เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

หลักสูตรการ อบรมวิปัสสนากรรมฐานขั้นพื้นฐาน ๑๐ วัน ธรรมบรรยายของท่าน อาจารย์โกเอ็นก้า


๑๑ วัน ธรรมบรรยาย

โ ด ย : ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า


" ๑๑ วัน ธรรมบรรยาย " ที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ ได้แปลมาจากหนังสือ "The Discou
rse Summaries" ซึ่งเป็นหนังสือที่วิลเลี่ยม ฮาร์ท ( William Hart ) ได้เรียบเรียงย่อ
บทธรรมบรรยาย ของ ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า จากการที่ท่านได้บรรยายไว้ ในหลักสูตรการ
อบรมวิปัสสนากรรมฐานขั้นพื้นฐาน ๑๐ วัน เพื่อเผยแพร่แก่คนทั่วไป ธรรมบรรยายของท่าน
อาจารย์โกเอ็นก้า มีรากฐานมาจากพุทธธรรมของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าท่าน
ได้นำวิธีถ่ายทอด ในลักษณะเหตุผล สอดคล้องกับกาลสมัย ช่วยให้อรรถรสของธรรรมะ มี
ความลึกซึ้ง ดื่มด่ำ และมีพลังปลูกฝังศรัทธา ให้แก่ผู้อ่าน ให้เข้าใจในพุทธศาสนาและแนวทาง
ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ดียิ่งขึ้น

วันที่ ๑

วันแรกนี้ จะเป็นวันที่ยากลำบาก เต็มไปด้วยความไม่สะดวกสบายนานาประการซึ่งส่วนหนึ่ง
อาจเป็นเพราะความไม่คุ้นเคยกับการที่ต้องนั่งตลอดวัน เพื่อปฏิบัติกรรมฐาน แต่ส่วนใหญ่แล้ว
ความลำบากคงเกิดจากการที่ให้สังเกตดูแต่เฉพาะลมหายใจเข้าออกเพียงอย่างเดียว ถ้าใน
ระหว่างที่นั่งสังเกตดูลมหายใจอยู่นั้นเราได้รับอนุญาตให้สวดมนต์ หรือได้รับอนุญาตให้บริ
กรรมชื่อของเทพเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์องค์ใดองค์หนึ่ง หรือได้รับอนุญาตให้สร้างจินตนาการ ให้
จิตจดจ่ออยู่ที่รูปของเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งพร้อมกันไปแล้ว ก็จะทำให้การฝึกสมาธิสามารถ
ทำได้ง่ายกว่าและเร็วกว่า เพราะจิตไปจดจ่ออยู่ที่สิ่งเหล่านั้น และในขณะเดียวกัน จิตก็จะลืม
นึกถึงความไม่สบายกายต่างๆอีกด้วย แต่การที่กำหนดให้ท่านต้องนั่งสังเกตดู แต่เฉพาะลมหาย
ใจที่เข้าออกตามธรรมชาติ โดยไม่ฝืนและไม่มีการท่องบ่นภาวนา หรือไม่มีการสร้างจินตนาการ
ให้จิตจดจ่ออยู่ที่รูปของเทพเจ้าองค์ใดๆประกอบด้วยนั้น ก็เนื่องด้วยจุดมุ่งหมายของวิปัสสนา
กรรมฐาน มิใช่อยู่ที่แค่การทำสมาธิ จิตที่เป็นสมาธินั้นจะเป็นแต่เพียงบันไดที่จะนำขึ้นไปสู่จุด
หมายที่สูงกว่า นั่นก็คือ การชำระจิตให้บริสุทธิ์ โดยการกำจัดกิเลส เครื่องเศร้าหมองที่อยู่ภาย
ในใจ อันจะนำไปสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งมวล และได้บรรลุมรรคผลนิพพาน

เมื่อใดที่กิเลส เช่นความโกรธ ความเกลียด ความหลง ความกลัว เกิดขึ้นในจิตของผู้ใดบุคคล
ผู้นั้นก็จะตกอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์ และเมื่อใดที่เกิดเหตุการณ์ไม่ดีขึ้นในชีวิต คนเราก็จะมี
ความทุกข์และมีอาการเครียด ทำให้เกิดปมจิตขึ้น รวมทั้งเมื่อใด ที่ปรารถนาอะไร แล้วไม่สม
ความปรารถนา เราก็จะมีความทุกข์ และเกิดอารมณ์เครียดขึ้นเช่นกัน สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นซ้ำ
แล้วซ้ำเล่า ตลอดชีวิตของเรา ก่อเป็นปมจิตอันยุ่งเหยิง และสับสนจนสางไม่ออก นอกจากนี้เรา
ยังมักไม่เก็บงำความทุกข์และความเครียดไว้แต่ภายในใจ หากแต่กลับสะท้อนเอาความทุกข์
เหล่านั้น ไปถ่ายทอดให้กับคนรอบข้าง ซึ่งการกระทำเช่นว่านี้ มิใช่เป็นการดำเนินชีวิตที่ถูก
ต้องเลย

การที่ท่านมาฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในครั้งนี้ ก็เพื่อที่จะเรียนรู้ศิลปะของการดำเนินชีวิต
ให้อยู่ได้อย่างสงบสุข และกลมกลืนไปกับสภาวะภายในตนเอง ได้เรียนรู้ถึงการสร้างสันติสุข
และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับบุคคลอื่นๆ ตลอดจนได้เรียนรู้ว่า ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิต
อยู่ได้อย่างมี ความสุขในแต่ ละวัน ซึ่งจะทำให้การพัฒนาตนเองไปสู่ความสุขอันสูงสุด อันเกิด
จากการมีจิตที่สะอาดผ่องใส จิตที่เต็มไปด้วยความรักอันบริสุทธิ์ มีเมตตากรุณา ยินดีในความ
สำเร็จของผู้อื่น ด้วยจิตอันเป็นอุเบกขา

ในการเรียนรู้ศิลปะของการดำเนินชีวิต สิ่งแรกที่เราจะต้องค้นหาก็คือ สาเหตุแห่งความทุกข์
ซึ่งมักจะมีรากฐานมาจากภายในตัวเราเองเสมอ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ท่านจะต้องค้นหาความเป็น
จริง ที่อยู่ในตนเองให้พบ

วิธีการที่จะสอนต่อไปนี้ จะช่วยให้ท่านค้นหาความจริงในตัวของท่านเองช่วยให้ท่านได้
ตรวจสอบโครงสร้างของกายและจิตของตัวเอง ซึ่งเต็มไปด้วยความยึดมั่นถือมั่น หรืออุปาทาน
อันเป็นสาเหตุของความเครียดและความทุกข์ในการฝึกวิธีนี้ ก่อนอื่นเราจะต้องเข้าใจถึงธรรม
ชาติของกายและจิตของเราเองเสียก่อน ซึ่งผลที่ได้รับตามมา จะทำให้เราสามารถพบกับความ
จริงที่อยู่เหนือกายและจิตได้ วิธีนี้ จึงเป็นวิธีที่จะทำให้เราได้รู้แจ้งเห็นจริง ได้รู้จักตนเอง ได้
ตรวจสอบดูความเป็นจริงในตัวเรา และหากคำว่า "พระผู้เป็นเจ้า" หมายถึงความบริสุทธิ์
และหลุดพ้นแล้ว วิธีการนี้ก็อาจจะเรียกได้ว่า เป็นวิธีการเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าได้เหมือนกัน การ
ได้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การได้รู้จักตนเอง โดยเริ่มจากสิ่งที่
เรามองเห็นแต่เพียงผิวเผินจากภายนอก ไปจนถึงความเป็นจริงที่อยู่ลึกลงไป

จนกระทั่งไปถึงความเป็นจริง ที่อยู่ลึกที่สุดของกาย ( รูป ) และจิต ( นาม ) จะทำให้เรา
สามารถก้าวขึ้นไปพบกับปรมัตถสัจจะ หรือความจริงอันเป็นที่สุด เหนือรูปและนามได้ ในการ
ค้นหาความจริง หรือสัจธรรมที่ซ่อนอยู่ในตัวเรานั้น ก่อนอื่น เราต้องเริ่มต้นด้วยการสังเกต
ความจริงที่เห็นได้ชัดเจนในตัวเราก่อน เช่นการสังเกตลมหายใจเข้าออก เป็นต้นจึงถือได้ว่า
การสังเกตเฉพาะลมหายใจเข้าออก เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานวิธีนี้
สำหรับการใช้คำภาวนา หรือการใช้รูปเทพเจ้า หรือการใช้รูปวัตถุ ที่สร้างจากจินตนาการของ
เราเอง เพื่อช่วยให้เกิดสมาธิได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้นนั้น อาจจะก่อให้เกิดภาพลวงตาหรือเกิด
จินตนาการที่สับสน ซึ่งจะเป็นอุปสรรค ทำให้เราไม่สามารถค้นพบความจริง หรือสัจธรรมที่
ซ่อนอยู่ในตัวเองได้

นอกจากนั้น การใช้คำภาวนา หรือการใช้รูปเทพเจ้า หรือการใช้รูปวัตถุอื่นใดนั้น อาจจะเป็น
เรื่องที่เกี่ยวข้องกับลัทธิใดลัทธิหนึ่ง หรือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง หรือวัฒนธรรมใดวัฒนธรรม
หนึ่ง ซึ่งอาจจะทำให้คนที่มีพื้นฐานทางลัทธิ หรือศาสนา หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป
ไม่ยอมรับในวิธีการที่จะต้องใช้คำภาวนานั้น หรือรูปเทพเจ้านั้น หรือรูปวัตถุนั้น เนื่องจากความ
ทุกข์ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับชนทุกหมู่เหล่า ไม่เลือกลัทธิ ไม่เลือกศาสนาไม่เลือกวัฒนธรรม
ความทุกข์จึงเป็นเรื่องสากล ดังนั้น การหาวิธีดับทุกข์ จึงมิใช่เรื่องเฉพาะของชนกลุ่มใดกลุ่ม
หนึ่ง หากควรเป็นเรื่องที่ใช้ได้กับชนทุกหมู่เหล่า

ด้วยเหตุนี้ วิธีการสังเกตลมหายใจเข้าออก หรืออานาปานสติ จึงเป็นวิธีการที่เป็นสากล หรือ
อีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับชนทุกหมู่เหล่า เพราะทุกคนสามารถที่จะยอมรับ
และนำไปปฏิบัติจนเกิดผลได้ นอกจากนั้น ลมหายใจยังเป็นของธรรมชาติสำหรับทุกคนอีกด้วย

โดยทั่วไปแล้ว เรารู้เรื่องเกี่ยวกับตัวของเราเองน้อยมาก เราจะรู้ ก็แต่เพียงสิ่งที่ปรากฏให้
เห็นภายนอก คืออวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย ที่มองเห็นได้ด้วยตาและที่เรา สามารถควบคุม
การทำงานของมันได้ แต่เราจะไม่รู้อะไรเลย เกี่ยวกับอวัยวะภายใน ซึ่งทำงานอยู่นอกเหนือ
อำนาจการควบคุมของเรา

ยกตัวอย่างเช่น เซลล์ต่างๆในร่างกายของเรา ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ โดยที่เราไม่
สามารถควบคุมได้ นอกจากนี้ ปฏิกิริยาทางแม่เหล็กไฟฟ้า และชีวเคมีอีกมากมาย นับไม่ถ้วน
ที่เกิดขึ้นและหมุนเวียน อยู่ทั่วร่างกายของเราตลอดเวลาเราก็มิได้เคยเรียนรู้เกี่ยวกับความ
เคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเหล่านี้เลยโดยอาศัยการสังเกตลมหายใจเข้าออกเป็น
ตัวช่วย ลมหายใจของท่าน จะเป็นเสมือนสะพานเชื่อมความรู้ กับความไม่รู้ อะไรที่ท่านไม่เคย
รู้ ก็จะได้รู้ และเนื่องด้วยการหายใจเข้าออก เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของร่างกาย การหาย
ใจเข้าออกจึง อาจจะเป็นไปโดยรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ได้ และเป็นไปด้วยความตั้งอกตั้งใจ หรือ
เป็นไปโดยอัตโนมัติก็ได้

ดังนั้น ถ้าเราจะเริ่มปฏิบัติให้ถูกต้อง เราควรเริ่มต้น ด้วยการสังเกตลมหายใจเข้าออกอย่าง
ตั้งอกตั้งใจ โดยเริ่มจาก หายใจแรงๆก่อน แล้วจึงค่อยๆผ่อน เป็นลมหายใจเข้าออกตาม
ธรรมชาติต่อไปจากจุดนี้ เราก็จะก้าวหน้าไปสู่สัจธรรมที่ลึกซึ้งภายในกายของเรา แต่ละก้าวที่
เราก้าวเดินไป จะเป็นการก้าวไป พร้อมกับความเป็นจริง ในแต่ละวัน เราจะได้ค้นคว้าลึกเข้าไป
ภายในตัวของเราเอง เพื่อให้พบกับความจริงที่ซ่อนเร้นอยู่ ทั้งในร่างกายและจิตใจของเรา

สำหรับวันนี้ เราทุกคนได้ถูกขอให้สังเกตดูลมหายใจเข้าออก แต่เฉพาะทางด้านกายภาพเท่า
นั้นแต่ในเวลาเดียวกัน ท่านก็มีโอกาสได้สังเกตดูจิตของท่านด้วย เพราะธรรมชาติของการหาย
ใจนั้น จะเชื่อมโยงกับสภาพจิตของแต่ละคนอย่างแนบแน่นเมื่อใดที่เกิดมีกิเลสตัณหาขึ้นในจิตใจ
ลมหายใจก็จะผิดปกติ บางคนอาจจะหายใจเร็วขึ้น หนักขึ้นเมื่อความรู้สึกนั้นหมดไป ลมหายใจ
ก็จะนุ่มนนวลขึ้นเอง ลมหายใจจึงสามารถนำมาใช้ในการสำรวจความเป็นจริง ซึ่งไม่เพียงแต่
ทางร่างกายเท่านั้น หากแต่รวมไปถึงจิตใจด้วย

ความจริงประการหนึ่ง ที่เกี่ยวกับจิตของเรา ที่ได้พบในวันนี้ก็คือนิสัยของจิตที่ชอบท่องเที่ยว
ไป ไม่อยู่นิ่ง ไม่ยอมติดอยู่กับลมหายใจ หรือไม่ยอมติดอยู่กับความสนใจอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่
กลับจะคอยวิ่งไปที่โน่นที่นี่และเมื่อจิตท่องเที่ยวไป จิตไปที่ไหนบ้าง ?

