เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ
ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "
หน้าเว็บ
เกี่ยวกับฉัน
- Nitinandho
- อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย
ผู้ติดตาม
วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553
มรรคมีองค์ 8 หรือทางสายกลาง
มรรคมีองค์ 8 หรือทางสายกลาง
อริยสัจจ์ข้อที่ 4 คือ หนทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ (ทุกฺข-นิโรธคามินีปฎิปทา-อริยสจฺจ) หนทางสายนี้เรียกว่า "ทางสายกลาง (มชฺฌิมา ปฏิปทา) เพราะงดเว้นจากข้อปฏิบัติที่เอียงสุด 2 ประการ
ข้อปฎิบัติเอียงสุดอย่างแรก ได้แก่ การแสวงหาความสุขด้วยกามสุข อันเป็นของต่ำทราม เป็นของธรรมดา ไม่เป็นประโยชน์ และเป็นทางปฏิบัติของสามัญชน
ข้อปฎิบัติเอียงสุดอีกอย่างหนึ่ง คือการแสวงหาความสุขด้วยการทรมานตนเองให้เดือดร้อน ด้วยการบำเพ็ญทุกกรกิริยาในรูปแบบต่างๆ อันเป็นการทรมานร่างกาย เป็นสิ่งไม่มีค่า และเป็นสิ่งไม่มีประโยขน์ ในเบื้องแรกนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงทดลองปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เอียงสุดทั้งสองประการนี้มาแล้ว ทรงพบว่าเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ จึงได้ทรงค้นพบทางสายกลางนี้ด้วยประสบการณ์ของพระองค์เอง ซึ่งเป็นทางที่ให้ทัศนะและปัญญาอันนำไปสู่ความสงบ ญาณ การตรัสรู้ และนิรวาณะ (พระนิพพาน) ทางสายกลางนี้โดยทั่วไปหมายถึง ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ (อริยอฏฐคิกมคฺค) เพราะประกอบด้วยองค์ หรือส่วนประกอบ 8 ประการคือ
เห็นชอบ (สัมมาทิฏิฐิ) (ปัญญา) ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท โดยการเข้าใจชอบหรือเห็นชอบนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1.ความเข้าใจคือความรู้ ความเป็นพหูสูตร ความมีสติปัญญา สามารถรอบรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งตามข้อมูลที่ได้มา ความเข้าใจประเภทนี้เรียกว่า "ตามรู้" (อนุโพธ) เป็นความเข้าใจที่ยังไม่ลึกซึ้ง 2.ส่วนความเข้าใจที่ลึกซึ้งซึ่งเรียกว่า"การรู้แจ้งแทงตลอด" (ปฏิเวธ) หมายถึงมองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามสภาวะที่แท้จริง โดยไม่คำนึงถึงชื่อ และป้ายชื่อยี่ห้อของสิ่งนั้น การรู้แจ้งแทงตลอดนี้จะมีขึ้นได้ เมื่อจิตปราศจากอาสวะทั้งหลาย และได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ด้วยการปฏิบัติสมาธิเท่านั้น
ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) (ปัญญา) ได้แก่ ความตรึกที่เป็นกุศล ความนึกคิดที่ดีงาม (กุศลวิตก 3 ประกอบด้วย 1.ความตรึกปลอดจากกาม ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรบปรือสนองความอยากของตน 2. ความตรึกปลอดจากพยาบาท ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคือง หรือ เพ่งมองในแง่ร้าย 3.ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียนด้วยกรุณาไม่คิดร้าย หรือมุ่งทำลาย)
เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) (ศิล) ได้แก่ วจีสุจริต 4 ประกอบด้วย 1.ไม่พูดเท็จ 2.ไม่พูดส่อเสียด 3.ไม่พูดหยาบ 4.ไม่พูดเพ้อเจ้อ
กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) (ศิล) ได้แก่ กายสุจริต 3 ประกอบด้วย 1.ไม่ฆ่าสัตว์ 2.ไม่ลักทรัพย์ 3.ไม่ประพฤติผิดในกาม
เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) (ศิล) ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ
พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) (สมาธิ) ได้แก่ สัมมัปปธาน 4 ประกอบด้วย 1.เพียรระวัง หรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น 2.เพียรละ หรือเพียรกำจัด คือเพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว 3.เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น 4. เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์
ระลึกชอบ (สัมมาสติ) (สมาธิ) ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย 1.การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย 2. การตั้งสติกำหนดพิจาณาเวทนา 3.การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต 4.การตั้งสติพิจารณาธรรม (มีรายละเอียดเพิ่มเติม)
ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) (สมาธิ) ได้แก่ ฌาน 4 ประกอบด้วย 1.ปฐมฌาณ 2.ทุติยฌาน 3.ตติยฌาน 4.จตุตถฌาณ (มีรายละเอียดเพิ่มเติม)
ในทางปฏิบัตินั้น คำสอนทั้งหมดของพระพุทธองค์ที่ทรงอุทิศ พระองค์สั่งสอนในช่วงเวลา 45 ปีนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับทางสายกลางนี้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง พระองค์ทรงอธิบายทางสายนี้ โดยวิธิการ และใช้คำพูดที่แตกต่างกันไปตามความแตกต่างของบุคคลโดยให้สอดคล้องกับระดับการพัฒนา และศักยภาพในการเข้าใจ และตามได้ทันของบุคคลเหล่านั้น แต่สาระสำคัญของพระสูตรหลายพันสูตรที่กระจายอยู่ในคัมภัร์ต่างๆ ของพุทธศาสนา ล้วนแต่มีเรื่องเกี่ยวกับมรรคซึ่งประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้ทั้งนั้น
จะต้องไม่เข้าใจว่า องค์ หรือส่วนประกอบ 8 ประการของทางสายกลางนี้ ต้องนำไปปฏิบัติทีละข้อ โดยเรียงตามลำดับหมายเลขดังรายการที่ให้ไว้ข้างต้นนั้น องค์ต่างๆ เหล่านั้นจะต้องพัฒนาให้มีขึ้นพร้อมๆกันมากบ้าง น้อยบ้าง ตามแต่ขีดความสามารถของแต่ละบุคคลที่จะให้เป็นไปได้ องค์เหล่านี้ล้วนแต่เกี่ยวโยงกัน และแต่ละองค์ก็ช่วยส่งเสริมองค์อื่นๆไปด้วย
องค์ 8 ประการเหล่านี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม และทำให้หลักการ 3 อย่างของการฝึกอบรม และการควบคุมตนเองของชาวพุทธมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คือ
ความประพฤติทางจริยศาสตร์ (ศิล)
การควบคุมทางจิตใจ (สมาธิ)
ปัญญา (ปัญญา)
ดังนั้น คงจะช่วยให้ได้เข้าใจองค์ 8 ประการของทางสายกลางได้ดี และได้ใจความต่อเนื่องยิ่งขึ้น หากเราจัดแบ่งกลุ่มอธิบายองค์ 8 ประการตามหัวข้อ 3 นั้น ความประพฤติทางจริยศาสตร์ (ศิล) ถูกสร้างขึ้นมากจากความคิดอันกว้างไกล ที่ต้องการให้มีความเมตตา และกรุณาโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชังต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นที่น่าเสียดายว่ามีนักปราชญ์หลายท่านลืมอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ในคำสอนของพระพุทธองค์นี้ไป และพากันไปหมกมุ่นอยู่แต่ในเรื่องนอกประเด็นทางด้านปรัชญา และอภิปรัชญาที่น่าเบื่อหน่ายเมื่อพูด และเขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงประทานคำสอนของพระองค์ไว้ก็เพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์แห่ชาวโลก (พหุชนติตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย)
