เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

หลวงพ่อเทียน การทำความรู้สึก ภาค ๓ (อุปสรรคและการแก้ไข)



หลวงพ่อเทียน
การทำความรู้สึก
ภาค ๓ (อุปสรรคและการแก้ไข)

ภาค ๓ อุปสรรคและการแก้ไข

การที่เจริญวิปัสสนากรรมฐาน แบบที่พวกเรากำลังทำกันอยู่ทุกวันนี้ มันเป็นปัญหาบางอย่าง จึงจะเล่าให้ฟัง คือแนะนำวิธีที่จะไป แก้ปัญหา ที่มันเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติธรรม

ความตึงเครียด-มึนหัว-เวียนหัว-แน่นหน้าอก ฯลฯ

ถ้าหากเราปฏิบัติเบื้องแรก เรามักจะจ้อง บางคนต้องการอยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากมี อันนี้เป็นการเข้าใจยังไม่ตรงครับ เมื่อเราจ้อง อยากรู้ อยากเห็น อยากมี มันมีความตึงเครียด บางคนก็มึนหัว มึนศีรษะ แน่นหน้าอก แสดงว่าการกระทำนั้นไม่ตรง แล้วครับ ข้อที่สอง คือ มันคิด (คิดมาก) เราบ่อยากให้มันคิด ไปบังคับกดมันไว้ บ่ให้มันคิด มันก็เลยทำพิษให้เรา

วิธีแก้มัน ก็ต้องทำให้มันสบาย มองไปไกลๆ แล้วก็ทำความรู้สึกเบาๆ น้อยๆ อย่าไปเพ่งมาก เราเดินให้มันสบาย ทำจังหวะ ก็ทำให้มันสบาย ทำเป็นจังหวะ ให้รู้สึกตัว สายตาต้องมองไกลๆ

ความง่วง

ถ้ามันง่วงนอนมา ต้องไปหาวิธีทำการทำงาน ทำอะไรก็ได้ ถอนหญ้าก็ได้ ล้างหน้าล้างตาก็ได้ ไปอาบน้ำก็ได้ ซักเสื้อ ซักผ้า ก็ได้ ให้เราหาวิธีแก้ ว่าอย่างนั้นแหละครับ เพราะมันเป็นอุปสรรค

ความสงบ(แบบสมถะ)

ความสงบแบบบ่รู้(ไม่รู้)นั้น เรียกว่าเป็นปิติ ยินดีในความสงบอันนั้น เป็นอุปสรรคต่ดการปฏิบัติธรรม การปฏิบัติ แบบนี้บ่ใช่ว่าจะให้มันสงบดิ๊(นะ)นี่ ให้มันรู้สึกตัวอยู่เสมอ เคลื่อนไหวอยู่เสมอ

วิปัสสนูฯ

เมื่อรู้อันนี้(อารมณ์รูป-นาม) ก็แปลว่า ภาคต้นจบกันแค่นี้ แล้วคนมาติดแค่นี้แหละ นึกว่าตัวเองรู้ธรรมขั้นสูง...มันเกิด ความรู้ รู้นั้นรู้นี้ รู้ไปไม่มีทางสิ้นจบ แล้วก็ภูมิใจในความรู้ตัวเอง เลยไม่ได้ดูความคิด มันคิด...ก็เลยเข้าไปในความคิด

วิปัสสนูนี้มันอยากเว้า(พูด) มันเป็นคนชอบเว้า(พูด) จิตใจมันไม่อ่อนโยนครับ อันวิปัสสนูนั้น รู้แล้วมันหลงมันลืมครับ แล้วจิตใจมันกล้าแข็ง ไม่ลงเอยกับใครทั้งนั้น "กูพูดถูกแล้ว" "ใครจะมาดีเหนือกู" มัน เป็นอย่างนั้นครับ อันนี้เป็นความรู้ของวิปัสสนู บัดนี้ตอนแก้ ถ้าหากไม่มีใครแนะนำ เราต้องทำจังหวะให้มันสบาย...อย่าไปเพ่งอย่าไปจ้อง อย่าไปอยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากมี....ให้มันมีความรู้สึกน้อยๆเบาๆ พอดีมันคิดปุ๊บ เราก็มาอยู่กับการเคลื่อนไหว ให้มันอยู่กับการเคลื่อนไหวให้มาก

จิตนญาณ

บัดนี้มารู้ตอนนี้แล้ว (รู้อารมณ์ปรมัตถ์ - ดูภาคผนวก) มันเป็นปีติ "ใจดี" เย็นอกเย็นใจ... อันนี้เป็นจินตญาณ มันรู้ นิ่มๆ รู้นั้น รู้นี้ รู้แล้วสบายใจ

