เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ
ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "
หน้าเว็บ
เกี่ยวกับฉัน
- Nitinandho
- อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย
ผู้ติดตาม
วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553
ระลอกคลื่น บังน้ำใส
ระลอกคลื่น บังน้ำใส (พระอาจารย์อํานาจ โอภาโส จำพรรษาอยู่ที่พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว จ.เพชรบูรณ์) ปรับขนาดตัวหนังสือ
» ระลอกคลื่น บังน้ำใส
หัวข้อเรื่อง :
หัวข้อเรื่อง : ระลอกคลื่น บังน้ำใส - ขอเจริญพร | ระลอกคลื่น บังน้ำใส - ปัจจุบันเป็นเวลาที่ประเสริฐที่สุด | ระลอกคลื่น บังน้ำใส - เราเพียงแต่มีหน้าที่ดูให้เป็น | ระลอกคลื่น บังน้ำใส - บางครั้งเราเผลอปรุงแต่งในส่วนที่ดี |
« ระลอกคลื่น บังน้ำใส - ขอเจริญพร »
ขอเจริญพร ท่านที่มาร่วมกันฟังธรรมทุกท่าน เวลาเราฟังธรรม เราก็สามารถปฏิบัติธรรมไปในตัว ไม่ใช่ว่าฟังธรรมเสร็จแล้วค่อยกลับไปทำที่บ้าน แต่ควรปฏิบัติไปในตัว ด้วยการทำความรู้สึกตัวให้เกิดขึ้น ให้เรารู้สึกตัวด้วยการทำจิตให้ดุจเป็นภูผา ให้เรากลับมาอยู่กับการมีที่ตั้ง มีที่ตั้งแห่งรู้ ถ้าไม่มีที่ตั้ง มันจะล่องลอยไปที่อื่น มีบ้านให้มันอยู่ ลองนึกถึงเด็กใจแตกก็ได้นะ ถ้าเด็กใจแตก ลองได้ออกนอกบ้านจะชอบไปเที่ยวตะลอนเสียเวลาไปเฉยๆ จิตก็เหมือนกัน ถ้าจิตไม่อยู่ที่บ้านมันจะไปตามที่ที่มันชอบไป และชอบไปคิดที่ชอบคิด
วิธีฟังธรรม คือการให้เราปฏิบัติธรรมไปในตัว ปฏิบัติธรรมไปตลอดเวลา เมื่อไหร่รู้สึกตัวเมื่อนั้นปฏิบัติธรรม เพราะฉะนั้นให้กลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว ให้ดูสิว่าตอนนี้เท้าเราอยู่ตรงไหน รู้สึกลงไปไม่ใช่ลูกตามองนะ รู้สึกว่าเท้าเราอยู่ตรงไหน ดูสิมืออยู่ตรงไหน เพื่อให้ใจและกายกลับมาเป็นหนึ่งเดียว ผสมผสานอย่างสมดุลกัน กายและใจเหมือนเหรียญสองด้าน เมื่อไหร่เรารู้ที่กาย เราจะรู้ที่ใจด้วย เพราะใจ เราเป็นผู้รู้ พอรู้สึกไปที่เท้าจิตจะเป็นผู้รู้ แล้วมันจะแผ่ซ่านเข้ามารวมอยู่ คือมันไม่ล่องลอย มีสติ
ต้นทางของการปฏิบัติคือการมีสติสัมปชัญญะ ทำได้ตลอดเวลา เมื่อไหร่มีสติสัมปชัญญะเมื่อนั้นมีการปฏิบัติธรรม สติเป็นธรรมะที่มีอุปการคุณมาก เพราะเมื่อใดมีสติสัมปชัญญะเมื่อนั้นหิริโอตัปปะต้องงอกงามขึ้นมา คือความละอายใจ ความรู้สึกกลัวต่อบาป เมื่อไหร่ที่มีหิริโอตัปปะเมื่อนั้นคุณธรรมอื่นๆ จะงอกงามขึ้นมา เพราะเวลาที่เรามีความละอายใจ กลัวต่อบาป ความสำรวมอินทรีย์จะกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัวเรา
ธรรมะในศาสนาพุทธที่งดงามและยิ่งใหญ่ก็เพราะเห็นว่าทุกกระบวนการจะเป็นเรื่องเหตุปัจจัย ไม่มีใครไปทำอะไรกับมันได้นะ วิมุติก็ทำไม่ได้ วิมุติเกิดจากอะไร วิมุติเกิดจากปัญญา ปัญญาก็ทำไม่ได้ มันเป็นกระบวนการจากปัจจัยที่ทำให้มันงอกงาม ไม่มีใครเป็นเจ้าของวิมุติ ไม่มีใครเป็นเจ้าของการรู้แจ้งด้วย วิมุติทำไม่ได้ วิมุติเกิดจากปัญญา ปัญญาก็ทำไม่ได้ ปัญญาเกิดจากสมาธิ สมาธิก็ทำไม่ได้นะ (ถ้าทำขึ้นมามันเรียกว่ากรรมภพ เพราะมันเป็นปัจจัยให้เกิดชาติตัวตน) สมาธิทำไม่ได้ สมาธิเกิดจากอะไร สมาธิเป็นกิริยาของจิตที่ตั้งมั่น ไม่ใช่ว่านั่งท่าไหนแล้วจะบรรลุได้ เพราะฉะนั้นสมาธิเป็นกิริยาของจิตที่ตั้งมั่น สมาธิก็ทำไม่ได้ สมาธิเกิดจากศีล ศีลแปลว่าปกติ ใจที่ปกติ ใจปกติก็ทำขึ้นมาไม่ได้เหมือนกัน ศีลทำขึ้นมาไม่ได้ ศีลเกิดจากอะไร ศีลเกิดจากสติ สติก็ทำขึ้นมาไม่ได้ ให้จำไว้เลยนะอะไรที่ทำขึ้นมาจะเป็น ของปลอม แล้วอะไรที่ทำขึ้นมาได้นั่นก็ไม่ใช่ศาสนาพุทธ สติเกิดจากอะไร สติเกิดจากการจำสภาวะได้ด้วยการระลึกรู้ ให้กลับมาอยู่กับกายและใจ พระพุทธเจ้าจึงวางวิถีไว้เป็นทางสายเอกเดียวที่จะนำไปสู่ความบริสุทธิ์ของกายและใจ ที่จะนำไปสู่การระงับความโศกเศร้า ที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ ที่จะนำไปสู่อริยมรรค ที่จะนำไปสู่นิพพาน มีวิธีเดียวเท่านั้นเองคือการมีสติอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา อยู่ในทุกอิริยาบถ อยู่ในทุกความเคลื่อนไหวของอาการของสภาวะภายใน ตั้งแต่อารมณ์ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่เวทนา อาการทางจิตที่เกิดขึ้นหรือสภาวธรรมที่เกิดขึ้นในรูปนาม ให้มีสติตามรู้
ในสมัยพุทธกาล พระสารีบุตรทูลพระพุทธองค์ว่า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน จนถึงอนาคตใช้วิธีเดียวกันหมดในการตรัสรู้ คือใช้สติปัฎฐานสี่ พระพุทธเจ้าจึงตรัสตอบว่า “สาธุเถิดสารีบุตร เธอนี่มีปัญญามาก” เห็นชัดว่าพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ใช้วิธีเดียวกันหมดเลย เพราะอะไร เพราะศาสนาพุทธไม่ใช่ว่าให้ปฏิบัติไปเพื่อให้ละตัวตน เพราะไม่มีตัวตนจะให้ละอยู่แล้ว ปฏิบัติไปเพื่ออะไร เพื่อเห็นถูก ละความเห็นผิดในเรื่องการมีตัวตน แล้วเห็นถูกทำอย่างไร ก็ต้องตามดูตรงๆ โดยตามดูที่กายและใจ ไม่ใช่ทำนะ แต่ใช้กายและใจมีไว้ตามรู้ ตามดู เป็นนักวิจัยธรรมแล้วก็ธรรมวิจัยได้ วิจัยธรรมที่ไหน ในหนังสือรึ ในคัมภีร์รึ ไม่ใช่เลย ต้องวิจัยที่ร่างกาย ที่เรียกว่ารูปธรรม และความรู้สึกในปัจจุบันขณะของเราที่เรียกว่านามธรรม ทำอย่างไรล่ะ ตามดูสิ อยากละความเห็นผิดอยากเห็นถูกต้องตามดูกันตรงๆ คิดเอาได้ไหมว่ามันเป็นอย่างนั้น คิดก็ได้แค่ความคิด คิดก็ต้องตามดู คิดแล้วต้องมีคนบอก เห็นด้วยตนเอง ประจักษ์ชัดด้วยตัวเอง เห็นไหม เห็นด้วยตัวเองต่อหน้าต่อตา จะไปดูตอนไหน ตอนเช้าหรือก่อนนอน หรือไปดูที่วัด ไม่ใช่เลย ในเมื่อธรรมะอยู่กับเราทั้งวัน รูปธรรมก็อยู่กับเราทั้งวันอยู่แล้ว นามธรรมก็อยู่กับเราทั้งวันอยู่แล้ว ตอนนี้ก็มีอยู่ ดูกันตรงๆ ซื่อ ซื่อที่สุดด้วย โดยไม่มีอะไรเจือปน