ขณะปฏิบัติ เราจะเห็นได้ว่า จิตท่องเที่ยวไปทั้งในอดีตและอนาคต นี่คือนิสัยของจิตจิตจะไม่
ค่อยยอมอยู่กับปัจจุบัน ซึ่งที่ถูกต้องแล้ว จิตควรจะอยู่กับปัจจุบันไม่ใช่อดีตหรืออนาคต เพราะ
อดีตนั้นผ่านเลยไปแล้ว ไม่กลับคืนมาส่วนอะไร ที่เป็นอนาคต ก็ไกลเกินกว่าที่เราจะคาดถึง จน
กว่าอนาคตนั้นจะกลับกลายมาเป็นปัจจุบัน การจดจำอดีต และการคิดถึงอนาคต แม้จะมีความ
สำคัญ แต่ก็เป็นเพียงส่วนที่ช่วยเราในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนิสัยของจิต ที่คอยแต่จะวิ่งไปที่โน่น ที่นี่ได้ฝังลึกมานานแล้ว จิตจึง
คอยแต่จะหลบหนีจากความเป็นจริงในปัจจุบันไปสู่อดีตหรืออนาคตที่คาดไม่ถึงอยู่ตลอดเวลา
จึงเป็นจิตที่ไม่สงบ เร่าร้อน และทุกข์ทรมานอยู่เสมอ

วิธีการที่ท่านกำลังเรียนรู้ และฝึกปฏิบัตินี้ เรียกว่า ศิลปะแห่งการดำรงชีวิตซึ่งสอนให้ท่าน
อยู่กับความเป็นจริง ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น ก้าวแรกที่จะต้องเรียนรู้ก็คือ ทำอย่างไรจึงจะ
อยู่กับความเป็นจริงในปัจจุบัน ซึ่งจะทำได้ก็โดยการทำจิตให้อยู่กับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นใน
ปัจจุบัน นั่นก็คือการระลึกรู้ถึงลมหายใจที่เข้าออกผ่านช่องจมูก หรืออานาปานสติ ซึ่งเป็นสภาพ
ความเป็นจริง ที่เกิดขึ้นในทุกขณะเมื่อใดที่จิตหลุดลอยออกไปคิดถึงเรื่องอื่น ก็ขอให้ยิ้มรับกับ
ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น โดยไม่ขุ่นข้อง เพราะนิสัยดั้งเดิมของจิต นี่มักจะเป็นเช่นนี้เสมอทันทีที่
เรารู้ว่า จิตหลุดลอยออกไปท่องเที่ยว จิตก็จะกลับมาระลึกรู้ถึงลมหายใจเข้าออก อย่างเป็น
ธรรมชาติโดยอัตโนมัติตามที่ได้ทราบแล้วว่า จิตมีนิสัยชอบท่องเที่ยวไปตามที่ต่างๆ โดยรู้สึก
นึกคิดไปในเรื่องของอดีตและอนาคต ซึ่งความรู้สึกนึกคิดนี้เป็นแบบใดเล่า วันนี้เราก็ได้ประจักษ์
ด้วยตัวเราเองแล้วว่า ความรู้สึกนึกคิดของจิตที่เกิดขึ้น ไม่ลำดับเหตุการณ์จับต้นชนปลายไม่ถูก
พฤติกรรมของความรู้สึกนึกคิดในลักษณะนี้ ถือได้ว่าจิตมีลักษณะที่ไม่ปกติ เป็นอาการของโรค
ประสาทโดยทั่วไปแล้วคนเรามักจะมีความสับสน มีความเขลา มีความหลงผิด มีโมหะ หรือสิ่ง
อื่นๆในลักษณะนี้ คล้ายกันทุกคน จะแตกต่างกันก็แต่เพียงว่า มีมากหรือน้อยกว่ากันเท่านั้น

ในกรณีที่จิตท่องเที่ยวไปในความรู้สึกนึกคิด มีลักษณะเป็นเรื่องราวต่อเนื่องกัน อาจจะเป็น
เรื่องราวที่เราพอใจ หรือไม่พอใจก็ได้ถ้าเป็นเรื่องราวที่เราพอใจ จิตก็จะมีปฏิกิริยาตอบสนอง
และปรุงแต่งว่าชอบ ซึ่งจะพัฒนาไปสู่ความอยากได้ หรือโลภะ และความยึดติดหรืออุปาทาน
อันเป็นราคะกิเลสแต่ถ้าความรู้สึกนึกคิดนี้ เป็นเรื่องราวที่เราไม่พอใจ จิตก็จะมีปฏิกิริยาตอบ
สนอง และปรุงแต่งว่าไม่ชอบ ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นความโกรธ ความเกลียดอันเป็นโทสะกิเลส
ด้วยเหตุนี้ การชอบท่องเที่ยวของจิต โดยรู้สึกนึกคิดไปในเรื่องต่างๆดังกล่าว ความนึกคิดนั้น
จึงมีทั้งเรื่องที่จิตชอบและไม่ชอบอยู่ตลอดเวลา เป็นสาเหตุที่ทำให้จิตมีปฏิกิริยาปรุงแต่งอยู่
ตลอดเวลาเช่นกันและผลลัพธ์สุดท้าย ที่ได้จากการปรุงแต่งก็คือ เกิดความโลภ ความโกรธ และ
ความหลง ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นตัวกิเลสที่ทำให้เราเกิดทุกข์ เป้าหมายของการฝึกปฏิบัติกรรมฐาน
ด้วยวิธีอานาปานสตินี้ ก็เพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์ปลดปล่อยจิตให้พ้นจากความทุกข์ การฝึก
ปฏิบัติจะช่วยให้สามารถขจัดกิเลสภายในใจออกไปได้เรื่อยๆ เป็นเสมือนการผ่าตัดเข้าไปใน
ระดับลึกถึงจิตไร้สำนึก หรือภวังคจิต เพื่อขจัดกิเลสที่ซับซ้อนและซ่อนเร้นอยู่ภายในจิตของเรา

แม้เพียงขั้นแรกของการปฏิบัติกรรมฐานด้วยวิธีนี้ ก็จะเป็นการทำจิตให้สงบและบริสุทธิ์ได้
โดยอาศัยการสังเกตลมหายใจเข้าออก ท่านไม่เพียงแต่ทำจิตให้ตั้งมั่นเท่านั้น หากแต่ยังเป็น
การทำจิตให้บริสุทธิ์ด้วยบางทีตลอดทั้งวันนี้อาจจะมีสักสองสามขณะ ที่จิตมีสมาธิแน่วแน่อยู่
กับลมหายใจ ช่วงเวลาดังกล่าวมีพลังมากพอที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมเดิมของจิตได้ เพราะขณะ
นั้นจะเป็นช่วงที่จิตได้ระลึกรู้อยู่แต่กับความเป็นจริงของปัจจุบัน นั่นคือการจดจ่ออยู่กับลมหาย
ใจ ที่ผ่านเข้าออกทางช่องจมูก สังเกตสภาวธรรมของลมหายใจเพียงอย่างเดียว จิตจะหยุด
การปรุงแต่ง ไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบใดๆ จิตจึงเป็นอิสระ พ้นจากกิเลสทั้ง ๓ อันได้แก่ โลภะ -
โทสะ - โมหะ หรือ โลภ โกรธ หลง ช่วงขณะนั้น

จิตจะมีความบริสุทธิ์ และมีพลังแรงกล้า ความบริสุทธิ์ของจิตสำนึกจะไปกระทบกับกิเลสดั้ง
เดิม หรืออนุสัยกิเลส ซึ่งเป็นความไม่บริสุทธิ์ที่สะสมอยู่ภายในจิตไร้สำนึก หรือภวังคจิต ทำให้
เกิดเสมือนหนึ่งแรงระเบิด ก่อความสั่นสะเทือนให้อนุสัยกิเลสที่สะสมเกาะติดอยู่ในสันดานดั้ง
เดิม หลุดออกจากการยึดเกาะในลักษณะต่างๆกัน ในช่วงขณะนั้น เราจะเกิดอาการของความไม่
สบายกายไม่สบายใจ อาจเกิดอาการจิตสับสนฟุ้งซ่าน มีความวิตกถึงปัญหาต่างๆ และที่สุดอาจ
จะเกิดความสงสัย และวิตกกังวลต่อความยากลำบาก ที่จะปฏิบัติต่อไป ซึ่งแท้จริงแล้ว สิ่งที่เกิด
ขึ้นเหล่านี้ เป็นสัญญาณที่บอกให้ทราบว่า การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้เดินมาถูกทางแล้ววิธี
การนี้เริ่มให้ผลแล้ว และการผ่าตัดให้ลึกลงไปในจิตไร้สำนึกได้เริ่มขึ้นแล้ว

หนองร้ายที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในร่างกาย กำลังจะไหลออกมาจากแผลที่เรื้อรัง วิธีการนี้ เป็นวิธี
การที่ไม่ง่าย และไม่สะดวกสบายนัก แต่ก็เป็นวิธีการเดียวที่จะบ่งเอาหนองร้าย หรือกิเลสออก
มาได้ หากปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง ความรู้สึกยากลำบาก ความไม่สะดวก และความไม่
สบาย ก็จะค่อยๆหายไป การปฏิบัติในวันต่อๆไป ก็จะง่ายขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาต่างๆ ก็จะค่อยๆ
หมดไป ทีละเล็กทีละน้อยไม่มีใครสามารถทำงานนี้ให้กับเราได้เราจะต้องทำด้วยตัวของเรา
เองเราจะต้องค้นหาความเป็นจริงภายในตัวของเราเอง เราจะต้องปลดเปลื้องกิเลสด้วยตนเอง

๑. ในระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เราปฏิบัติอยู่แต่ภายในห้องปฏิบัติเท่านั้นหากไป
ปฏิบัติข้างนอก หรือที่กลางแจ้ง จะทำให้กระทบกับแดดและลม ซึ่งจะเป็นเครื่องรบกวน ทำให้
เราไม่สามารถสังเกตลึกเข้าไปภายในจิตใจของเราเองได้อย่างละเอียดแต่ในระหว่างพัก ถ้า
อยากจะออกไปเดินข้างนอกก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายในบริเวณที่กำหนดให้ ขอให้ระลึกว่า เมื่อเรา
กำลังผ่าตัดจิตใจของเราเอง เราก็ควรจะอยู่แต่ภายในบริเวณห้องผ่าตัดเท่านั้น

๒. ขอให้พยายามอยู่ให้ตลอดการฝึก ไม่ว่าจะรู้สึกยากลำบากสักเพียงใด หากมีปัญหาเกิดขึ้น
ในระหว่างการปฏิบัติ ก็ขอให้ระลึกถึงความตั้งใจอันนี้ไว้ให้มั่น เพราะการปฏิบัติอย่างครึ่งๆ
กลางๆ อาจเป็นอันตรายกับตัวท่านได้

๓. ขอให้ตั้งใจปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และข้อกำหนดต่างๆ ที่สำคัญที่สุด คือกฎเรื่องความเงียบ
นอกจากนี้ ก็ขอให้ปฏิบัติตามกำหนดตารางเวลาที่ให้ไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชั่วโมงปฏิบัติรวม
ขอให้มาปฏิบัติร่วมกันที่ห้องปฏิบัติรวม ที่กำหนดไว้วันละ ๓ ครั้ง ครั้งละ ๑ ชั่วโมงทุกครั้ง

๔. จงพยายามอย่ารับประทานอาหารให้มากเกินไป อย่ายอมแพ้ต่อความง่วง และไม่พูดจาโดย
ไม่จำเป็น

๕. ขอให้ปฏิบัติตามคำสอนแต่ละวันโดยเคร่งครัด ในระหว่างการฝึกขอให้เลิกคิดถึงสิ่งที่เคย
ได้อ่าน หรือเคยเรียนรู้มาจากที่อื่นการนำวิธีการต่างๆมาผสมกัน จะทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้หาก
มีสิ่งใดที่ไม่เข้าใจ ก็ขอให้สอบถามอาจารย์ผู้ฝึกสอนให้เข้าใจชัดเจน เพื่อที่ท่านจะได้รับความ
สำเร็จ และได้พบกับความสงบสุขอันแท้จริง

๖. ขอให้ท่านใช้เวลานี้ ใช้โอกาสนี้ และใช้วิธีการที่ได้รับการฝึกสอนนี้ให้เป็นประโยชน์ให้มาก
ที่สุด เพื่อปลดปล่อยตัวท่านเองให้หลุดพ้นจากพันธนาการของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และได้พบ
กับความสงบ ความสมดุล และความสุขที่แท้จริง

วันที่ ๒

แม้ว่าจะดีขึ้นกว่าวันแรกเล็กน้อย แต่ความยากลำบากก็ยังคงมีอยู่จิตยังเร่าร้อนวุ่นวาย
และพลุ่งพล่าน ไม่สงบ เหมือนโคถึกที่บ้าคลั่ง หรือช้างตกมันที่บุกเข้ามาเหยียบย่ำทำลายบ้าน
เรือนคน ซึ่งถ้าหากมีใครที่ฉลาด สามารถฝึกสัตว์ที่บ้าคลั่งและตกมันเหล่านี้ให้เชื่องได้ ก็จะได้
พละกำลังของสัตว์ที่เคยใช้ในการทำลายให้กลับมาเป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ต่อสังคม
เช่นเดียวกัน

จิตของเรานั้นมีพลังมากกว่าช้างสารตกมันเสียอีก เราจึงจำเป็นที่จะต้องทำให้มันเชื่อง และฝึก
ฝน เพื่อให้พลังอันมหาศาลของจิต กลับมาเป็นประโยชน์ต่อตัวเราหากแต่เราจะต้องใช้ความ
พยายามในการฝึกอย่างต่อเนื่อง ด้วยความอดทน เพราะความต่อเนื่องในการปฏิบัติ คือเคล็ด
ลับของความสำเร็จ ท่านจะต้องฝึกฝนด้วยตนเอง ไม่มีใครปฏิบัติแทนท่านได้ ผู้ที่บรรลุธรรม
แล้ว อาจจะบอกวิธีปฏิบัติให้ท่านทราบ ด้วยความรักและเมตตา แต่ก็ไม่อาจจะแบกใครขึ้นบ่า
พาไปถึงจุดหมายปลายทางได้ ท่านจะต้องก้าวเดินไปด้วยตนเอง ต่อสู้ด้ววยตนเอง ฝึกฝนอบรม
ใจเพื่อความหลุดพ้นของตนเอง เมื่อท่านเริ่มปฏิบัติ ท่านจะได้รับแรงเสริมจากธรรมะ แต่ท่านก็
ยังจะต้องใช้ความเพียรพยายามเอาเอง ต้องเดินไปให้ตลลอดทางด้วยตัวของท่านเอง จงทำ
ความเข้าใจกับเส้นทางที่ท่านได้เริ่มเดินมาแล้ว

พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า
- การละเว้นความชั่ว
- การทำแต่ความดี
- การทำใจให้บริสุทธิ์

นี้คือคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์

ทางสายนี้ เป็นทางสายสากลที่ชนทุกชาติทุกศาสนาจะปฏิบัติได้ ปัญหาจะมีก็แต่เพียง การตี
ความหมายในเรื่องของบาปและบุญถ้าแก่นสารของธรรมะถูกเข้าใจผิดไปก็จะกลายเป็นเรื่อง
ของลัทธินิกาย เพราะแต่ละนิกายต่างก็จะให้นิยามของคำว่าบาป-บุญไป ต่างๆกัน อย่างเช่น
บุญมีลักษระอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือบุญคือการทำพิธีกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเป็นความ
เชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นการตีความหมาย

