เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

๓๘. ประวัติ พระวักกลิเถระ


๓๘. ประวัติ พระวักกลิเถระ
นำเสนอโดย...พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล (ไชยฤทธิ์)

๑. สถานะเดิม

พระวักกลิเถระ นามเดิม วักกลิ
บิดาและมารดาไม่ปรากฏนาม เป็นพราหมณ์ชาวสาวัตถี

๒. ชีวิตก่อนบวช

เมื่อเติบโตเขาได้ศึกษาลัทธิพราหมณ์ เรียนจบเวท ๓ แต่ไม่ได้ตั้งตัวเป็นคณาจารย์สั่งสอนใคร

๓. มูลเหตุของการบวชในพระพุทธศาสนา

วันหนึ่ง เขาเห็นพระศาสดาแวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จดำเนินไปในพระนครสาวัตถี ไม่อิ่มด้วยการดูพระรูปสมบัติ จึงติดตามพระองค์ไปทุกหนทุกแห่ง ในที่สุดตัดสินใจว่าต้องบวชจึงจะได้เห็นพระศาสดาตลอดเวลา เขาจึงขอบวช แล้วได้บวชในสำนักพระศาสดา

๔. การบรรลุธรรม

ตั้งแต่บวชแล้ว พระวักกลิติดตามดูพระศาสดาตลอดเวลา เว้นเวลาฉันอาหารเท่านั้น พระศาสดาทรงรอคอยความแก่กล้าแห่งญาณของเธอ จึงไม่ตรัสอะไร ครั้นทราบว่าญาณของเธอแก่กล้าแล้ว จึงได้ตรัสแก่เธอว่า วักกลิ จะมีประโยชน์อะไรกับการดูร่างกายที่เปื่อยเน่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นย่อมเห็นธรรม ดูก่อนวักกลิ บุคคลผู้เห็นธรรมชื่อว่าเห็นเรา บุคคลผู้เห็นเราชื่อว่า ย่อมเห็นธรรม

แม้พระศาสดาตรัสอย่างนี้ ท่านก็ยังไม่เลิกดูพระศาสดา ทรงพระดำริว่า ภิกษุนี้ถ้าไม่ได้ความสังเวชคงไม่บรรลุธรรม จึงทรงขับไล่ว่า วักกลิเธอจงหลีกไป ท่านเสียใจมาก ขึ้นไปบนภูเขาจะฆ่าตัวตาย พระองค์ทรงเปล่งพระรัศมีไปโปรด ตรัสเรียกเธอว่า วักกลิ เธอรู้สึกปลื้มใจมาก นึกถึงพระดำรัสของพระศาสดา ข่มปีติได้แล้วบรรลุพระอรหัตผล

๕. เอตทัคคะ

เพราะพระวักกลิเถระบรรลุพระอรหัตผลด้วยศรัทธาในพระศาสดา ฉะนั้นจึงทรงยกย่องท่านว่า เป็นเลิศแห่งภิกษุผู้เป็นสัทธาวิมุตติ (พ้นจากกิเลสเพราะสัทธา)

๖. บุญญาธิการ

แม้พระวักกลิเถระนี้ ก็ได้สร้างสมบารมีอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมานาน ในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ได้เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในเอตทัคคะว่า เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้สัทธาวิมุตติ จึงได้บำเพ็ญกุศลปรารถนาผลเช่นนั้นบ้าง พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า จะสมประสงค์ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระโคดม จึงสร้างสมความดีอีกยาวนานนับได้แสนกัปจึงสมปรารถนา ดังได้กล่าวมา

๗. ธรรมวาทะ

ข้าพระองค์จะแผ่ปีติและสุขไปให้ทั่วร่างกาย จะอดกลั้นปัจจัยอันเศร้าหมอง เจริญสติปัฏฐาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ จะไม่เกียจคร้านระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบุคคลชั้นเลิศ ฝึกพระองค์แล้วพระทัยตั้งมั่นตลอดทั้งกลางคืนและกลางวัน

๘. นิพพาน

พระวักกลิเถระ ครั้นดำรงอยู่ตามสมควรแก่เวลาของท่าน ก็ได้นิพพานจากไป เหลือไว้แต่ปฏิปทาที่ควรค่าแก่การศึกษาของปัจฉิมชนตาชนผู้สนใจพระพุทธศาสนาต่อไป


หนังสืออ้างอิง.-

-ธรรมสภา,อสีติมหาสาวก๘๐พระอรหันต์,ฉบับจัดพิมพ์เป็นธรรมทานในมงคลวาระคล้ายวันเกิด คุณอำพัน-คุณสุมารัตน์ วิประกาษิต,กรุงเทพฯ, ๒๕๔๘,
-บุญโฮม ปริปุณฺณสีโล(ไชยฤทธิ์),พระมหา,คู่มือเรียนนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท, ฉบับพิมพ์โรเนียวเย็บเล่ม, สำนักศาสนศึกษาวัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี, ๒๕๓๕
-บุญโฮม ปริปุณฺณสีโล(ไชยฤทธิ์),พระมหา,ปัญหาและเฉลยสำหรับนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นโท, ฉบับพิมพ์โรเนียวเย็บเล่ม, สำนักศาสนศึกษาวัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี, ๒๕๓๕
-ศูนย์พระสงฆ์นักเผยแผ่ธรรมะเพื่อพัฒนาสังคม,คู่มือธรรมศึกษาชั้นโท, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๕๔๗,โรงพิมพ์เอกพิมพ์ไท จำกัด,กรุงเทพฯ,๒๕๔๗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น