เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ดินถล่มสบเมย ตาย 3 หายอีก 4 รัฐเร่งช่วย


ดินถล่มสบเมย ตาย 3 หายอีก 4 รัฐเร่งช่วย










ดินถล่มสบเมย ตาย 3 หายอีก 4 มาร์ค เร่งช่วย (ไทยโพสต์)
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก รายการครอบครัวข่าว 3

นกเตนไปแล้ว แต่น้ำยังท่วม 15 จังหวัด เดือดร้อนกว่า 4หมื่นครัวเรือน "สุโขทัย" อ่วมสุด น้ำสูงเกือบ 2 เมตร แถมไฟชอร์ตตาย 1 ส่วนแพร่แย่ไม่แพ้กัน ดับ 4 หาย 1 แม่ฮ่องสอนวิกฤติดินถล่มซ้ำ ตาย 3หาย 4 เจ็บอีก 12 นายกฯ ถกคอนเฟอเรนซ์ทุกหน่วยเร่งช่วย เตรียมงบเยียวยาจังหวัดละ 50 ล้าน

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมร่วมกับนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการ กำกับ ติดตามช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.) อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ และอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับนายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เรื่องการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพายุนกเตนในพื้นที่ จ.สุโขทัย

นายจักรินกล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วมใน จ.สุโขทัย ได้รับผลกระทบมาก โดยเฉพาะ อ.ศรีสำโรง อ.เมืองสุโขทัย และ อ.กงไกรลาศ ซึ่งมีปริมาณน้ำเกินจุดวิกฤติ โดยปริมาณน้ำที่เข้ามาที่ อ.สวรรคโลก มีปริมาณน้ำ 1,900 ลบ.ม.ต่อวินาที และคาดว่าปริมาณน้ำจาก จ.แพร่ จะลงมาที่ จ.สุโขทัย ประมาณวันที่ 5 ส.ค.

นายอภิสิทธิ์กล่าวภายหลังการประชุมว่า ขณะนี้สถานการณ์ที่หนักสุดอยู่ที่ จ.สุโขทัย ที่มีปริมาณน้ำค่อนข้างมาก ซึ่งพยายามป้องกันในพื้นที่เศรษฐกิจ ดังนั้นที่ได้รับผลกระทบขณะนี้ก็จะเป็นพื้นที่การเกษตรเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม จากสภาพฝนที่ยังตกและน้ำที่มาตามลำน้ำยมและลำน้ำน่าน ก็จะมีผลกระทบที่จะต้องให้ทาง จ.พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ต้องระมัดระวังต่อไป ส่วนในภาคอีสานจะต้องดูในแง่ของระดับน้ำในแม่น้ำโขง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีตลิ่งต่ำอย่างมุกดาหาร ซึ่งต้องเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อีก 3 - 4 วัน






เมื่อถามว่า จะลงพื้นที่ไปดูปัญหาด้วยตัวเองหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า กำลังดูเวลาอยู่ เพราะมีภารกิจอยู่ ทั้งประชุมสภาและประชุมพรรคในช่วง 2-3 วันนี้ พื้นที่ไหนที่มีความเสี่ยงก็มีการเตือนตลอด และวันนี้ก็มีการซักซ้อมทำความเข้าใจกัน จะระดมความช่วยเหลือเฉพาะหน้า และพยายามควบคุมสถานการณ์ไม่ให้กระทบเป็นวงกว้างกับชุมชน ที่อยู่อาศัยและพื้นที่เศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องมีการประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อจัดงบประมาณช่วยเพิ่มเติม เพราะเงินสำรองที่ทางจังหวัดมีอยู่ก็น่าจะเพียงพอ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลได้เตรียมงบประมาณให้ทุกจังหวัด จังหวัดละ 50 ล้านบาท หากงบประมาณไม่เพียงพอจะประสานงานไปยัง ปภ.

นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดี ปภ. แถลงว่า อิทธิพลของพายุโซนร้อนนกเตนที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค. แม้ขณะนี้ฝนจะหยุดตกแล้ว แต่ก็ยังส่งผลให้มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม รวม 16 จังหวัด ได้แก่ แพร่ เชียงใหม่ สุโขทัย น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก นครพนม อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร และประจวบคีรีขันธ์ 105 อำเภอ 542 ตำบล 3,889 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 125,000 ครัวเรือน 441,000 คน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 217 หลัง พื้นที่การเกษตรเสียหาย 29,510 ไร่ มีผู้เสียชีวิต 7 ราย (จ.อุดรธานี 1 ราย จ.เชียงใหม่ 2 ราย จ.แม่ฮ่องสอน 3 ราย จ.แพร่ 1 ราย) สูญหาย 4 คน และบาดเจ็บ 12 คน (จ.แม่ฮ่องสอน สาเหตุจากดินโคลนถล่ม)

ทั้งนี้ ขอประกาศเตือนประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและที่ราบลุ่ม รวม 12 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ เลย และหนองบัวลำภู เตรียมพร้อมรับมือภาวะฝนตกหนัก เนื่องจากพายุเคลื่อนตัวผ่าน อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม ช่วงวันที่ 3-4 ส.ค.นี้

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ได้รับรายงานสรุปข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุนกเตน พบว่ามีโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด 80 โรง และปิดเรียน 27 โรง ซึ่งเบื้องต้นสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)จะมอบเงินช่วยเหลือเร่งด่วนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไปก่อนเขตละ 200,000 บาท

นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัดเร่งจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อให้การดูแลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาดที่มากับน้ำท่วม เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคฉี่หนู จนถึงวันนี้ได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการไปแล้ว 60 ทีม พบผู้เจ็บป่วยกว่า 5,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า

นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า คาดการณ์ว่าจะมียอดน้ำสูงสุดไหลถึงเขื่อนเจ้าพระยาประมาณ 2,500 ลบ.ม./วินาที ในวันที่ 6-7 ส.ค.นี้ ทางกรมชลประทานจึงประสานกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ลดการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล จากเดิมวันละ 30 ล้าน ลบ.ม./วัน ให้เหลือ 10 ล้าน ลบ.ม./วัน รวมทั้งควบคุมน้ำเข้าระบบชลประทานที่ได้ทำการพร่องน้ำไว้แล้ว และควบคุมน้ำให้ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาไม่เกิน 2,000 ลบ.ม./วินาที เพื่อไม่ให้กระทบต่อพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาและ กทม.

นางนวลอนงค์ วงษ์จันทร์ หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วงเย็นและค่ำวันที่ 3 ส.ค.นี้ การรถไฟฯสามารถเดินรถในเส้นทางสายเหนือ รับ-ส่งจากสถานีกรุงเทพฯ ตลอดปลายทางถึงเชียงใหม่ได้แล้ว







ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านหลายพื้นที่ใน จ.สุโขทัย กำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก โดยเฉพาะในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสวรรคโลก เพราะมีน้ำท่วมสูงกว่า 50 เซนติเมตร รวมทั้งที่ ต.ย่านยาว ต.คลองกระจง ต.เมืองบางยม อ.สวรรคโลก ก็มีน้ำท่วมหมู่บ้านสูงเกือบ 2 เมตร นอกจากนี้ ยังมีผู้เสียชีวิตอีก 1 ราย ทราบชื่อนายอำนาจ ทองยัง อายุ 35 ปี ถูกไฟดูดตายคาบ้าน ขณะกำลังเร่งขนของหนีน้ำเมื่อคืนที่ผ่านมา

