เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

นิยามทั้ง5=กฏธรรมชาติ


นิยามทั้ง5
คำว่า นิยาม หมายถึง กำหนดอันแน่นอน ความเป็นไปอันมีระเบียบที่แน่นอนของธรรมชาติ หรือเรียกง่ายๆ ว่า กฏธรรมชาติ นั่นเอง

ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ได้จำแนกนิยามออกมาเป็น ๕ ประเภท๑๕ คือ
๑. อุตุนิยาม คือ ความเป็นไปของอุตุ คือ ดินฟ้าอากาศ ที่เกี่ยวด้วยอุณหภูมิ และสภาพทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น อาจเรียกว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติก็ได้
เช่น ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล คลื่น ลม ความเย็นความร้อนของอากาศ แสงแดด หมู่เมฆ เหล่านี้เป็นต้น

รวมถึงทางธรณีวิทยาด้วยใช่ไม๊เจ้าคะ แผ่นดินไหว ดวงดาวหมุนไป แสงอาทิตย์
อัน นั้นก็เช่นเดียวกัน การเกิดแผ่นดินไหว คลื่นลมในมหาสมุทร เป็นต้น เรียกง่ายๆ ว่า เรื่องที่เกี่ยวกับดิน น้ำ ลม ไฟ นั่นล่ะ ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมทางด้านวัตถุรอบตัวมนุษย์นั่นเอง
เจ้าค่ะ
ครับผม
งั้นคอมพิวเตอร์ก็เป็นไปตามอุตุนิยาม พังไปตามธรรมชาติได้
ใช่แล้ว
๒. พีชนิยาม กฏแห่งพืชพันธุ์ หรือกฏว่าด้วยระบบพันธุกรรม

การสืบทอด
เช่น คนผิวขาว ก็มีลูกผิวขาว คนสูงใหญ่ ก็มีลูกสูงใหญ่ สุนัขก็ออกลูกเป็นสุนัข ปลาทองก็ออกลูกเป็นปลาทอง ต้นกล้วยก็ออกลูกเป็นกล้วย หรือคนเป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรม ก็ติดต่อไปสู่บุตรหลาน อย่างนี้เป็นต้น
พอเข้าใจนะ

ครับผม
ค่ะ
เจ้าค่ะ แล้วถ้าเซลโดนรังสี แล้วกลายพันธุ์ล่ะ พีชนิยามเปลี่ยนไปเพราะอุตุนิยาม
ก็ นั่นล่ะ พีชนิยามก็มีการแปรสภาพไปตามสิ่งแวดล้อมและองค์ประกอบทางเคมีที่เปลี่ยนแปลง ไปนั่นเอง ซึ่งถูกแล้วตามที่คุณว่า คือแปรไปได้ตามอุตุนิยามนั่นเอง
สองนิยามแรกก็สัมพันธ์กันได้ ใช่ไม๊เจ้าคะ
ทุกอย่างสัมพันธ์กันหมด มีผลกระทบต่อกันได้
เหมือนว่า วิทยาศาสตร์ ก็รู้จักแค่สองข้อแรกนี้เท่านั้น
น่าจะใช่ แค่สิ่งแวดล้อมกับเผ่าพันธุ์
ต่อ ไป ๓. จิตตนิยาม กฏแห่งกระบวนการทำงานของจิตใจ เช่นว่า จิตใจทำงานได้อย่างไร มีขั้นตอนหรือองค์ประกอบในการทำงานอย่างไร ซึ่งเป็นลำดับขั้นตอนและกระบวนการที่แน่นอน
จิตนิยาม มีความสัมพันธ์อย่างไรกับสองข้อแรกน้า
เช่น ว่า ในขณะที่จิตไม่รับรู้ต่อโลก เช่น ขณะหลับสนิท จิตก็ลงสู่ภวังค์ หรือเป็นภวังคจิต คือ ไม่รับรู้อารมณ์ และเมื่อจิตเริ่มขึ้นสู่วิถีการรับรู้อารมณ์ เช่น เริ่มมีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น จิตก็ขึ้นสู่วิถีตามลำดับ
เริ่มตั้งแต่ อตีตภวังค์->แล้วไปสู่ภวังคจลนะ->ภวังคุปปเฉทะ->แล้วเข้าสู่ปัญจ ทวาราวัชชนะ เป็นปัญจทวาราวัชชนจิต->เป็นปัญจวิญญาณจิต อย่างนี้เป็นต้น เป็นไปตามลำดับแห่งกระบวนการทำงานของจิตใจ
๑๖
ซึ่งเป็นธรรมดาของจิต ที่ต้องเป็นเช่นนั้น ไปตามลำดับๆ เป็นเช่นนี้กับสัตว์ทั้งปวงที่อยู่ในปัญจโวการภูมิ (ต้องขออภัยที่ต้องใช้ศัพท์ที่เข้าใจยากในทางอภิธรรมประกอบบ้าง)

