เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ
ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "
หน้าเว็บ
เกี่ยวกับฉัน
- Nitinandho
- อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย
ผู้ติดตาม
วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
การเจริญสมถกรรมฐานและที่สัปปายะ
@Mong Ku
การเจริญอนุสสติกัมมัฏฐานอนุสสติ ๑๐ เจริญให้ถึงฌานได้เพียง ๒ คือ กายคตาสติ ๑ และ อานาปาณสติ ๑ ดังได้กล่าวแต่ตอนต้นมาครั้งหนึ่งแล้ว ๑. การเจริญ กายคตาสติ เป็นการกำหนดพิจารณากาย ซึ่งหมายถึงสิ่งที่ประชุมกันด้วยโกฏฐาส ๓๒ หรือ อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้นโกฏฐาส ๓๒ คือ อาการ ๓๒ นั้น แบ่งเป็น ๖ หมวด แต่ละหมวดได้แก่อะไรบ้าง มีรายละเอียดแจ้งในคู่มือปริจเฉทที่ ๖ ตอนมหาภูตรูป ตรงปฐวีธาตุ มี ๔ หมวดเป็นอาการ ๒๐, ตรงอาโปธาตุ มี ๒ หมวด เป็นอาการ ๑๒ นั้นแล้ว ขอให้ดูที่นั่นด้วย(อาการ ๒๐ มี ผม, ขน, เล็บ, ฟัน, หนัง, เนื้อ, เอ็น, กระดูก, เยื่อในกระดูก, ม้าม, หัวใจ, ตับ, พังผืด, ไต, ปอด, ใส้ใหญ่, ใส้น้อย, อาหารใหม่, อาหารเก่า, มันสมอง อาการ ๑๒ มี ดี, เสมหะ, หนอง, เลือด, เหงื่อ, มันข้น, น้ำตา, มันเหลว, น้ำลาย, น้ำมูก, ไขข้อ, น้ำมูตร) ๒. โกฏฐาส ๓๒ นี้ ถ้าพิจารณาโดยความเป็นธาตุ ก็เป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน วิปัสสนาภาวนา แต่ถ้าพิจารณาโดยความเป็นบัญญัติ โดยความเป็นสิ่งปฏิกูล ก็เป็นสมถกัมมัฏฐาน สมถภาวนา ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะสมถภาวนาเท่านั้น ๓. ในชั้นต้นให้พึงท่องจำโกฏฐาส ๓๒ นี้เป็นหมวด ๆ ไป และแต่ละหมวดก็ให้คล่องทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม กลับไปกลับมาจนขึ้นใจ แล้วจึงพิจารณาในอาการ ๓๒ นั้นเป็น ๕ นัย คือ ก. พิจารณาโดย สี ว่าเป็นของปฏิกูล
ข. พิจารณาโดย สัณฐาน ว่าเป็นของปฏิกูล
ค. พิจารณาโดย ทิศ ว่าตั้งอยู่เบื้องสูงหรือเบื้องต่ำ
ง. พิจารณาโดย โอกาส ว่าตั้งอยู่ตรงไหน
จ. พิจารณาโดย ปริจเฉท ว่าไม่ปะปนกับส่วนอื่น
๔. พิจารณาอาการ ๓๒ แต่ละอาการโดยนัยทั้ง ๕ นั้น ตามลำดับไปทุกอาการ บางอาการก็จะเห็นได้ชัด บางอาการก็จะเห็นไม่ชัด ที่ไม่ชัดก็ให้ละไป จนเหลืออาการที่ชัดที่สุดแต่อาการเดียว ให้กำหนดอาการที่ชัดนี้เป็นบริกรรมนิมิต บริกรรมภาวนาไปจนกว่า อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิตจะปรากฏขึ้น ซึ่งเป็น อุปจารภาวนา และอัปปนาภาวนา คือถึง ปฐมฌาน