ปีติ ตามตำราท่านว่ามันดี ปีติ -ความอิ่มใจ ปีติ-ความยินดี ปีติ-ความพอใจ ท่านว่าอย่างนั้น แต่อันนี้(วิธีนี้) ปีติต้องเป็น อุปสรรค เป็นการขัดขวางไม่ให้เราเดินทางต่อไปถึงที่สุดได้มันจะเกิดปีติ มันจะไปอยู่กับปีติ อย่าให้มันไปอยู่ แต่มันห้ามบ่ได้ เฮาต้องมาทำความรู้สึกให้มาก บัดนี้ ทำให้แรงๆจักหน่อย (ทำแรงๆซักหน่อย) เพราะเราจะดึงเอา...ออกจากปีติอันนั้น ให้มารู้สึกอันนี้ ทำช้าๆ ให้มันเป็นจังหวะ เป็นจังหวะไป ทำช้า ได้ดีมากอันนี้...พอดีรู้สึกมากเข้าๆ ปีติก็จางไปๆ มันเป็นอย่างนั้น ก็เลยมาเป็นปกติ

อันนี้ มันจะแน่นหน้าอกหรือเวียนหัว มีความตึงเครียดเข้ามาเป็นบางอย่างนะครับ-อันนี้ เราต้องมาทำให้มันสบายๆ มองไกลๆครับ วิธีแก้ก็ต้องมองไกลๆ ทำความรู้สึกเบาๆ ไม่ใช่ว่ามันเป็นแล้วจะไปหยุดไปเซามัน ไม่ใช่อย่างนั้น ต้องเร่งความเพียร ทุ่มเทเข้า- ความเพียรนี่ ไม่ต้องท้อถอยไม่ต้องอ่อนแอ

ทำ แต่ว่าให้นอนครับ แต่ว่าตอนนี้ต้องให้นอน แต่บางคนไม่อยากนอน อยากเร่งความเพียร ไม่ ไม่ดี อย่างนั้นครับ ถึงเวลานอน ก็ต้องนอน ถ้าหากเป็นกลางวัน-ไม่นอน

วิปลาส

วิปลาส ก็แปลว่า เห็นผิดเป็นถูก เห็นนรกเป็นสวรรค์ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว อันนั้นตัวหนังสือ แต่ความจริง วิปลาสนี้ คือ มันไป พบเอากับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรานึกว่าเราได้ เราก็เลยวางอันนั้นไว้ที่นี่ เราก็ไปอยู่ที่นั่น เราไม่ได้มามองที่ตรงนี้ เหมือนกับผู้ร้ายจะมา เอาของเรานี่ละครับ พอดีผู้ร้ายเอาไปแล้ว(เรา)ก็มาหาของ มันไม่เห็นมันไม่เจอครับ นี่ก็แปลว่า มันปิดเราไว้

เราไม่ต้องไปครับ พอดีมันถึงที่สุดของทุกข์ก็ตาม จะถึงอะไรก็ตามแหละ มันถึงที่สุดแล้ว มันจึงรู้ครับ ก็เลยเป็นวิปลาสที่ตรงนี้ครับ แต่ผมเป็น ผมไปติดความสุขครับ เพราะไม่เคยเป็น ไม่เคยมี อย่างนี้

ผมเดินไป กำลังเดินจงกรม นึกว่ามันสูงขึ้นไปประมาณสักเมตรโน่นแหละครับหรือสองเมตรโน่นแหละครับ เหินดินคือย่าง(ลอยขึ้น เหมือนเดิน)อยู่ในอากาศนี่แหละครับ มันเป็นอย่างนั้น แต่ความจริงเดินบนดินนั่นแหละครับ แต่มันเป็นในใจครับ...ก็เลยติดความ สุขอันนั้น ไม่นานผมก็เลย "เอ๊ะ!" ทำไมเป็นอย่างนี้"

ผมก็เลยหวนกลับเข้ามาดู"อารมณ์"ครับ ตอนนี้ต้อง(ทบ)ทวน"อารมณ์" แต่ไม่ต้อง(ทบ)ทวนอารมณ์ของรูป-นามครับ

เมื่อมา(ทบ)ทวน"อารมณ์" เห็น "อารมณ์" เข้าใจ"อารมณ์"แล้ว ความสุขอันนั้นก็ค่อยจางไปๆหรือลดน้อยลงๆ ก็จะมาอยู่ปกติ เองครับ ให้มันเป็นปกติครับ

สรุปวิธีแก้ไข

ถ้ามันตึงเครียด เวียนหัว หนักอกหนักใจนั้น เราต้องทำเบาๆ อย่าไปเพ่ง ถ้าไปเพ่งแล้ว มันจะแน่นเข้า มันแก้ไม่ได้ ทำให้มันสบาย มองไกลๆ ถ้ามองไกลแล้ว มันคลายออกไป-ความรู้นั้น ความหนักอกหนักใจมันจะคลายออกไปเองครับ

จินตญาณก็เช่นเดียวกัน ให้แก้อย่างนั้น...