อ่ะดิ แต่ละอันหมายความว่าอะไรอ่ะ
พูด ง่ายๆ ก็คือ จิตใจของคนเรา ก็มีระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ซึ่งหมายถึง มีกระบวนการทำงานตามธรรมชาติของมันเองที่ไม่เปลี่ยนแปลงไป เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยที่เข้ามากระทบและปรุงแต่งด้วยกระบวนการเช่นว่านั้น อยู่เสมอนั่นเอง
ก็ต้องมีช่องทางติดต่อกับโลกภายนอกด้วย ก็ต้องไปกระทบต่ออุตุนิยามและพีชนิยามด้วยสิ
จิตเป็นพลังงานหรือป่าวค่ะ
จิต ไม่ใช่พลังงานในความหมายอย่างวิทยาศาสตร์ แต่จิตสามารถสร้างพลังงานขึ้นมาได้ เช่น สร้างพลังควบคุมขึ้นมา ที่เรียกว่า มีพลังจิต สามารถบังคับควบคุมวัตถุต่างๆ ได้ เป็นต้น
เหรอ จิตเป็นตัวสร้างขึ้นมาเหรอ นึกว่าเป็นพลังของจิตซะเอง
ยก ตัวอย่างเช่น เราเคยคิดหรือไม่ ว่าเรายกแขนยกขาของเราได้อย่างไร ทั้งที่เพียงแต่ใจนึกเท่านั้น ว่าต้องการเดินไป ต้องการพูดคุย ร่างกายก็แสดงอาการเป็นไปต่างๆ ตามแต่จิตปรารถนา เช่นนี้ก็เห็นได้ชัดแล้วว่า จิตมีอำนาจเพียงใดในการควบคุมสรีระร่างกาย ทั้งที่จิตก็มิได้มีรูปร่างปรากฏแต่อย่างใด
เคยอ่านเจอว่า จิตยังแบ่งเป็นจิตสำนึกกับจิตใต้สำนึก ในทางพุทธศาสนาเรียกว่าอะไรหรือค่ะ แบ่งแค่นี้ถูกไหมค่ะ หรือว่าหยาบไปค่ะ
ถ้าจำไม่ผิด จะมีจิตไร้สำนึก อีก ๑ อันครับ
ที่เข้าใจเหมือนๆ ว่าจิตใต้สำนึก กับจิตไร้สำนึกจะเป็นอันเดียวกันน่ะคะ
ในคัมภีร์ธรรมบท๑๗ พระพุทธเจ้าตรัสถึงลักษณะของจิตไว้ว่า "ทูรํคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ เย จิตตํ" เป็นต้น ซึ่งแปลความหมายได้ว่า ธรรมชาติของจิตนี้
" ทูรํคมํ" คือ ไปได้ไกล หมายถึง คิดไปได้ไกล คือ คิดเรื่องต่างๆ ได้มาก แม้ในเรื่องหรือในสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ เช่น คิดถึงเมืองนอกเมืองนาได้เป็นต้น

เอ ตรงนี้ จิตไปถึงนั่นเลยอย่างที่เขาว่ากัน หรือว่าเพียงแค่สัญญาที่เคยมี เท่านั้นเจ้าคะ หรือว่าเป็นไปได้ทั้งสอง อย่างที่เขาเรียกว่าถอดจิต
การ คิดไปไกลๆ นั้นให้เข้าใจว่า หมายถึง การคิดไปถึงเรื่องที่ทรงจำไว้ในใจ หรือจินตนาการในใจเท่านั้น ดังเรื่องที่มาในธรรมบท ซึ่งเป็นเหตุแห่งการกล่าวถึงเรื่องนี้
คือ พระภิกษุท่านคิดปรุงแต่งถึงเรื่องอนาคตว่าจะสึกไปมีลูกมีเมียอย่างนั้นอย่าง นี้ เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าตรัสคาถานี้ว่า "ทูรํคมํ" คือ คิดไปไกล เป็นต้น

สี่ทุ่มแล้ว สมาชิกยังไหวกันอยู่หรือเปล่าคะ
ไหวครับผม

ไหวครับ ขึ้นอยู่กับพระอาจารย์และเพื่อนสมาชิกครับ
ที่นี่เพิ่งห้าโมงเย็นค่ะ ไหวขอรับ
เอก จรํ คือ ไปดวงเดียว หมายถึง เกิดขึ้นได้ทีละหนึ่งดวง หรือรับรู้ได้ทีละหนึ่งอย่าง ทีละหนึ่งสิ่ง หนึ่งเรื่อง หรือหนึ่งอารมณ์ และรวมหมายถึง เวลาคิดก็คิดไปคนเดียว คนอื่นไม่เกี่ยวด้วย คือ ไม่มีใครคิดไปกับเราด้วย เราคิดของเราอยู่คนเดียว
อย่าง นั้นเรียกว่าคิดไปเรื่อยไม่ใช่เหรอเจ้าคะ แต่ไม่ได้มีอยู่จริง เรากำลังคิดเรื่องนี้อยู่ แล้วอีกคนอยู่ๆ ก็บอกว่ากำลังคิดเรื่องนี้(เรื่องเดียวกัน)
จิตนี่เข้าใจยากนะคะ ถ้าฝึกกรรมฐานจะรับรุ้ได้ใช่ไหมค่ะ
อสรีรํ คือ ไม่มีรูปร่างปรากฏ หมายถึง จิตนี้ไม่อาจเห็นได้ ที่ท่านเรียกว่า “อนิทสฺสนา ธมฺมา” คือ เห็นไม่ได้ นั่นเอง
ซึ่ง ตรงนี้ต่างกับความเชื่อของศาสนาโบราณ เช่น ศาสนาพราหมณ์ฮินดู ที่เชื่อว่า เราสามารถเห็นจิตได้ หรือเวลาคนตายไปแล้วจะมีจิตล่องลอยขึ้นมาให้เห็นได้