เราเริ่มต้นที่กายแล้วกันนะ เมื่อกี้หลวงพ่อบอกว่าจิตมันต้องมีที่ตั้ง แล้วเราอาศัยกาย สักแต่ว่าเป็นที่อาศัย เป็นที่ตั้งแห่งรู้ ถ้าไม่มีที่ตั้งมันจะล่องลอย สักแต่ว่าอาศัยเป็นที่ตั้งแห่งระลึกรู้ คือสติ ไม่เติมตัณหาหรือทิฐิลงไป แค่สักว่ารู้เฉยๆ ไม่เติมสิ่งอื่นลงไป ไม่เติมลงไปว่า เอ๊ะ มันน่าจะเป็นอย่างนี้หรือเปล่า เป็นอย่างนั้นหรือเปล่า มันแค่รู้เฉยๆ เรารู้สึกในสภาวะของความรู้สึก แต่เราชอบไปเจือทิฐิลงไปว่า มันน่าจะเป็นอย่างนั้น น่าจะเป็นอย่างนี้ แทนที่จะรู้อย่างตรงๆ ซื่อๆ อย่างที่ มันเป็น คือถ้ารู้สึกเมื่อไหร่ก็สักว่ารู้ จะไม่มีเราตรงนี้เลยนะ ที่เท้าตอนนี้กระทบพื้นอยู่ ที่เท้าไม่ได้บอกอะไร แค่ว่าเรารู้อยู่ มันแค่รู้สึกเฉยๆ ตรงๆ คำว่า “เรา” รู้สึกน่ะ เราเติมจากความคิดปรุงแต่งลงไป ความคิดปรุงแต่งมาจากอวิชชา คือความไม่รู้ คิดว่ากายและใจนั้นเป็นเรา ก็ชอบเติมคำว่า “เรา” ลงไป เข้าใจอะไรก็ชอบบอกว่าเรารู้แล้ว เสร็จเลยตรงนี้ โดนความคิดมันหลอกเราอีกแล้ว เวลาปฏิบัติอะไรก็ชอบบอกว่า โอ้ เรารู้แล้ว เราเข้าใจแล้ว ถูกหลอกจากความคิดปรุงแต่ง และความไม่รู้
หลวงพ่อมีคติประจำตัวว่า ตรงไหนที่อยู่แล้วมี “เรา” ตรงนั้นจะลำบาก ลองสังเกตดู ตรงไหนไปอยู่แล้วมี “เรา” มันจะวุ่นวายและลำบาก แล้วถ้าไม่มี “เรา” จะสบาย ในใจก็เหมือนกันนะ ในชีวิตประจำวันของเรา หากในใจมีคำว่า “เรา” ชีวิตเริ่มลำบาก สำหรับหลวงพ่อพูดแรงๆ เป็นอุบายไว้ในใจว่า “ถ้าใจมีคำว่า “เรา” ขึ้นมา ใจก็จัญไรเมื่อนั้น” ลองไปคิดสิ เมื่อไหร่มีคำว่า “เรา” เรามักจะมีอาการ เราไม่ชอบนั่น เราไม่ชอบนี่ แล้วมันจะนำมาซึ่งความเดือดร้อน เพราะคำว่า “เรา” เป็นฐานรองรับ ไปอยู่ที่ไหนที่มีคำว่าเราน่ะ ลำบาก ไปอยู่ที่ไหนที่ไม่มีเรา ไม่มีคำว่าเรามันจะแสนสบาย แต่ถ้ายึดว่าเป็น “เรา” จะเห็นว่าตัวเป็นคนสำคัญ ทำไมคนไม่ให้เกียรติ ไม่เคารพ นั่นไงเห็นไหม มีเราเข้าไปอึดอัดวุ่นวายทันที ในสภาวะจิตก็เหมือนกัน เมื่อไหร่ที่มีคำว่า “เรา” ลงไปจะก่อปัญหาทุกที
คำว่า “เรา” มันเกิดจากความคิดปรุงแต่ง มีที่ไหนกัน สภาวะที่นั่งๆ กันอยู่นี่ มีแต่วัตถุธาตุกับความว่างรอบๆ ตัว คำว่าเรากับเขาอยู่ที่ไหน สังเกตดูตรงๆ เลย อยู่ในความคิดเท่านั้นเห็นไหม แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เรารู้สึกกลางๆ เฉยๆ เท้ารู้สึก ตารู้สึก ริมฝีปากรู้สึกอยู่ มีแค่รู้ทีละขณะ ทีละขณะมันสั้นมาก เติมคำว่า “เรา” ไม่ได้ ความรู้สึกมันแค่ขณะเดียว เติมคำว่า “เรา” ลงไปไม่ทัน คำว่า “เรา” ปรากฏขึ้นมาไม่ทัน คำว่าเขาก็ปรากฏขึ้นมาไม่ทัน มันมีแค่คำว่ารู้สึกเป็นกลางเฉยๆ ที่มันเกิดขึ้นมา ทีละขณะๆ เป็นปัจจุบันขณะ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น