เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประวัติ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ








ขอน้อมบูชาคารวะธรรม
พระเดชพระคุณหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระอริยสงฆ์สุปฎิปันโน
แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่







ประวัติ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
หลวง ปู่แหวน สุจิณโณ เกิดในตระกลูของช่างตีเหล็ก เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2430 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน ณ บ้านนาโป่ง ตำบลหนองใน อำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยเป็นบุตรของนายใสกับนางแก้ว รามสิริ โดยมีน้องสาวร่วมบิดา- มารดาอีกหนึ่งคนคือ นางเบ็ง ราชอักษร และบิดามารดาของท่านได้ ตั้งชื่อว่า ญาณ ซึ่งแปลว่า ปรีชา กำหนดรู้ พอท่านมีอายุ ได้ประมาณ 5 ขวบเศษ โยมมารดาของท่านก็ล้มป่วย แม้จะได้รับการดูแลเยียวยารักษาเป็นอย่างดีจากสามี แต่อาการของท่านก็มีแต่ทรงกับทรุด ในที่สุดเมื่อท่านรู้ตัวว่า คงจะไม่รอดชีวิตไปได้แน่แล้วท่านจึงได้เรียกหลวงปู่แหวน เข้าไปใกล้ แล้วกล่าวความฝากฝังเอาไว้ว่า ลูกเอํย...แม่ยินดีต่อลูก สมบัติใด ๆ ในโลกนี้ล้วน กี่โกฎก็ตามแม่ไม่ยินดี แม่จะยินดีมากถ้าลูกจะบวชให้แม่ เมื่อลูกบวชแล้วก็ให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมา มีลูกมีเมียนะ... หลวงปู่แหวนพยักหน้า รับคำเท่านั้น ดวงวิญญาณของท่านก็ออกจากร่างไป มาอีกไม่นาน ดึกสงัดของค่ำคืนวันหนึ่งขณะที่คุณยายของหลวงปู่แหวนกำลังนอนหลับสนิทก็เกิด ฝันประหลาด อันเป็นมงคลนิมิตหมายที่ดีงาม ท่านจึงได้นำเอาความฝันมาเล่าสู่ลูกหลานและหลวงปู่แหวนฟัง ในวันรุ่งขึ้นว่า เมื่อคืนนี้ ยายนอนหลับและได้ฝันประหลาดมาก ฝันว่าเจ้าไปนอนอยู่ในดงขมิ้น จนกระทั่งเนื้อตัวของเจ้าเหลือง อร่ามไปหมด ดูแล้วน่ารักน่าเอ็ดดูยิ่งนัก ยายเห็นว่า เจ้านี้จะมีอุปนิสัยวาสนาในทางบวช ฉะนั้นยายขอให้เจ้าบวชตลอดชีวิต และขอให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมามีลูกมีเมียเจ้าจะทำได้ไหม

การบรรพชา

จาก นั้น วันเวลาผ่านมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2439 ท่านมีอายุได้ 9 ขวบ คุณยายของท่านที่ได้เลี้ยงดูแลเอาใจใส่มาอย่างทะนุถนอม ได้เรียกท่านพร้อมกับ หลานชายอีกคนหนึ่ง ที่เป็นญาติสนิทรุ่นราวคราวเดียวกัน เข้าไปหาแล้วพูดว่า ยายจะให้เจ้าทั้งสองบวชเป็น สามเณร เมื่อบวชแล้วไมต้องสึก เจ้าจะบวชได้ไหม ท่านหันมามองหลวงปู่แหวนอย่างตั้งใจฟังคำตอบ หลวงปู่แหวนก็พยักหน้ารับ พอใกล้เข้าพรรษา คุณยายของท่านจึงได้ตระเตรียมเครี่องบริขาร จนครบเรียบร้อยแล้ว จึงได้พาเด็กชายทั้งสองเข้าถวายตัวต่อพระอุปัชฌาย์ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า เข้าพรรษาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์ชัย พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นเด็กชาย ญาณ เป็นสามเณร แหวนนับแต่นั้นมา

ตลอดพรรษาที่ได้บรรพชา เป็นสามเณรนั้น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้แต่ทำวัตร สวดมนต์ต์บ้างตามโอกาส เท่าที่พระภิกษุและ สามเณร ภายในวัดจะร่วมกันทำสังฆกรรม นอกจากนั้นก็จะใช้เวลา ไปในทางเล่นซุกซนตามประสาเด็ก ในที่สุดพระอาจารย์อ้วน ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่าน มองเห็นว่าหากปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ จะทำให้สามเณรน้อยไม่มีความรู้ จึงพาไปฝากฝังถวาย เป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนังตยาคโน ณ วัดบ้านสร้างถ่อ อำเภอกษมสีมา จังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่น่าอัศจรรย์ ขณะที่พระอาจารย์อ้วนกำลังพาสามเณรน้อย เดินฝ่าเปลวแดดสีทองมุ่งหน้าเข้าสู่บริเวณวัดในยามบ่ายนั้น พระอาจารย์สิงห์ขนัง ศิษย์สำคัญสูงสุดของพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานคือ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต กำลังมองที่ร่างสามเณรน้อย พลันก็บังเกิดฤทธิ์อำนาจ แห่งอภิญญาณทำให้ท่านเห็นรัศมีเป็นแสงสว่างโอภาส เปล่งประกายออกมาจากร่างของสามเณรน้อยผู้นี้ เป็นผู้ที่มีบุญญาธิการมาเกิด ดั้งนั้นพระอาจารย์สิงห์ จึงได้ถ่ายทอดความรู้ตลอดจนข้อวัตรปฏิบัติทั้งหมดให้

