เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

*~ สิ่งธรรมดาที่แสนพิเศษ ~*


*~ สิ่งธรรมดาที่แสนพิเศษ ~*
จาก Post Today

บางครั้งในชีวิตประจำวัน เรารู้สึกว่ามีหน้าที่หลายอย่างที่เรา “ต้อง” ทำ ทั้งๆ
ที่ขี้เกียจแสน ขี้เกียจ หรือเหนื่อยแสนเหนื่อยแล้วจากการทำงาน เช่น การล้างจาน
การท่องหนังสือ การจดจ่ออยู่หน้าคอมพิวเตอร์
แถมพ่อแม่หลายท่านในปัจจุบันนอกจากทำงานเหนื่อยแล้วยังต้องมานั่งรับส่งลูกเรียนพิเศษเสาร์
- อาทิตย์อีก เวลานั่งรอบางครั้งก็เหนื่อยจนลืมชื่นใจความเก่งความน่ารักของลูก


สิ่งหล่านี้ดูธรรมดาและดูเหมือนเป็น “หน้าที่” ที่เราต้องกระทำ ทั้งๆ
ที่บางครั้งทำให้เราหงุดหงิดพอควรเลย


ตัวหนูดีเป็นคนเกลียดการล้างจานมาก
เพราะไม่ชอบความเหนอะของคราบอาหารและความสากมือหลังจากล้างจานเสร็จ
ถึงขนาดมีกฎประจำใจเลยว่า ผู้ชายคนไหนจะมาขอหนูดีแต่งงาน
หนูดีจะให้ล้างจานให้ดูก่อน แถมอาจมีการเซ็นสัญญากันว่า
หนูดียินดีทำอาหารทุกชนิดแต่ฝ่ายชายต้องรับอาสาเป็นผู้ล้างจาน


จนกระทั่งวันหนึ่งหนูดีได้ไปปฏิบัติธรรมในวิถีเซน การไปอยู่วัดครั้งนั้น
ทุกคนต้องล้างจานเอง พระสอนว่า เวลาล้างจานเราต้องการอะไรจากการล้างจาน
คำตอบของพวกหนูดี คือ เราต้องการให้จานสะอาด (แหม ถามอะไรตอบง่ายอย่างนี้
ก็มันชัดเจนอยู่แล้วใช่ไหมคะ)


แต่ท่านบอกว่า ตอบผิดค่ะ


อ้าว ถ้าไม่อยากให้จานสะอาดแล้วจะล้างไปทำไมคะ หนูดีงงมาก


ท่านตอบว่า จากนี้ไป ขอให้ล้างจานเพื่อล้างจานได้ไหม


ทำไมต้อง “ล้างจานเพื่อล้างจาน” กว่าหนูดีจะเข้าใจและทำได้
เวลาก็ผ่านไปนานแสนนาน และทุกวันนี้หนูดีก็ยังฝึกเป็นประจำ
เคล็ดอยู่ตรงนี้เองค่ะ หากเราล้างจานเพื่อต้องการให้จานสะอาด ก็เหมือนกับเรา
โยนทิ้งปัจจุบันแล้วรอให้ความสุขเกิดขึ้นในอนาคต แต่ปัจจุบันคือความทุกข์ที่ต้องอยู่กับจานสกปรก
เราจะมีความสุขก็ต่อเมื่อจานสะอาดแล้วเท่านั้น สรุปว่าใช้ชีวิตแค่กับเป้าหมาย
รอให้เป้าหมายเป็นผลแล้วค่อยยอมปล่อยใจให้เป็นสุข
แต่หากเราเปลี่ยนมาเป็นทำใจให้สุขในขณะล้างจานจิตจดจ่ออยู่กับน้ำ ฟองน้ำและจาน
เป็นสุขอยู่ตรงนั้น ซึ่งหลังจากครั้งแรก พระท่านก็สอนที่สูงขึ้นไปอีกว่า
จินตนาการดูสิว่า จานเป็นพระพุทธรูปและเรากำลังชำระล้างท่านให้สะอาดอยู่
น่ารักมากเลยค่ะ ไม่เห็นต้องรอวันสงกรานต์แล้วค่อยสรงน้ำพระ ถ้าคิดอย่างนี้ได้
ความสุขเล็กๆ ก็เกิดขึ้นได้ตลอดวัน


ในการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายและมีความสุข หนูดีคิดว่า
เราต้องแยกให้ออกระหว่างวิถีและเป้าหมายก่อน
คนส่วนใหญ่มักเอาความสุขไปผูกไว้กับ “เป้าหมาย” แต่หลงลืมว่า
เวลาเกือบทั้งหมดในชีวิตอยู่ที่ “วิถี” ในการไปถึงเป้าหมายนั้น
เหมือนเมื่อก่อนหนูดีตั้งเป้าไว้ว่า จะเรียนให้ได้คะแนนดีๆ ให้ได้เกียรตินิยม
และระหว่างภาคเรียนจะต้องทนทุกข์ทรมานขนาดไหนหนูดีไม่มีหวั่น
เพราะเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนมาก พอสอบเสร็จโล่งอกสบายใจ ได้เกรดดีๆ
ก็ดีใจอยู่แผล็บเดียว เดี๋ยวก็เปิดเทอมอีกแล้ว จะเป็นจะตายต่อไปอีกเทอม
พอมาดูจริงๆ แล้วเรียนปริญญาตรี เราจะได้เห็นเกรดตัวเองหลักๆ ก็ 8 ครั้ง โอ้โห
เวลา 4 ปี จะยอมให้ตัวเองมีความสุขใหญ่ๆ แค่ 8 ครั้ง
ก็ดูเป็นชีวิตที่เศร้าสร้อยไปหน่อยนะคะ


ดังนั้น การกลับมาปรับ “วิถี” ให้เรามีสุขขึ้นในระหว่างทาง
กลับทำให้ดัชนีความสุขมวลรวมของชีวิตเราพุ่งสูงขึ้นอีกมาก
เมื่อหารเฉลี่ยแล้วทั้งชีวิตเราน่าจะมีความสุขขึ้นอีกมากนะคะ
เดี๋ยวนี้หนูดีเลยมีกฎในการใช้ชีวิตว่า “วิถีคือเป้าหมาย” พูดง่ายๆ ว่า
การทำใจให้สุขเป็นประจำวันมีสุขในวิถีนั่นแหละคือเป้าหมายของหนูดี
ส่วนเป้าหมายใหญ่ๆ ภายนอกก็ยังมีอยู่ค่ะ ไม่ได้ทิ้งหายไปไหน
หนูดียังคงวางแผนชีวิตและมีเป้าหมายที่ชัดเจนอยู่เช่นเดิม
อาจจะดีกว่าเดิมด้วยซ้ำ
เพราะเป้าหมายเหล่านั้นไม่ได้เป็นประโยชน์เฉพาะตัวหนูดีคนเดียวอีกต่อไปแล้ว
แต่ยังรวมคนอื่นๆ ในสังคมเข้ามาอีกด้วย และหนูดีไม่รอให้
“เป้าหมายสำเร็จ” แล้วค่อยเป็นสุข
ไม่มีกฎอะไรกำหนดนี่คะว่าต้องรอ ก็เลยขอเป็นสุขเรื่อยๆ ดีกว่า


ท่าน ติช นัท ฮันท์ พูดเรื่องนี้ไว้ดีมาก
หนูดีเอามาเขียนเตือนใจตัวเองในหน้าหนังสือ “ขอบคุณสรรพสิ่ง”
ที่เขียนก่อนนอนเลยค่ะว่า
“ปาฏิหาริย์ไม่ใช่การเดินบนน้ำ หรือบินอยู่บนอากาศ แต่…
ปาฏิหาริย์คือการเดินอยู่บนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว”
หนูดีเห็นด้วยอย่างมาก
เพราะชีวิตเราเต็มไปด้วยเรื่อง “ธรรมดา” เช่น ตื่นมาอาบน้ำ แปรงฟัน
ขับรถไปทำงาน กินอาหารเที่ยงกับเพื่อนในที่เดิมๆ ตอนเย็นกลับมา
ก็เห็นหน้าภรรยาหรือสามีคนเดิมๆ ใส่ชุดธรรมดาๆ หน้าตาเราหรือก็ธรรมดาๆ ใช่ค่ะ
เราส่วนใหญ่แล้วก็เป็นคนธรรมดาๆ มีชีวิตธรรมดาๆ กันทั้งนั้น