ตามลัทธิที่คนบางหมู่บางพวกยอมรับนับถือ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะยอมรับนับถือเช่นเดียวกัน
ทั้งหมด ที่จริงนั้น ธรรมะก็ได้ให้คำนิยามที่เป็นสากล สำหรับคำว่าบาปและบุญอยู่แล้ว นั่นคือ
พฤติกรรมใดก็ตาม ที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นการรบกวนสันติสุข และความสามัคคีของผู้อื่น
พฤติกรรมนั้นล้วนเป็นบาป ตรงกันข้ามกับพฤติกรรมใด ที่เป็นการช่วยเหลือผู้อื่น ส่งเสริมให้
ผู้อื่นมีความสงบสุข และความสามัคคี พฤติกรรมเหล่านี้เป็นบุญ คำนิยามนี้ มิใช่เป็นไปตาม
ลัทธิศาสนาใดๆ แต่เป็นไปตามกฎของธรรมชาติมากกว่า ตามกฎธรรมชาตินั้น คนเราจะไม่
กระทำสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น หากไม่เกิดกิเลส เช่นเกิดความโกรธ ความกลัว ความเกลียด
ชัง ฯลฯ ขึ้นในใจ

เมื่อใดก็ตามที่คนเราเกิดกิเลสขึ้นในใจ คนๆนั้นก็จะเป็นทุกข์เหมือนตกนรกในทำนองเดียว
กัน คนเราจะไม่ทำสิ่งใดที่จะเป็นการช่วยเหลือผู้อื่น หากไม่เกิดความรักความพอใจ หรือความ
ปรารถนาดีขึ้นมาก่อน ทันทีที่เราเริ่มพัฒนาคุณภาพจิตให้บริสุทธิ์เราก็จะมีความสงบสุขเกิด
ขึ้นในใจ เหมือนกับได้ขึ้นสวรรค์ ดังนั้นเมื่อท่านช่วยผู้อื่น ก็เท่ากับท่านได้ช่วยตัวของท่านเอง
ไปด้วยในเวลาเดียวกัน

หรือถ้าท่านทำร้ายผู้อื่น ก็เท่ากับท่านทำร้ายตนเองไปด้วย นี่คือธรรมะ สัจธรรมเป็นกฎสากล
ของธรรมชาติ

วิถีแห่งธรรมะ เรียกว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ บุคคลใดที่เดินไปตามเส้นทางสายนี้ คือบุคคลผู้มี
จิตอันประเสริฐ เป็นอริยบุคคล ทางสายนี้ แบ่งออกได้เป็น ๓ หมวดคือ ศีล สมาธิ และปัญญา
ศีล คือจริยธรรมอันเกิดจากการงดเว้นจากการประพฤติผิดทั้งทางกายและวาจา สมาธิ คือการ
ปฏิบัติ เพื่อควบคุมจิตใจ การฝึกทั้ง ๒ หมวดไปพร้อมๆกัน จะช่วยให้ปฏิบัติได้ดีขึ้น แต่ทั้งศีล
และสมาธิ ก็ยังไม่สามารถขจัดกิเลสที่เกาะกุมจิตใจให้หมดไปได้

ดังนั้นจึงต้องมีการฝึกในหมวดที่ ๓ อันได้แก่ ปัญญา ซึ่งเป็นการพัฒนาสติปัญญา และ
วิปัสสนาญาณ เพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจด ในหมวดของศีล ประกอบด้วยอริยมรรค ๓
ประการ คือสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ซึ่งแต่ละข้อ มีความหมายดังนี้

๑. สัมมาวาจา คือวาจาชอบ ได้แก่ การกระทำทางวาจาที่สุจริต ในการทำความเข้าใจว่า
ความสุจริตทางวาจาคืออะไรนั้น เราต้องรู้เสียก่อนว่า วาจาที่ไม่สุจริต คือ อะไร นับตั้งแต่การ
พูดเท็จเพื่อหลอกลวงผู้อื่น พูดหยาบคายให้ผู้อื่นเจ็บใจ พูดส่อเสียดให้ร้ายและพูดเพ้อเจ้อเหล่า
นี้ล้วนแต่เป็นการกระทำทางวาจาที่ไม่สุจริต หากผู้ใดละเว้นการกล่าววาจาที่ไม่ดีเหล่านี้ได้ ก็จะ
เป็นผู้ที่มีวาจาชอบ

๒. สัมมากัมมันตะ คือประฤติชอบ ได้แก่ การกระทำทางกายที่สุจริต ในทางธรรมะนั้น สิ่งที่
ถือเป็นบรรทัดฐาน ที่จะวัดความสุจริตของการกระทำ ก็คือดูว่า การกระทำนั้นเป็นการช่วยเหลือ
ผู้อื่น หรือทำให้เกิดผลร้ายต่อผู้อื่น ซึ่งการกระทำเหล่านี้ อาจจะเป็นการกระทำทางกาย ทาง
วาจาหรือทางใจก็ตาม ดังนั้น การฆ่าสัตว์หรือทำลายชีวิต การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม
และการดื่มเครื่องดองของเมา จนไม่รู้สึกตัว จึงล้วนเป็นการกระทำที่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น และ
เป็นอันตรายต่อตนเองด้วย หากผู้ใดละเว้นการกระทำเหล่านี้แล้ว ผู้นั้นก็จะเป็นผู้ประพฤติชอบ

๓. สัมมาอาชีวะ คือเลี้ยงชีพชอบโดยปกติแล้ว คนทุกคนมีการหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว
โดยทางใดทางหนึ่ง แต่ถ้าการหาเลี้ยงชีพนั้น กลับเป็นอันตรายแก่ผู้อื่นก็จะไม่เป็นการมีอาชีพที่
ชอบบางครั้งในการประกอบอาชีพ ตนเองอาจจะไม่ได้กระทำสิ่งที่ผิด แต่การกระทำของตนเอง
นั้น ไปส่งเสริมให้ผู้อื่นกระทำผิด อันนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นการทำอาชีพที่ชอบ ตัวอย่างเช่น ขายสุรา
ขายอาวุธ ขายสัตว์ ขายมนุษย์ เปิดบ่อนการพนัน เหล่านี้ล้วนมิใช่สัมมาอาชีพ และถึงแม้อาชีพ
ที่ประกอบอยู่จะจัดอยู่ในประเภทสัมมาอาชีพ แต่ผู้ประกอบการกลับมีพฤติ-กรรมที่เอารัดเอา
เปรียบผู้อื่น การประกอบอาชีพของผู้นั้น ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นสัมมาอาชีพและไม่อาจพูดได้ว่า
เลี้ยงชีพชอบ ตรงกันข้าม หากเป็นการกระทำที่มีส่วนสร้างสรรค์สังคม เป็นการสละความรู้
ความชำนาญของตนให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมโดยได้รับผลตอบแทนเพียงพอ ที่จะทำให้
ตนเองและครอบครัวดำเนินไปได้ เช่นนี้จึงจะเรียกว่า บุคคลผู้นั้นเลี้ยงชีพชอบ ผู้ครองเรือน
ทุกคน ต่างต้องการเงินมาใช้เลี้ยงตนเองและครอบครัว

อันตรายจะเกิดขึ้นก็เมื่อการหาเงินนั้น ทำให้เกิดอัตตาเพิ่มขึ้น โดยการพยายามที่จะเก็บสะสม
เงินไว้ให้มากที่สุด และรู้สึกดูแคลน คนที่หาเงินได้น้อยกว่าทัศนคตินี้ จะเป็นอันตราย ทั้งต่อ
ตนเองและผู้อื่น เพราะยิ่งมีอัตตามากเท่าไร คนก็จะยิ่งหลุดพ้นยากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นการดำรง
ชีวิตที่ถูกต้องจึงควรมีการให้ทาน คือการแบ่งปันรายได้ให้กับผู้อื่น ซึ่งเท่ากับว่า เรามิได้หา
เงินมาเพียงเพื่อประโยชน์ของตนเองเท่านั้น หากแต่ยังทำเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นด้วย

หากธรรมะเป็นเพียงคำสอน ที่ให้ละเว้นจากการกระทำที่เป็นอันตรายต่อผู้อื่นเท่านั้นธรรมะ
นั้นก็จะไม่ให้ผลเลิศเลออะไรนัก ผลอันเลอค่าของธรรรมะจะต้องสอนให้เราทั้งไม่ทำร้ายผู้อื่น
และไม่ทำร้ายตนเองด้วย โดยทั่วไป เราก็เข้าใจกันดีอยู่แล้วถึงผลร้ายที่เกิดจากการทำความชั่ว
และผลดีที่จะได้จากการทำความดี และถึงแม้ว่า เราจะเห็นความสำคัญของศีล และเราได้ให้
ความเคารพนับถือแก่ท่านผู้ให้คำอบรมสอนสั่ง แต่บ่อยครั้งที่เราก็ยังประพฤติผิดศีลอยู่ทั้ง
นี้เพราะเราขาดสมาธิที่เข้มแข็ง ที่จะควบคุมจิตใจให้อยู่ในศีล ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้
หมวดที่ ๒ ของมรรค คือหมวดสมาธิ มาพัฒนาควบคุมจิตใจ ในหมวดของสมาธินั้น
ประกอบด้วยอริยมรรค ๓ ประการ คือ สัมมา วายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ซึ่งแต่ละข้อ
มีความหมายดังนี้

๔. สัมมาวายามะ คือเพียรชอบ ได้แก่การฝึกอบรมจิต ซึ่งจะทำให้ ท่านเห็นความอ่อนแอ และ
ความไม่มั่นคงของจิตที่ชอบเปลี่ยนจากสิ่งหนึ่งไปยังอีกสิ่งหนึ่ง จิตเช่นนี้ จึงต้องการการ
ฝึกหัด ให้มีความเข้มแข็ง การฝึกหัดมี ๔ วิธี คือ

๑. ขจัดสิ่งที่ไม่ดีออกจากจิตใจ
๒. ปิดกั้นมิให้สิ่งไม่ดีเข้ามาในจิตใจ
๓. รักษาและเพิ่มพูนสิ่งที่ดี ที่มีอยู่ในจิตใจ และ...
๔. เปิดรับสิ่งที่ดี ที่ยังขาดอยู่ เข้าไว้ในจิตใจ
เมื่อท่านได้ฝึกจิต ให้มีสติระลึกรู้ ถึงลมหายใจเข้าออก หรือวิธีการแบบอานาปานสติ ก็เท่ากับ
ท่านได้เริ่มต้นฝึกหัดในสิ่งเหล่านี้แล้ว

๕. สัมมมาสติ คือระลึกชอบ ได้แก่ การที่มีความระลึกรู้อยู่แต่กับปัจจุบันสำหรับอดีต เป็นแต่
เพียงความทรงจำ และอนาคตเป็นแต่เพียงความปรารถนาความกลัว และความนึกฝันเท่านั้น
ท่านจะเริ่มฝึกสัมมาสติได้ ก็โดยการฝึกตนเองให้รู้สึกถึงสิ่งที่กำลังปรากฏเด่นชัดอยู่ในปัจจุบัน
เท่านั้น ภายในขอบเขตอันจำกัดที่บริเวณช่องจมูก ท่านจะต้องรักษาสติให้อยู่กับความเป็นจริง
ทั้งหมด ตั้งแต่ความเป็นจริงทั่วๆไป ที่แลเห็นง่าย จนถึงความเป็นจริงขั้นละเอียดที่สุดท่านจะ
ต้องเริ่มต้น โดยการสังเกตลมหายใจ.... ลมหายใจที่ท่านตั้งอกตั้งใจหายใจเข้าหายใจออก แล้ว
จึงค่อยๆผ่อน มาเป็นลมหายใจที่นุ่มนวลตามธรรมชาติ จากนั้นก็เฝ้าสังเกตดูสัมผัสของลมหาย
ใจว่า ลมหายใจที่ผ่านเข้าออกนั้น ไปสัมผัสที่ตรงไหนบ้างต่อมา ท่านก็จะมุ่งความสนใจไปยังสิ่ง
ที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก นั่นก็คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ภายในขอบเขตบริเวณที่จำกัด
ไว้นี้ ซึ่งท่านอาจรู้สึกถึงอุณหภูมิของลมหายใจ ที่ค่อนข้างจะเย็น ในขณะที่ลมหายใจเข้า และ
รู้สึกถึงอุณหภูมิของลมหายใจ ที่ค่อนข้างจะอุ่น เมื่อหายใจออก

นอกจากนี้ ก็อาจจะยังมีความรู้สึกอื่นๆ เกิดขึ้นอีกนับไม่ถ้วน ที่ไม่เกี่ยวกับลมหายใจเช่นความ
รู้สึกร้อน หนาว คัน เนื้อเต้น สั่นสะเทือน มีอาการเหมือนมีอะไรมากด มีความเครียด มีอาการ
ปวดเมื่อย เป็นต้น

ท่านไม่อาจจะเลือกให้เกิดเฉพาะความรู้สึกชนิดใดชนิดหนึ่งได้ เพราะท่านไม่สามารถสร้าง
ความรู้สึกเหล่านี้ขึ้นได้เอง ท่านจึงเพียงแต่สังเกตดู โดยมีสติระลึกรู้อยู่เท่านั้นความรู้สึกที่เกิด
ขึ้นเหล่านี้ จะเรียกว่าอะไรก็ไม่สำคัญ สิ่งที่สำคัญก็คือการ มีสติระลึกรู้ถึงสภาวะความเป็นจริง
ของความรู้สึกเหล่านี้ โดยที่เราไม่ต้องไปปรุงแต่งใดๆทั้งสิ้นลักษณะนิสัยของจิต ที่คอยแต่จะ
นึกไปถึงอนาคต หรือคิดย้อนสู่อดีตอยู่ตลอดเวลานั้นคือตัวการที่ทำให้เกิดโลภะและโทสะขึ้นมา

การฝึกฝนให้มีความระลึกชอบก็เท่ากับ เป็นการทำลายนิสัยนี้ แต่มิใช่ว่าหลังจากการอบรม
ครั้งนี้แล้ว ท่านจะลืมอดีตจนหมดสิ้น หรือไม่มีความนึกคิดไปถึงอนาคตก็หาไม่ เพียงแต่ตาม
ความเป็นจริงนั้น ท่านมักจะเสียเวลาไปกับการนึกถึงอดีตและอนาคตโดยไม่จำเป็น จนกระทั่ง
บางครั้งถึงกับลืมสิ่งที่กำลังจะทำไปเลยการพัฒนาสัมมาสติ จะทำให้ท่านได้เรียนรู้ ถึงการ
กำหนดจิตให้มั่นคงอยู่กับความเป็นจริงในปัจจุบัน และท่านก็จะพบว่า ท่านสามารถจะเรียก
อดีตกลับคืนมาได้เมื่อท่านต้องการ และสามารถวางอนาคตให้เหมาะสมได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่ง
จะนำความสุขและความไพบูลย์ให้กับชีวิตของท่าน