ฝรั่งเขายังเอาคนที่กำลังจะตายมาชั่งน้ำหนักหาว่าเมื่อตายแล้วจิตที่ออกไปทำให้น้ำหนักลดไปเท่าไหร่ คือหาน้ำหนักของดวงจิต
แต่ ในหลักของพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสว่า จิตนั้นเห็นไม่ได้ แต่รับรู้ได้ คือ สามารถรับรู้ได้ด้วยอายตนะทั้ง ๖ ว่าบุคคลนั้นมีจิต หรือปรุงแต่งสิ่งต่างๆ ขึ้นได้ด้วยอำนาจแห่งจิตของบุคคลนั้น
เช่น เรารู้ว่าคนๆ นี้ใจดีหรือจิตปรุงแต่งดี คนๆ นี้ใจร้ายหรือปรุงแต่งร้าย คนๆ นี้ใจเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล เป็นต้น

รู้ได้ด้วยการแสดงออกเหรอเจ้าคะ
เหมือนกับสัมผัสรังสีแห่งความดี รังสีอำมหิตได้จากคนคนหนึ่งหรือป่าวค่ะ อิอิ
นี่ล่ะ เรียกว่า "อสรีรํ" คือ ไม่มีรูปร่างให้เห็นได้ เพียงแต่รู้ได้ว่ามีจิตหรือไม่มีจิตเท่านั้น เช่น คนตายก็ไม่มีจิต เป็นต้น
สุด ท้าย "คุหาสยํ" คือ อาศัยถ้ำอยู่ ซึ่งหมายถึง อาศัยอยู่กับอายตนะนี้ หรือร่างกายนี้นั่นเอง เช่น เราสัมผัสส่วนใดในร่างกายของเรา ก็รู้สึกได้ถึงอวัยวะส่วนนั้น เราไม่สามารถรู้สึกไปถึงสิ่งที่อยู่นอกถ้ำ คือ ร่างกายนี้ได้
เช่น เราไม่อาจรู้ได้ว่า คนอื่นเขามีความรู้สึกอย่างไร เป็นต้น เพราะธรรมดาจิตของคนเรานั้นต้องเกิดดับอยู่ที่ร่างกายของตนเท่านั้น ไม่ออกไปภายนอก

รู้ได้แค่สัมผัสทั้ง ๕ ที่กายที่อยู่อาศัย สามารถมีได้เท่านั้นเหรอเจ้าคะ
จิตรู้ได้ที่กาย (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) และที่ความนึกคิดภายในจิตใจ
อยู่ได้ด้วยตัวเองไม่ได้เหรอเจ้าคะ ต้องมีที่อาศัยอยู่เสมอเหรอเจ้าคะ
แต่ ในกรณีนี้ เว้นไว้แต่อรูปพรหมซึ่งมีจิตแต่ไม่มีรูปให้อาศัย ซึ่งในกรณีนี้ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คุหาสยํ” นั้นหมายถึง ในปัญจโวการภูมิ คือ ในภูมิของสัตว์ที่ประกอบอยู่ด้วยขันธ์ ๕ เท่านั้น ไม่รวมถึงใน “จตุโวการภูมิ” คือ ภูมิของสัตว์ที่ประกอบอยู่ด้วยขันธ์ ๔ คือมีแต่เพียงนามขันธ์ทั้ง ๔ คือมีแต่เพียงนามธรรม ไม่มีรูปธรรมให้อาศัย
ไม่มีรูป ก็ไม่มีปริมาตรสิ ไม่มีสิ่งแวดล้อม (สวรรค์ชั้นพรหมชั้นนั้น)
แล้วการถอดจิตล่ะคะ
คำ ว่า การถอดจิต นั้น เป็นความเข้าใจที่ไขว้เขวของผู้ปฏิบัติซึ่งยังมิได้ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่าง เพียงพอ หรือเป็นเพียงสำนวนพูดเท่านั้น ซึ่งโดยแท้คำว่า การถอดจิต นั้นไม่มี
แล้วที่เขาว่าเขาเป็น มันคืออะไรอ่ะ
ค่ะ บ้างก็ว่าถอดจิตจากกายหยาบอย่างนี้น่ะคะ
ในพระไตรปิฎก พระพุทธตรัสสิ่งที่เราเข้าใจกันว่า การถอดจิต นั้น โดยตรัสเรียกว่า "มโนมยิทธิ"๑๘ คือ การแสดงฤทธิ์ด้วยใจ หรือการแสดงฤทธิ์ทางใจ เช่น ตรัสว่า "ภิกษุย่อมน้อมจิตไปเพื่อเนรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือ เนรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปอันเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน เปรียบเหมือนบุรุษชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง ถอดดาบออกจากฝัก หรือดั่งงูลอกคราบ"
ซึ่งในกรณีนี้หมายถึง บุคคลนั้นอาศัยจิตที่เป็นสมาธิขั้นสูง แล้วเนรมิตกายอื่นออกไป โดยมีจิตที่รูปเดิมนั่นแหละ บังคับควบคุมอาการของรูปที่ออกไปนั้น ซึ่งมิได้หมายถึงการถอดจิตออกไปดั่งเช่นเราเข้าใจ หรือผู้ปฏิบัติพระกรรมฐานโดยมากเข้าใจผิดกัน