วิปัสสนูกับจินตญาณนั้น ต้องแก้ "วิธีทำ" แต่ว่า(ทบ)ทวนอารมณ์น้อยครับ แต่เรื่องรูป-นามนั้นก็ต้องให้มันแจ่มใส

ตอนวิปลาสนี่ ต้อง(ทบ)ทวน "อารมณ์"ครับ เมื่อ "อารมณ์"แจ่มใสขึ้นมาแล้ว ความตึงเครียดก็ลดน้อยไปทันที

แต่ให้มันคิดนะ ห้ามไม่ได้-ความคิดนี่ครับ แต่มันจะคิด รู้-เห็น-เข้าใจ-เป็น-มี หากท่านทั้งหลายไปปฏิบัติธรรมะ ต้องพยายามระวังตัวเอง อย่าให้ครูบาอาจารย์ระวังให้ เมื่อผิดปกติแล้วต้องหยุด หยุดทันที หยุดอะไร? หยุดการกระทำนั่นแหละ เมื่อเราหยุดการกระทำแล้ว สิ่งที่มันเป็นขึ้นมาภายในจิตใจนั้น มันจะค่อยลดไปลดไปเอง

บทท้าย

การปฏิบัติธรรมะ ถ้าหากเข้าใจแล้ว ไม่ยาก ที่มันยากมันเหบือวิสัญนั้น คือเราไม่เข้าใจเท่านั้นเองท่านพูดไว้ดีแล้ว แต่เรามันไม่เข้าใจไปทำของง่ายๆให้มันยุ่ง ทำของสบายๆให้มันลำบากขึ้นมา เมื่อไปทำให้ มันยุ่งมันลำบากแล้ว ก็ทำไม่ได้พระพุทธเจ้าท่านสอนของจริงที่มันมีอยู่ในคน ไม่ใช่สอนของที่มันไม่มีจริง และก็สอน(สิ่ง)ที่คนสามารถทำได้ และ พระพุทธเจ้าก็เว้นสิ่งที่คนทำไม่ได้

วิธีนี้จึงเป็นวิธีง่ายๆ ไม่ต้องไปศีกษากับตำรับตำรามาก เพราะมันมีในตัวคน เพราะว่าตัวคนทุกคนต้องรู้การเคลื่อนไหวของ ตัวเอง และการเคลื่อนไหวของจิตใจตัวเอง ถึงเรามีสติ-ต้องรู้ในขณะที่เราไม่มีสตินั้น มันก็เคลื่อนไหวอยู่อย่างนั้น รูปกายก็เคลื่อนไหว จิตใจมันก็นึกก็คิด แต่ว่าเราไม่รู้ เมื่อไม่รู้ มันสร้าง ขึ้นมาให้เราเห็น สิ่งที่ไม่จริง

ดังนั้น วิธีการปฏิบัติแบบนี้ จึงไม่มีวิธีการอื่นใด นอกจากทำความรู้สึก นอกจากทำความตื่นตัวแล้ว ไม่มีอะไร แต่วิธี อื่นนั้นมีมาก เช่น ไปรักษาศีล หรือไปทำความสงบ (สมถกรรมฐาน) อันนั้นมันไม่ใช่เกี่ยวข้องเรื่องนี้

อันนี้(วิธีนี้) ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรทั้งหมด ทำไมไม่เกี่ยวข้อง? เพราะมันมีอยู่แล้วในตัวเรา มาศึกษาให้รู้ "ของจริงที่มีอยู่ในตัวเรา"นี่เอง

คำว่าเจริญสตินี่ ทุกส่วนให้มันทำหน้าที่ของมันโดยสมบูรณ์ของมัน ไม่ต้องไปฝืนธรรมชาติของมัน

การปฏิบัติวิธีนี้คือ เป็นวิธีที่จะเอาไปใช้กับการกับงาน จึงว่า ไม่ได้ให้ฝืนธรรมชาติ