๖. สัมมาสมาธิ คือตั้งมั่นชอบ ได้แก่ การมีจิตตั้งมั่น แต่จิตตั้งมั่นเพียงอย่างเดียวมิใช่เป้าหมาย
ของการฝึกครั้งนี้สมาธิที่ท่านพัฒนาขึ้นมา จะต้องมีความบริสุทธิ์เป็นพื้นฐานคนเราอาจมีจิต
ตั้งมั่นอยู่ในกิเลส เช่น โลภะ โทสะ หรือโมหะ ก็ได้ ซึ่งไม่ใช่สัมมาสมาธิ เราจะต้องตระหนัก
ถึงความเป็นจริง ที่กำลังปรากฏอยู่ภายในกายเราโดยไม่มีความรู้สึกพอใจหรือไม่พอใจ เมื่อเรา
สามารถรักษาความมีสติระลึกรู้ ให้ต่อเนื่องอยู่ทุกขณะได้ จึงจะเรียกว่ามีสัมมาสมาธิ การรักษา
ศีล ๕ อย่างเคร่งครัดเท่ากับท่านได้ปฏิบัติในหมวดของศีล และการฝึกฝนจิตให้จดจ่ออยู่แต่
กับความเป็นจริงในปัจจุบัน โดยไม่ต้องมีอารมณ์พอใจ หรือไม่พอใจ เท่ากับท่านได้เริ่มพัฒนา
สมาธิ ขอให้ท่านปฏิบัติด้วยความขยันหมั่นเพียร เพื่อขัดเกลาจิตใจของท่าน เพื่อที่เมื่อท่าน
เริ่มฝึกปัญญา ท่านจะสามารถเข้าถึงส่วนลึกของจิตไร้สำนึก หรือภวังคจิต ได้มีโอกาสขจัด
กิเลสที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในภวังคจิต แล้วท่านจะได้พบกับความสุขที่แท้จริง คือความสุขจากการ
หลุดพ้นจากความทุกข์
การเดินไปบนมรรคาแห่งความหลุดพ้นนี้ เราต้องเริ่มที่การรักษาศีล โดยละเว้นจากการทำร้าย
ผู้อื่น ด้วยกาย วาจา และใจ และถึงแม้ว่า เราจะไม่ได้ทำร้ายผู้อื่น หรือทำให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อน
แต่ เราก็อาจทำร้ายตัวของเราเองด้วยการสร้างกิเลสขึ้นในใจ

ดังนั้น เพื่อป้องกันการทำร้ายตนเอง จากการสร้างกิเลสขึ้นในใจนี้ เราจึงต้องมาฝึกสมาธิเพื่อ
เรียนรู้การควบคุมจิตใจ ให้รู้จักระงับกิเลสที่จะเกิดขึ้นและการระงับกิเลสนั้น หาได้เป็นการขจัด
กิเลสไม่ เพราะกิเลสจะยังคงมีอยู่ในจิตไร้สำนึก หรือภวังคจิต และมีแต่จะพอกพูนขึ้น ทั้งยังคง
ทำลายเราต่อไป

ดังนั้น เมื่อได้เรียนรู้การปฏิบัติธรรมในหมวดที่ ๑ เกี่ยวกับเรื่องศีลและในหมวดที่ ๒ เรื่อง
สมาธิแล้ว เราก็มาถึงการปฏิบัติธรรมในหมวดที่ ๓ ซึ่งเกี่ยวกับปัญญา เราจะไม่ปล่อยให้กิเลส
เกิดได้ตามสบาย หรือขณะเดียวกันก็จะไม่ไประงับกิเลสเอาไว้ แต่จะปล่อยให้กิเลสได้ปรากฏตัว
ออกมา แล้วก็ขจัดกิเลสเหล่านั้นให้หมดไป เมื่อกิเลสได้ถูกขจัดให้หมดไปแล้ว จิตก็จะบริสุทธิ์
ชึ้นและเมื่อจิตบริสุทธิ์แล้ว เราก็ไม่ต้องใช้ความพยายามใดๆ ที่จะหลีกเลี่ยงจากการกระทำ ที่
เป็นอันตรายต่อผู้อื่น เนื่องจากธรรมชาติของจิตที่บริสุทธิ์นั้น จะเต็มไปด้วยความปรารถนาดี
และมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และในเวลาเดียวกัน ก็จะไม่ทำการใด ที่จะทำให้เกิดผลร้ายแก่
ตนเอง ซึ่งจะเป็นการนำความสุข ความไพบูลย์ มาสู่ชีวิตของเรา

ดังนั้น แต่ละย่างก้าวในเส้นทางสายนี้ จะนำเราไปสู่ขั้นตอนที่สูงยิ่งๆขึ้นไปเสมอศีลจะนำไปสู่
การพัฒนาสมาธิ คือความตั้งมั่นชอบสมาธิ ก็จะนำไปสู่การพัฒนาปัญญา อันจะนำให้จิตบริสุทธิ์
ปัญญาก็จะนำไปสู่นิพพาน คือความหลุดพ้นจากกิเลสและได้รู้แจ้ง ในสัจธรรม
ในหมวดของปัญญา ประกอบด้วย อริยมรรค ๒ ประการ คือ สัมมาสังกัปปะ และ สัมมาทิฐิ
ซึ่งมีความหมายดังนี้

๗. สัมมาสังกัปปะ ได้แก่ ความดำริชอบ ในการที่จะพัฒนาปัญญาให้เกิดขึ้นนั้น เราไม่จำเป็น
จะต้องหยุดกระบวนการความคิดใดๆ ความคิดต่างๆยังคงดำเนินต่อไปได้ แต่รูปแบบการคิด
จะเปลี่ยนไป การที่เราฝึก จิตให้มีสมาธิ อยู่กับการหายใจเข้าออก สมาธิจะช่วยพัฒนาให้เรา
เกิดปัญญาขึ้นมา โดยจะทำให้รูปแบบของความคิด เริ่มเปลี่ยนไปในทางที่ถูกที่ควรมากขึ้นๆ
ซึ่งจะค่อยๆ เข้าไปแทนที่ความคิดดั้งเดิม ที่เต็มไปด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง เมื่อ
มาถึงจุดนี้แล้ว กิเลสหยาบที่มีอยู่ในระดับพื้นผิวของจิต ก็จะเริ่มหมดไป การดำริที่จะทำการ
ในสิ่งใดๆ ก็จะเป็นไปในทางที่ชอบ เป็นไปในทางธรรมะ เพื่อนำตนให้หลุดพ้น

๘. สัมมาทิฐิ ได้แก่ ความเห็นชอบที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปัญญาอันแท้จริง โดยมีความเห็น หรือ
ความเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามเนื้อแท้ของความเป็นจริง มิใช่ตามที่มันดูเหมือนจะเป็น

การพัฒนาปัญญา มีอยู่ ๓ ขั้นตอนด้วยกันคือ

ขั้นแรก เรียกว่า สุตมยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการได้ฟังและการได้อ่านซึ่งเป็นการเรียน
รู้เรื่องราวจากผู้อื่น โดยความรู้ที่ได้ จะเป็นประโยชน์มากในการนำมากำหนดแนวคิดของเรา
เอง อย่างไรก็ตาม สุตมยปัญญาก็ไม่อาจช่วยให้เราหลุดพ้นไปได้ เพราะเรื่องที่เราเรียนรู้มา
จากผู้อื่น จนเกิดความเชื่อขึ้นมา ว่าเป็นความจริงนั้น บางทีอาจจะเป็นความเชื่อที่งมงายหรือ
เป็นการเชื่อเพราะ ความกลัว เช่นกลัวว่าหากไม่เชื่อ แล้วจะตกนรกหรือบางครั้งก็เชื่ออย่างมี
อุปาทาน โดยหวังว่าหากเชื่อแล้ว จะได้ขึ้นสวรรค์ซึ่งความเชื่อดังกล่าว เป็นเพราะได้เรียนรู้มา
จากผู้อื่น หาได้เป็นความคิดเห็นอันเกิดจากปัญญาของตนเองไม่

ขั้นที่สอง เรียกว่า จินตามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจาก การนำเอาปัญญาในขั้นตอนแรก คือ
สุตมยปัญญา หรือปัญญาจากการได้ฟังและการได้อ่าน มาพินิจพิจารณา หาว่ามีเหตุผลที่
สมควรเชื่อถือได้หรือไม่ และสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ในทางพ้นทุกข์ได้หรือไม่ ถ้า
ได้ จึงจะยอมรับในการพัฒนาปัญญานั้น เมื่อมาถึงขั้นจินตามยปัญญาแล้ว หากหยุด ไม่พัฒนา
ต่อไป ก็อาจจะทำให้คิดว่า ตนเองเป็นคนมีปัญญาแล้ว ซึ่งการมีความคิดเช่นนั้น ก็เท่ากับไปเพิ่ม
อัตตาให้กับตนเอง และในส่วนนี้ แท้จริงแล้ว ตนเองนั้นยังห่างไกลจากการพ้นทุกข์อยู่อีกมาก
จึงจำเป็นต้องพิจารณาให้ก้าวหน้าต่อไปในขั้นที่สาม

ขั้นที่สาม เรียกว่า ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติ จนรู้แจ้งเห็นจริงด้วย
ตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นปัญญาที่แท้จริง การพัฒนาปัญญาที่เริ่มจากขั้นแรก คือ สุตมยปัญญา ซึ่ง
ได้แก่ การได้ฟังและได้อ่าน จากนั้นจะนำไปสู่การพัฒนาในขั้นที่สอง คือ จินตามยปัญญา ซึ่ง
ได้แก่ การใช้ความคิด พิจารณาหาเหตุผลในสิ่งที่ได้เรียนรู้มา ปัญญาทั้งสองนี้จะเป็นประโยชน์
มาก หากใช้เป็นแรงดลใจ และเป็นแนวทางให้ก้าวมาสู่ปัญญาขั้นที่สาม นั่นคือ ภาวนามยปัญญา
อย่างไรก็ตามการจะพัฒนาภาวนามยปัญญาขึ้นมาได้ ก็โดยการปฏิบัติเท่านั้น เพราะ

ภาวนา--มยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดกับตนเอง โดยการปฏิบัติด้วยตนเอง ปัญญา ๓ ขั้นตอน
ที่ได้อธิบาย ไว้ขั้นต้นนี้ แต่ละขั้น จะมีความแตกต่างกัน แต่เรื่องราวจะต่อเนื่องกัน เพื่อชี้ให้เห็น
ได้เด่นชัด ถึงความแตกต่างของปัญญาทั้ง ๓ ขั้นนี้ จะขอยกตัวอย่างให้เห็นดังนี้ ผู้ป่วยรายหนึ่ง
ได้ไปหาแพทย์ เพื่อตรวจรักษาเมื่อแพทย์ได้ทำการตรวจร่างกายเสร็จ ก็ได้ออกใบสั่งยา เมื่อ
ผู้ป่วยได้รับใบสั่งยาแล้ว ก็จะจดจำเฉพาะแต่ชื่อยา โดยที่ไม่ได้สนใจสอบถามแพทย์ ถึงสาเหตุ
ของการเจ็บป่วย และไม่ได้สนใจขอทราบคุณสมบัติของยา ตลอดจนเหตุผลที่แพทย์ได้สั่งให้
ตนใช้ยาชนิดนี้รับประทาน ผู้ป่วยเป็นแต่เพียงมีความเชื่อถือ และศรัทธาในตัวแพทย์ผู้ให้การ
ตรวจรักษา จึงเชื่อถือตัวยาที่แพทย์ออกใบสั่งให้ไปด้วย......ความคิดและความเชื่อในขั้นนี้
เรียกว่า สุตมยปัญญา เมื่อผู้ป่วยรับประทานยาตามใบสั่งแพทย์แล้ว ไม่หายจึงได้ไปหาแพทย์
อีก เมื่อแพทย์ทำการตรวจ ผู้ป่วยก็จะขอทราบสาเหตุของการเจ็บป่วย รวม ทั้งวิธีการป้องกัน
และเมื่อแพทย์ออกใบสั่งยาให้ ผู้ป่วยก็ขอคำอธิบายถึง คุณสมบัติของยา รวมทั้งจะขอทราบถึง
เหตุผล และความจำเป็น ที่ได้เลือกยาประเภทนี้ใช้รักษาตน.... ความคิดและการใช้ปัญญาใน
การพินิจพิจารณาถึงเหตุและผลในขั้นนี้ เรียกว่า จินตามยปัญญา และเมื่อผู้ป่วยเข้าใจตลอด
ถึงเหตุและผลของอาการเจ็บป่วยและการใช้ยาแล้ว ก็ได้กลับมารับประทานยา และปฏิบัติตน
ตามที่แพทย์แนะนำ จนกระทั่งหายจากอาการเจ็บป่วยนั้น

การปฏิบัติเช่นนี้ เป็นการใช้ปัญญาในขั้นที่สาม ซึ่งเป็นปัญญาในระดับที่พัฒนาความสามารถ
ควบคุมให้ตนเองกระทำการไปด้วยเหตุ ด้วยผลจนบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเรียกปัญญาขั้นนี้ว่า
ภาวนามย-ปัญญา


ท่านพัฒนาปัญญาได้ ก็ต้องเข้าใจถึงสภาวธรรมอันเป็นความจริง ด้วยประสบการณ์ของท่าน
เองเสียก่อน ความสับสนทั้งหลายที่มีอยู่ ล้วนเป็นสาเหตุมาจากการที่สิ่งต่างๆแลดูเหมือนจะ
เป็นอย่างหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงนั้น กลับกลายไปเป็นอีกอย่างหนึ่งการที่จะขจัดความสับสน
เหล่านี้ออกไป เราจะต้องพัฒนาปัญญาที่เกิดขึ้นภายในตัวของเราเอง

เราไม่อาจจะมีประสบการณ์กับสัจธรรมจากภายนอกร่างกายของเรา เราทำได้แต่เพียงคิด
พิจารณา หาเหตุผลเอาเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องพัฒนาความสามารถ ที่จะค้นหาสัจธรรม
ภายในตัวของเราเอง จากความจริงที่แลเห็นได้อย่างหยาบๆ ไปจนถึงสิ่งที่ละเอียดที่สุด เพื่อ
ให้หลุดพ้นจากความหลงผิดและพันธนาการทั้งปวง เราทุกคนต่างรู้ดีว่า ทั่วทั้งจักรวาล มีการ
เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่เสมอแต่ปัญญาที่ใช้พิจารณา จนเข้าใจถึงความเป็นจริงอันนี้เพียงอย่าง
เดียว ก็ยังไม่สามารถจะช่วยอะไรเราได้ เราจึงจำเป็นจะต้องมีประสบการณ์กับความเปลี่ยน
แปลงนั้นภายในตัวเราเอง

