เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ
ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "
หน้าเว็บ
เกี่ยวกับฉัน
- Nitinandho
- อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย
ผู้ติดตาม
วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
พระพุทธพจน์มี ๓
พระพุทธพจน์มี ๓
พระพุทธพจน์มี ๓
คือปฐมพจน์ มัชฌิมพจน์ และปัจฉิมพจน์
นับอย่างไร ? จริงอยู่ พระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้มี ๓ ประเภท คือ
ปฐมพุทธพจน์ มัชฌิมพุทธพจน์ ปัจฉิมพุทธพจน์. ใน ๓ ประเภทนี้
ปฐมพุทธพจน์ได้แก่พุทธพจน์นี้ คือ
อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ
คหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ
คหการก ทิฏฺโ€สิ ปุน เคหํ น กาหสิ
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ
วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา
เราแสวงหาช่างผู้ทำเรือนคืออัตภาพ เมื่อไม่พบ ได้ท่องเที่ยว
ไปแล้ว สิ้นสงสารนับด้วยชาติมิใช่น้อย ความเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์
ดูก่อนช่างผู้ทำเรือนคืออัตภาพ เราพบท่านแล้ว ท่านจักทำเรือนคือ
อัตภาพของเราอีกไม่ได้ โครงบ้านของท่านทั้งหมด เราทำลายแล้ว
ยอดแห่งเรือนคืออวิชชา เรารื้อแล้ว จิตของเราถึงพระนิพพานแล้ว
เราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลายแล้ว.
อาจารย์บางพวกกล่าวอุทานคาถาในคัมภีร์ขันธกะ มีคำว่า ยทา หเว
ปาตุภวนฺติ ธมฺมา ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ ดังนี้ เป็นต้น
ว่าเป็นปฐมพุทธพจน์ ก็อุทานคาถานี้ พึงทราบว่า เป็นอุทานคาถาที่บังเกิด
แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ทรงพิจารณาซึ่ง
ปัจจยาการ ด้วยพระญาณที่สำเร็จด้วยโสมนัสเวทนาในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๖
ก็คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในเวลาใกล้เสด็จปรินิพพานว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อม
ไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังสัมมาปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วยความ
ไม่ประมาท ดังนี้ เป็นปัจฉิมพุทธพจน์. คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ระหว่างปฐมพจน์และปัจฉิมพจน์ ชื่อมัชฌิมพจน์. พุทธพจน์ ๓ ประเภท
คือ ปฐมพุทธพจน์ มัชฌิมพุทธพจน์ และปัจฉิมพุทธพจน์ นับอย่างนี้
คัมภีร์ ขุททกคันถะ หน้า 90
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น