เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ
ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ
" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "
หน้าเว็บ
เกี่ยวกับฉัน
- Nitinandho
- อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย
ผู้ติดตาม
วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วิมุตติธรรม คำสอนของหลวงพ่อชา สุภัทโท
วิมุตติธรรม
คำสอนของหลวงพ่อชา สุภัทโท
โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวด ชีวิตกับธรรมะ
เป็นพระอรหันต์หรือเปล่า???
โยม : ท่านเป็นพระอรหันต์หรือเปล่าค่ะ???
หลวงปู่ชา : ต้นไม้ผลิดอกออกผล……มีนกมาเกาะกิ่งไม้แล้วจิกกินผลไม้นั้น จะหวานหรือเปรี้ยวเป็นเรื่องของนกที่จะรู้ได้ แต่ต้นไม้ไม่รู้อะไรเลย……
อย่าเป็นพระพุทธเจ้า อย่าเป็นพระอรหันต์ อย่าเป็นพระโพธิสัตว์……อย่าเป็นอะไรเลย การ "เป็นอะไร" ก็มีแต่ความทุกข์เท่านั้นแหละ เราไม่มีความจำเป็นต้องเป็นอะไรสักอย่างหนึ่ง……
(จากอุปลมณี น.551)
อย่าเพิ่งใจร้อนรีบละกิเลส
พอล : ทำอย่างไรจึงจะละกิเลสได้ครับ???
หลวงปู่ชา : อย่าเพิ่งใจร้อนรีบละกิเลส…..ใจเย็นๆ คอยดูความทุกข์ดูเหตุของมัน…..ดูให้ดีๆแล้วจะล่ะมันออกอย่างเต็มที่.
เหมือนกับเวลาเรากินอาหารเราเคี้ยวช้าๆ……เคี้ยวให้ละเอียด.มันจึงย่อยง่ายย่อยได้ดี….
(จากอุปลมณี น.550)
พระอรหันต์ตายแล้วไปไหน
ในวาระสุดท้ายของชีวิตถ้าหลวงพ่อพูดได้ท่านคงจะเอ่ยอ้างพระสูตรที่ท่านชอบมากที่สุดตอนหนึ่ง…..คือ คำตอบของพระยมกะตอบคำถามของพระสารีบุตรว่า
พระสารีบุตร : "ถ้ามีใครถามว่าพระอรหันต์ตายแล้วไปไหน? ท่านจะตอบเขาว่าอย่างไร…."
พระยมกะ : "ข้าพเจ้าจะตอบว่า รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณเกิดขึ้นแล้วดับไป"
ซึ่งในสมัยก่อนเมื่อหลวงปู่ชาอ้างคำนี้ท่านจะหัวเราะเบาๆ ด้วยความพอใจทุกครั้ง……
(จาก.อุปลมณี น.581)
ตะกั่วฤาแลกทอง
พอลเล่าว่า……คืนนั้นได้ฟังธรรมลึกซึ้งที่สุดที่เคยได้ยินมา นัยน์ตาของหลวงพ่อปิดลงแบบครึ่งหลับครึ่งตื่น….แล้วท่านพูดไปเรื่อยๆ….โดยไม่สนใจว่าพูดกับใคร….มีใครฟัง….มีใครสนใจ….ข้ออรรถข้อธรรมไหลเรื่อยออกมาเหมือน "สายน้ำที่ไหลนิ่ง".คำสอนของหลวงพ่อที่พอลพยายามจำมาถ่ายทอดให้ฟังมีตอนหนึ่งว่า….
"ในความจริง สิ่งที่ต้องละและต้องบำเพ็ญนั้นไม่มี………
สิ่งที่โลกเขาสมมติกันว่าเป็นของจริงมีราคา……สำหรับพระอรหันต์แล้วมันเป็นของปลอมไม่มีค่าเลย…..
ฉะนั้นการที่จะให้พระอรหันต์ไปสนใจเรื่องของโลกก็เหมือนกับเอาตะกั่วไปขอแลกกับทองคำ……..
เราคิดแต่ว่าเรามีตะกั่วแท่งใหญ่ๆ ท่านมีทองคำก้อนนิดเดียว…..ทำไมหนอท่านจึงไม่อยากเปลี่ยน…..