บางทีการที่มีเหตุการณ์น่าเศร้าเกิดขึ้นกับเรา เช่นคนข้างเคียง หรือคนที่เรารักตายลงก็อาจ
จะเป็นเหตุบังคับให้เราได้พบกับสัจธรรมของความไม่เที่ยง ทำให้เราได้พัฒนา ปัญญาขึ้นมา
ได้แลเห็นว่า การต่อสู้ดื้นรนเพื่อความสุขทางโลกหรือการทะเลาะเบาะ แว้งกับผู้อื่นนั้น ไม่มี
ประโยชน์อันใด แต่เมื่อวันและเวลาได้ผ่านไป จนเราลืมเลือน ต่อเหตุการณ์นั้นแล้ว ในไม่ช้า
นิสัยเก่าๆก็จะกลับมาอีกปัญญาที่ได้มา ก็จะค่อยๆ หายไป เนื่องจากปัญญานั้นมิได้เกิดขึ้นจาก
ประสบการณ์ภายในของเราโดยตรงเราไม่ได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับความไม่เที่ยงภายในตัว
ของเราเอง

ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่จีรัง มีการเกิดขึ้นและดับไปอยู่ทุกขณะ เป็นอนิจจังแต่ความรวดเร็ว
และความต่อเนื่องกัน ของกระบวนการเกิดดับ ทำให้เกิดเป็นภาพมายาว่า เที่ยงแท้เช่นเปลว
เทียนและแสงไฟจากหลอดไฟฟ้า ต่างก็มีการเกิดดับเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างสม่ำเสมอ ถ้าคนเรา
สามารถจับกระบวนการเปลี่ยนแปลงในตัวเรา อย่างที่เกิดกับเปลวเทียนและแสงไฟได้ โดย
อาศัยเวทนา หรือความรู้สึกที่เกิดกับกายของเราเอง เราก็จะหลุดพ้นจากภาพลวงตาได้ แต่หาก
เราไม่อาจจับได้ทัน เพราะการเเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับกระแสไฟฟ้า
การจะหลุดพ้นออกจากภาพลวงตา ก็เป็นไปได้ยากยิ่ง

เราอาจจะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาของสายน้ำไหลได้แต่เราจะเข้าใจ
ได้อย่างไร ว่าคนที่อาบน้ำอยู่ในแม่น้ำนั้น ก็มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะเช่นกัน วิธีเดียวที่จะ
ทำลายภาพลวงตาได้ก็คือ เราจะต้องเรียนรู้ ที่จะสำรวจให้ลึกเข้าไปภายในตัวของเราเอง จน
พบกับความจริง เกี่ยวกับโครงสร้างทั้งทางกายและจิตของเราเอง สิ่งนี้ เป็นสิ่งที่ พระสิทธัตถะ
โคตมะ ได้ทรงกระทำ และทำให้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ได้ทรงสลัดแนวความคิด
ดั้งเดิมทั้งหมด และทรงหันมาสำรวจภายในพระกายของ พระองค์เอง เพื่อค้นหาธรรมชาติอัน
แท้จริงของโครงสร้างทางร่างกายและจิตใจโดยเริ่มต้นตั้งแต่ ความเป็นจริงในระดับผิวเผินที่
เห็นได้ชัดเจน แล้วทะลุทะลวงลงไปยังระดับที่ ลึกที่สุด ซึ่งทำให้ทรงพบว่า โครงสร้างทาง
กายภาพทั้งหมด หรือโครงสร้าง ทางรูปทั้งหมด ล้วนแต่ประกอบขึ้นด้วยอนุปรมาณู ที่เรียก
ในภาษาบาลีว่า อัฐกลาปะ และแต่ละอนุปรมาณูนั้นประกอบไปด้วยธาตุทั้ง ๔ คือดิน น้ำ ลม ไฟ

และลักษณะย่อยของธาตุแต่ละธาตุนั้น ธาตุเหล่านี้จะเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของรูป หรือ
ร่างกาย ซึ่งตัวของมันเอง ก็เกิดและดับอยู่เสมอ อย่างรวดเร็วมาก เป็นล้านๆครั้งในเวลา ๑
วินาที ดังนั้น ตามความเป็นจริงแล้ว วัตถุทุกชนิดในโลก ล้วนไม่มีตัวตน ไม่เป็น อะไรอื่น นอก
จากการเผาไหม้ และกระแสของการสั่นสะเทือนกระเพื่อมไหว นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ก็ได้
ยืนยันการค้นพบของพระพุทธองค์ ว่าเป็นความจริง และได้พิสูจน์โดยการทดลองให้เห็นว่า
สสารทั้งหมดในจักรวาล เกิด ขึ้นจากการรวมตัวของอนุปรมาณู ซึ่งมีการเกิดขึ้นและดับไป
อย่างรวดเร็วตลอดเวลา

แต่อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ก็ยังไม่พ้นทุกข์ เพราะปัญญาของพวกเขาเกิด จาก
ความรู้ที่ได้มาจากเหตุและผลทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้รู้จากประสบการณ์ภายในกายของตนเอง
อย่างเช่นพระพุทธองค์ หากผู้ใดได้พบสัจธรรมในความไม่เที่ยงของตนเองแล้ว ผู้นั้นจึงจะ
เริ่มหลุดพ้นจากความทุกข์

เมื่อคนเราเริ่มเข้าใจคำว่า อนิจจัง หรือความไม่เที่ยง จากภายในกายตนแล้วก็จะส่งผลให้มี
ปัญญามองเห็น อนัตตา อันได้แก่ ความไม่มีตัวตน ไม่มีของตนทั้งภายในกาย และภายในจิตใจ
ว่า ไม่มีอะไรที่คงทนอยู่ได้เกินชั่วขณะหนึ่งไม่มีอะไรที่คนเราจะสามารถชี้ได้ว่า จะไม่เปลี่ยน
แปลง ไม่ว่าจะเป็นกายหรือจิตใจเพราะถ้ามีอะไรสักอย่าง ทึ่เป็นของเราจริงๆแล้ว เราก็จะต้อง
สามารถเป็นเจ้าของได้ ควบคุมและรักษาไว้ได้ แต่แท้จริงแล้ว คนเราไม่สามารถที่จะควบคุม
และรักษาอะไรไว้ได้เลย แม้แต่ร่างกายของเราเอง อวัยวะทุกส่วนมีการเปลี่ยนแปลงเสื่อมสลาย
อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าเราจะปรารถนาที่จะยื้อยุดให้คงทนไว้อย่างไร เมื่อได้เข้าใจ และมองเห็น
อนิจจังและอนัตตา แล้วต่อไปปัญญาขั้นที่สามก็จะพัฒนาขึ้นมา ทำให้เห็นทุกขัง คือความทุกข์
หากคนเราต้องการเป็นเจ้าของ หรือยึดถือในสิ่งที่มีความเปลี่ยนแปลง ที่เราไม่อาจจะควบคุม
ได้เราก็จะเพิ่มความทุกข์ให้กับตนเองมากขึ้น

โดยทั่วไป คนเรามักจะแบ่งแยกว่า ความทุกข์เป็นประสบการณ์ด้านที่ไม่ดีไม่สบาย แต่แท้
จริงแล้ว ความรู้สึกที่ดี ที่สบาย ก็อาจจะก่อให้เกิดความทุกข์ได้เช่นเดียวกัน ถ้าเราไปยึดติด
กับมันเข้า เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ก็ไม่เที่ยงแท้เช่นกัน การยึดติดอยู่กับสิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืน ย่อมจะ
ก่อให้เกิดความทุกข์เสมอเมื่อมีความเข้าใจแจ่มแจ้งในอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาแล้ว การใช้
ชีวิตประจำวันก็จะเป็นไปด้วยปัญญา ทำให้เราได้เรียนรู้ ที่จะมองเจาะผ่านผิวนอก เข้าไปถึง
ภายใน สามารถมองเห็นแก่นที่แท้จริง โดยไม่มีภาพลวงตาใดๆหลงเหลืออยู่ ซึ่งจะทำให้เรามี
ความสุขในชีวิต ภาพลวงตาต่างๆ เกิดขึ้นจากสิ่งหลายสิ่งที่มาปรากฏให้เห็น แล้วรวมตัวกัน
ประกอบกันขึ้นมา ให้ดูเหมือนกับว่า เป็นสิ่งที่เป็นจริง เช่นภาพ ลวงตาที่ทำให้แลเห็นความงาม
ของร่างกายเป็นต้น

ความจริงนั้น ร่างกายจะดูงามได้ ก็ต่อเมื่อมีอวัยวะส่วนต่างๆ มาประกอบกันขึ้นเป็นร่างกาย
แต่ส่วนต่างๆของร่างกายนี้ หากนำมาแยกออกทีละส่วน ก็จะไม่ชวนมอง ไม่มีความงามหลง
เหลืออยู่ เรียก ว่าเป็นอสุภะ ความงามของร่างกาย จึงเป็นแต่เพียงสมมติสัจจะ คือความจริงใน
ระดับผิวเผิน หรือความจริงที่สมมติกันขึ้นมา มิใช่ปรมัตถสัจจะ หรือความจริงอันสูงสุด

อย่างไรก็ตาม การเข้าใจในธรรมชาติของภาพลวงตา คือความสวยงามของร่างกายนั้น ก็หา
ได้ ทำให้เกิดความเกลียดชัง ไม่พอใจในตัวผู้อื่นไม่ เพราะเมื่อมีปัญญาเกิดขึ้น จิตใจก็จะเข้า
สู่ความสมดุลตามธรรมชาติ ไม่ยึดติด มีความบริสุทธิ์ และเต็มไปด้วยความปรารถนาดีต่อผู้
อื่น การที่เราได้พบกับความจริงภายในตนเอง จะนำให้เราพ้นจากภาพลวงตา พ้นจากความโลภ
ความโกรธ ความหลง และมีชีวิตอยู่ได้ด้วยความสงบสุข

เนื่องจาก อวิชชา หรือ ความไม่รู้ จึงทำให้ เวทนา หรือความรู้สึกทางกายก่อให้เกิดทุกข์ ทั้งที่
ความจริงนั้น เวทนายังเป็นเครื่องมือในการขจัดความทุกข์ได้เช่นกันท่านได้เริ่มเดินก้าวแรกไป
บนวิถีทางแห่งความหลุดพ้นแล้ว ด้วยการเรียนรู้ที่จะสังเกตเวทนาหรือความรู้สึกทางกายที่เกิด
ขึ้น แล้ววางเฉย หรือรักษาความเป็นอุเบกขาต่อเวทนานั้นไว้

มีคำถามที่มักจะได้รับ เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติ ก็คือ

คำถาม : ทำไมจึงต้องสังเกตส่วนต่างๆทั่วร่างกาย ไปตามลำดับ และทำไมจึงต้องทำไปตาม
ลำดับแบบนี้ ?
คำตอบ : จะสังเกตไปตามลำดับแบบใดก็ได้ แต่จะต้องสังเกตให้เป็นระเบียบเป็นลำดับๆไป
เพราะมิฉะนั้น อาจมีการละเว้นการสังเกตบางส่วนของร่างกายและส่วนที่ไม่ได้มีการ
สังเกตนี้ ก็จะถูกปล่อยให้เป็นจุดบอดและว่างเปล่าที่จริงแล้ว เวทนาหรือความรู้สึก
นั้น เกิดขึ้นทั่วร่างกาย และหลักสำคัญของวิธีการอันนี้ก็คือ จะต้องให้สามารถรู้สึก
ถึงเวทนา หรือความรู้สึกได้ในทุกๆส่วนทั่วร่างกาย ฉะนั้น การสังเกตไปทีละส่วนๆ
เป็นลำดับไปจึงช่วยได้มาก ถ้าหากสังเกตส่วนใดของร่างกายแล้ว ไม่มีความรู้สึก

ท่านอาจจะต้องเพ่งความสนใจ ให้อยู่ที่ส่วนนั้นสัก ๑ นาที เพราะตามความเป็นจริงแล้ว
ความรู้สึกจะต้องมีอยู่ทุกส่วนของร่างกาย แต่บางครั้งความรู้สึกที่เกิดขึ้น อาจจะละเอียดมาก
จึงทำให้ไม่อาจรับรู้ได้ บรเวณนี้จึงดูเหมือนเป็นจุดบอด ให้หยุดสังเกตดูสัก 1 นาที สังเกตดู
อย่างสงบเงียบและมีอุเบกขา อย่าสร้างความอยากที่จะให้เกิดความรู้สึกขึ้น หรือมีโทสะต่อการ
ที่ไม่อาจจับความรู้สึกได้ เพราะถ้าท่านทำเช่นนี้ จิตก็จะไม่สมดุล และจิตที่ไม่สมดุลจะไม่ว่องไว
ท่านจะไม่สามารถจับความรู้สึกที่เกิดในส่วนลึกได้ขอให้สังเกตที่ตรงบริเวณนั้น อย่างมีอุเบกขา
สัก ๑ นาที อย่าให้มากกว่านั้นถ้าหากภายใน ๑ นาที ยังไม่ปรากฏความรู้สึกใดๆ ก็จงยิ้มรับ แล้ว
ย้ายไปสังเกตส่วนอื่นต่อไป รอบต่อไปก็กลับมาสังเกตที่ส่วนนั้นใหม่อีก ๑ นาที ไม่ช้าก็เร็ว ท่าน
ก็จะจับความรู้สึกได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ตรงนั้น หรือที่ไหนๆทั่วทั้งร่างกาย

แต่ถ้าท่านสังเกตอยู่ ๑ นาที แล้วยังไม่สามารถจับความรู้สึกได้ ก็ขอให้พยายามจับความรู้สึก
ที่เกิดจากสัมผัสของเสื้อผ้าในบริเวณนั้นแทน ถ้าส่วนนั้นมีเสื้อผ้าปกคลุมอยู่ หรือจับความรู้สึก
ที่เกิดจากสัมผัสของบรรยากาศ ถ้าบริเวณส่วนนั้นไม่มีเสื้อผ้าปกคลุมอยู่จงเริ่มต้นจากเวทนา
หรือความรู้สึกที่พื้นผิวกายก่อน แล้วท่านจะค่อยๆรับรู้ถึงเวทนาในส่วนอื่นๆต่อไปได้

อะไรก็ตามที่คนเรารู้สึกได้ทางกาย ล้วนเป็นเวทนา คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นทางกาย ตาม
ธรรมดา ตามปกติ และตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกสบายหรือไม่สบาย ความรู้สึก
หยาบ หรือละเอียด เป็นความรู้สึกรุนแรง หรืออ่อนเบาจงอย่าไปละเลยต่อเวทนาที่เกิดขึ้น โดย
คิดไปว่า เกิดขึ้นเพราะสภาพบรรยากาศหรือเกิดจากนั่งนานๆ หรือเนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บ
ที่เคยเป็นอยู่ ไม่ว่าจะคิดว่าเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ความเป็นจริงก็คือ ท่านได้รู้สึกถึงเวทนา
ขึ้นมาแล้ว

