถกถาอุคฆฏิตัญญุสูตรที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=131 อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ตติยปัณณาสก์ >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>> แล้วบัวสี่เหล่ามาจากไหน อันนี้ความเห็นส่วนตัวของนัทจะกล่าวโทษอรรถกถาจารย์ก็ไม่ได้ ท่านเขียนไว้ชัดแล้วว่าท่านนำมาแต่งเพิ่มเอง ไม่มีในบาลี แต่เราๆ ท่านๆ นี่หล่ะที่ไม่ยอมอ่านให้เข้าใจทั้งหมด (นัทด้วยหล่ะ ฟังเขามาเหมือนกัน อิอิ) ไม่สืบหาที่มาที่ไปให้แจ่มชัด เลยเอามาขลุกขลิกกันให้มั่วไปหมด ลองอ่านดูนะคะ ในดอกบัวเหล่านั้น ดอกบัวใดโผล่ขึ้นพ้นน้ำ ดอกบัวนั้นรอต้องแสงพระอาทิตย์ ก็จะบานในวันนี้. ดอกบัวใดตั้งอยู่เสมอน้ำ ดอกบัวนั้นจะบานในวันรุ่งขึ้น. ดอกบัวใดยังไม่พ้นจากน้ำจมอยู่ในน้ำ น้ำเลี้ยงไว้ ดอกบัวนั้นจะบานในวันที่สามนั่นแล. ดอกบัวใดไม่บานเลยก็จักเป็นอาหารของปลาและเต่าไปเท่านั้นเอง ดอกบัวนั้นท่านแสดงไว้ว่ามิได้ยกขึ้นสู่บาลี แต่ก็ควรนำมากล่าวไว้. (เห็นข้อความอรรถกถาจารย์ท่านว่าไว้มั้ยคะ ว่า ดอกบัวที่เป็นอาหารของเต่าปลานั้น พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงแสดงไว้ ท่าน (อรรถกถาจารย์)เห็นควรนำมากล่าวเอง) ท่านแสดงถึงบุคคล ๔ จำพวก คืออุคฆติตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ เหมือนดอกบัว ๔ ชนิดฉะนั้น. บุคคลใดรู้ธรรมในเวลาที่ท่านยกขึ้นมากล่าว บุคคลนี้ ท่านเรียกว่าอุคฆติตัญญู. บุคคลใด เมื่อท่านขยายความโดยพิสดารแห่งภาษิตที่ยกขึ้นกล่าวโดยย่อจึงรู้ธรรม บุคคลนี้ ท่านเรียกว่าวิปจิตัญญู. บุคคลใดสอบถามใส่ใจ เสพคบนั่งใกล้กัลยาณมิตรจึงรู้ธรรม บุคคลนี้ ท่านเรียกว่าเนยยะ. บุคคลใดแม้บอกมาก กล่าวมาก ทรงไว้มาก สอนมาก ก็ไม่รู้ธรรมในชาตินั้น บุคคลนี้ ท่านเรียกว่าปทปรมะ. ในบุคคลเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูหมื่นโลกธาตุเช่นกับดอกบัวเป็นต้น ได้ทรงเห็นโดยอาการทั้งปวงอย่างนี้ว่า วันนี้ อุคฆติตัญญูจะบาน วันนี้วิปจิตัญญูจะบาน ดังนี้. พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า จะสำเร็จประโยชน์แก่บุคคล ๓ จำพวกในอัตภาพ นี้แล พระธรรมเทศนาก็จะเป็นวาสนาแก่บุคคลผู้เป็นปทปรมะในอนาคต. http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=699 อรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิทเทส อัฏฐกวัคคิกะ >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>> ชัดเจนแล้วค่ะ อรรถกถาที่อรรถกถาจารย์นำมาแต่ง ขุททกนิกาย ท่านก็แสดงไว้ชัดแล้วว่าท่านแต่งเพิ่มค่ะ สาธุ
เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ
ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "
หน้าเว็บ
เกี่ยวกับฉัน
- Nitinandho
- อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย
ผู้ติดตาม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น