เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความขัดแย้ง ไทย - กัมพูชา มองแบบทวิภาคีหรือพหุภาคี

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ - ความขัดแย้ง ไทย - กัมพูชา มองแบบทวิภาคีหรือพหุภาคี
แก้ไขโดย ทอทหาร
วันเสาร์ที่ 05 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554



< Download ฉบับ PDF >

การมองปัญหาความขัดแย้งบริเวณชายแดนไทย – กัมพูชานั้นหลายท่านชอบมองในลักษณะของความขัดแย้งของ 2 ประเทศ (ทวิภาคี) ทำให้มักจะมองข้ามหรือละเลยปัจจัยสำคัญอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน และการละเลยนี้อาจจะนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ที่ลุกลามบานปลายตามมาอย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อ ก.ย.53 ผมได้มีโอกาสไปบรรยายเรื่อง ความขัดแย้ง ไทย – กัมพูชา ในมิติทางยุทธศาสตร์และการทหารที่ พล.ร.6 เนื่องในโอกาสที่ ผบ.พล.ร.6 แถลงนโยบายการปฏิบัติงาน ปี 2554 ทำให้ได้มีโอกาสทำสไลด์บรรยายที่กล่าวถึง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ใน ไทยและกัมพูชา ดังแสดงในภาพที่ 1 และมีรายละเอียดดังนี้



ภาพที่ 1 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ในไทย – กัมพูชา

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับปัจจัยผลประโยชน์ใน ไทย – กัมพูชา นั้นอาจจะเริ่มได้จากที่การเมืองไทยไม่มีเสถียรภาพ เพราะเรายังมีปัญหาความขัดแย้งภายในของเราที่ยังไม่มีข้อยุติ ในขณะที่กัมพูชาเองได้มีการพัฒนาประเทศขึ้นมาก และหากมองเลยไปที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะพบว่าประเทศสมาชิกอาเซียนมีความเข้มแข็งมากขึ้น มองขึ้นไปทางเหนือสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน (สปจ.) มีการเติบโตจนส่งผลกระทบไปทั้งโลก ในขณะเดียวกันจะพบว่าสหรัฐอเมริกา ได้มีการปรับนโยบาย และแสดงท่าทีที่จะให้ความสำคัญภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น และสุดท้ายการที่ประเทศกัมพูชามีทรัพยากรที่อุดมสมบรูณ์ ทำให้หลายประเทศมีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุน

จากปัจจัยที่ได้กล่าวมาในข้างต้นนั้นจะส่งผลให้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ไทย-กัมพูชา นั้นมีหลากหลายเพราะมีผู้ที่ต้องการมาลงทุนใน บริเวณ ไทย-กัมพูชา จำนวนมาก ในขณะที่บางประเทศมีความต้องการที่จะใช้ทรัพยากรธรรมชาติจากบริเวณ ไทย-กัมพูชา หรือแม้กระทั่งความต้องการใช้โครงสร้างพื้นฐานทางโลจิสติคส์ (Logistics Infrastructure) จากจีนลงมาทางด้านใต้ นอกจากนี้ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังจะส่งผลกระทบกับโลกในภาพรวม เพราะภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) โลกได้มีการขยับเขยื้อน และที่สำคัญประเด็นปัญหาความมั่นคงของโลกจะมีลักษณะที่เป็นพลวัตรเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยภาพที่ 2 แสดงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหากเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่าง ไทย-กัมพูชา




ภาพที่ 2 มุมมองความขัดแย้ง ไทย – กัมพูชา ผ่านมิติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

จริงอยู่ความขัดแย้งระหว่าง ไทย-กัมพูชา นั้นเป็นเรื่องของ 2 ประเทศ แต่หากมองไปที่มิติของมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่าง ไทย-กัมพูชา นั้นจะพบว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านั้นจะต้องมีการแสดงท่าทีหรือเข้ามาแทรกแซงในความขัดแย้งดังกล่าว เพราะฉะนั้นการที่เราพยายามที่จะแก้ปัญหาในลักษณะของทวิภาคีนั้นจึงเป็นเรื่องยาก ในขณะเดียวกันที่กัมพูชามีอำนาจต่อรองน้อยในการเจรจา ท่าทีของกัมพูชาจึงพยายามที่จะนำปัญหาความขัดแย้งเข้าสู่เวทีที่มีลักษณะเป็นหพหุภาคี เพื่อสร้างความได้เปรียบในการเจรจาต่อรอง ซึ่งประเทศที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็มีความพร้อมที่จะเข้ามามีบทบาทในความขัดแย้งที่เกิดขึ้น


วันนี้หากเรามองไปยังพื้นที่มีความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา จะเห็นการเคลื่อนกำลัง การวางกำลัง และที่สำคัญกำลังทหารที่นำไปวางของทั้งสองประเทศได้มีการปะทะกัน มีการยิงปืนใหญ่ข้ามแนวชายแดนไปมา มีผู้ที่เสียชีวิต และมีทรัพย์สินที่เสียหาย หากวันนี้ เราทั้ง 2 ประเทศไม่พยายามที่จะยุติความขัดแย้งดังกล่าว สถานการณ์อาจจะลุกลามไปสู่การเป็น สงครามจำกัด (Limited War) ที่ส่งผลเสียและกระทบในมุมกว้างที่ยากจะควบคุม นอกจากนี้เราอาจจะสูญเสียโอกาสในการเป็นประเทศนำในอาเซียนไปอย่างถาวร

