เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ลืมกันหรือยังจ๊ะ! มารยาทในการอยู่ร่วมกันในสังคม

ลืมกันหรือยังจ๊ะ! มารยาทในการอยู่ร่วมกันในสังคม


มารยาทในการอยู่ร่วมกันในสังคม

มารยาทในการอยู่ร่วมกันในสังคม


มารยาทในการอยู่ร่วมกันในสังคม (กระทรวงวัฒนธรรม)

"ไม่มีมารยาทเอาเสียเลย" ไม่น่าเชื่อว่า คำ ๆ นี้ กลายเป็นประโยคที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยครั้งในสังคมปัจจุบัน อาจจะเป็นเพราะไม่มีใครเอาใจใส่ หรือกวดขันความมีวินัย และความมีมารยาทกันมากนัก จึงทำให้หลายคนละเลยที่จะใส่ใจกิริยามารยาทของตัวเองเมื่อปฏิบัติต่อผู้อื่นที่อยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกัน

ที่น่าห่วงก็คือ เยาวชนไทยจำนวนหนึ่งกำลังรับซึมซับรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามากขึ้น จนหลงลืมวัฒนธรรมของไทยไป ทำให้ความอ่อนน้อมถ่อมตนที่ผู้อาวุโสน้อยควรปฏิบัติต่อผู้อาวุโสกว่าดูลดน้อยลงไปมาก ด้วยเหตุนี้ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงพยายามเผยแพร่ความรู้เรื่องมารยาทไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงเอาไว้ซึ่งวัฒนธรรม และมารยาทอันดีงาม

มารยาทในการอยู่ร่วมกันในสังคม

และนี่ก็คือ "มารยาทของการอยู่ร่วมกันในสังคม" ที่เยาวชน และทุก ๆ คน ควรจดจำไว้ เพื่อนำไปปฏิบัติตามในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ

1. การรู้จักวางตน

ต้องเป็นคนมีความอดทน มีความสงบเสงี่ยม ไม่แสดงกิริยาก้าวร้าว อวดรู้ อวดฉลาด อวดมั่งมี และไม่ควรตีตัวเสมอผู้ใหญ่ แม้ว่าจะสนิทสนมหรือคุ้นเคยกันสักปานใดก็ตาม

2. การรู้จักประมาณตน มีธรรมของคนดี 7 คำ

ได้แก่ รู้จัก เหตุผล ตน ประมาณ กาล ชุมชน และบุคคล โดยไม่ทำตัวเองให้เด่น เรียกร้องให้คนอื่นสนใจ หรือสร้างจุดสนใจในตัวเรามากเกินไป ตัวอย่างเช่น คำเตือนของหลวงวิจิตรวาทการที่กล่าวไว้ว่า "จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครเขาอยากเห็นเราเด่นเกิน"

3. การรู้จักการพูดจา

ต้องไม่ทักทายปราศรัยกับคนด้วยคำพูดที่จะทำให้คนเขาเกิดความอับอายในสังคม และไม่คุยเสียงดังหรือยักคิ้วหลิ่วตาทำท่าทางประกอบจนทำให้เสียบุคลิกภาพได้

4.การรู้จักควบคุมอารมณ์

คือ รู้จักข่มจิตของตน ไม่ใช่อารมณ์รุนแรงเพื่อไม่ให้ล่วงสิ่งที่ไม่ควรล่วง ได้แก่ การข่มราคะ โทสะ โมหะ ไม่ให้กำเริบเป็นคุณลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ รู้จักข่มอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ทำลายข้าวของ ไม่พูด และแสดงกิริยาประชดประชัน หรือส่อเสียด

5. การสำรวมกิริยาเมื่อเดินผ่านผู้ใหญ่

ขณะที่เดินผ่านผู้ใหญ่ให้ก้มตัวพองาม หรือหากผู้ใหญ่กำลังเดินไม่ควรวิ่งตัดหน้า ควรหยุดให้ผู้ใหญ่เดินไปก่อน หรือไม่ควรเดินผ่านกลางขณะที่ผู้ใหญ่กำลังพูดกัน

6. การรู้จักควบคุมอิริยาบถ ถือเป็นคุณสมบัติที่ดี

เช่น เมื่อเราได้ยินเสียงเพลงก็ไม่ควรเขย่าตัว กระดิกเท้า หรือเคาะจังหวะโดยไม่เลือกสถานที่ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นอาการของคนที่ไม่ควบคุมอิริยาบถ และไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ

7. ความมีน้ำใจไมตรีอันดีต่อกัน

การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขด้วยความรักและเข้าใจกัน ควรมีความเอื้ออาทร มีน้ำใจไมตรีต่อกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีความเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ทุกข์สุขของผู้เกี่ยวข้อง มุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ที่สำคัญคือมีน้ำใจในการช่วยเหลือ หรือช่วยทำประโยชน์ให้แก่สังคม

8. การช่วยเหลือผู้อื่น เป็นคุณธรรมชั้นสูงของการอยู่ร่วมกันในสังคม

ดังจะเห็นว่า ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์มีอุดมการณ์สำคัญคือ "การช่วยเหลือผู้อื่น" หรือ พระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงธรรมเป็นปัจฉิมโอวาท ก็ยังมีใจความสำคัญว่า "จงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นด้วยความไม่ประมาทเถิด"

การยังประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็คือ การช่วยเหลือผู้อื่น หรือการปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เพื่อประโยชน์ส่วนรวม สังคมจะมีสันติสุข คือ มีความสงบสุข ถ้าบุคคลในสังคมรู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมนั่นเอง

นอกจากมารยาททั้ง 8 ประการที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว สิ่งที่คนไทยไม่ควรลืมเลยก็คือ"ขนบธรรมเนียมประเพณี" ดั้งเดิมของไทย อย่างเช่น "การไหว้" ที่ถือเป็นเอกลักษณ์ในการแสดงออกถึงความมีสัมมาคารวะของคนไทย แต่ทุกวันนี้ อาจจะมีน้อยคนนักที่จะรู้ว่า "การไหว้" ที่ถูกต้องเป็นเช่นไร และสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง


สำหรับลักษณะการแสดงความเคารพด้วยการไหว้ ที่เป็นมารยาทในสังคมที่ควรปฏิบัติกัน คือ

มารยาทในการอยู่ร่วมกันในสังคม

การประนมมือ (อัญชลี) เป็นการแสดงความเคารพ โดยการประนมมือให้นิ้วมือทั้งสองข้างชิดกัน ฝ่ามือทั้งสองประกบเสมอกันแนบหว่างอก ปลายนิ้วเฉียงขึ้นพอประมาณ แขนแนบตัวไม่กางศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน การประนมมือนี้ ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา ขณะสนทนากับพระสงฆ์ รับพรจากผู้ใหญ่ แสดงความเคารพผู้เสมอกัน และรับความเคารพจากผู้อ่อนอาวุโสกว่า เป็นต้น

การไหว้ (วันทนา) เป็นการแสดงความเคารพ โดยการประนมมือ แล้วยกมือทั้งสองขึ้นจรดใบหน้าให้เห็นว่า เป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง การไหว้แบบไทย แบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามระดับของบุคคล

- ระดับที่ 1 การไหว้พระ ได้แก่ การไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมทั้งปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วแนบส่วนบนของหน้าผาก

- ระดับที่ 2 การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ โดยประนมมือ แล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลง ให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วแนบระหว่างคิ้ว

- ระดับที่ 3 การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป ที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโสสูงกว่าเล็กน้อย โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วแนบปลายจมูก

ทั้งนี้ สำหรับผู้หญิง การไหว้ทั้ง 3 ระดับ อาจจะถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัดไปข้างหลังครึ่งก้าว แล้วย่อเข่าลงพอสมควร พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้ก็ได้

เห็นแล้วใช่ไหมคะว่า "การไหว้" ที่แบ่งออกเป็น 3 ระดับ เพื่อใช้กับบุคคลต่าง ๆ ไม่ใช่เพียงแค่การยกมือประนมส่ง ๆ ไปเท่านั้น แต่ยังสอดแทรกคำสอนให้คนไหว้รู้จักกาลเทศะ รู้จักการเคารพผู้อาวุโส และกตัญญูรู้บุญคุณ เช่นนั้นแล้ว คนไทยทุกคนก็ควรที่จะทำความเข้าใจกับกฎเกณฑ์มารยาทของสังคมที่ได้วางเอาไว้ มิใช่ปล่อยผ่าน หรือเพิกเฉยกับสิ่งเหล่านี้ เพราะ "มารยาท" คือ กิริยาวาจาที่สุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะช่วยรังสรรค์ให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขนั่นเองค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น