แต่ถ้าความ “ธรรมดา” นี้หมดไปล่ะคะ เช่น อยู่ดีๆ
ลูกเราเกิดเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือสามีเราถูกรถชนตาย
หรือเราถูกไล่ออกจากงานที่เราเบื่อแสนเบื่อ เรื่องก็จะ “ไม่ธรรมดา” ไปในทันที
และในเวลานั้นเอง เราจะหวนมาคิดเสียดายความ “ธรรมดา” จนใจแทบจะขาด


หนูดีไม่ได้พูดเองเออเองนะคะ
แต่เพราะหนูดีอยู่ในอาชีพที่ได้เห็นความพลัดพรากสูญเสียในครอบครัวมาเยอะมาก
จนเกิดเป็นกฎประจำใจเลยว่า ให้เรารีบชื่นชมกับความ “ธรรมดา”
ที่เรามีและใช้ชีวิตประหนึ่งว่า
สิ่งนั้นคือ สิ่งมหัศจรรย์ของจักรวาล เพราะสิ่งธรรมดาๆ
แท้จริงแล้วคือสิ่งที่พิเศษที่สุดแล้วค่ะ


วันนี้ หนูดีขอชวนแฟนๆ คอลัมน์ลองมองหาสิ่งธรรมดาๆ
สักสองสามสิ่งที่เรามองข้ามไป แล้วลองคิดขอบคุณเขาไหมคะ เช่น
วันนี้เราไม่ปวดฟันเลย ขอบคุณฟันที่อยู่อย่างปกติ
หรือวันนี้ลูกของเรายังคงมีรอยยิ้มอยู่บนใบหน้า เรามีความสุขจัง หรือแม้แต่
วันนี้รถของเรายังไม่ถูกชนโชคดีจังเลย


เรื่องสุดท้ายนี่หนูดีคิดเป็นประจำเลยค่ะ เพราะในโลกนี้
หนูดีเป็นหนึ่งในคนที่รถชอบโดนชนประจำขนาดขับช้าเหมือนเต่าคลาน ดังนั้น
หากวันไหนรถหนูดีอยู่ในสภาพสมบูรณ์ แค่ได้มองเห็น ก็เป็นสุขแล้วค่ะ....