๕. กายคตาสตินี้ เป็นกัมมัฏฐานในการเจริญสมถภาวนาได้เพียงปฐมฌานเท่านั้นเพราะโกฏฐาสต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ ล้วนแต่เป็นสิ่งปฏิกูล น่าเกลียด จึงต้องอาศัยวิตกเป็นหลักคอยค้ำจุนหนุนจิตให้ยกขึ้นสู่อารมณ์นั้น ๆ ทำนองเดียวกับ อสุภกัมมัฏฐานที่กล่าวแล้วข้างต้น ขอให้ทบทวนดูที่นั่นด้วย
๖. การเจริญอานาปาณสติ คือการกำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ซึ่งดู ๆ ก็ไม่น่าจะยากเย็นอะไรเลย แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้สะดวกสบายนัก เพราะอาจเผลอตัว ไม่มีความรู้สึกตัว คือขาดสติสัมปชัญญะได้ง่าย จริงอยู่การเจริญภาวนาไม่ว่าจะอาศัยกัมมัฏฐานใดๆ จะต้องมีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ขาดสติสัมปชัญญะ คือ เผลอตัวเมื่อใดเมื่อนั้นก็ขาดจากการเจริญภาวนา จะเรียกว่าเป็นการเจริญภาวนาหาได้ไม่ โดยเฉพาะการกำหนดลมหายใจนี้ ลมหายใจยิ่งละเอียดสุขุมมากเท่าใด ก็ยิ่งเผลอตัวได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น เผลอตัวได้ง่ายกว่ากัมมัฏฐานอย่างอื่น เหตุนี้ในวิสุทธิมัคคจึงกล่าวว่า การเจริญอานาปาณสตินี้ เหมาะสมแก่ผู้ที่มีปัญญากล้า และเฉียบแหลม หาควรแก่ผู้ที่มีปัญญาน้อยไม่
๗. สถานที่ที่จะเจริญอานาปาณสติกัมมัฏฐานนั้น ถ้าเลือกได้สถานที่ดังจะกล่าวต่อไปนี้ก็จะเป็นที่สะดวกดีมาก คือ
ก. เสนาสนะในป่าที่สงัด เหมาะแก่ฤดูร้อน เหมาะแก่ผู้ที่มีโมหจริต เหมาะแก่ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวแก่ เสมหะ
ข. เสนาสนะที่อยู่โคนต้นไม้ หมายถึงใต้ร่มไม้ใหญ่ที่เงียบเชียบ เหมาะแก่ฤดูหนาว เหมาะแก่ผู้ที่มีโทสจริต เหมาะแก่ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวแก่น้ำดี
ค. เสนาสนะที่เป็นเรือนว่าง ที่ไม่มีคนอยู่อาศัย อยู่ในที่วิเวก เหมาะแก่ฤดูฝน เหมาะแก่ผู้ที่มีราคจริต เหมาะแก่ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวแก่ธาตุ
๘. การกำหนดลมหายใจนี้ จำแนกไว้เป็น ๔ หมวด แต่ละหมวดก็มี ๔ นัย จึงรวมเป็น ๑๖ นัยด้วยกัน
หมวดที่ ๑
ก. กำหนดให้รู้ว่าขณะนั้น หายใจออกยาวและเข้ายาว
ข. กำหนดให้รู้ว่าขณะนั้น หายใจออกสั้นและเข้าสั้น
ค. กำหนดให้รู้ในกองลมทั้งปวงในเวลาหายใจออกและเข้า คือให้รู้ว่าเบื้องต้น ของลมหายใจออกนั้นอยู่เหนือสะดือ เบื้องกลางอยู่ที่หน้าอก เบื้องปลายอยู่ที่ช่องจมูก และเบื้องต้นของลมหายใจเข้านั้นอยู่ที่ช่องจมูก เบื้องกลางอยู่ที่หน้าอก เบื้องปลายอยู่ที่เหนือสะดือ จะรู้ได้ต่อเมื่อตั้งใจกำหนดอย่างแน่แน่ว
ง. ให้รู้ในกายสังขาร คือ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้าที่สงบ คือการหายใจนั้นแผ่ว เบา ละเอียด ยิ่งขึ้นทุกที ถ้าไม่ตั้งใจกำหนดอย่างจริงจังก็จะเผลอไม่รู้สึกตัว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น