ส่วนจุดวิกฤติที่ อ.ศรีสำโรง อยู่ที่หมู่ 3, 4 และหมู่ 6 ต.วังทอง ชาวบ้าน 650 ครัวเรือน เดือดร้อนหนัก ไฟฟ้าน้ำประปาถูกตัดขาด และมีเสาไฟหลายจุดโค่นลงแม่น้ำยม รวมทั้งมีบ้านพัง 3 หลัง ขณะนี้ชาวบ้านขาดน้ำดื่มจำนวนมาก ต้องการความช่วยเหลือด่วน

ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองแพร่ยังคงวิกฤติ ถึงแม้ระดับน้ำจะเริ่มลดลง แต่ลงอย่างช้าๆ ระดับน้ำยังคงสูงกว่า 2 เมตร และที่ อ.วังชิ้น ยังน่าเป็นห่วง เนื่องจากน้ำที่เขตเทศบาลเมืองแพร่ที่ลดลงไหลบ่าไปสู่อำเภอวังชิ้นแทน นอกจากนี้ยังพบผู้เสียชีวิตใน อ.วังชิ้นแล้ว 2 ราย คือ นายธัชพล ศรแก้ว อายุ 16 ปี ที่เสียชีวิตจากลื่นตกน้ำขณะเดินทางไปกับบิดาเพื่อดูบ้านตนเองที่ถูกน้ำท่วม และนายวิเชียร ก้านเงิน อายุ 56 ปี ออกไปหาปลาแล้วเรือล่มเสียชีวิต และยังมีผู้สูญหายอีก 1 ราย ขณะเดียวกันที่ อ.สูงเม่น มีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ นายสุบิน สุนันทพงษ์ อายุ 45 ปี และที่ อ.ร้องกวาง 1 ราย คือ นายมัย อิสี อายุ 60 ปี ออกไปหาปลาถูกน้ำพัดลงท่อจนเสียชีวิต

ที่ จ.แม่ฮ่องสอน เวลา 06.00 น. ได้เกิดเหตุดินโคลนถล่มในหมู่บ้านปู่ทา หมู่ที่ 6 ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย ส่งผลให้มีราษฎรเสียชีวิต 3 ราย เป็นหญิงชรา 1 ราย และเด็ก 2 ราย และมีผู้สูญหายอีก 4 ราย รวมทั้งยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 12 ราย นอกจากนี้ที่หมู่บ้านแม่สามแลบ หมู่ที่ 1 มีบ้านเรือนถูกน้ำพัดพาสูญหายไปอีก 11 หลังคาเรือน และในพื้นที่บ้านแม่คะตวน บ้านแม่สวด น้ำป่าไหลหลากส่งผลให้ถนนสายสบเมย จ.แม่ฮ่องสอน กับ อ.แม่สวด จ.ตาก ถนนชำรุดไม่สามารถใช้การได้


ดินถล่มสบเมย ตาย 3 หายอีก 4 รัฐเร่งช่วย

ดินถล่มสบเมย ตาย 3 หายอีก 4 รัฐเร่งช่วย

สำหรับสภาพอากาศในช่วง 1 - 2 วันข้างหน้านี้ นายสมชาย ใบม่วง รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เผยว่า อาจมีฝนตกในภาคใต้ ส่วนข่าวลือเรื่องที่จะมีพายุ 10 -20 ลูก พัดผ่านประเทศไทย ในช่วงเดือนกันยายนนั้น คาดว่า จะมีพายุเพียง 1 ลูกเท่านั้น เมื่อดูจากสถิติ 52 ปี ของพายุที่พัดเข้ามาในไทยในช่วงเวลาดังกล่าว ในช่วงเดือนกันยายน ตามที่เป็นข่าว หากจะมีจริง ก็มีเพียง 1 ลูกเท่านั้น ซึ่งเป็นสถิติ 52 ปี ของพายุที่พัดเข้าไทยในช่วงนี้