จบแล้ว ....ได้อะไรจากบทความบ้างนะค่ะ*{^_^}*

สุขสันต์วันธรรมดาๆ อีกวันหนึ่งนะคะ ขอให้ทุกท่านทำงานดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุขค่ะ *{^_^}*
“การทำงานประสานกับคุณภาพของชีวิต คือ ผลสัมฤทธิ์ของทางสายกลาง” การสร้างทางสายกลางระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตนี้ เราต้องฝึกให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ เพราะหากไม่ฝึกไม่พัฒนา เมื่อทำงานไปหลายคนอาจเสพติดการทำงานหนัก จนพานคิดไปว่า ผลของการทำงานก็คือเรื่องเดียวกันกับคุณภาพชีวิตโดยหารู้ไม่ว่า บางทีผลสัมฤทธิ์ของงานที่เพิ่มขึ้น ๆ นั้น ต้องจ่ายด้วยคุณภาพชีวิตราคาแสนแพง เช่น ยิ่งมีความรับผิดชอบสูง มองในแง่การทำงานแสดงว่ามีตำแหน่งสูงขึ้น ก้าวหน้าขึ้น แต่มองในแง่สุขภาพอาจยิ่งทรุดต่ำลง เพราะต้องแบกความเครียดมากขึ้น เมื่อความเครียดมากขึ้น บุคลิกภาพก็เปลี่ยนไปไม่อยากพูด ไม่อยากสังสรรค์กับใคร อารมณ์เสียกับเรื่องต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เวลาสำหรับตัวเองและครอบครัวก็น้อยลงพอมีวันหยุด ก็ไม่อยากไปไหน อยากนอนให้สาแก่ใจเพียงอย่างเดียว เวลากิน เวลาอยู่กับครอบครัวก็ไม่วายคิดถึงแต่เรื่องงาน แม้จะกลับบ้านแต่หัวค่ำ แต่เมื่อกินข้าวเสร็จ ก่อนนอนก็ไม่วายลุกขึ้นมานั่งพิจารณาเอกสารหรืออ่านอีเมลงาน บางทีทำอยู่อย่างนี้จนตี 2 ตี 3 จึงเข้านอน ครั้นถึงตีห้าหกโมง ก็ต้องรีบตื่นขับรถไปทำงาน อาหารเช้าก็ไม่ได้กินนอกจากกาแฟแก้วเดียวเมื่อไปถึงที่ทำงาน แฟ้มงานก็สุมกองอยู่บนโต๊ะแล้ว สาย ๆ หน่อยมีแขกเข้ามาพบ พอเที่ยง ก็นั่งกินข้าวบนโต๊ะทำงาน กินไปตาก็กวาดดูเอกสารงานไปพลาง มือข้างหนึ่งจับช้อน มืออีกข้างพลิกดูเอกสาร หูยังเสียบบลูทูธฟังไป คุยไปบ่าย ๆ ถึงเย็นติดประชุมกับคณะกรรมการบอร์ดอีกสองสามนัด สี่โมงโทรฯ ตามคนรถให้ไปรับลูก ลูกเป็นตัวแทนห้องแสดงละคร ทำกิจกรรม แม่หรือพ่อก็แทบไม่ว่างไปให้กำลังใจ พอหกโมงเย็นก็ขับรถออกจากสำนักงานรถติดไปอยู่บนทางด่วนร่วมสองชั่วโมง ตลอดเวลานี้ก็หงุดหงิดอารมณ์เสีย ต่อโทรศัพท์หาคนนั้นคนนี้ไปทั่ว คุยไปพลาง บ่นไปพลาง ในหัวมีแต่ความขุ่นมัวของอารมณ์ ทุ่มหรือบางวันสองทุ่มจึงฝ่ารถติดกลับถึงบ้าน เมื่อถึงบ้าน ลูก ๆ ทำการบ้านอยู่กับพี่เลี้ยงแล้วก็แยกไปนอนพ่อกับแม่ทำได้อย่างดีแค่หอมลูกหนึ่งฟอดแล้วก็พูดออกไปเหมือนหุ่นยนต์ว่า “พ่อ/แม่รักลูก หลับฝันดีนะคะ” จากนั้นรีบอาบน้ำอย่างลวก ๆ แล้วออกมานั่งกินอาหารมื้อสุดท้ายของวันตาจ้องดูโทรทัศน์อย่างแกน ๆ ไม่ได้ตั้งใจดูอะไรเป็นพิเศษ เพราะไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรอย่างต่อเนื่อง ละครก็ไม่สนใจบ้านเมืองก็น่าเบื่อเกมโชว์ก็มีแต่ตลกและดาราหน้าซ้ำ ๆ โผล่มาให้ฮาแบบฝืด ๆ ด้วยมุกเดิม ๆ กี่ปี ก็เป็นอย่างนี้ กินข้าวเสร็จ เข้าห้องนอนเห็นสามีหลับเป็นตายเพราะเหนื่อยหนักไม่น้อยไปกว่า กันแต่ตัวเองยังตาสว่าง อย่ากระนั้นเลย หยิบไอแพดคู่ใจมาเปิดอีเมล