เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ข้อธรรม คำสอน ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล1


อย่าส่งจิตออกนอกไปเสวยอารมณ์
webmaster - เป็นคําสอนและคติธรรมของหลวงปู่ที่กล่าวกันอยู่เนืองๆ และเป็นแก่นหลักสําคัญในการปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ แต่ควรมีความเข้าใจทึ่ถูกต้องจึงจักสําเร็จผลสมดั่งคําสอนของหลวงปู่, อันท่านหมายถึง ไม่ส่งจิตออกนอกไปเสวยอารมณ์(หมายถึง เกิดเวทนา) หรือก็คือไม่ส่งจิตออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง เพราะทุกๆความคิดนึกปรุงแต่งอันคือความคิดที่ฟุ่มเฟือยเกินจําเป็น, อันเป็นขันธ์ ๕ อย่างหนึ่งซึ่งย่อมต้องเกิดเวทนาหรือการเสวยอารมณ์ร่วมด้วยทุกๆความคิดที่ปรุงแต่ง อันล้วนอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันเป็นไปตามหลักธรรมปฏิจจสมุปบาท, จึงทําให้เกิดเป็นทุกข์ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัวจากความคิดนึกปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านนั้นๆ, จิตไม่ส่งออกนอกในความหมายของท่านจึงหมายถึง ไม่ส่งจิตออกนอกเพื่อไม่ไปกระทบในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมมารมณ์หรือความคิด อันล้วนแต่ให้เกิดคิดนึกปรุงแต่ง หรือก็คือหยุดคิดนึกปรุงแต่ง
อย่าส่งจิตออกนอก อีกอย่างหนึ่งซึ่งมีความหมายเหมือนกันคือ อย่าส่งจิตออกไปนอก กาย เวทนา จิต ธรรม ตามหลักสติปัฏฐาน๔ นั่นเอง, จิตหรือสติอยู่กับกายไม่ส่งออกไปปรุงแต่ง ดังเช่น กายานุปัสสนา(การพิจารณากายเพื่อให้เกิดนิพพิทา, แต่ไม่ใช่หมายถึงจิตส่งใน หรือ จิตส่องจดจ่อจดจ้องไปเสพผลอันสุขสบายอันเกิดแต่กายหรือจิตที่เกิดจากอำนาจของฌานหรือสมาธิ)จึงจักถูกต้อง อันจะครอบคลุมถึงการให้จิตอยู่กับเวทนานุปัสสนา(เห็นเวทนา),จิตตานุปัสสนา(จิตเห็นจิตหรือความคิด) หรือธรรมานุปัสสนาหรือธรรมะวิจยะ(การพิจารณาธรรม)ก็ได้ อันล้วนเป็นการปฏิบัติแบบสติปัฏฐาน๔ในชีวิตประจําวันนั่นเอง, การพิจารณาธรรม - ไม่ใช่ความคิดที่ส่งออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง, เป็นความคิดที่มีคุณประโยชน์จําเป็นต้องมีเพื่อให้เกิดสัมมาญาณ อันยังให้เกิดสัมมาวิมุติ-สุขจากการหลุดพ้น, ต้องไม่ใช่ไปอยู่กับผลของสมาธิคือจิตไม่ส่งออกนอกแต่ไปคอยจดจ้องหรือยึดความเบากาย เบาใจ ภายในกายหรือจิตของตนเองอันเกิดจากผลของสมาธิ อันเป็นการเข้าใจผิด, แยกแยะให้ดีด้วย เพราะมีความฉิวเฉียดต่างกันเพียงน้อยนิด แต่ผลออกมาต่างกันราวฟ้ากับดิน อันแรกก่อให้เกิดสัมมาญาณอันจักยังให้เกิดสัมมาวิมุตติ, แต่อันหลังก่อให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสอันให้โทษอย่างรุนแรงในภายหลัง
หรืออาจกล่าวได้ว่า อย่าส่งจิตออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่ง เพราะคิดนึกปรุงแต่งคือเกิดขันธ์๕ อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา อันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานอันเป็นทุกข์ เป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น