เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ผู้ใหญ่ของบ้านเมืองกำลังเล่นเกมส์อะไรกันอยู่

ผู้ใหญ่ของบ้านเมืองกำลังเล่นเกมส์อะไรกันอยู่....มันไม่ใชเรื่องเลยที่จะเอาบ้านเมืองไปเกี่ยวข้อง
ดินแดนแผ่นดินไทยยังไม่ได้คืน ชาวไทยตกค้างไม่ได้รับการเหลียวแลมานาน........แล้วทำแบบนี้มันมากไปหน่อยแล้วล่ะมั้ง


เมื่อรัฐมนตรีว่าการกลาโหมกัมพูชาเป็นคนเชื้อสายไทย


....หนังสือคนสองแผ่นดิน เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องราวของเกาะกง หรือ ครั้งหนึ่งชื่อว่า ปัจจันตคีรีเขตร ซึ่งรัชกาลที่สี่ ตั้งชื่อเพื่อให้คล้องกับเมือง ประจวบคีรีขันธ์ เนื่องจากเมืองทั้งสองนั้นอยู่ในแนวเส้นรุ้งเดียวกัน

...ซึ่งเกาะกง เคยเป็นของไทยมาก่อน สมัยก่อนมีคนไทยอาศัยอยู่และมีขนบธรรมเนียมประเพณีแบบไทย ต่อมา เมื่อ ร.ศ. 112 ฝรั่งเศษได้ยึดเอาหัวเมืองจันทบุรี ตราด รวมถึงเกาะกงไป และภายหลังในปี 2449 ไทยได้ขอแลกเมืองจันทบุรี และตราดคืนมา โดยแลกกับ พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ แต่เมืองเกาะกงนั้นไม่ได้กลับคืนมาด้วย ยังคงเป็นของเขมรต่อไป

...ในหนังสือจะเล่าถึงชะตากรรมของคนไทยที่ตกค้างอยู่ที่เกาะกง ในช่วงเวลาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยุคนักล่าอาณานิคมฝรั่งเศส รัฐบาลสีหนุ รัฐบาลลอนนอน หรือรัฐบาลเขมรแดง คนไทยในเกาะกงซึ่งกลายเป็นชนกลุ่มน้อยโดนกระทำหลายๆ อย่างตามห้วงเวลา โดนห้ามพูดภาษาไทย ทั้งต้องโดนฆ่าตายไปมากมายในช่วงเขมรแดงเรืองอำนาจ นอกจากกนี้ยังกล่าวถึงขบวนการต่อสู้ของคนไทยในเกาะกงที่จัดตั้งขึ้นในนามเขมรอิสระ รวมถึงอธิบายความเป็นไปและความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์เขมร กับ คนไทยในเกาะกง

...ในเล่มยังมีประวัติของ พลเอกเตีย บัญ ซึ่งเป็นนักรบเกาะกง ที่ได้ขึ้นคุมกองทัพกัมพูชา เป็นคนเชื้อสายไทย ที่พูดภาษาไทยได้คล่อง ทั้งยังกล่าวถึงคนไทยเกาะกงอีกจำนวนหนึ่งที่มีตำแหน่งสำคัญในกัมพูชา เช่น นาย จา เรียง ซึ่งเป็นผู้ว่าแบงค์ชาติ และใส่ ภูทอง หนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลของกัมพูชา โดยเฉพาะหลังโค่นเขมรแดงลงในปี พ.ศ. 2522 เขาผู้นี้(ใส่ ภูทอง)คือผู้ที่เปิดทางสู่อำนาจของ ฮุน เซน

...ปัจจุบันคนไทยในเกาะกงหลงเหลืออยู่เพียง 25% และได้รับการรับรองให้มีสิทธิเสมอภาคเท่าเทียมกับประชนชนกัมพูชาทั่วไป คนไทยทุกคนที่มีบทบาทสำคัญในการกอบกู้อิสรภาพ ในพื้นที่เขตเกาะกงมาต้งแต่เริ่มต้น ได้รับการยกย่องเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูง ทั้งที่กรุงพนมเปญและในการปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้คนไทยเกาะกงมีความภาคภูมิใจมาก

...หนังสือคนสองแผ่นดิน โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ สำนักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์ พิมพ์ปี 2551 เป็นหนังสือที่ให้รายละเอียดประวัติศาสตร์ที่อ่านแล้วสนุกสนาน และได้เข้าใจความเป็นมาของชาวไทยในเกาะกงได้ดีที่สุดเล่มหนึ่ง
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%87
รูปจากวิกิพีเดีย


ภาพจากhttp://www.tobethai.org/autopage/show_page.php?t=36&s_id=05&d_id=05&page=1
๑๓.ผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกงกัมพูชา

(บัตรสีเขียว)



บัตรผู้อพยพเชื้อสายไทยจากเกาะกงในเขมร

ผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกงกัมพูชา คนกลุ่มนี้คือคนไทย เดิมจังหวัดเกาะกง (จังหวัดประจัญคีรีเขต) เป็นดินแดนของประเทศไทย ในสมัยรัชการที่ ๕ ดินแดนส่วนนี้ได้ตกเป็นของฝรั่งเศส และต่อมาก็เป็นของกัมพูชา เมื่อกัมพูชาได้เอกราชจากฝรั่งเศส คนไทยที่อยู่ในดินแดนนี้ไม่ยอมกลับมาอยู่ในประเทศไทย เนื่องจากเสียดายทรัพย์สินบ้รนเรือนที่เคยอยู่อาศัย ต่อมาเมื่อปี ๒๕๑๗ กัมพูชาเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองมีการปราบปรามประชาชนในประเทศ คนไทยที่อาศัยอยู่ที่เกาะกงจึงอพยพเข้ามาอยู่ที่จังหวัดตราดแห่งเดียว โดยทางราชการถือเอาวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๐ เป็นวันสุดท้ายที่จะรับผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง กัมพูชา เข้ามาอยู่ในประเทศไทย


สถานะของผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง กัมพูชา


เนื่องจากบุคคลดังกล่าวเคยเป็นคนไทย แต่ได้เสียสัญชาติไทยไปเพราะดินแดนดังกล่าวตกเป็นของฝรั่งเศสและกัมพูชา คณะรัฐมนตรีจึงมีมติหลายครั้งในการให้สัญชาติไทยแก่ผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง กัมพูชา โดยการแปลงสัญชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๒๖ , วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๒๗, วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔



บัตรประจำตัวผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง กัมพูชา (สีเขียว)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น