ตา เป็นหน้าที่ของมองให้เห็น

หู เป็นหน้าที่ของฟังเสียง

จมูก เป็นหน้าที่ของที่จะรู้ว่าเหม็นหอม

แล้วการเคลื่อนไหวของกายนี้ ต้องให้มันเป็นไปตามธรรมชาติหน้าที่ของมัน

ไม่ต้องฝืนมัน "แต่ให้มันรู้เท่าทัน" เท่านั้นเอง

การทำจังหวะ การทำความรู้สึกตัว มันทำให้เราเกิดปัญญา ปัญญาไม่ใช่เป็นปัญญานึกคิด (แต่)เป็นปัญญาเกิดขึ้นมาจาก กฎของธรรมชาติมันจริงๆ เรียกว่า ปัญญา ญาณของวิปัสสนาภาวนา

เกิดปัญญาเป็นอย่างไร? เกิดปัญญารู้สูตรสำเร็จสูตรหนึ่ง สูตรของมันไม่ต้องไปศึกษาเล่าเรียนในพระไตรปิฎก

คำว่า สูตรสำเร็จ นี่ หมายถึง ความสำเร็จมาจากตัวมันเอง เหมือนกับเพชรหรือทองคำที่เจือปนอยู่กับตมเลน เรา มาร่อนมาแยกออกไปแล้ว มันเหลือแต่เพชรล้วนๆ

สูตรเหล่านี้เราต้องปฏิบัติให้มันแสดงขึ้นมาเอง ยืนมั่นคงถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่แปรผัน สูตรๆนี้มีแล้วในคนทุกคนไม่ยกเว้น...เมื่อสำเร็จแล้ว ก็ต้องมีญาณเกิดขึ้นว่า "ชาติสิ้นแล้ว ภพสิ้นแล้ว พรมหจรรย์อยู่ จบแล้ว กิจอื่นไม่มี" กิจ...การศึกษาพระพุทธศาสนา จบตรงนี้

"ตัดผมครั้งเดียว" ก็หมายถึง สิ่งที่มันเป็นกฎของธรรมชาติ มันเข้าสู่สภาพของมัน รูปนี้ก็เข้าสู่สภาพเดิมของมัน จิตใจก็เข้าสู่สภาพของมัน อืมม์...อันนี้แหละ มันบ่ยาว มันบ่สั้น มันบ่ปรากฎขึ้นมา ... มันรู้จัก มันจืดมันถอน เพิ้น(ท่าน) จึงว่า เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ เป็นสิ่งที่เคารพนับถือ เป็นสิ่งที่บ่เคยมีมาก่อน เรื่อหมู่นี้จึงว่าคาดคิดบ่ได้-เรื่องธรรมะ มันต้อง ปฏิบัติให้มัน "เป็น"

นิพพาน คือ มันเข้าสู่สภาพของมัน แค่นั้นเอง ไม่มีเรื่องอะไร

มันเบาทั้งหมดเลย มันเบากาย เบาใจ เบาชีวิต เบาไปทั้งหมดเลยครับ คือมันไม่มีอันใด (อะไร)มาติดพัน มาติดมาพัน มัน ไม่มีอันใด(อะไร)มาเกาะมาข้องมันครับ คือมันเรียกว่ามันไม่มีอันใด(อะไร) ตัวชีวิตของเราจริงๆนี่ครับ ตัว จิตใจของเราจริงๆมันเป็นอย่างนั้น

อันนี้ทุกคนต้องจำไว้ ถ้าเราไม่รู้นะ เราไม่รู้-ไม่เห็น-ไม่เป็น-ไม่มี เดี๋ยวนี้ เราจะประสบเอา(ตอน)จวนจะหมดลมหายใจ นี่เลย เมื่อจวนจะหมดลมหายใจ ซึ่งขณะ...หลวงพ่อเข้าใจว่าวินาที หรือ ๒ วินาที หรือ ๕ นาที เราจะประสบเรื่องนี้ล่วงหน้า แล้วจึงหมดลมหายใจลง อันนี้แหละสัจจแท้ เรียกว่า สัจจธรรม

เมื่อเฮาเห็นสภาพนี้(อาการเกิด-ดับ)เฮาจิ(จะ)รู้จักสภาพหรือสภาวะเฮาจิ(จะ)ตายนี่แหละ มันต้องเป็นอย่างซั้น(นั้น) มัน ต้องเป็นอย่างซี้(นี้) ฮู้(รู้)จักวิธีตายทันที แต่ทุกคนก็ต้องมานี้ หนีจากนี้ไปบ่ได้ เพราะทุกคนเกิดมาแล้วก็ต้องตายนี่ คนเกิด มาในโลกนี้บ่ตายบ่มีจัก(สัก)คน อันนี้เรียกว่าสัจจะแท้ บ่เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงไปบ่ได้ ถึงจะมีผู้รู้...มันก็เป็นอย่าง ซั้น(นั้น) บ่มีผู้รู้...มันก็เป็นอย่างซั้น(นั้น)