เป็นการแยกร่างเหมือนที่เราเห็นในหนังนินจาสิ
โดย แท้ ถ้ารูปนี้ หมายถึง ถ้าร่างกายนี้ไม่มีใจครองเมื่อใด รูปนั้นก็จะตายลง ดังเช่นคนตายแล้วนั่นเอง (เว้นแต่การเข้านิโรธสมาบัติของพระอริยบุคคล) ถ้าร่างกายนี้ไม่มีใจครองเมื่อใด รูปนั้นก็จะตายลง ดังนั้น จึงไม่มีการถอดจิต
ยกตัวอย่างเช่น ขณะกำลังนั่งอยู่ คนที่เข้าใจไปว่าตนถอดจิตนั้น ความจริงก็หมายถึง บุคคลผู้นั้นได้เนรมิตกายใหม่ขึ้นมาให้ตั้งอยู่ในที่เดิมที่ตนอยู่แทนรูปแท้ แล้วตนเองนั้น (ทั้งกายทั้งใจ) ก็เหาะไป หรือดำดินไปในที่ต่างๆ ด้วยอำนาจฤทธิ์ทางใจของตน ซึ่งกรณีนี้เรียกว่า การแสดง “อิทธิวิธี”
๑๙
พูดง่ายๆ ว่า ไปทั้งตัวและหัวใจนั่นล่ะ ไม่ใช่ว่าถอดไปแต่จิตได้ เข้าใจไหมล่ะ

เชิญคุณกระต่ายค่ะ
RaBbIt:ทึ่เดิม says:
โห้ว ดีจัง ออนกันเวลานี้ประจำหรือป่าวค่ะ

เริ่มสองทุ่มค่ะ ทุกวันอาทิตย์ ในช่วงเข้าพรรษาค่ะ
เอาล่ะ เวลาก็ได้ล่วงเลยมามากแล้ว จะขอกล่าวถึงนิยามอีก ๒ ข้อที่เหลือไว้แต่เพียงหัวข้อก่อนให้ครบถ้วน
ต่อครั้งหน้านะเจ้าคะ และมาคุยกันก่อนว่า ๓ นิยามแรก มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
๔. กรรมนิยาม กฏแห่งกรรม หรือกฏแห่งธรรมชาติอันเกี่ยวเนื่องด้วยการกระทำของมนุษย์ซึ่งจะเป็นกรรมได้ ก็อาศัยเจตนาของบุคคลนั้น คือ การกระทำที่ประกอบอยู่ด้วยเจตนาของบุคคลนั่นเอง
และสุดท้าย ๕. ธรรมนิยาม คือ กฏแห่งธรรม หรือกฏแห่งธรรมชาติ
คือ ความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่งทั้งหลาย หรือความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของสิ่งทั้งหลาย ว่าสิ่งทั้งหลายจักต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยในธรรมชาติอย่างแน่นอน ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นได้ลอยๆ หรือโดยบังเอิญ ทุกอย่างต้องอาศัยเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น ซึ่งก็หมายถึงเหตุปัจจัยทั้ง ๔ นิยามข้างต้น หรือ ๔ ประการข้างต้นนั่นเอง
ฉะนั้น คำว่า ธรรมนิยาม จึงหมายถึง กฏแห่งความเป็นไปตามธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย ที่ต้องเป็นไปอย่างนั้นๆ ตามเหตุตามปัจจัยทั้งอุตุ พีช จิตต และกรรม นั่นเอง

ขอบคุณค่ะ
จบแล้วสิเนี่ย เรื่องนี้ในวันนี้
เวลาก็ได้ล่วงเลยมามากแล้ว
ขอบคุณมากๆ นะคะ
ต่อสัปดาห์หน้าไหมค่ะ หรือว่าเรื่องใหม่ดีค่ะ สัปดาห์หน้า
สุดท้ายสำหรับค่ำคืนนี้ ขอฝากพระพุทธศาสนสุภาษิตไว้ว่า
คืนนี้ขอฝากไว้ยาวหน่อยนะ

ครับผม
“อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตาน อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ
ฐิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา ...”
๒๐
ง่า แปลว่าอะไรอ่ะ
“ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตจะอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดาก็ยังคงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้น(ดังนี้)ว่า...
“สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ...สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ...สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ”
สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯ นั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นแล้ว .. จึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่าย.. ดังนี้”
เอาล่ะนะ สำหรับคืนนี้