ทุกวันนี้คนเราจึงมองไม่เห็นพระอรหันต์กัน…."
(จากอุปลมณี น.545)
การปฏิบัตินั้นไม่จำเป็นต้องรู้อะไรมาก
"ในการปฏิบัติสมถะภาวนา ขั้นอุปจารสมาธินั้น…..
กายของเราเปรียบได้ดังไก่ที่ถูกขังไว้ในเล้า…..มันยังเดินวนไปวนมาอยู่ไม่นิ่งไม่หลับไม่ตาย……แต่อยู่ในการเคลื่อนไหวที่อยู่ในการควบคุม …..
ถ้าจิตสงบแล้วก็ให้พิจารณากายดูอาการสามสิบสอง…..
ถ้ามันฟุ้งซ่านก็ให้ตามรู้สึกนึกคิดที่จิตเจ้าของปรุงแต่งขึ้นมา…..ให้รู้เท่าทันว่ามันเป็นของไม่เที่ยงเป็นอนัตตาหาตัวตนเรา-เขาไม่ได้…..
การปฏิบัตินั้นไม่จำเป็นต้องรู้อะไรมาก…..เพียงแต่เฝ้าสังเกตดูตรงจุดนี้…..จนเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดแล้วจะได้ปล่อยวางความยึดถือในขันธ์ห้า….
นี่แหละคือจุดมุ่งหมายของการภาวนา"
(จากอุปลมณี น.547)
ปัญญาเทวทัต
วันหนึ่งหลวงพ่ออบรมเรื่องการเจริญมรณสติ (ให้แก่ฝรั่ง) ท่านเตือนให้หมั่นระลึกถึงความตายให้ได้อย่างน้อยวันล่ะสามครั้งเช้าบ่ายดึกก็ยังดี….
พอลได้ออกความเห็นแย้งว่า "…เรื่องความตายนี้มันเหมือนของที่อยู่ไกลจากตัวเรามาก ผมจึงกำหนดไม่ค่อยเป็น…….ถ้ามีภยันตรายมาคุกคามคงจะกำหนดได้ง่ายขึ้น"
หลวงปู่ชาจึงย้อนว่า "ภัยมันมีอยู่ทุกลมหายใจเข้าออกไม่ใช่หรือ"
พอลแย้งอีกว่า "….แต่ความตายมันเป็นเรื่องของอนาคต….บางครั้งรู้สึกว่าเราจะอยู่ในโลกนี้จนอายุถึงร้อยปี"
หลวงปู่ชาให้คะแนนลูกศิษย์เก่าตกขอบเลยว่า "…นั่นเป็นปัญญาของเทวทัต…."
(จากอุปลมณี น.548)
ทางเดินของพระ
ชอบ…..ก็ไม่ให้เอา
ไม่ชอบ…..ก็ไม่ให้เอา
ไม่มีรัก….ไม่มีเกลียด
เดินตรงไปหาสัจจธรรม.
(จากอุปลมณี น.559)
ต้องมีสติเหมือนเบรก ABS….
บางครั้งท่านก็ใช้วิธีอีกวิธีหนึ่งค่อนข้างตลกเช่นตอนออกบิณฑบาตกับท่านท่านก็ชวนคุยไปด้วยเดินไปด้วย บางทีท่านก็แกล้งหยุด …..เมื่อท่านหยุดผู้ที่เดินมาตามหลังเกิดเผลอสติตั้งตัวไม่ทันก็ไปชนท่านเข้า……คนตามหลังมาก็ชนอีก…..บางทีชนหมดทั้งแถวเลยก็มี…..
เมื่อกลับถึงวัดถึงเวลาเทศน์อบรมท่านก็ให้ข้อคิดเตือนสติให้มีความระมัดระวังสำรวมสังวร….มีสติในการยืนการเดินการทำอะไรทุกอย่างก็ให้มีสติระมัดระวังมากยิ่งขึ้น….
(จากอุปลมณี)
ต้อง....โอปนยิโก
หลวงพ่อเคยสอนพระที่แตกฉานในทางปริยัติรูปหนึ่งว่า…..
" …….เอาปริยัติของคุณใส่หีบห่อเก็บไว้เสียอย่าเอามาพูด…..
