เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

“ความจริงไม่มีใครทุกข์”





“ความ จริง ไม่ มี ใคร ทุกข์”
พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส
“ความทุกข์มาจากไหน..?”
คนส่วน ใหญ่ ไม่รู้ที่มา ของความ ทุกข์ จึง คิด ว่าทุกข์มาจากผู้อื่น กระทำบางคนก็คิดว่า
ทุกข์มาจากเราทำเอง
“ทุกข์มาจากความไม่รู้ ตามความเป็นจริง”
“ชีวิตคืออะไร..?”
หากเรารู้ว่าชีวิต คืออะไร..? เราจะปฏิบัติต่อชีวิตอย่างถูกวิธีความจริงในธรรมชาติของ
จักรวาลมีแค่ รูปและนาม เพราะรูปคือมวลสารต่างๆ ที่หมุนรอบตัวเองในที่ว่างจึงเกิดสนาม
พลังของนามธรรมอยู่รอบรูปธรรมนั้น สมมุติเรียกว่า“จิต” คือธรรมชาติ แห่งการรับรู้
เพราะธาตุต่างๆที่รวมตัวอยู่ด้วยกัน ไม่คงที่ ความรับรู้ที่เกิดขึ้นในช่องว่างรู้สึก
ถึงการจะแตกสลายจึงเกิดความต้องการที่จะเติมเต็ม (โลภะ) เกิดความรู้สึกขัดขวาง (โทสะ)
เกิดความไม่รู้ที่แฝงตัวมา (โมหะ)
เมื่อมันมาก่อตัวกันเข้าเป็นโครงสร้างของรหัสดีเอ็นเอที่จะสมานตัวให้ทรงตัวอยู่ได้จึง
พยายามที่จะรักษาสถานภาพนั้นด้วยการแสวงหาสิ่งที่จะมาเติมเต็มแก้ปัญหาความพร่องของ
ธาตุสี่เกิดสภาวะการดิ้นรนของนามธรรมซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลกนี้


พระอาจารย์ อำนาจ โอภา โส : บรรยายธรรม ณ ศูนย์ปฏิบัติการ การบินไทย สุวรรณภูมิ วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๒
สิ่งทั้งหลายไม่มีอยู่ด้วยตัวของมันเอง ไม่มีความคงที่อยู่อย่างเดิมแม้แต่ขณะเดียว จึงเป็นสภาวะที่พร้อมจะก่อให้เกิดทุกข์​แก่ผู้ไม่รู้เท่าทัน
(ปฏิจจสมุปบาท)


สิ่งต่างไม่มีตัวตนด้วยตนเอง อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น (อวิชชา)
เพราะความไม่รู้ตามความเป็นจริง จึงเกิดความคิดปรุงแต่ง (สังขาร)
เพราะเกิดความคิดปรุงแต่ง จึงรับรู้ถึงความรู้สึก (วิญญาณ)
เพราะการรับรู้ถึงความคิดนั้น จึงส่งผลถึงอารมณ์และบุคลิกภาพ (นามรูป)
บุคลิกภาพนั้น ส่งต่อให้เครื่องมือการรับรู้ทำงาน (สฬายตนะ)
เพราะการรับรู้ทำงาน จึงเกิดการกระทบระหว่างภายในภายนอก (ผัสสะ)
เพราะการกระทบ จึงทำให้เกิดอารมณ์สุข-ทุกข์ และเฉยๆ (เวทนา)
อารมณ์ที่สุขก็อยากได้ อารมณ์ที่ทุกข์ก็อยากผลักไส (ตัณหา)
เพราะความอยาก จึงเข้าไปยึดกับสิ่งที่ต้องการ (อุปาทาน)
เพราะยึดกับสิ่งที่ต้องการ จึงลงมือก่อพฤติกรรม (ภพ)
เมื่อก่อพฤติกรรมดีหรือเลว จึงเกิดคำว่า “เราดีหรือเลว” ขึ้นในใจ (ชาติ)
แต่สิ่งเหล่านั้นก็เสื่อมสลายไปตามเหตุปัจจัย (ชรา มรณะ)
แต่เพราะความไม่รู้ก็หลงปรุงแต่ง แสวงหาสิ่งเหล่านั้น วนเวียนซ้ำแล้วซ้ำเล่า (อวิชชา
สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ)
๑๒ อาการแห่ง ทุกข์ ที่คนส่วนใหญ่ยังยึดติดยังหาทางออกไม่พบและประสบกับ
ปัญหาเพิ่มขึ้นความไม่เข้าใจเหตุปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบในสายใยของธรรมชาติ
หากเข้าใจปฏิจจสมุปบาทจะไม่สงสัยต่ออดีตปัจจุบันอนาคตว่าเรามีหรือไม่อย่างไร
เพราะ สิ่งต่างๆอาศัยสิ่งอื่นๆเกิดขึ้นจึงคงที่อยู่ไม่ได้เรียกว่า “ทุกขลักษณะ” แต่ไม่มี
ผู้ทุกข์ (ความสุขมีอยู่ก่อนแล้ว)


พระอาจารย์ อำนาจ โอภา โส
การเคลื่อนไหวในกระแสของธรรมชาตินั้นมี ความสัมพันธ์ ส่งผลกระทบต่อกันอย่าง
ละเอียดซับซ้อนด้วยปัจจัยอันหลากหลายกระทบกระทั่งเชื่อมต่อกันเป็นแพรัศมีสู่ผลอัน
หลากหลาย
“ผลอันหลากหลาย เกิดจากเหตุปัจจัยอันหลากหลาย” พุทธพจน์
เมื่อมีสติตามสังเกตการทำงานของกายและใจ จะสามารถใช้เหตุปัจจัยอย่างถูกวิธี
(วิสุทธิ ๗)

เพราะไม่มีใครหนีผัสสะทางอายตนะต่างๆ ได้ เมื่อเกิดการกระทบรู้เท่าทัน ใจก็ปกติเรียกว่า “สีลวิสุทธิ”
จิตจึงตั้งมั่นไม่ถูกครอบงำด้วยอกุศลเรียกว่า “จิตตวิสุทธิ”
จึงเกิดความเห็นถูกของรูปนามตามความเป็นจริง เรียกว่า “ทิฏฐิวิสุทธิ”
และเห็นปัจจัยของรูปและนาม จนหายสงสัย เรียกว่า “กังขาวิตรณวิสุทธิ”
สามารถเลือกมุมมองอย่างถูกวิธี ของสิ่งที่เกิดขึ้นกับรูปและนาม เรียกว่า“มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ”
เห็นลักษณะความเกิดดับในขันธ์ ๕ ยอมรับความเป็นจริงด้วยใจเป็นกลาง เรียกว่า“ปฏิปทาญาณทัสสวิสุทธิ”
จิตจึงไม่ปนเปื้อนด้วยตัณหา และการหลงคิดปรุงแต่ง ทวนเข้าสู่กระแสธรรมชาติเดิมที่
บริสุทธิ์ ซึ่งมีอยู่ก่อนแล้ว คือความสุขหรือพระนิพพาน เรียกว่า “ญาณทัสสนวิสุทธิ”
เพราะสิ่งต่างๆอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นหากผู้ขาดปัญญาไม่รู้ก็หลงผิดสร้างเหตุปัจจัย
แห่ง ความ ทุกข์

(ได้ในสิ่งที่ไม่ควรได้ คือ ทุกข์ใจ - เสียในสิ่งที่ไม่ควรเสีย คือ สันติสุข)
หากผู้มีสติปัญญารู้ จึงเลือกสร้างเหตุปัจจัยแห่งความสุข)
........................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น