กราบขอบพระคุณมากเจ้าค่ะ
ขอให้ญาติโยมทุกคนเจริญในธรรมยิ่งขึ้นไป
ขอบพระคุณ ท่านพระอาจารย์ปิฯ และ พระอาจารย์เอกชัยด้วยครับ
ที่ได้สละเวลามาให้ความรู้ครับ ขอนมัสการลาครับ
กราบขอบพระคุณมากค่ะ อนุโมทนาธรรมด้วยค่ะ
กราบขอบพระคุณมากครับ
แล้วสัปดาห์หน้าคงจะได้มาต่อเนื้อหาให้บริบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง เจริญพร
สาธุ
ลา ญาติธรรมทุกท่านด้วยครับ สวัสดีครับ
สวัสดีครับ
สวัสดีค่ะ
นมัสการลา ท่านเอกชัย ด้วยครับ
แล้วเจอกันวันอาทิตย์หน้าค่ะ
ไปลองคิดในเรื่องความสัมพันธ์ของทั้ง ๕ ข้อ กันดูก่อนนะคะ ครั้งหน้าจะได้มาต่อ และคุยวิเคราะห์กัน

นมัสการพระอาจารย์ครับ

อ้างอิง
๑ สํ.ส.อ.๒๔ หน้า ๔๗ (อรรถกถาอุปเนยยสูตร)
“อนิพฺพตฺเตน น ชาโต ปจฺจุปฺปนฺเนน ชีวติ จิตฺตภงฺคมโต โลโก ปญฺญตฺติ ปรมตฺถิยา.”
[เพราะ จิตไม่เกิด สัตว์โลกก็ชื่อว่าไม่เกิด เพราะจิตเกิดขึ้นเฉพาะหน้า สัตว์โลกก็ชื่อว่าเป็นอยู่ เพราะความแตกดับแห่งจิต สัตว์โลกจึงชื่อว่าตายแล้ว นี้เป็นบัญญัติเนื่องด้วยปรมัตถ์.]
๒ ที.ปา.๑๑/๓๐๖/๒๐๗; อภิ.วิ.๓๕/๑๒๐/๗๕. วิญญาณธาตุ ๖
๓ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิต [ชีวิต น. ความเป็นอยู่, ตรงข้ามกับ ความตาย. (ป., ส.).]
๔ อภิ.สํ.๓๔/๙๕๕/๓๒๘ อุปาทินนกธรรม
[๙๕๕] อุปาทินนธรรม เป็นไฉน? วิบากในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อุปาทินนธรรม.
สงฺคห ปริจเฉทที่ ๑ หน้า ๖๐
อุ ปาทินนกรูป แปลว่า รูปที่กรรมยึดครอง คือรูปที่เป็นผลเกิดจากกรรมได้แก่กรรมชรูป คือรูปเกิดแต่กรรมนั้นเอง รูปนี้มี ๑๘ ชนิด คือ ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ หทยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ เหล่านี้เรียกว่าอุปาทินนกรูป ส่วนรูปที่เหลืออีก ๑๐ ชนิด คือสัททรูป ๑ วิญญัติรูป ๒ วิการรูป ๓ ลักขณรูป ๔ เรียกว่าอนุปาทินนกรูป แปลว่ารูปที่ไม่ถูกกรรมยึดครอง คือรูปที่ไม่เป็นผลเกิดจากกรรม
๕ สํ.ส.อ.๒๔ หน้า ๔๕ ชีวิตนาม
ก็เมื่อ ว่าโดยปรมัตถ์ ขณะแห่งชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อยมาก (เกินเปรียบ) คือสักว่าเป็นไปเพียงจิตดวงเดียวเท่านั้น (ว่าโดยปรมัตถ์ ขณะมี ๓ คือ อุปาทขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ) จึงชื่อว่า น้อย เพราะความที่ชีวิตนามนั้น เป็นของเป็นไปกับด้วยขณะ. อุปมาด้วยล้อแห่งรถ แม้เมื่อหมุนไป ย่อมหมุนไปโดยส่วนแห่งกงรถหนึ่งเท่านั้น แม้เมื่อหยุดอยู่ ก็ย่อมหยุดโดยส่วนแห่งกงรถหนึ่งนั่นแหละ ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปในขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ครั้นเมื่อจิตดวงนั้นสักว่าแตกดับแล้ว ท่านก็เรียกว่า สัตว์ตายแล้ว
๖ ขุ.ปฏิ.อ.๖๘ หน้า ๒๓๕
สหชาตธรรมดำรงอยู่ได้ด้วยธรรมชาตินั้น ฉะนั้นธรรมชาตินั้นชื่อว่า ชีวิต, ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ เพราะทำชีวิตินทรีย์นั้นให้เป็นใหญ่ ในลักษณะแห่งการอนุบาลรักษาสหชาตธรรม.
ชี วิตินทรีย์นั้นมี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์ ๑. อรูปชีวิตินทรีย์ (นามชีวิตินทรีย์) ๑. ธรรมชาติที่เกิดร่วมกับกัมมชรูปทั้งหมด อนุบาลรักษาสหชาตรูปไว้ ชื่อว่า รูปชีวิตินทรีย์, เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทั้งหมด อนุบาลรักษาสหชาตนามธรรมไว้ ชื่อว่า อรูปชีวิตินทรีย์.
๗ สงฺคห ปริจเฉทที่ ๑ หน้า ๕ เจตสิก
