เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความทุกข์จะเกิดขึ้นไม่ได้.

















เมื่อเรารู้ว่าอะไรเป็นอะไรจริง ๆ แล้ว

เราย่อมไม่ปฏิบัติผิดต่อสิ่งทั้งปวง

แต่ย่อมจะปฏิบัติถูกต่อสิ่งทั้งปวง.

เมื่อปฏิบัติถูกต่อสิ่งทั้งปวงแล้ว

ก็เป็นอันแน่นอนว่าความทุกข์จะเกิดขึ้นไม่ได้.

เดี๋ยวนี้เรายังไม่รู้จักสิ่งทั้งปวงถูกต้องตามที่มันเป็นจริง ว่ามันเป็นอะไร

เราจึงปฏิบัติผิดต่อสิ่งทั้งปวงไม่มากก็น้อย ความทุกข์ก็เกิดขึ้นตามส่วน.

ตัวอย่างเช่นไม่รู้จักว่าชีวิตนี้คืออะไร หน้าที่การงานคืออะไร

เราย่อมปฏิบัติผิด ต่อสิ่งเหล่านี้

และความทุกข์ก็ต้องเกิดขึ้นตามส่วนที่ไม่รู้.

การที่รู้ว่า สิ่งทั้งปวงคืออะไร นั้น

เป็นเครื่องช่วยให้เราปฏิบัติถูกต่อสิ่งทั้งปวงโดยตรง.

เมื่อรู้ว่าสิ่งทั้งปวงคืออะไร

ก็ย่อมหมายถึงการบรรลุมรรคผล ชั้นใดชั้นหนึ่ง หรือถึงที่สุด

เพราะว่าความรู้นั้นเอง เป็นตัวทำลายกิเลสไปในตัว

และเป็นการรู้ผลของการหมดกิเลสไปในตัว.

เมื่อรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอะไรจริง ๆ แล้ว

การเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและความหลุดพ้น

ที่เรียกว่า นิพพิทา วิราคะ และวิมุตตินั้น

ย่อมเกิดขึ้นเองเป็นอัตโนมัติ

ไม่ต้องทำความเพียรหรือปฏิบัติอะไรต่อไปอีก.

เรามีหน้าที่ที่จะทำความเพียรหรือปฏิบัติ

ก็แต่ขั้นที่ว่ายังไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรเท่านั้น.

โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือไม่รู้ว่า

สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.

นี่, เป็นการกล่าวตามหลักพระพุทธศาสนา.

เมื่อการปฏิบัติกรรมฐานภาวนานั้น

ได้เป็นไปจนกระทั่งเกิดความเห็นแจ้งสิ่งทั้งปวง

เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเด็ดขาดสิ้นเชิงลงไปจริง ๆ แล้ว

นั้นย่อมหมายถึงที่สุดของความรู้และการปฏิบัติ

เพราะว่าความรู้เช่นนั้นย่อมทำลายกิเลสเองอยู่ในตัว จนหมดไปในตัว.

เราไม่ต้องทำความพยายามในข้อที่จะให้ความรู้นั้น ทำลายกิเลส,

เราพยายามแต่เพียงให้เกิดความรู้อันนั้นขึ้นมา

คือให้เป็นความรู้ที่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ถึงที่สุดจริง ๆ เท่านั้น

ทั้งหมดนี้ เราจะเห็นได้ว่า

เรื่องอริยสัจจ์ ๔ ประการนั้น

คือความรู้ที่บอกให้เห็นชัดว่า อะไรเป็นอะไรอย่างครบถ้วน นั่นเอง.

ในเรื่องความทุกข์นั้น

บอกให้รู้ว่าอย่าไปเล่นกับมัน มันจะเป็นความทุกข์เกิดขึ้นมา ;

และเราก็ไม่รู้ มีคนบอกให้ ก็ไม่เข้าใจ

ยังขืนไปเล่นกับความทุกข์กันอยู่ และมากยิ่งขึ้น จนเต็มไปด้วยความทุกข์

ดังนี้แหละ เรียกว่าเป็นความโง่เขลาหรือเป็นอวิชชา

เป็นความไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ตามที่เป็นจริง,

เพราะมีอวิชชา จึงไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร

จึงปฏิบัติผิด ต่ออะไร ๆ ไปทุกอย่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น