เวลามีอะไรขึ้นมามันไม่เป็นอย่างนั้น….เหมือนกับเราเขียนหนังสือว่าความโลภ
เวลามันเกิดขึ้นในใจมันไม่เหมือนกับตัวหนังสือ…..เวลาโกรธก็เหมือนกัน เขียนใส่กระดานดำเป็นอย่างหนึ่งมันเป็นตัวอักษร…..เวลามันอยู่ในใจมันอ่านอะไรไม่ทันหรอก
…..มันเป็นขึ้นมาที่นี่เลยสำคัญนักสำคัญมาก…..
จริงอยู่…..ปริยัติเขียนไว้ถูกแต่ต้อง "โอปนยิโก"….ให้เป็นคนน้อมถ้าไม่น้อมก็ไม่รู้ความจริง….."
(จากอุปลมณี น.206)
ตามรู้-ตามดูจิต
ที่สำคัญคือตัวรู้
รู้ดีมันก็รู้รู้ชั่วมันก็รู้
รู้สงบมันก็รู้รู้ไม่สงบมันก็รู้
อันนี้คือตัวรู้
พระพุทธเจ้าให้ตามรู้ ตามดูจิตของเรา….
(จากอุปลมณี น.213)
ธรรมะสุดยอด
ธรรมะเป็นสิ่งที่อยู่เหนือคำพูด……คำสอนธรรมะทั้งหลายนั้นมันเป็นคำสมมุติกันขึ้นมาพูด……ตัวธรรมะแท้ๆนั้นอยู่เหนือคำพูด…..
ผู้มีปัญญารู้เห็นธรรมะ……ท่านไม่ต้องการอะไร…..ไม่เอาอะไรอีกแล้ว.
เพราะถ้าจะเอาความสุข…..ความสุขมันก็ดับ.
ถ้าจะเอาความทุกข์……ความทุกข์มันก็ดับ.
จะเอาวัตถุสมบัติข้าวของอะไรต่างๆ……สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันก็จะดับเหมือนกัน.
แม้นแต่ร่างกายที่คนหวงแหนกันนี้…..เกิดขึ้นแล้วที่สุดแล้วมันก็ดับ.
(จากอุปลมณี น.496)
คนตายซะ….แต่เอาป่าไว้
ครั้งหนึ่งมีคณะแพทย์เขามากราบเรียนหลวงพ่อว่า
"ป่านี้ทึบเกินไปให้ตัดรอนกิ่งไม้ออกบ้างให้โปร่งๆ ลมจะได้เข้าสะดวก"
(คนพูดคงมีเจตนาจะช่วยให้อากาศถ่ายเทในวัดหนองป่าพงสะดวก พระเณรจะได้ไม่อาพาธ
เพราะในอดีตที่วัดหนองป่าพงเคยมีมาลาเรียระบาดอย่างหนัก)
หลวงพ่อตอบว่า " ตายซะคน เอาป่าไว้ก็พอ"
พวกหมอก็พยายามอธิบายโน้มน้าวหว่านล้อมด้วยเหตุผลต่างๆนาๆเกี่ยวกับเรื่องป่า…..แต่หลวงพ่อก็ยืนยันเจตนาดั้งเดิม
ท่านตอบอย่างเด็ดเดี่ยวว่า " พระหรือชีก็ตาม อาตมาเองก็ตาม ตายแล้วก็ตายไป เอาป่าไว้เสียดีกว่า"
พวกหมอก็เลยพูดไม่ออกแล้วก็ลากลับ……
(จากอุปลมณี น.113)
รักษาสมาธิสิยาก!!!
ทำสมาธิ…..คิดว่าทำแล้วหยุด…..ไม่ใช่!!!
ต้องมีสติ……รู้อารมณ์ที่จะมาทำลายสมาธิของเราให้วุ่นวาย…..รู้ตัวอยู่เสมอ…..
ทำสมาธิไม่ยากหรอก……
การรักษาสมาธิสิยาก…..
เหมือนสร้างบ้านหลังหนึ่งไม่นานก็เสร็จ…..แต่การรักษาบ้านทำความสะอาดบ้าน……ต้องทำไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิต.
(จากอุปลมณี น.538)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น