เช็กดูงานที่ยังคั่งค้าง จากนั้นองค์คนทำงานจนเสพติดลงประทับ นั่งทำงานเพลินต่อไปจนถึงตีหนึ่งหรือตีสองจนตาล้าเต็มที จึงข่มตานอน เอ๊ะ เหนื่อยขนาดนี้ทำไมยังนอนไม่หลับ (ร่างกายผิดปกติขนาดนี้ก็ยังไม่รู้สึก) ลุกขึ้นมาหยิบยานอนหลับใส่ปากสองเม็ดแล้วก็ล้มตัวลงนอนในสภาพอิดโรยเพื่อที่จะรีบตื่นมาอีกทีตอนเช้าในสภาพนอนไม่เต็มอิ่ม แต่ไม่มีทางเลือก ถึงอย่างไรก็ต้องตื่นไปทำงาน ชีวิตที่ใช้ไปอย่างสมบุกสมบันเช่นนี้ มีราคาที่ต้องจ่ายแพงเหลือเกิน ในขณะที่คุณได้ตำแหน่งหน้าที่ที่สูงขึ้นมีอำนาจมากขึ้น ความรับผิดชอบมากขึ้น แต่คุณภาพชีวิตของคุณกลับหายไป คุณไม่ต่างอะไรกับหุ่นยนต์ที่ทำอะไรซ้ำ ๆ เหมือนถูกวางโปรแกรมเอาไว้แล้ว ไม่นานหลังจากการใช้ชีวิตอย่างชนิดบอกทางสายกลาง ร่างกายและจิตใจก็ประท้วงคุณด้วยการแสดงให้เห็นว่าใจหนักอึ้งไปด้วยความเครียด อารมณ์มีแต่ความขุ่นมัว ร่างกายถ้าไม่ผ่ายผอมเพราะไม่ได้ดูแล ก็อ้วนเผละเพราะกินไม่เลือกเพื่อดับความเครียด มนุษยสัมพันธ์กับคนอื่นก็ลดน้อยถอยลงไป ความมีชีวิตชีวาก็ติดลบ รอยยิ้มเสียงหัวเราะนาน ๆ ครั้งคนรอบข้างจึงจะได้เห็น ขณะที่ร่างกายก็อุทธรณ์ด้วยการเหนื่อยง่าย กินอาหารไม่อร่อย วันหนึ่งเหนื่อยล้าเต็มที่แวะไปให้หมอตรวจสุขภาพ หมอวินิจฉัยว่า เสียใจด้วยคุณป่วยเป็นโรคร้าย คงมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่กี่ปี นี่คือ ชีวิตของมนุษย์ในสังคมนิยมบริโภค นี่คือ ชีวิตของมนุษย์ในเมืองที่ต้องแข่งขันกันทำมาหากินและมุ่งไปสู่กำไรสูงสุด นี่ไม่ใช่ชีวิตสำเร็จรูปของคนเมืองทั้งหมด แต่นี่คือ ภาพจำลองของคนส่วนใหญ่ในเมืองทุกวันนี้ ที่ต่างคนต่างทำงาน จนหลงลืมกลับมาดูแล “กาย-ใจ” ให้คืนสู่ความสมดุล เป็นความสมดุลที่กายและใจควรได้รับแต่เรากลับมองข้ามมันไป เพื่อที่จะกลับมาตระหนักรู้อีกครั้งหนึ่งว่าความสมดุลหรือทางสายกลางสำคัญแค่ไหนก็ต่อเมื่อเราได้สูญเสียความสมดุลนั้นไปแล้ว ชีวิตที่ดี ไม่ใช่ชีวิตที่มีเงินมาก หรือมีอำนาจล้นฟ้ามีชื่อเสียงฟุ้งกระจายเสมอไป แต่ชีวิตที่ดี คือ ชีวิตที่มีความสมดุลของกายและใจของงานและของชีวิตอย่างลงตัว คุณมีทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นยศ ทรัพย์ อำนาจ ชื่อเสียง กามารมณ์ แต่หากคุณไม่มีความสุขเพราะกายป่วยและใจเครียด สิ่งที่คุณมียังจะมีความหมายอีกไหม หลักสมดุลงาน สมดุลชีวิต จึงเป็นหลักที่คนทำงานทุกคนควรนำมาเป็นแนวทางในการทำงานและการใช้ชีวิตอยู่เสมอ ในทางปฏิบัติ หากเราอยากสร้างชีวิตคน ชีวิตงานให้ก้าวหน้าไปพร้อม ๆ กัน ก็ควรเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า “คนต้องสำราญ งานต้องสัมฤทธิ์” ไม่ใช่ “งานสัมฤทธิ์ แต่ชีวิตไม่สำราญ” หรือเขียนเตือนตนไว้ในห้องทำงาน เพื่อเป็นการเตือนตนไม่ให้เสพติดการทำงานจนเสียคุณภาพชีวิตว่า “การทำงานประสานกับคุณภาพชีวิต คือผลสัมฤทธิ์ของทางสายกลาง”. โดย...พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น