ในอดีต ท่านเคยพยายามที่จะขจัดความรู้สึกที่ไม่สบาย หรือทุกขเวทนาออกไปและดึงเอา
ความรู้สึก ที่สบาย หรือสุขเวทนาเข้ามาแทนที่ในตอนนี้ ขอให้ท่านเพียงแต่เฝ้าดู อย่างเป็นกลาง
โดยไม่พยายามไปยึดติดกับความรู้สึกเหล่านั้น ในการเฝ้าดูนี้ จะต้องไม่มีการเลือกเฟ้น จงอย่า
พยายามเลือกเฟ้นหาความรู้สึกใดๆ ขอให้ท่านยอมรับความรู้สึกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หาก
ท่านเริ่มเลือกเฟ้น หรือมองหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นพิเศษ ท่านก็จะสร้างความยุ่งยากให้กับตนเอง
และจะไม่สามารถก้าวหน้าไปบนทางสายนี้ได้ การปฏิบัติตามวิธีการแบบนี้ มิใช่เพื่อให้เกิดความ
รู้สึกอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเป็นพิเศษ แต่มุ่งที่จะฝึกให้มีอุเบกขา ต่อความรู้สึกทุกชนิดที่เกิดขึ้น
เมื่อก่อนท่านคงจะมีความรู้สึกแบบเดียวกันนี้ เกิดขึ้นในร่างกาย แต่ท่านไม่ได้ให้ความสนใจกับ
มันอย่างจริงจัง นอกจากนั้นท่านยังได้ปรุงแต่ง ตอบสนองความรู้สึกเหล่านั้นโดยอัตโนมัติ

มาบัดนี้ ท่านกำลังเรียนรู้ ในการที่จะรับรู้ถึงเวทนา หรือความรู้สึกเหล่านั้นโดยไม่ปรุงแต่ง
ใดๆ รู้สึกถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นทางกาย และรักษาความเป็นอุเบกขาไว้หากท่านปฏิบัติเช่นนี้ต่อไป
ท่านจะค่อยๆเข้าใจในกฎของธรรมชาติทั้งหมด ทีละเล็กทีละน้อยนี่คือความหหมายของธรรมะ
ธรรมะคือธรรมชาติ คือกฎของธรรมชาติ คือ สัจธรรมในการเข้าถึงสัจธรรมด้วยตนเองนั้น เรา
จะต้องตรวจสอบเข้าไปภายในขอบ เขตของร่างกายของเราเอง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่พระสิทธัตถะ
โคตมะได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้า ทำให้พระองค์เข้าพระทัยในธรรมะได้อย่างชัดเจน และสิ่งนี้
ก็จะกระจ่างชัดสำหรับทุกคน เช่นกันถ้าได้ปฏิบัติอย่างพระองค์ เราจะได้รู้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง
ตลอดทั่วทั้งจักรวาล มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เช่นเดียวกันกับทั้งภายในร่างกาย และภาย
นอกร่างกายของเราก็ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้น และคงสภาพอยู่ได้ตลอดไป

ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องกับ ภว หรือ ภพ คือความมีความเป็น สัจธรรมอีกประการหนึ่ง
ที่จะปรากฏชัดขึ้นมา ก็คือ จะไม่มีสิ่งใดในโลกที่เกิดขึ้น เนื่องจากเหตุบังเอิญ ทุกสิ่งทุกอย่าง
เกิดขึ้นเป็นลูกโซ่ บนปัจจัยของเหตุและผลซึ่งผลจะนำไปสู่ปัจจัยของเหตุ ต่อเนื่องกันไป ไม่
มีวันสิ้นสุด นั่นคือเหตุเป็นเช่นใด ผลก็เป็นเช่นนั้น เหมือนเมล็ดพืชมีคุณสมบัติอย่างไรก็ย่อม
ให้ผลออกมาอย่างนั้น

ในพื้นดินเดียวกัน หากเราปลูกพันธุ์พืชลงไป 2 ชนิด ชนิดหนึ่งเป็นพันธุ์อ้อยอีกชนิดหนึ่ง
เป็นพันธุ์ต้นสะเดา พันธุ์อ้อยที่ปลูกลงไป ก็จะงอกงามและเติบโตเป็นต้นอ้อยที่มีรสหวาน
เหมือนเผ่าพันธุ์ดั้งเดิม ส่วนพันธุ์สะเดาที่ปลูกลงไปในที่ดินผืนเดียวกันนี้ก็ย่อมจะเติบโต เป็น
ต้นสะเดา ที่มีรสขม เหมือนเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมเช่นกัน บางคนอาจถามว่า ทำไมธรรมชาติจึงเลือก
ที่รักมักที่ชัง โดยมีเมตตาต่อต้นอ้อย แต่โหดร้ายต่อต้นสะเดา แท้ที่จริงแล้ว ธรรมชาติย่อม
เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ถ้าเราปลูกพันธุ์พืชที่มีความหวาน ผลที่เก็บเกี่ยวได้ก็ย่อม
จะหวาน ถ้าปลูกพันธุ์พืชที่มีความขม ผลที่เก็บเกี่ยวได้ ก็ย่อมจะขม พันธุ์พืชเป็นเช่นใด ผลก็
จะออกมาเป็นเช่นนั้น

ในทำนองเดียวกัน ถ้าทำกรรมใดไว้ ผลของกรรมก็จะปรากฏเป็นเช่นนั้นเหมือนกันปัญหาคือ
คนเรามักระมัดระวัง และสนใจก็แต่เฉพาะในเวลาเก็บเกี่ยวเท่านั้นทั้งนี้เพราะเราหวังจะได้ผล
ที่มีรสหวาน แต่ในระหว่างที่ปลูกพืช เรากลับไม่ระมัดระวังและสนใจกลับไปปลูกเอาพันธุ์พืช
ที่มีรสขม ผลที่ออกมาก็จะต้องขม ตามกฎของธรรมชาติถ้าเราต้องการผลไม้ที่มีรสหวาน เรา
ก็จะต้องเลือกปลูก และบำรุงรักษาพันธุ์หวานให้ถูกต้อง ตรงกับชนิดที่เราต้องการ

การสวดมนต์อ้อนวอน ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อมุ่งหวังอภินิหาร เป็นเพียงการหลอกตนเอง
เท่านั้น คนเราจะต้องมีความเข้าใจในธรรมชาติ และมีชีวิตอยู่ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ดัง
นั้น เราจึงจำเป็นต้องระมัดระวังการกระทำของเราเองทั้งนี้เพราะ การกระทำของเรานั้น ก็คือ
ชนิดของเมล็ดพันธุ์พืชที่เราได้ปลูกลงไป ซึ่งจะส่งผล ให้เราได้เก็บเกี่ยวผลที่หวานหรือขม
ย่อมแล้วแต่ชนิด และคุณภาพของเมล็ดพันธุ์พืช การกระทำของเรานั้น ทำได้ 3 ทาง ทางกาย
ทางวาจาและทางใจ ผู้ที่ได้เรียนรู้ในการ สังเกตตนเอง จะทราบได้ทันทีว่า การกระทำทางใจ
เป็นสิ่งที่ สำคัญที่สุด เพราะว่าการ กระทำทางใจนั้น เป็นเสมือนเมล็ดพืชที่จะก่อให้เกิดผล
การกระทำทางกาย และการ กระทำทางวาจา เป็นเพียงสิ่งที่สะท้อนออกมาจากการกระทำ
ทางใจ เป็นมาตรวัดความ เข้มข้นของการกระทำทางใจ เพราะการกระทำใดๆจะมีจุดเริ่มต้น
ที่ใจก่อน แล้วจึงปรากฏให้เห็น เป็นการกระทำทางกายและวาจา

พระพุทธองค์ตรัสว่า ทุกสิ่งเกิดขึ้นที่ใจก่อน ใจเป็นปัจจัยของทุกสิ่ง สิ่งที่คนเราประสบล้วน
แต่เป็นผลผลิตจากใจของตนเอง แท้จริงนั้น สิ่งที่คนเราได้ประสบ มิใช่อะไรอื่น หากแต่เป็นผล
ผลิตจากใจของเราเองทั้งสิ้น หากท่านทำสิ่งใดลงไป ไม่ว่าจะโดยทาง กาย หรือวาจา โดยมีพื้น
ฐานจากจิตที่ไม่บริสุทธิ์แล้ว ความทุกข์ก็จะติดตามท่านไป ประดุจกงล้อเกวียนที่หมุนติดตามโค
ลากเกวียนฉะนั้น ด้วยเหตุนี้หากท่านมีจิตอัน บริสุทธิ์ในการกระทำใดๆ ไม่ว่าด้วยกายหรือวาจา
ความสุขก็จะติดตามตัวท่านไป เหมือนดั่งเงา ดังนั้นเจตนาทางใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากเมื่อเป็น
เช่นนี้ เราจึงจะต้องรู้ว่า จิตคืออะไร และทำงานอย่างไร ท่านได้เริ่มศึกษาเรื่องนี้ด้วยการฝึก
ปฏิบัติ เห็นว่า จิตนั้นประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ๔ ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกเรียกว่า "วิญญาณ"
นั่นคือส่วนที่เป็นความรู้แจ้งในอารมณ์ อวัยวะที่รับความรู้สึกในร่างกายจะไม่มีชีวิต หากไม่มี
วิญญาณมาเชื่อมโยง ตัวอย่างเช่น หากเรากำลังเพ่งมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่อย่างตั้งอกตั้งใจแล้ว
เกิดมีเสียงดังขึ้นมา เราจะไม่ได้ยินเสียงนั้นหรือแม้ได้ยินก็ไม่ชัดเจน ทั้งนี้เพราะวิญญาณ หรือ
การรับรู้ของเรา กำลังอยู่ที่ตาในขณะนั้น หน้าที่ในส่วนนี้ของจิต จะเพียงรับรู้ว่า มีเสียงมา
กระทบโดยไม่แยกแยะรายละเอียด หรือความชัดเจน

แล้วส่วนต่อไปของจิตก็จะเริ่มทำงาน ส่วนนี้เรียกว่า สัญญา คือการจำได้หมายรู้ในอารมณ์
เมื่อมีเสียงมากระทบหู เราจะรับรู้ตามความทรงจำและประสบการณ์ เก่าๆว่าสิ่งนั้นเป็นเสียง
เป็นคำพูด เป็นคำสรรเสริญ เป็นสิ่งที่ดี หรือเป็นเสียงเป็นคำพูด เป็นคำด่าทอ เป็นสิ่งที่ไม่ดี
ซึ่งการที่เราจะประเมินได้ว่า ดีหรือไม่ดี จะเป็นไปตามประสบการณ์ที่เราเคยได้รับมา จากนั้น
ส่วนที่สามของจิต ก็จะเริ่ม ทำงานในทันที เรียกว่า เวทนาเป็นส่วนรับความรู้สึก เมื่อมีเสียง
มากระทบ ร่างกายจะรับความรู้สึก เมื่อ สัญญา ทางจิตรับรู้ และประเมินเสียงนั้น ความรู้สึก
ก็จะออกมา ว่าดีหรือไม่ดีตามการประเมินนั้น ตัวอย่างเช่น มีเสียงมากระทบ เป็นคำพูด คำ
สรรเสริญเป็นสิ่งที่ดี เราก็จะเกิดความรู้สึกเป็นสุขไปทั่วร่างกาย แต่ถ้าหากมีเสียงมากระทบ
เป็นคำพูด คำด่าทอ เป็นสิ่งที่ไม่ดี เราก็จะเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีขึ้นทั่วร่างกายความรู้สึกนั้นเกิด
ขึ้นในร่างกาย แต่ใจจะเป็นผู้รับความรู้สึกนั้น หน้าที่ของจิตส่วนที่รับความรู้สึกนี้ เรียกว่า
เวทนา ต่อไปส่วนที่สี่ของจิตก็จะเริ่มทำงาน เรียกว่า สังขาร เป็นส่วนที่ปรุงแต่ง เมื่อเสียงมา
กระทบหู เป็นคำพูด เป็นคำสรรเสริญที่ดี รู้สึกเป็นสุข เราก็เริ่มชอบมัน "แหม คำสรรเสริญ
นี้ไพเราะ ฉันอยากฟังอีก" หรือมิเช่นนั้น เมื่อมีเสียงมากระทบ เป็นคำพูด เป็นคำด่าทอที่ไม่ดี
ก็จะรู้สึกเป็นทุกช์ และเราก็จะเริ่มไม่ชอบ "ฉันทนฟังคำหยาบคายพวกนี้ไม่ได้อีกแล้วหยุดเสีย
ที" ทุกทวารอันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ล้วนมีกระบวนการรับรู้อย่างเดียวกัน ในทำนองเดียว
เมื่อมีความคิด หรือจินตนาการมากระทบใจความรู้สึกก็จะเกิดขึ้นกับร่างกายเหมือนๆกัน ว่า
เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ และคนเราก็จะมีการปรุงแต่งว่า ชอบหรือไม่ชอบ ซึ่งในขณะนั้น ความ
รู้สึกชอบก็จะพัฒนาเป็นโลภะ และความไม่ชอบก็จะพัฒนาเป็นโทสะ ถึงขั้นนี้ คนเราก็จะเริ่ม
ผูกปม เงื่อนขึ้นภายในตนเองแล้ว นี่คือเมล็ดพันธุ์ที่แท้จริงที่จะให้ผลการกระทำที่จะทำให้เกิด
ผลก็คือ สังขาร เป็นการปรุงแต่งของใจ คนเราปลูกเมล็ดพันธุ์พืช ด้วยการปรุงแต่งว่าชอบ
หรือไม่ชอบ มีโลภะและโทสะอยู่ทุกขณะ การ กระทำเช่นนี้ ทำให้ตัวเราเองมีความทุกข์

การปรุงแต่งมีต่างๆกัน มีทั้งที่ไม่ฝังใจนัก ซึ่งง่ายต่อการที่จะขจัดออกไปได้ทันที แต่ถ้าเป็น
การปรุงแต่งที่ฝังใจมากขึ้นมาอีกหน่อย ก็อาจต้องใช้เวลาบ้างที่จะขจัดออกไป และถ้าเป็นการ
ปรุงแต่งที่ฝังอยู่ในส่วนลึก การขจัดออกไปก็ย่อมต้องใช้เวลายาวนานขึ้น ในแต่ละคืน หากเรา
จะพยายามนึกถึงการปรุงแต่งต่างๆ ที่เราสร้างขึ้นมาตลอดทั้งวัน เราอาจจะนึกได้แต่เพียง ๑
หรือ ๒ เรื่องที่ฝังใจมากที่สุดในวันนั้น เช่นเดียวกัน ในแต่ละเดือน หรือแต่ละปี เราก็อาจจะจำ
การปรุงแต่ง หรือสังขารได้เพียง ๑ หรือ ๒ เรื่อง ที่ฝังใจเรามากที่สุดในช่วงระยะเวลานั้น
และ ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม ในบั้นปลายสุดของชีวิต สังขารหรือการปรุงแต่งที่ฝังอยู่
ในส่วนลึกที่สุด ก็จะปรากฏขึ้นมาในจิตอีกครั้งหนึ่งและชีวิตในโลกหน้า ก็จะเริ่มต้นด้วยจิตที่มี
ธรรมชาติเหมือนเดิมนี้ มีคุณภาพดั้งเดิมไม่ว่าจะหวานหรือขม จึงเท่ากับเราสร้างอนาคตของ
เรา ด้วยการกระทำของเราเอง

- การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จะสอนให้รู้ถึงศิลปะของการตาย เราจะตายอย่างสงบได้
อย่างไร?
- เราจะได้เรียนรู้ศิลปะของการตาย ด้วยการเรียนรู้ถึงศิลปะของการมีชีวิตอยู่ทำอย่างไร จึงจะ
เป็นนายเหนือปัจจุบันได้ ?
- ทำอย่างไรจึงจะไม่ก่อให้เกิดสังขารในขณะปัจจุบัน ?
- ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตที่มีความสุขอยู่ได้ ณ.ที่นี้ ในขณะนี้ ?