ดังนั้น สาวกของพระพุทธเจ้า จึงรู้จัก "วิธีตาย"

คนทุกคนต้องตาย ต้องไปประสบอันนี้ที่ ถ้าเราไม่รู้จักอันนี้ เราจะไปโลกียธรรม ถ้าเรารู้จักอันนี้ มันจะเป็นทางออก ไปทางนี้... สอนกันให้รู้จัก ให้มันเห็น ให้มันรู้ ให้มันเข้าใจ

ตัวเองมั่นใจว่าจะสอนเรื่องนี้ จะพูดเรื่องนี้ ให้คนผู้ที่มีปัญญาฟัง คนที่มีปัญญายังอ่อนก็เป็นธรรมดา คนผู้ที่มีปัญญาเข้มแข็ง ก็จะสามารถที่จะรู้เรื่องนี้ได้ หากไม่รู้ในขณะนี้ (ตอน) จวนจะตายหรือหมดลมหายใจ ต้องประสบเรื่องนี้จริงๆ แต่ เรารู้ไว้วันนี้ มันจะดีกว่าบ้างไหม?

เมื่อมาทำความรู้สึกตัว...ตื่นตัว รู้สึกใจ...นึกคิด...รู้ เป็นปกติ มันสามารถพาให้เราเดินมาถึงจุดนี้ได้ นี้เรียกว่า ทางเดินไป คนเดียว เป็นทางเอก ทางๆนี้ไม่ซ้ำรอยใคร

เรื่องรูป-นามนี่ หลวงพ่อ(ว่า)บ่เกิน ๕ มื้อ(วัน)หรอก ภายใน ๑๐ มื้ออย่างนาน-รู้ ถ้าตั้งใจทำแล้ว รู้จริงๆ...

จะทำให้จิตใจเปลี่ยนไปนี่ อยู่ในเกณฑ์เดือนหนึ่ง ผู้ทำจริงทำจังนี่ เดือนหนึ่งหรือสามเดือนนี่แหละ-รู้ ในเกณฑ์ทำให้จิตใจเปลี่ยน แปลงสภาพหนึ่ง เรียกว่า ขั้นต้น อันนี้

จะทำให้มันถึงที่สุดของทุกข์นั้น หลวงพ่อคิดว่าบ่เกิน ๓ ปี ถ้าเป็นคนจริงนะ ครั้นเป็นคนบ่จริง ๑๐ ปีก็บ่รู้ เป็นอย่างนั้น

หลวงพ่อเคยท้าทายคนมา บ่มากก็น้อย ต้องรู้

คำเตือน

การปฏิบัติธรรมะให้มันเข้ารูปเข้ารอย ไม่ใช่ว่าจะทำไปตามอารมณ์ ทำไปตามความเห็น ทำไปตามความคิด อันนั้นใช้ไม่ได้ มัน ทำไปตามอารมณ์ตัวเองแล้วอันนั้น ทำไปตามความคิดของตัวเองแล้ว ทำไปตามความเห็นตัวเองแล้ว นั่นไม่ใช่ ท่านจึงว่าให้ (เชื่อ)ฟัง เชื่อฟังคำแนะนำของคนที่เป็น "ช่าง"

การเจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญานี้ ต้องมีการงดเว้นการพูดการคุยกัน ไม่ต้องพูดต้องคุยกัน

แล้วก็ต่อไป ก็งดเว้นจากสิ่งเสพติดทุกประเภททีเดียว เช่น บุหรี่ หรือน้ำชา กาแฟ เหล่านี้ก็งดเว้นทั้งหมดเลย

ถ้าเราไม่งดเว้นจากสิ่งเหล่านี้ มันก็ทำให้จิตใจเราคลุกคลีกับสิ่งเหล่านั้น ก็เลยไม่รู้ตัวเอง พวกเราถ้าหากปฏิบัติจริง ต้องพยายามทำจริงๆ อย่าเป็นคนหลอกตัวเอง

อย่าไปนั่งนิ่งๆ ให้มาทำจังหวะ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

การปฏิบัตินั้นอย่าไปเพ่งมัน เพียงทำให้มันสบายๆ มองทางโน้นมองทางนี้ ให้มันคิด อย่าไปห้ามความคิด

ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ ต้องเห็นอย่างนี้ ต้องรู้อย่างนี้และเข้าใจอย่างนี้ (ดูภาคผนวก) เห็นอย่างอื่น ไม่ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น