คำถามที่ผมอยากจะตั้งให้สังคมไทยได้ตระหนักเป็นอย่างมากหากหลายๆ ท่านปราถนาที่จะมีสงครามคือ ไทย – กัมพูชาจะดำเนินการอย่างไรในขั้นต่อไป ประเทศไทยมีแผนรองรับหรือไม่ สิ่งที่เราอยากให้เป็นคือการเจรจาแก้ไขโดยใช้กรอบทวิภาคีจะมีความไปได้มากน้อยแค่ไหน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะดำเนินการกันอย่างไร นอกจากนี้ในแง่ของกฏหมายระหว่างประเทศและเวทีโลก ไทยและกัมพูชาจะดำเนินการต่อไปอย่างไร

ถึงแม้วันนี้ไทยจะมีกำลังทหารที่มีอำนาจกำลังรบที่สูงกว่ากัมพูชาในภาพรวม แต่ในระดับพื้นที่นั้นมีความใกล้เคียงกัน และการปฏิบัติทางทหารตามแบบเราจะได้เปรียบกัมพูชา แต่หากเรานำกำลังเข้าไปในกัมพูชา เราจะถูกมองจากเวทีโลกว่าเรารังแกประเทศที่อ่อนแอกว่า และที่สำคัญคือ เราอาจจะเผชิญกับรูปแบบใหม่ๆ ของการปฏิบัติการทางทหาร เช่น การใช้โลห์มนุษย์ขัดขวางการปฏิบัติการทางทหาร สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เราไม่มีเสรีในการปฏิบัติ แล้วเราจะได้เปรียบตามที่เราคิดไว้จริงหรือหากต้องใช้การปฏิบัติการทางทหาร

หากมีการใช้กำลังทหารเข้าแก้ไขปัญหาความขัดแย้งวันนี้ใครคือเพื่อนที่จะยืนอยู่ข้างเรา สหรัฐฯ หรือ จีน หรือ ประเทศสมาชิกอาเซียน เพราะสหรัฐฯ ปัจจุบันได้มีการฝึกกับกองทัพกัมพูชา ให้ความช่วยเหลือทางด้านยุทโธปกรณ์ ส่วนหนึ่งนั้นมาจากความสัมพันธ์ที่ดีงามระหว่างกองทัพสหรัฐฯ กับ พลตรี ฮุนมาเน็ต ผู้บัญชาการกองพลน้อยที่ 70 บุตรชายสมเด็จฯ ฮุนเซ็น ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยเวสต์ปอยต์ (United States Military Academy at West Point) นอกจากนี้ สปจ.ยังได้ให้การสนับสนุนยาพาหนะทางทหารจำนวน 254 คันในปี 2553 ที่ผ่านมา ลาวเองก็ได้มอบอาวุธประเภทจรวดประทับบ่า ให้กับกัมพูชา 3,000 กระบอก และกระสุน 10,000 นัด ฝรั่งเศสเพิ่งให้อากาศยานสำหรับขนส่ง 2 ลำ นอกจากนี้กัมพูชายังซื้อรถถัง T-55 ใหม่ และรถเกราะลำเลียงพล จากสาธารณรัฐยูเครน และ จรวดหลายลำกล้อง BM-21 ที่มีขีดความสามารถยิงได้ไกล 40 กม. โดยการยิง 1 ชุดสามารถทำลายเป้าหมายประมาณ 1 สนามฟุตบอล และใช้เวลาบรรจุใหม่พร้อมยิงได้ภายใน 30 นาที ที่กล่าวมาในลักษณะนี้ไม่ได้ต้องการสร้างความมั่นใจการปฏิบัติการทางทหารของไทย แต่ต้องการให้เห็นพัฒนาการและบริบทในปัจจุบันของกัมพูชา ทำให้เราสามารถกล่าวได้ว่า “เราได้เปรียบทางยุทธการ แต่เสียเปรียบทางยุทธศาสตร์”

เพราะฉะนั้นคำถามสำคัญของสังคมไทยวันนี้ เราคงต้องมาตั้งคำถามกันว่าเราต้องการให้ประเทศไทยเข้าเผชิญสถานการณ์ความขัดแย้ง ไทย-กัมพูชา อย่างไร เราต้องการสงครามหรือเราต้องการสันติภาพ แต่ไม่ว่าจะอย่างไร วันนี้กองทัพก็ยังคงทำหน้าที่ในบริเวณความขัดแย้งอย่างเต็มความสามารถแม้จะต้องสูญเสียชีวิตทหารไปอีกจำนวนมากก็ตาม ประเทศไทยวันนี้เราจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ที่เราจะได้ประโยชน์มหาศาลที่ครอบคลุมหลายมิติหลายด้าน เพราะประชาคมอาเซียนจะมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Combined GDP) กว่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีรายได้จากการส่งออกในภูมิภาคโดยรวมกว่า 765 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ เราจะเป็นประเทศไทยเล็กๆ ที่ไม่มีอำนาจต่อรองมากในโลกอย่างลำพัง วันนี้เพื่อนบ้านใครบ้างที่รักเราจริง พร้อมที่จะร่วมเดินไปข้างหน้าเผชิญปัญหาร่วมต่างๆ จากภายนอกกับเราบ้าง เราอาจจะมีความภูมิใจในความเป็นประเทศไทยที่เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนี้ แต่คนไทยไม่เคยรู้เลยว่าวันนี้เราได้สูญเสียแม้แต่การเป็นประเทศนำในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนไปแล้ว แล้วท่านล่ะครับต้องการเห็นประเทศไทยเป็นอย่างไรในอนาคต ...............เอวังครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น