ถ้าทำปัจจุบันให้ดีแล้ว เราก็ไม่ต้องกังวลถึงอนาคต ซึ่งเป็นแต่เพียงผลผลิตของปัจจุบัน เทคนิค
ในการปฏิบัตินี้มีอยู่ 2 ประการ

ประการแรก คือการทำลายสิ่งกีดขวางระหว่างจิตสำนึกกับจิตไร้สำนึก หรือ ภวังคจิต โดย
ปกติ จิตสำนึกจะไม่รู้ว่าการปรุงแต่งต่างๆ เกิดขึ้นในจิตไร้สำนึกตลอดเวลา แต่ความไม่รู้ หรือ
อวิชชาได้ปิดบังเอาไว้ เมื่อการปรุงแต่งเหล่านี้ มาปรากฏขึ้นในจิตสำนึก ความเข้มข้นก็จะมี
มากขึ้น จนกระทั่งมีอำนาจเหนือจิตใจ ด้วยวิธีปฏิบัติแบบนี้ จะช่วยพัฒนาจิตใจให้มีสติระลึก
รู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น ความไม่รู้หรืออวิชชาก็จะถูกขจัดออกไป

ประการที่สอง คืออุเบกขา หรือการวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยความชอบหรือชัง การที่
เรามีสติระลึกรู้ ถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้น แล้วไม่ไปปรุงแต่งไม่ผูกปมโลภะ หรือโทสะขึ้นมาใหม่
เราย่อมจะไม่สร้างทุกข์ให้ตนเอง

ขณะที่ท่านนั่งปฏิบัติอยู่ ในตอนเริ่มต้น ท่านอาจจะใช้เวลาส่วนใหญ่ ปรุงแต่งความรู้สึกที่เกิด
ขึ้นให้เป็นไปในทางที่ชอบ หรือไม่ชอบ แต่ก็จะมีอยู่ระยะหนึ่ง ที่ท่านจะรู้สึกวางใจเฉยได้ แม้
ว่าจะกำลังมีความเจ็บปวดมาก ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่มีพลังมาก ในการเปลี่ยนแปลงนิสัยของจิต
แล้วท่านจะค่อยๆก้าวไปถึงขั้นที่ท่านจะยิ้มให้กับความรู้สึกทุกอย่างที่เกิดขึ้นได้ ด้วยความเข้า
ใจว่า ความรู้สึกเหล่านั้นล้วนเป็นอนิจจัง ซึ่งจะต้องผ่านไปเปลี่ยนแปลงไป เพื่อที่จะไปให้ถึง
ขั้นนี้ได้ ท่านจะต้องปฏิบัติด้วยตนเอง ไม่มีใครสามารถจะปฏิบัติแทนท่านได้ นับว่าเป็นสิ่งที่
ดีแล้ว ที่ท่านได้เริ่มเดินตามวิถีทางนี้ จงเดินต่อไป ทีละก้าว ทีละก้าว เพื่อไปสู่ความหลุดพ้น
ของตัวท่านเอง

จากการที่ได้สังเกตลมหายใจเข้าออก ภายในบริเวณขอบเขตที่จำกัดให้ท่านก็ได้เริ่มทำการ
สังเกตต่อไปถึงเวทนา หรือความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วร่างกาย เมื่อเริ่มฝึก เราได้เผชิญกับ
ความไม่สบายกาย หรือทุกขเวทนาต่างๆ เช่นความเจ็บปวด อาการ กดดันต่างๆ เป็นต้น ซึ่ง
ท่านก็คงเคยเผชิญกับความรู้สึกเหล่านี้มาแล้วในอดีต แต่นิสัยของจิต มักจะมีการปรุงแต่งต่อ
ความรู้สึกดังกล่าว ด้วยการพยายามหันไปหาความสุข และหลีกให้พ้นจากความทุกข์ซึ่งทำให้
เกิดความฟุ้งซ่านเร่าร้อนใจอยู่เป็นนิตย์

ขณะนี้ท่านได้เรียนรู้แล้วว่า จะเฝ้าดูความรู้สึกที่เกิดขึ้น โดยไม่ปรุงแต่งได้อย่างไรจะตรวจ
สอบความรู้สึกต่างๆ อย่างมีอุเบกขา โดยไม่เอาตัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับความรู้สึกเหล่านั้นได้
อย่างไรความเจ็บปวด ความทุกข์ ยังคงมีอยู่ การร้องไห้ไม่ได้ช่วยให้คนเราพ้นจากความทุกข์
ได้ แล้วเราจะหลุดพ้นจากความทุกข์ได้อย่างไรและจะอยู่กับความทุกข์นั้นได้อย่างไร แพทย์ที่
รักษาผู้ป่วย จะต้องรู้ว่าความเจ็บป่วยนั้นคืออะไร และอะไรเป็นสาเหตุพื้นฐานของความเจ็บ
ป่วยนั้นถ้ามีเหตุ ก็จะต้องมีทางออก โดยการขจัดสาเหตุนั้นออกไป เมื่อสาเหตุของความเจ็บ
ป่วยถูกขจัดออกไป ความเจ็บป่วยก็จะหมดไปด้วยโดยอัตโนมัติ

ฉะนั้น เพื่อเป็นการขจัดสาเหตุ เราจึงต้องทำตามขั้นตอนต่างๆดังนี้
ประการแรก เราจะต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงของ ความทุกข์ ความทุกข์นั้นมีอยู่ทั่วไป
ทุกหนทุกแห่ง นี่เป็นสัจธรรมสากล แต่สิ่งที่จะกลายเป็นอริยสัจได้ ก็ต่อเมื่อคนเราเริ่มสังเกต
ดูความทุกข์ โดยไม่มีการปรุงแต่งบุคคลใดก็ตาม ที่ประพฤติได้เช่นนี้นับว่าเป็น อริยบุคคล

เมื่อเราเริ่มสังเกตดูอริยสัจข้อแรก คือ ทุกข์ หรือ ความจริงเกี่ยวกับความทุกข์แล้ว สาเหตุ
แห่งทุกข์ คือ สมุทัย ก็จะปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด เพื่อเราจะได้พิจารณาสมุทัย ซึ่งเป็น
อริยสัจข้อที่ ๒ ได้ด้วย หากสาเหตุถูกขจัดให้หมดไป ความทุกข์ก็จะถูกขจัดออกไปด้วย นี่คือ
อริยสัจข้อที่ ๓ คือ นิโรธ การที่จะขจัดความทุกข์ออกไปได้ คนเราจะต้องมีวิธีการ นั่นคือ
อริยสัจข้อที่ ๔ หรือ มรรค อันได้แก่ หนทางที่จะดับทุกข์ โดยการขจัดสาเหตุแห่งทุกข์ เรา
เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้ ที่จะสังเกตดูความรู้สึกที่เกิดขึ้นทางกาย โดยไม่มีการปรุงแต่งสังเกต
ดูความเจ็บปวดที่ได้รับ ด้วยความมีอุเบกขา คือวางใจเฉย เสมือนว่าเป็นความเจ็บปวดของ
ผู้อื่น ตรวจสอบดูความเจ็บปวดนั้น ให้เหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบการทดลองใน
ห้องปฏิบัติการ หากท่านล้มเหลวก็ให้พยายามใหม่ พยายามต่อไป แล้วท่านจะได้พบว่า ท่าน
ค่อยๆ คลายจากความทุกข์

สิ่งมีชีวิตทุกๆ ชีวิต จะต้องมีความทุกข์ชีวิตเริ่มต้นด้วยการร้องไห้ การเกิดเป็นความทุกข์อัน
ใหญ่หลวง เพราะผู้ที่เกิดมา จะต้องเผชิญกับความทุกข์ อันเนื่องมาจาก ความเจ็บป่วย และ
ความแก่แต่ไม่ว่าชีวิตคนเราจะทุกข์ขนาดไหน ก็ไม่มีใครอยากตาย เพราะความตายนั้น จัดเป็น
ความทุกข์ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดชีวิตคนเราต้องเผชิญกับสิ่งต่างๆ ที่เราไม่ชอบ และก็ยังต้อง
พลัดพรากจากสิ่งที่เรารักเราชอบอีกด้วย

สิ่งที่ไม่ต้องการมักจะเกิดขึ้น แต่สิ่งที่ต้องการกลับไม่เกิด เหล่านี้ล้วนทำให้เรารู้สึกเป็นทุกข์
การเข้าใจความเป็นจริงอันนี้ โดยเพียงแต่เข้าใจในเหตุผลก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้คนเราพ้น
จากความทุกข์ได้ อย่างมากก็เพียงแต่ช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจ ให้มองเข้าไปในตนเอง เพื่อที่
จะได้พบกับความจริง และพบหนทางที่จะพ้นทุกข์เท่านั้น สิ่งที่ เจ้าชายสิทธัตถะโคตมะ ได้
ทรงทำ เพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็คือ การที่พระองค์ทรงเริ่มสังเกตดูความจริง ภายใน
กรอบแห่งร่างกายของพระองค์เอง เหมือนนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการค้นคว้าวิจัย โดยค่อยๆ
สังเกตดูจากสภาพความเป็นจริง ที่ปรากฏอยู่ทั่วๆ ไป ไปสู่สภาพความเป็นจริงในระดับที่ลึกลง
ไป จนกระทั่งถึงสภาพความเป็นจริง ในขั้นที่ละเอียดที่สุด พระองค์จึงได้ทรงพบว่า เมื่อใดก็
ตามที่คนเกิดความอยาก หรือตัณหาขึ้นมา ไม่ว่าจะเพื่อเป็นการรักษาความรู้สึกที่เป็นสุขเอาไว้
หรือเพื่อที่จะขจัดความรู้สึกที่เป็นทุกข์ออกไป หากความอยากนั้น มิได้เป็นไปตามความ
ปรารถนา คนเราก็จะเริ่มเป็นทุกข์

และเมื่อพระองค์ได้สังเกตต่อไป จนถึงระดับที่ละเอียดที่สุด พระองค์ทรงพบว่าเมื่อมองสิ่ง
เหล่านี้ด้วยใจอันเป็นอุเบกขาแล้ว ก็เห็นได้ชัดว่า ความยึดมั่นถือมั่น หรืออุปาทาน ที่มีต่อขันธ์
๕ หรือ ต่อรูปนาม หรือต่อกายและใจของเรานั้น เป็นทุกข์จากการคิดพิจารณาหาเหตุผล เรา
ก็พอจะเข้าใจได้ว่า รูปหรือกายนั้น ไม่ใช่ตัวเราไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงปรากฏการณ์ที่เปลี่ยน
แปลงไป ไม่มีตัวตน ไม่สามารถควบคุมได้ แต่โดยความจริงแล้ว คนทั่วไปก็ยังคงมีความยึด
มั่นถือมั่นในตัวตนอยู่นั่นเอง และในทำนองเดียวกัน ก็สร้างอุปาทานขึ้นกับจิต หรือนามทั้ง ๔
ส่วน คือ วิญญาณ สัญญา เวทนา และสังขาร โดยยึดติดอยู่ว่า เป็น "ตนเอง" "ของตน" โดย
ไม่คำนึงถึงธรรมชาติที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอของมัน

โดยทั่วๆไป มนุษย์เราก็มักจะใช้คำว่า "ตัวเรา" และ "ของเรา"อยู่แล้ว เมื่อมามีอุปาทานยึด
ติดอยู่กับขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป วิญญาณ สัญญา เวทนา และสังขารด้วย ก็เท่ากับเราสร้างทุกข์ให้
กับตนเอง ที่ใดก็ตามที่มีการยึดติด ที่นั้นก็จะมีแต่ความทุกข์ยิ่งมีอุปาทาน หรือการยึดมั่นถือมั่น
มากเท่าใด ความทุกข์ก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

มีอุปาทานอยู่ ๔ อย่าง ที่คนมักจะติดอยู่ตลอดชั่วชีวิต


อุปาทานประการแรก ก็คือ ความยึดมั่นในกาม หรือความอยากในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
ที่น่าพอใจ ซึ่งเรียกว่า กามุปาทาน เมื่อใดที่เกิดความอยากในสิ่งเหล่านี้ขึ้นในใจ เวทนาหรือ
ความรู้สึกทางกาย ก็จะเกิดขึ้นมาด้วยแม้ว่าจะเป็นความรู้สึก เดือดร้อนฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้นในส่วน
ลึก แต่โดยผิวเผินคนเราก็ยังชอบความรู้สึกเช่นนี้ และอยากให้มีอยู่ต่อไป ซึ่งอาจเปรียบเทียบ
ได้กับการเกาแผล ทั้งๆที่รู้ว่า จะทำให้แผลอักเสบ แต่คนก็ยังชอบเกา เมื่อสมปรารถนาแล้ว
ความรู้สึกที่มา พร้อมกับความอยากหมดไปแล้ว คนก็จะสร้างความอยากขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เกิด
ความรู้สึกแบบเดียวกันต่อไปอีกแล้วก็จะเริ่มติดความอยากนั้น และเพิ่มความทุกข์ให้กับตนเอง

อุปาทานประการที่ 2 ก็คือ การยึดติดกับ "ตัวฉัน" "ของฉัน" ซึ่งเรียกว่า อัตตวาทุปาทาน
โดยไม่รู้ว่า แท้จริง "ตัวฉัน" นั่นคืออะไร คนเรามักจะทนคำวิพากษ์วิจารณ์ ความเป็น "ตัวฉัน"
ไม่ได้ หรือทนไม่ได้ ที่จะให้ใครมาทำร้าย "ตัวฉัน" อุปาทานจะขยายรวมไปถึง อะไรก็ตาม ที่
"ตัวฉัน" เป็นเจ้าของ หรืออะไรก็ตามที่เป็น "ของฉัน" อุปาทานนี้จะไม่นำมาซึ่งความทุกข์ ถ้า
หากอะไรก็ตาม ที่เป็น "ของฉัน" นั้น จะยังคงมีอยู่ตลอดกาล และ "ตัวฉัน" จะยังมีชีวิตอยู่
เพื่อมีความสุขกับสิ่งที่เป็นของฉันได้ตลอดกาลเช่นกัน แต่ตามกฏธรรมชาตินั้น ไม่ช้าก็เร็วคน
เราจะต้องตายไป ด้วยเหตุนี้ การยึดติดกับสิ่งที่ไม่จีรังย่อมนำมาซึ่งความทุกข์