สิ่ง ที่เกิดร่วมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุ (คือที่อาศัยเกิด) ร่วมกับจิตเป็นสิ่งที่ประกอบอยู่กับจิตเท่านั้น เรียกว่า เจตสิก ได้แก่นามขันธ์ ๓ คือเวทนาขันธ์ ๓ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในเบญจขันธ์นั่นเอง กล่าวคือขันธ์ทั้ง ๓ นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในใจ ประกอบกับใจเท่านั้น เช่น เวทนาขันธ์อันได้แก่สุข ทุกข์ อุเบกขา โสมนัส และโทมนัส เหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในใจ ประกอบกับจิตเท่านั้น ถ้าไม่มีจิต เวทนาก็เกิดขึ้นไม่ได้ สัญญา และสังขารก็เช่นเดียวกัน ล้วนแต่เกิดขึ้นในจิต ประกอบกับจิตใจทั้งสิ้น
๘ สงฺคห ปริจเฉทที่ ๔ หน้า ๘
ขณะ คือ จิตเกิดขึ้นดวงหนึ่งก็นับเป็นขณะหนึ่ง เรียกว่า ขณะจิต บางที่ก็เรียกว่า ขณะเฉยๆ แต่ว่าจิตที่เกิดขึ้นดวงหนึ่งที่เรียกว่าขณะหนึ่งนั้นยังแบ่งได้เป็น ๓ อนุขณะ หรือ ๓ ขณะเล็กคือ
อุปาทขณะ หมายถึง ขณะที่จิตเกิดขึ้น ๑ อนุขณะ ฐิติขณะ หมายถึงขณะที่จิตที่ตั้งอยู่ ๑ อนุขณะ และภังขณะ หมายถึง ขณะที่จิตนั้นดับไป ๑ อนุขณะหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าขณะจิตหรือจิตแต่ละดวงนั้นมีอยู่ ๓ อนุขณะ คือ อุปาทขณะ ๑ ฐิติขณะ ๑ ภังคขณะ ๑ อนึ่ง จิต ๑๗ ขณะ เท่ากับอายุของรูปธรรมรูป ๑ กล่าวคือจิตเกิดดับไป ๑๗ หน รูปจึงดับไปหนหนึ่ง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า รูปแต่ละรูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับไป ๑๗ ขณะหรือ ๑๗ หน ดังนั้นรูปแต่ละรูปจึงมีอายุเท่ากับ ๕๑ อนุขณะ หรือ ๕๑ ขณะเล็ก เป็นอุปาทขณะ คือ ขณะที่รูปเกิดขึ้น ๑ อนุขณะ, เป็นฐิติขณะ คือ ขณะที่รูปตั้งอยู่ ๔๙ อนุขณะ และเป็ยภังคขณะ คือขณะที่รูปดับไป ๑ อนุขณะ
โดย นัยนี้จึงเห็นว่า อุปาทขณะของจิตกับอุปาทขณะของรูปมี ๑ อนุขณะเท่ากัน ภังคขณะของจิตกับภังคขณะของรูปก็มี ๑ อนุขณะเท่ากันอีก, ส่วนฐิติขณะของจิตก็มี ๑ อนุขณะ แต่ฐิติขณะของรูปนั้นมีถึง ๔๙ อนุขณะ รูปจึงมีอายุยาวกว่าจิตมาก รูปที่มีอายุเท่ากับ ๑๗ ขณะจิต หรือ ๕๑ อนุขณะนั้น มีชื่อเรียกว่า สตตรสายุกรูป คือรูปที่มีอายุชั่ว ๑๗ ขณะจิต
รูปธรรม ทั้งหมดมี ๒๘ รูป แต่เป็น สตตรสายุกรูป คือรูปที่มีอายุ ๑๗ ขณะจิตเพียง ๒๒ รูปเท่านั้น ส่วนอีก ๖ รูปคือ วิญญัติรูป ๒ และลักขณะรูป ๔, หามีอายุถึง ๑๗ ขณะจิตไม่ เพราะวิญญัติรูป ๒ เป็นรูปที่เกิดพร้อมกับจิตและดับไปพร้อมกับจิต จึงมีอายุเท่ากับอายุของจิตดวงเดียวคือ ๓ อนุขณะเท่านั้น ส่วนลักขณะรูป ๔ นั้น อุปจยรูปกับสันตติรูป เป็นรูปที่ขณะแรกเกิด คือ อุปาทขณะ มีอายุเพียง ๑ อนุขณะเท่านั้นไม่ถึง ๕๑ ขณะ, ชรตารูป เป็นรูปที่ตั้งอยู่คือฐิติขณะ มีอายุ ๔๙ อนุขณะเท่านั้นไม่ถึง ๕๑ ขณะ, และอนิจจตารูปที่กำลังดับไป คือภังคขณะ ก็มีอายุเพียง ๑ อนุขณะ ไม่ถึง ๕๑ ขณะ เป็นอันว่าลักขณะรูปทั้ง ๔ นี้ แต่ละรูปก็หามีอายุไม่ถึง ๕๑ อนุขณะแต่สักรูปหนึ่งไม่
๙ สงฺคห ปริจเฉทที่ ๑ หน้า ๑๑
ชีวิตรูป แปลว่า รูปที่ทำให้ดำรงอยู่ ทำให้เป็นอยู่ได้ หมายความว่า ทำให้กรรมชรูป (รูปเกิดจากกรรม เช่น ปสาทรูป และภาวรูป เป็นต้น) ดำรงอยู่ได้ โดยชีวิตรูปนี้ทำหน้าที่ธำรงสหชาตรูป (รูปที่เกิดร่วมกับตน คือกรรมชรูป) มิได้สลายไป กล่าวคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นต้น ที่สามารถทำหน้าที่ได้อยู่ ยังเป็นอยู่ได้ ก็เพราะมีชีวิตรูปรักษาไว้ ธำรงไว้ตลอดอายุ
๑๐ อภิ.วิ.๓๕/๒๓๘/๑๑๗
