เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ
ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "
หน้าเว็บ
เกี่ยวกับฉัน
- Nitinandho
- อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย
ผู้ติดตาม
วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553
อสีติมหาสาวก
อสีติมหาสาวก คือ พระภิกษุสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกผู้ยิ่งใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกสำคัญ ๘๐ รูป ของพระพุทธเจ้า
ความหมายของคำว่า ‘อสีติมหาสาวก’ ตามรูปศัพท์ คำว่า ‘อสีติมหาสาวก’ เป็นคำสมาสประกอบด้วยคำ ‘อสีติ’ และ ‘มหาสาวก’ คำว่า ‘อสีติ’ เป็นปกติสังขยา คือ จำนวนนับตามปกติ แปลว่า ‘๘๐’ ส่วน ‘มหาสาวก’ ประกอบด้วยคำว่า ‘มหา’ ซึ่งเป็นคุณศัพท์แปลว่า ใหญ่,มาก, สำคัญ และคำว่า ‘สาวก’ ซึ่งเป็น คำนามกิตก์ ประกอบรูปมาจากธาตุ ‘สุ’ (ในความหมายว่าฟัง) +ปัจจัย ณฺวุ มีรูปศัพท์ ว่า ‘สาวก’ แปลว่า ผู้ฟัง ในที่นี้หมายถึง ภิกษุผู้บรรลุธรรมชั้นสูงสุดคืออรหัตผล
ดังนั้นคำว่า ‘อสีติ’ และ ‘มหาสาวก’ เมื่อรวมเข้าด้วยกันเป็นคำสมาส เป็น ‘อสีติมหาสาวก’ จึงแปลว่า พระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกผู้ยิ่งใหญ่ ๘๐ รูป หรือ พระสาวกสำคัญ ๘๐ รูป
อสีติมหาสาวก มีมาในพระคัมภีร์ที่เป็นหลักฐานในที่ใดนั้น ยังไม่ปรากฎแน่ชัด บางฉบับอ้างว่ามาในเถรคาถาบ้าง อปทานบ้าง หนังสือที่เป็นหลักฐานแต่เรื่องเอตุทัคคะที่มีในคัมภีร์ เอกนิบาต อังคตรนิกายนั้นมีจำนวน พระสาวกนับได้ ๔๑ องค์เท่านั้น หาครบ ๘๐ ไม่ ส่วนพระสาวก ๘๐ องค์นั้น เห็นมีในหนังสือสวดมนต์ ผูกเป็นคาถาบ้าง เป็นนามเรียกกันไปบ้าง นอกจากนี้ ยังเห็นมีที่จารึกแผ่นศิลาติดอยู่ที่รูปพระอสีติมหาสาวก ที่พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม และวัดเขมาภิรตาราม แต่ไม่ใคร่ตรงกัน มีต่าง ๆ นามกันไปสุดแต่ครบ ๘๐ องค์ เท่านั้น เว้นแต่องค์ที่สำคัญเป็นที่รู้จักกันดี จะมีอยู่เหมือนพ้องต้องกันหมดทุกแห่ง จำนวนพระสาวกที่มีในสวดมนต์แปล และในฉบับอื่นอีกนั้น ก็ผิดเพี้ยนกันไปอีกไม่น้อย
รายนามพระอสีติมหาสาวก
• พระอัญญาโกณฑัญญะ • พระมหาโมคคัลลานะ
• พระวัปปะ • พระองคุลิมาลเถระ
• พระภัททิยะ • พระวักกลิเถระ
• พระมหานามะ • พระกาฬุทายีเถระ
• พระอัสสชิ • พระมหาอุทายีเถระ
• พระนาลกะ • พระปิลินทวัจฉเถระ
• พระยสะ • พระโสภิตเถระ
• พระวิมละ • พระกุมารกัสสปเถระ
• พระสุพาหุ • พระรัฏฐปาลเถระ
• พระปุณณชิ • พระวังคีสเถระ
• พระควัมปติ • พระสภิยเถระ
• พระอุรุเวลกัสสปะ • พระเสลเถระ
• พระนทีกัสสปะ • พระอุปวาณเถระ
• พระคยากัสสปะ • พระเมฆิยเถระ
• พระสารีบุตรเถระ • พระสาคตเถระ
• พระมหากัสสปะเถระ • พระนาคิตเถระ
• พระมหากัจจายนะ • พระลกุณฏกภัททิยเถระ
• พระมหาโกฏฐิตเถระ • พระปิณโฑลภารทวาชเถระ
• พระมหากัปปินเถระ • พระมหาปันถกเถระ
• พระมหาจุนทเถระ • พระจูฬปันถกเถระ
• พระอนุรุทธเถระ • พระพากุลเถระ
• พระกังขาเรวตเถระ • พระโกณฑธานเถระ
• พระอานนทเถระ • พระพาหิยทารุจิริยเถระ
• พระนันทกเถระ • พระยโสชเถระ
• พระภคุเถระ • พระอชิตเถระ
• พระนันทเถระ • พระติสสเมตเตยยเถระ
• พระกิมพิลเถระ • พระปุณณกเถระ
• พระภัททิยเถระ (กาฬิโคธาบุตร) • พระเมตตคูเถระ
• พระราหุลเถระ • พระโธตกเถระ
• พระสีวลีเถระ • พระอุปสีวเถระ
• พระอุบาลีเถระ • พระนันทกเถระ
• พระทัพพมัลลบุตรเถระ • พระเหมกเถระ
• พระอุปเสนวังคันตบุตรเถระ • พระโตเทยยเถระ
• พระขทิรวนิยเรวตเถระ • พระกัปปเถระ
• พระปุณณมันตานีบุตรเถระ • พระชตุกัณณีเถระ
• พระปุณณสุนาปรันตเถระ • พระภัทราวุธเถระ
• พระโสณกุฏิกัณณเถระ • พระอุทยเถระ
• พระโสณโกฬิวิสเถระ • พระโปสาลเถระ
• พระราธเถระ • พระโมฆราชเถระ
• พระสุภูติเถระ • พระปิงคิยเถระ
รายนามของพระอสีติมหาสาวกที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ รายนามเบื้องซ้าย เป็นพระมหาเถระนั่งด้านพระปรัศว์ขวา(เบื้องขวา) ของพระพุทธเจ้า ส่วนรายนามเบื้องขวา เป็นพระมหาเถระนั่งด้านพระปรัศว์ซ้าย (เบื้องซ้าย) ของพระพุทธเจ้า
การที่พระสาวกนั่งด้านปรัศว์ทั้ง 2 ข้าง ของพระพุทธเจ้า ถือเป็นธรรมเนียมครั้งพุทธกาล โดยมีหลักอยู่ว่าการปูลาดอาสนะ ในที่นิมนต์ ให้ปูลาดอาสนะของพระพุทธ เจ้าไว้ตรงกลาง ปูลาดอาสนะ ของพระสารีบุตรไว้ด้านพระปรัศว์ขวา ปูลาดอาสนะของพระมหาโมคคัลลานะไว้ด้านพระปรัศว์ซ้าย แล้วจึงปูลาดอาสนะพระสาวก รูปอื่นๆ ต่อจากอาสนะของพระมหาสาวก ทั้ง 2 นั้น
ที่มา : หอมรดกไทย และ สารานุกรมวิกิพีเดีย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น