อุปาทานประการที่ 3 ก็คือ การยึดมั่นถือมั่นในความคิดเห็น และความเชื่อของตนเอง ซึ่ง
เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน เรามักจะไม่สามารถทนต่อการวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็น หรือความเชื่อ
ของเราได้ หรือแม้แต่จะรับความคิดเห็นของคนอื่นก็ยังยากคนเรามักไม่เข้าใจว่า คนทุกคน
ต่างสวมแว่นสี แตกต่างกันคนละสี ถ้าเราสามารถถอดแว่นออกได้ เราก็จะแลเห็น สภาพความ
จริง อย่างที่มันเป็นอยู่ โดยไม่มีการแต่งแต้ม แต่ส่วนใหญ่แล้ว คนก็ยังติดอยู่กับสีแว่นของตน
เอง ติดอยู่กับแนวความคิด ความเชื่อมั่นที่มีอยู่ดั้งเดิมของตน

อุปาทานประการที่ 4 ก็คือ การยึดมั่นถือมั่นในวิธีปฏิบบัติแบบแผน หรือพิธีกรรมทางศาสนา
ซึ่งเรียกว่า สีลัพพัตตุปาทาน เรามักไม่สามารถเข้าใจได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเปลือกนอก และ
ไม่ได้มีสาระความเป็นจริงอยู่เลย หากผู้ได้เรียนรู้ ถึงวิธีการที่จะได้พบกับสัจธรรมภายในกาย
ตนแล้ว แต่ยังคงยึดติดอยู่กับรูปแบบพิธีกรรมภายนอก ที่ไร้สาระเหล่านี้ อุปาทานที่ยึดติดอยู่ ก็
จะทำให้เกิดความลังเลสงสัยขึ้น ในตัวผู้นั้น และมีผลให้เกิดความทุกข์ หากเราได้พิจารณา
ความทุกข์ทั้งหลายในชีวิตให้ ถ่องแท้แล้ว เราก็จะพบว่า ความทุกข์ต่างเกิดขึ้นจากอุปาทานทั้ง
๔ ประการนี้ ซึ่งใน การค้นหาสัจธรรมของพระพุทธเจ้าพระองค์ก็ได้ทรงค้นพบสภาพความ
เป็นจริงในข้อ นี้ แม้กระนั้น พระองค์ก็ยังคงสำรวจภายในพระองค์เองต่อไป เพื่อค้นหาต้น
ตอที่ลึก สุดของความทุกข์ ให้เข้าใจว่า ปรากฏการณ์ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร เพื่อติดตาม
ไปให้ถึง ต้นเหตุแห่ง ทุกข์

...เราจะเห็นได้ฃัดว่า ความทุกข์ในชีวิต อันได้แก่ ความเจ็บป่วย ความแก่ ความตาย ความ
เจ็บปวดทางกายและใจ ล้วนแต่เป็นผลมาจาก ชาติ คือการเกิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วอะไร
เป็นเหตุแห่งชาติ หรือการเกิด ?

แน่นอนที่สุด เหตุที่เห็นได้ชัดก็คือ การอยู่ร่วมทางกายภาพของบิดาและมารดาแต่ในแง่ที่กว้าง
กว่านั้น การเกิดมีขึ้น เนื่องจากกระบวนการที่ไม่มีวันสิ้นสุดของ ภพที่ทั่วทั้ง จักรวาล จะต้อง
เข้าไปเกี่ยวข้อง แม้แต่เมื่อถึงเวลาตาย กระบวนการนี้ก็ยังไม่จบ แม้ร่างกายจะเน่าเปื่อยแตก
สลายไป แต่วิญญาณก็จะไปเชื่อมโยงกับโครงสร้างทางรูปอย่างอื่น เกิดเป็นภพใหม่ต่อไปก็
เหตุใดเล่าจึงมีกระบวนการของภพ ?

พระพุทธองค์ทรงเห็นแจ้งว่า สาเหตุก็คือ อุปาทาน ที่เราสร้างขึ้น และเนื่องจากอุปาทานเรา
จึงมีการปรุงแต่ง ที่เรียกว่า สังขาร ขึ้นมา สังขาร หรือ การปรุงแต่งนี้จะฝังรากลึก สะสมอยู่
ภายในจิต เมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต สังขาร หรือการปรุงแต่งที่สะสมไว้อันใดอันหนึ่ง ก็จะ
ผุดขึ้นมาภายในจิตใจ และผลักดันวิญญาณให้ดำเนินต่อไป อะไรเป็นสาเหตุของอุปาทาน หรือ
ความยึดมั่นถือมั่น ?

พระองค์ทรงพบว่า อุปาทานเกิดจากการปรุงแต่งของ ตัณหา ซึ่งได้แก่ ความชอบหรือความ
ไม่ชอบ ที่เกิดขึ้นมาในชั่วขณะะหนึ่ง ความชอบ จะพัฒนาต่อไปเป็นโลภะความไม่ชอบ จะ
พัฒนาต่อไปเป็น โทสะ และทั้งสองนี้จะกลายเป็นอุปาทานทำไมจึงเกิดการปรุงแต่งของตัณหา
ซึ่งได้แก่ ความชอบและความไม่ชอบขึ้นมาในชั่วขณะนั้น ? ทุกคนที่ได้พิจารณาตนเอง จะพบ
ว่า การปรุงแต่งเหล่านี้ เกิดขึ้นเนื่องจาก เวทนา หรือความรู้สึกทางกาย เมื่อมีสุขเวทนาเกิดขึ้น
คนก็จะชอบ และจะรักษาความรู้สึกนี้ไว้แล้วอยากจะเพิ่มเติมให้มีมากขึ้น หากมีทุกขเวทนา
เกิดขึ้นคนก็จะไม่ชอบ และต้องการที่จะขจัดมันออกไป ทำไมจึงเกิดมีเวทนาเหล่านี้เล่า ?

แน่นอนที่สุด ความรู้สึกเหล่านี้ เกิดจาก ผัสสะ หรือสัมผัส ระหว่างประสาทสัมผัสทางใดทาง
หนึ่งกับวัตถุที่สัมพันธ์กับประสาทสัมผัสส่วนนั้น เช่น ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับ
รส กายกับโผฏฐัพพะ หรือสิ่งที่ถูกต้องกายจิตกับธรรมารมณ์ อันได้แก่ ความคิดหรือจินตนา
การ ทันทีที่มีผัสสะ หรือสัมผัสเกิดขึ้น เวทนาหรือความรู้สึก ก็จะเกิดขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะ
เป็นความรู้สึกที่พอใจ ซึ่งเรียกว่า สุขเวทนา ก็ตาม หรือความรู้สึกที่ไม่น่าพอใจ ซึ่งเรียกว่า ทุกข
เวทนา ก็ตาม ตลอดจนความรู้สึกกลางๆ ซึ่งเรียกว่า อทุกขมสุขเวทนาหรืออุเบกขาเวทนา ก็ตาม
อะไรเป็นสาเหตุของผัสสะ ?

จักรวาลทั่วทั้งจักรวาล เต็มไปด้วยสิ่งที่ประสาทสามารถสัมผัสได้ เมื่อใดที่สฬายตนะ อันได้
แก่ประสาทสัมผัสทั้ง 6 คือทางกาย 5 มี ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย กับทางจิต 1 ทำงาน ประสาท
ตามลักษณะของมัน แล้วทำไม สฬายตนะหรือประสาทสัมผัสเหล่านี้จึงมีอยู่ ? ก็เป็นเพราะว่า
ประสาทสัมผัสเป็นส่วนที่ติดอยู่กับจิตและกาย หรือนามกับรูปอย่างแยกออกไม่ได้ เมื่อชีวิต
เกิดขึ้น ประสาทสัมผัสเหล่านี้ก็เกิดขึ้นด้วย แล้วทำไมชีวิตจึงเกิดขึ้น ? และทำไมจิตและกาย
หรือนามและรูป จึงเกิดขึ้น ? ทั้งนี้ก็เพราะกระแสแห่ง วิญญาณ ที่ดำเนินไป จากขณะหนึ่งไป
ยังอีกขณะหนึ่ง จากชีวิตนี้ไปยังชีวิตหน้า ทำไมวิญญาณจึงดำเนินไป ? พระพุทธเจ้าทรงพบ
ว่า วิญญาณเกิดขึ้น เนื่องจาก สังขาร หรือการปรุงแต่งของจิต การปรุงแต่งทุกครั้ง จะก่อ
ให้เกิดแรงผลักดัน ให้วิญญาณดำเนินต่อไป โดยมีการปรุงแต่งเป็นตัวกระตุ้น แล้วทำไมการ
ปรุงแต่งจึงเกิดขึ้น ?

การปรุงแต่งเกิดขึ้นจาก อวิชชา ความไม่รู้จริง คนเราไม่รู้ว่าตนเองทำอะไรอยู่ไม่รู้ว่ามีการ
ปรุงแต่งอย่างไร ดังนั้น คนเราจึงยังสร้างสังขารต่อไปเรื่อยๆ ตราบใดที่ยังมีอวิชชาอยู่ ความ
ทุกข์ก็จะยังคงมีอยู่ ต้นตอของความทุกข์ คือ อวิชชา หรือความไม่รู้จริงนี่เอง ซึ่งจะก่อให้เกิด
เหตุการณ์ต่างๆ เป็นลูกโซ่ อันนี้เป็นต้นเหตุให้เกิดความทุกข์ สุมอยู่ภายในตนเอง ถ้าหากขจัด
อวิชชาออกไปเสียได้ ความทุกข์ก็จะหมดไป

เราจะทำลายลูกโซ่ของความทุกข์ได้อย่างไร ?

กระแสของชีวิต ของจิต และกาย หรือนามและรูป ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วการฆ่าตัวตาย มิใช่ทาง
แก้ปัญหา แต่มันจะยิ่งก่อความทุกข์ใหม่ขึ้นมาอีกคนเราไม่สามารถทำลายสฬายตนะ หรือ
ประสาทสัมผัสเหล่านี้ได้ โดยไม่ทำลายตนเอง ตราบใดที่ประสาทสัมผัสเหล่านี้ยังมีอยู่ ผัสสะ
หรือการสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ก็จะต้องมีขึ้น และเมื่อใดก็ตาม ที่มีการสัมผัสเกิดขึ้นเวทนาหรือ
ความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ย่อมจะต้องเกิดขึ้นภายในกายของเรา ณ.ที่นี้ ที่จุดเชื่อมโยงของ
ความรู้สึกทางกาย หรือเวทนา เราจะสามารถทำลายลูกโซ่นี้ได้ ในอดีต ความรู้สึกทางกายทุก
ชนิด ที่เกิดขึ้น ทำให้เรามีการปรุงแต่งว่า ชอบหรือไม่ชอบ ซึ่งจะพัฒนาขึ้นมาเป็น โลภะ หรือ
โทสะ อันเป็นความทุกข์อันยิ่งใหญ่ แต่ในขณะนี้ แทนที่เราจะปรุงแต่งต่อเวทนา หรือความรู้สึก
ทางกาย เรากำลังเรียนรู้ที่จะเฝ้าดูมัน อย่างมีอุเบกขา ด้วยความเข้าใจว่า "สิ่งนี้ก็จะต้องเปลี่ยน
แปลงไปเช่นกัน" โดยวิธีนี้ เวทนา หรือความรู้สึกทางกาย จะก่อให้เกิดปัญญา เกิดความเข้าใจ
ในความไม่เที่ยงแท้ หรืออนิจจัง เราก็จะหยุดกงล้อแห่งความทุกข์ และเริ่มหมุนมันใหม่ไปใน
ทางตรงกันข้าม คือมุ่งไปสู่ความหลุดพ้น

ขณะใดก็ตาม ที่คนเราไม่ได้สร้างสังขาร หรือการปรุงแต่งขึ้นมาใหม่สังขารเก่าที่มีอยู่เดิม
ก็จะผุดขึ้นมาสู่พื้นผิวของจิต ขณะนั้นเวทนา หรือความรู้สึกทางกายก็จะเกิดขึ้น หากเรายัง
มีอุเบกขาอยู่ สังขารนั้นก็จะดับไป และสังขาร เก่าๆอย่างอื่น ก็จะผุดขึ้นมาแทนที่อีก ถ้าเรา
ยังคงรักษาความเป็นอุเบกขา ต่อความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้อีก สังขารเก่าๆที่ยังเหลืออยู่ก็จะผุดขึ้น
มา แล้วก็ดับไป เป็นเช่นนี้เรื่อยไป ครั้งแล้วครั้งเล่า แต่หากเรามีการปรุง แต่งต่อความรู้สึกทาง
กาย เพราะความไม่รู้หรืออวิชชา เราก็จะสร้าง สังขาร หรือการปรุงแต่งใหม่เพิ่มเข้าไปอีก เป็น
การเพิ่มความทุกข์ให้มาก ขึ้น แต่ถ้าเราได้พัฒนาปัญญาของเรา และไม่มีการปรุงแต่งต่อเวทนา
ต่างๆ ที่เกิดขึ้น สังขารก็จะถูกขจัดไปเรื่อยๆ ความทุกข์ก็จะถูกขจัดไปด้วยเช่นกัน เส้นทาง
ตลอดสายนี้ เป็นเส้นทางแห่งการพ้นทุกข์ด้วยการปฏิบัติ

ท่านจะได้พบว่า ท่านได้หยุดสร้างปมใหม่ๆขึ้นมาในจิต และปมเก่าๆก็จะคลายออกไปเอง
ท่านจะก้าวหน้า ต่อไปเรื่อยๆ จนถึงระดับที่สังขาร หรือการปรุงแต่งอันเป็นเชื้อ ที่นำไปสู่การ
เกิดใหม่ และนำไปสู่ความทุกข์ ได้ถูกขจัดออกไปให้หมดอย่างสิ้นเชิง เมื่อนั้นท่านจะเข้าสู่
สภาวะของความหลุดพ้น หรือสภาวะนิพพาน ในการเริ่มต้นปฏิบัติ ไม่จำเป็นว่า เราควรจะเชื่อ
ในเรื่องชาติก่อนและชาติหน้า การปฏิบัติวิปัสสนา นั้นถือว่า ปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชาติ
ปัจจุบัน หากเรายังคงสร้างสังขาร และสร้างความทุกข์ให้กับตนเองอยู่ เราก็จะต้องหยุดนิสัย
อันนี้ทันที เพื่อปลด ปล่อยตนเองให้พ้นจากความทุกข์

หากท่านได้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ สักวันหนึ่ง ท่านก็จะพูดได้ว่า ท่านได้ขจัดการปรุงแต่ง หรือ
สังขารเก่าๆทั้งหมดออกไปแล้ว และได้หยุดสร้างสังขารใหม่ๆ ขึ้นมาอีก ซึ่งเท่ากับว่าท่านได้
ช่วยให้ตนเองหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งสิ้นทั้งปวง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น