เท่าที่ได้พรรณามรรคโดยย่นย่อมานี้ ก็คงจะเห็นได้ว่ามรรคเป็นวิถี ชีวิตที่แต่ละบุคคลจะต้องนำไปประพฤติ และพัฒนาเป็นการควบคุมตนเอง ทั้งกาย วาจา และใจ เป็นการพัฒนาตนเงอ และเป็นการชำระ (จิต) ตนเองให้บริสุทธิ์ ไม่ได้เกี่ยวกับความเชื่อ การอ้อนวอน การบูชา หรือพิธีกรรมใดๆ โดยนัยน้ จึงไม่เกี่ยวกับสิ่งที่คนนิยมเรียกกันว่า "ศาสนา" เป็นทางที่จะนำไปสู่การรู้แจ้งในอุดมสัจจ์ ความมัอิสระอย่างสมบูรณ์ ความสุขและสันติ โดยอาศัยการบำเพ็ญตาม ศิล สมาธิ และปัญญาอย่างสมบูรณ์
ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาทั้งหลาย ยังมีประเพณี และพิธีกรรมทางศาสนาที่ประกอบกันแบบง่ายๆ และสวยงามในโอกาสต่างๆ แต่ประเพณี และพิธีกรรมเหล่านั้นไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับอริยมรรคนี้ มันมีคุณค่าก็แต่เพียงเป็นการสนองศรัทธา และความต้องการบางอย่างของผู้ที่ได้รับการพัฒนามาน้อย และช่วยให้คนเหล่านั้นได้ดำเนินไปสู่อริยมรรคนี้อย่างค่อยเป็นค่อยไปเท่านั้น
คุณสมบัติของคนสมบูรณ์แบบ
ในทางพระพุทธศาสนา การที่บุคคลจะเป็นคนสมบูรณ์ได้นั้นจะต้องมีการพัฒนาคุณสมบัติ 2 ด้านให้เท่าเทียมกัน คือ ด้านกรุณา และด้านปัญญา
กรุณาในที่นี้ หมายถึง ความรักความเอื้อเฟื้อแผ่ความเอื้ออารี ความอดทน และคุณสมบัติอันประเสริฐทางด้านอารมณ์ หรือคุณสมบัติทางด้านจิตใจอย่างอื่นๆ
ส่วนปัญญา หมายถึง ทางด้านพุทธปัญญา หรือคุณสมบัติทางด้านจิต หากบุคคลใดพัฒนาเฉพาะด้านอารมณ์ ไม่ยอมพัฒนาทางด้านพุทธปัญญา บุคคลนั้นอาจจะกลายเป็นคนโง่ แต่มีจิตใจดี ส่วนผู้ใดพัฒนาเฉพาะด้านพุทธปัญญาแต่ไม่ยอมพัฒนาทางด้านอารมณ์ ผู้นั้นอาจจะกลายเป็นคนฉลาดแต่จิตใจกระด้าง ไม่มีน้ำใจกับผู้อื่น เพราะฉะนั้น การที่จะให้เป็นคนสมบูรณ์แบบได้นั้น จะต้องพัฒนาทั้งสองด้านให้เท่าเทียมกัน นั่นคือจุดมุ่งหมายของวิถีชีวิตแบบพุทธ คือวิถีชีวิตที่มีปัญญา และมีความกรุณาเชื่อมโยงไม่แยกออกจากัน
กลับไปข้างบน
สรุปอริยสัจจ์ 4
ในส่วนที่เกียวกับอริยสัจจ์ 4 ข้อนี้ เรามีหน้าที่พึงปฏิบัติอยู่ 4 ประการด้วยกันคือ
อริยสัจจ์ข้อที่ 1 คือ ทุกข์ ได้แก่ สภาวะของชีวิต ความทุกข์ของชีวิต ความเศร้าโศก และความรื่นเริงของชีวิต ความไม่สมบูรณ์ และความไม่สมหวังของชีวิต ความไม่เที่ยง และ ความไม่มีแก่นสารของชีวิตในข้อนี้ เรามีหน้าที่ที่จะต้องทำความเข้าใจข้อเท็จจริงอย่างกระจ่าง และอย่างสมบูรณ์ (ปริญฺเญยฺย)
อริยสัจจ์ข้อที่ 2 คือ บ่อเกิดของทุกข์ ซึ่งก็คือ ตัณหา พร้อมดวยกิเลส อาสวะ และสาสวะเหล่าอื่น ซึ่งเพียงแต่ทำความเข้าใจ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัณหานี้เท่านั้นยังไม่พอ เรามีหน้าที่ที่จะต้องละทิ้ง ขจัดทำลาย และกำจัดตัณหา (ปหานตพฺพ)
อริยสัจจ์ข้อที่ 3 คือ ความดับทุกข์ กล่าวคือ นิพพาน บรมสัจจ์ หรืออุดมมสัจจ์ ในข้อนี้เรามีหน้าที่ที่จะต้องทำให้รู้แจ้งเห็นจริง (สจฺฉิกาตพฺพ)
อริยสัจจ์ข้อที่ 4 คือ มรรคอันจะนำไปสู่การรู้แจ้งเห็นจริงในพระนิพพาน เพียงแม้แต่มีความรู้ในเรื่องของมรรคเท่านั้น แม้จะเป็นการรู้อย่างสมบูรณ์ แต่ก็ยังไม่เป็นการเพียงพอในข้อนี้ หน้าที่ของเราคือ ดำเนินตามและปฏิบัติตามมรรคนั้น (ภาเวตพฺพ)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น