ชีวิตินทรีย์ เป็นไฉน ? ชีวิตินทรีย์มี ๒ อย่างคือ รูปชีวิตินทรีย์ อรูปชีวิตินทรีย์ ในชีวิตินทรีย์ ๒ อย่างนั้น
รูปชี วิตินทรีย์ เป็นไฉน ? อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิต ของรูปธรรมนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า รูปชีวิตินทรีย์.
อรูปชีวิตินทรีย์ (นามชีวิตินทรีย์) เป็นไฉน ? อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิต ของนามธรรมนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า อรูปชีวิตินทรีย์.
อภิ.ธา.อ.๗๙ หน้า ๒๔
คำว่า "ชีวิตินฺทฺริยฺ ทฺวีหิ ขนฺเธหิ" ความว่า รูปชีวิตินทรีย์นับสงเคราะห์ได้ด้วยรูปขันธ์
อรูปชีวิตินทรีย์นับสงเคราะห์ได้ด้วยสังขารขันธ์.
วิ.ม.อ.๒ หน้า ๓๘๒
ใน บทว่า อินทรีย์คือชีวิต นั้น อินทรีย์คือชีวิต มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์๑ อรูปชีวิตินทรีย์๑. ใน ๒ อย่างนั้น ในอรูปชีวิตินทรีย์ ไม่มีความพยายาม ใครๆ ไม่สามารถปลงอรูปชีวิตินทรีย์นั้นได้. แต่ในรูปชีวิตินทรีย์ มีบุคคลอาจปลงได้. ก็เมื่อปลงรูปชีวิตินทรีย์นั้น ชื่อว่า ปลงอรูปชีวิตินทรีย์ด้วย. จริงอยู่ อรูปชีวิตินทรีย์นั้น ย่อมดับพร้อมกับรูปชีวิตินทรีย์นั้นนั่นเอง เพราะมีพฤติการณ์เนื่องด้วยรูปชีวิตินทรีย์นั้น.
อภิ.สํ.อ.๗๖ หน้า ๒๔๔ (อรรถกถาชีวิตินทริยนิทเทส)
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งชีวิตินทรีย์..
สหชาตรูปานุปาลนลกฺขณํ ชีวิตินฺทริยํ ชีวิตินทรีย์มีการตามรักษารูปที่เกิดพร้อมกันเป็นลักษณะ (สภาวะ)
เตสํ ปวตฺตนรสํ มีความเป็นไปของรูปธรรมเหล่านั้นเป็นรส (กิจ หน้าที่ ความถึงพร้อม)
เตสฺเยว €ปนปจฺจุปฏฺ€านํ มีความดำรงอยู่ซึ่งรูปธรรมเหล่านั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน (อาการปรากฏ)
ยาจยิตพฺพภูตปทฏฺ€านํ มีภูตรูปอันยังรูปธรรมให้ดำเนินไปเป็นปทัฏฐาน (เหตุใกล้ให้เกิด) ดังนี้แล.
๑๑ สงฺคห ปริจเฉทที่ ๒ หน้า ๕๗
ตาม ปกตินั้น จิตเป็นสิ่งที่รับรู้อารมณ์ ต้องมีอารมณ์จึงจะเกิดขึ้นได้ และจิตนั้นก็มีการเกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา การเกิด-ดับนี้กำหนดเป็น ๓ ขณะ คือ อุปปาทะ (ขณะเกิด) ฐิติ (ขณะตั้งอยู่) และภังคะ (ขณะดับ) การเกิด-ดับของจิตนี้เป็นไปรวดเร็วมาก มีคำกล่าวว่า ชั่วลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น จิตจะเกิด-ดับถึงแสนโกฏิขณะ แม้จิตจะเกิด-ดับรวดเร็วอย่างนี้ จิตก็คิดอ่านหาอารมณ์อยู่เสมอ คิดปล่อยอารมณ์หนึ่งไปอารมณ์หนึ่งอยู่ตลอดเวลา
สงฺคห ปริจเฉทที่ ๒ หน้า ๖๔
เรื่อง กิจและฐานของจิตที่กล่าวมานี้ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะการทำงานของจิตนั้นกำหนดตามขณะจิตที่เกิดขึ้นแต่ละขณะ ๆ ไป การเกิดดับของจิตเป็นไปอย่างรวดเร็ว ขนาดที่กำหนดกันว่าชั่วลัดนิ้วมือเดียว จิตก็เกิดดับนับได้ถึงแสนโกฏิครั้ง ดังนั้น การทำงานของจิตจึงเป็นไปโดยรวดเร็ว ยากที่จะเห็นได้ กำหนดได้แต่เพียงว่าจิตนั้นทำงานทุก ๆ ขณะจิต ตามลำดับกิจนั้น ๆ นับแต่ปฏิสนธิกิจเป็นต้นไป
๑๒ ขุ.อิติ.อ.๔๕ หน้า ๔๔๓
อธิบายว่า การฆ่าสัตว์มีชีวิต อนึ่งขันธสันดานที่เรียกกันว่าสัตว์ ชื่อว่า ปาณะ ในคำว่า ปาณาติปาโต นี้ ขันธสันดานนั้นโดยปรมัตถ์ ได้แก่รูปชีวิตินทรีย์ และอรูปชีวิตินทรีย์. แท้จริงเมื่อรูปชีวิตินทรีย์ที่บุคคลให้พินาศแล้ว อรูปชีวิตินทรีย์นอกนี้ก็พินาศไป เพราะอรูปชีวิตินทรีย์เนื่องกับรูปชีวิตินทรีย์นั้น.