ด้าน นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผย ถึงสถานการณ์น้ำท่วมจากผลกระทบของพายุนกเตนว่า ในพื้นที่ 17 จังหวัดที่ประสบภัยนั้น พบว่า มีผู้ป่วย 7,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ไข้หวัด และมีผู้เสียชีวิต 9 ราย โดยในวันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้จัดส่งยาชุดน้ำท่วม 10,000 ชุด ไปให้จังหวัดแพร่และลำปาง จังหวัดละ 5,000 ชุด และสั่งการให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ผลิตยาชุดน้ำท่วมเพิ่มอีก 300,000 ชุด รวมที่ส่วนกลางมียาสำรอง 500,000 ชุด พร้อมจัดส่งให้จังหวัดอย่างเต็มที่ และหากประชาชนรายใดที่เจ็บป่วยและเดินทางออกมาไม่ได้ขอให้โทรแจ้งทีมแพทย์ฉุกเฉินที่ 1669 กระทรวงสาธารณสุข จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลเป็นการด่วน

ดินถล่มสบเมย ตาย 3 หายอีก 4 รัฐเร่งช่วย

ดินถล่มสบเมย ตาย 3 หายอีก 4 รัฐเร่งช่วย


สถานการณ์อุทกภัยในแต่ละจังหวัด

จังหวัดเลย

สภาพน้ำท่วมในจังหวัดเลย หลังจากที่ฝนหยุดตกมาแล้ว 2 วัน ทำให้บางอำเภอเริ่มกลับเข้าภาวะปกติ และพื้นที่หลายแห่งที่น้ำท่วมเริ่มลดลงแล้ว ได้แก่ อำเภอเชียงคาน อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูเรือ และอำเภอนาแห้ว ในเบื้องต้น เจ้าหน้าที่ได้เร่งระดมตรวจสอบความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเลย

จังหวัดลำปาง

สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดลำปาง โดยเฉพาะในเขตเทศบาลลำปาง เริ่มคลี่คลาย หลังจาก เทศบาล ใช้เครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำลงแม่น้ำวังในหลายจุด พร้อมกันนี้ ได้มีประกาศเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ อำเภอเถิน และ อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง เฝ้าระวังระดับน้ำจากลำน้ำวัง เนื่องจากระดับน้ำในลำน้ำวังยังคงมีระดับสูงและไหลเชี่ยวกรากอยู่

จังหวัดลำพูน

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดลำพูน พบว่า มีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายหนัก 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอลี้ อำเภอบ้านธิ ประกอบกับในพื้นที่ยังมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำกวง, น้ำลี้ ยังเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง จนน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน วัด โรงเรียน หลายแห่ง ถนนหลายสายถูกน้ำท่วมต้องปิดการจราจร และหากฝนยังคงตกติดต่อกันและมีน้ำเหนือไหลเข้ามาสมทบ มีโอกาสที่ระดับน้ำจะเข้าท่วมตัวเมืองลำพูน บริเวณถนนหน้าศาลากลางจังหวัดได้

จังหวัดสุโขทัย

นายปรีชา ด้วงบุญมา หัวหน้าป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดสุโขทัย ได้ออกประกาศเตือนประชาชน ในพื้นที่ อำเภอศรีสัชนาลัย และอำเภอสวรรคโลก เตรียมรับมือน้ำระลอกใหม่ที่จะไหลลงมาสมทบ ในวันพรุ่งนี้ (5 สิงหาคม) พร้อมขอให้ทุกภาคส่วน ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่เสียหายนั้น ทางจังหวัดสุโขทัยได้ใช้เงินสำรองจ่ายเยียวยาเบื้องต้นแล้ว

จังหวัดอุดรธานี

สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดอุดรธานี ขณะนี้ ได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นพบว่า มี 5 อำเภอ 17 ตำบล 500 หมู่บ้าน ที่ได้รับความเสียหาย ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 20,702 ครอบครัว ซึ่งขณะนี้ ทุกภาคส่วนได้เข้าไปให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนแล้ว ทั้งเรื่องเครื่องอุปโภคและบริโภค


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น