เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Social Network ตัวเร่งในการปฏิวัติประชาชน


ความมั่นคงศึกษา Social Media - Social Network ตัวเร่งในการปฏิวัติประชาชน
แก้ไขโดย ทอทหาร
วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554



< Download ฉบับ PDF >

จากเหตุการณ์ที่เรียกว่า “การปฏิวัติดอกมะลิ” หรือ (Jasmine Revolution) ที่เกิดขึ้นในตูนีเซียที่มีการปฏิวัติเพื่อล้มล้างการปกครองของ ประธานาธิบดี เบน อาลี (Ben Ali) และได้ขยายตัวไปยังการล้มล้างการปกครองของประธานาธิบดี ฮุสนี มูบารัก (Hosni Mubarak) ของอียิปต์ และปัจจุบันสถานการณ์ได้ลุกลามบานปลายไปสู่ประเทศอาหรับอีกหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศ ลิเบีย บาห์เรน เยเมน และ อีกหลายประเทศ และสถานการณ์นั้นนักวิชาการหลายคนเชื่อว่า คงไม่ได้หยุดอยู่ที่ประเทศอาหรับ แต่กลับจะมีการกระเพื่อมไปยังประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกา และ จีนนอกจากนี้มีนักวิชาการบางคนยังมีความเชื่อว่า สถานการณ์เหล่านี้อาจจะเลยมายังประเทศไทย

นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการหลายคน พยายามเชื่อมโยงปรากฏการณ์ที่แพร่กระจายการปฏิวัติประชาชน นี้ไว้กับ Social Network ผ่านบทความและข้อคิดเห็นหลายบทความ อย่างไรก็ตามก็มีผู้วิพากษ์จำนวนมากที่กล่าวว่า สาเหตุที่แท้จริงไม่ใช่ Social Network แต่กลับเป็นเรื่องของเงื่อนไข ในเรื่องของ ปัญหาการว่างงาน ความยากจน ปากท้องของประชาชน และที่สำคัญ คือการขาดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ที่ทำการเรียกร้องต่อผู้ปกครองของตน

ส่วนหนึ่งของการกล่าวถึง Social Network กันมากเพราะการโตขึ้นของประชากร Social Network ต่างๆ ที่ใช้งานกันอยู่ มีอัตราการขยายตัวที่เร็วมาก มีประชาการโดยรวมแล้ว มากกว่า 1,000 ล้านคน โดยคนกว่าพันล้านคนเหล่านี้ สามารถสื่อสารกันได้โดยตรง ตลอดเวลา 24 ชม. 7 วัน และที่สำคัญคือการสื่อสารเหล่านี้ไม่จำกัดเฉพาะสังคมใดสังคมหนึ่ง หรือ พลเมืองประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่คนแต่ละคนสามารถที่จะสื่อสารอะไรกับใครก็ได้ หากเขาเหล่านั้นสามารถเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ตหรือโลกไซเบอร์ได้ ซึ่งจะมีความแตกต่างจากในอดีตที่ บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะรับรู้ข้อมูลข่าวสารมาเป็นทอดๆ ในขณะที่ปัจจุบันนั้นการรับรู้สามารถรับรู้ได้โดยตรง แต่บุคคลทั่วไปก็ยังถูกแบ่งโดยสังคมและความเป็นพลเมืองของประเทศ และในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่าเส้นแบ่งเขตต่างๆ จะมีความสำคัญน้อยลง และเป็นไปได้ที่จะจางหายไป ดังแสดงในภาพที่ 1



ภาพที่ 1 การรับรู้ของปัจเจกบุคคล ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

ดังนั้นหากจะมาดูถึงปรากฏการณ์ต่างที่เกิดขึ้นนั้น การลุกฮือของประชาชนแล้วทำการล้มล้างรัฐบาลของตนเองนั้น มีความเชื่อมโยงอย่างเด่นชัดของความไม่สมดุลย์ระหว่างปัญหาความเป็นจริงที่เป็นอยู่ กับการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ที่ผ่านมาทาง สื่อกระแสหลัก และ สื่อใหม่ อย่าง Social Network เช่น Facebook และ Twitter หรือแม้กระทั่ง การใช้ search engine ค้นหาข้อมูลข่าวสารต่างๆ ซึ่งความไม่สมดุลย์ฯ นี้เองสามารถแสดงได้ตามภาพที่ 2 โดยการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วจะก่อให้เกิดประชาคม หรือ Community ที่รวบรวมคนที่มีความคิดเห็นเหมือนๆ กันเข้าด้วยกัน การรวมตัวเหล่านี้จะกลายเป็นการแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และในที่สุดได้กลายมาเป็นแรงกดที่ถาโถมเข้าสู่สังคม



ภาพที่ 2 ความไม่สมดุลย์ระหว่างการรับรู้กับความเป็นจริงในสังคมตนเอง

ในขณะเดียวกันเมื่อการรับรู้ในสิ่งต่างที่เกิดขึ้นในโลกเป็นไปอย่างรวดเร็ว ประชาชนเริ่มหันมามองบริบทของสังคมตนเองทำให้เห็นถึงความแตกต่างจนเกิดเป็นแรงดันในสังคมที่พยายามจะปรับฐานความเป็นจริงของตนเองให้มายังจุดที่คิดว่าพอใจ แต่ความพยายามนี้ก็จะเจอกับแรงต้านจากข้อจำกัดที่มีอยู่ในสังคมนั้นๆ เช่น การปกครองที่มีลักษณะเผด็จการ ความต้องการรักษาอำนาจของผู้ปกครอง แรงต่างๆ เหล่านี้จึงกลายมาเป็น ช่องว่าระหว่างการรับรู้จากภายนอกกับความเป็นจริง ที่นำไปสู่ความไม่สมดุลย์ของสังคมแต่ละสังคม

จากความไม่สมดุลย์ของสังคมนี้เองจะนำไปสู่ความพยายามในการปรับตัว เพื่อให้เกิดสภาวะที่สมดุลย์ขึ้นสังคม ช่วงเวลาที่ปรับตัวนี้เราจะเรียกว่า การเปลี่ยนผ่าน (Transition Period) โดยการเปลี่ยนผ่านนี้ มีความเป็นไปได้ที่จะมีการเปลี่ยนผ่านไปอย่างราบรื่น ไม่มีความรุนแรง การเปลี่ยนผ่านลักษณะนี้จะเรียกว่า การปฏิรูป (Reform) แต่หากการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นมีความรุนแรง จะถูกเรียกว่า การปฏิวัติ (Revolution)

ดังนั้นการที่สังคมใดสังคมหนึ่งจะมี การเปลี่ยนผ่านที่เป็น การปฏิรูป หรือ การปฏิวัติ จะอยู่ที่ตัวแสดงที่มี นั่นคือ ประชาชน และ ผู้ที่มีอำนาจปกครอง เป็นผู้ที่จะเลือก ว่าต้องการผลเช่นไร แต่ที่แน่ๆ แม้ Social Network จะไม่ใช่พระเอกที่เป็นผู้นำไปสู่การเปลี่ยนผ่าน แต่ก็เป็นผู้ช่วยพระเอกที่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่าน เหมือน มี Batman ก็ต้องมี Robin หรือ มี สมบัติ เมทะนี ก็ต้องมี ลักษณ์ อภิชาติ ………...เอวัง ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น