เจตนาคิดจะฆ่าของ ผู้มีความสำคัญในสัตว์มีชีวิตนั้น ว่าเป็นสัตว์มีชีวิต ที่ยังความพยายาม อันเข้าไปตัดขาดชีวิตินทรีย์ให้ตั้งขึ้นเป็นไปแล้ว ทางกายทวาร และวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง ชื่อว่าปาณาติบาต.
๑๓ ม.มู.อ.๑๗ หน้า ๕๗๐
เจตนานั้น เอง ท่านเรียกว่า มโนสัญเจตนา....อธิบายว่า กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยพิเศษของรูปกายของสัตว์ทั้งหลายผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา ผัสสาหารเป็นปัจจัยพิเศษของเวทนา ในหมวดนาม มโนสัญเจตนาหารเป็นปัจจัยพิเศษของวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยพิเศษของนามรูป. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ร่างกายนี้อาศัยอาหารจึงดำรง (ชีพ) อยู่ได้ ไม่มีอาหาร ดำรง (ชีพ) อยู่ไม่ได้ ฉันใด. เหมือนอย่างเวทนาเกิดมีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปเกิดมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.
ถามว่า ก็ในอาหารวาระนี้ อาหารอะไร นำอะไรมาให้ ?
ตอบ ว่า กวฬิงการาหาร นำรูปมีโอชะเป็นที่ ๘ มาให้ (อวินิพโภครูป ๘) ผัสสาหารนำเวทนา ๓ มาให้ มโนสัญเจตนาหาร นำภพทั้ง ๓ มาให้ วิญญาณาหาร นำนามรูปในปฏิสนธิมาให้… มโนสัญเจตนาหาร คือกรรมที่จะให้เข้าถึงกามภพ จะนำกามภพมาให้. ที่จะให้เข้าถึงรูปภพและอรูปภพ ก็จะนำรูปภพและอรูปภพมาให้.
๑๔ อภิ.วิ.๓๕/๑๐๙๙/๕๑๒
[๑๐๙๙] ในขณะที่เกิด ขันธ์เท่าไรย่อมเกิดปรากฏ ฯลฯ จิตเท่าไรย่อมปรากฏ แก่เหล่าเทวดาอสัญญสัตว์ ?
ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๑ คือ รูปขันธ์ ย่อมเกิดปรากฏแก่เหล่าเทวดาอสัญญสัตว์. อายตนะ ๒ คือ รูปายตนะ ธัมมายตนะ ย่อมเกิดปรากฏ. ธาตุ ๒ คือ รูปธาตุ ธัมมธาตุ ย่อมเกิดปรากฏ. สัจจะ ๑ คือ ทุกขสัจจะ ย่อมเกิดปรากฏ.
อภิ.วิ.อ.๗๘ หน้า ๙๙๕
อินทรีย์ ๑ คือ รูปชีวิตินทรีย์ย่อมเกิดปรากฏ. เหล่าเทวดาอสัญญสัตว์ ไม่มีเหตุ ไม่มีอาหาร ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีเจตนา ไม่มีจิต ย่อมเกิดปรากฏ.
๑๕ อภิ.สํ.อ.๗๖ หน้า ๘๑
๑๖ สงฺคห ปริจเฉทที่ ๔ หน้า ๘
๑๗ ขุ.ธ.อ.๔๐ หน้า ๔๑๒ เรื่องพระภาคิไนยสังฆรักขิตเถระ [๒๗]
“ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.”
[ชนเหล่าใด จักสำรวมจิต อันไปในที่ไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีสรีระ มีถ้ำเป็นที่อาศัย ชนเหล่านั้น จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร.]
๑๘ ที.สี.๙/๑๓๒/๗๒ มโนมยิทธิญาณ
[๑๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตรกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝักดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง..
๑๙ ที.สี.๙/๑๓๓/๗๓ อิทธิวิธญาณ
[๑๓๓] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลง แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างงาหรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงาชนิดใดๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือ ของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณชนิดใดๆ พึงทำทองรูปพรรณชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้...
๒๐ องฺ.ติก.๒๐/๕๗๖/๒๗๓ (อุปปาทสูตร)

---------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลจาก http://www.bloggang.com/viewblog.php...atree&group=10

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น