การออกจาริกแสวงบุญ

* ปี พ.ศ. 2464 ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาธรรมกับ ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์

* ปี พ.ศ. 2478 ได้เข้าพบ ท่านเจ้า คุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ที่วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่ ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนจากมหานิกายเป็น ธรรมยุติ และได้รับฉายาว่า สุจิณโณ จากนั้นได้ออกจาริกแสวงบุญต่อ ขณะที่ศึกษาธรรมกับพระอาจารย์มั่นฯ ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ จังหวัดอุบลราชธานี มีศิษย์พระอาจารย์มั่นฯ ที่มีอัธยาศัย ที่ตรงกัน 2 ท่านคือ หลวงปู่ขาว อนาลโย และ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม เช่นเดียวกับคราวที่ จากท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ก็ได้ หลวงปู่ขาว จาริกแสวงธรรมเป็นเพื่อนจนถึงเมืองหลวงพระบาง

* ปีพ.ศ. 2489 หลวงปู่แหวนจำพรรษาที่วัดป่าบ้านปง อ.แม่แตง ในพรรษานั้นท่านอาพาธเป็นแผลที่ขาอักเสบต้องผ่าตัด โดยมีพระอาจารย์หนู สุจิตโต ซึ่งเดินทางมาจากดอยแม่ปั๋งพยายามอยู่ใกล้ๆ เมื่อครบ 7 วัน ต้องกลับไปดอยแม่ปั๋ง เพราะอยู่ระหว่างพรรษา จนกระทั่งเดือนเมษายนในปีต่อมา อาการอาพาธจึงดีขึ้นแต่ก็ยังไม่หายสนิทยังเดินไปไหนไกลๆ ไม่ได้ นับแต่นั้นมาอาจารย์หนูได้พยายามอยู่ใกล้ๆ เพื่อดูแลหลวงปู่แหวน ต่อมาท่านอาจารย์หนูได้ดำริว่า ปัจจุบันหลวงปู่มีอายุมากแล้ว ไม่มีพระภิกษุสามเณรอยู่ด้วย เพื่อเป็นอุปัฏฐาก ถ้านิมนต์มาอยู่ที่ดอยแม่ปั๋งก็จะได้ถวายการดูแลได้โดยง่ายไม่ต้องไปๆ มาๆ อยู่อย่างนี้ แต่ก็ต้องเป็นเพียงความคิดของพระอาจารย์หนูเท่านั้น เพราะในเวลาดังกล่าว ดอยแม่ปั๋งยังไม่มีอะไรพร้อมแม้แต่กุฏิก็ยังไม่มี

* ปีพ.ศ. 2505 ขณะที่หลวงปู่แหวนมีอายุ 75 ปี คืนวันหนึ่งท่านอาจารย์หนูนั่งภาวนาอยู่เกิดเป็นเสียงหลวงปู่ดังขึ้นมาที่หู ว่า จะมาอยู่ด้วยคนนะ หลังจากวันที่ได้ยินเสียงหลวงปู่แหวนอีกสามวัน พระอาจารย์หนูได้ถูกนิมนต์ไปที่วัดบ้านปงสถานที่ที่หลวงปู่อยู่ และถือโอกาสนิมนต์หลวงปู่แหวนมาที่วัดดอยแม่ปั๋งด้วย

ข้อตกลงและสัจจะอธิษฐาน

เมื่อหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ได้มาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งและเข้าพักที่กุฏิไม้หลังน้อย เป็นที่เรียบ ร้อยแล้ว หลวงปู่จึงได้มีข้อตกลงกับหลวงปู่หนู ดังนี้ :-

" หน้าที่ต่างๆ เช่น การดูแลรักษาเสนาสนะก็ดี การปกครองพระภิกษุสามเณรก็ดี การต้อน รับแขกก็ดี การเทศนาสั่งสอนอบรมประชาชนก็ดี และกิจอื่นๆ บรรดามีที่จะเกิดขึ้นภายในวัดและ นอกวัด ให้ตกเป็นภาระของพระอาจารย์หนูแต่ผู้เดียว" สำหรับตัวของหลวงปู่แหวนเอง ท่านขออยู่ในฐานะพระผู้เฒ่า ผู้ปฏิบัติธรรม จะไม่รับภาระใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากการปฏิบัติธรรมอย่างเดียว นอกจาการปล่อยวางภาระทุกอย่างแล้ว หลวงปู่ ยังได้ตั้งสัจจะอธิษฐานว่า" ต่อไปนี้ จะไม่รับนิมนต์ไปที่ไหนๆ ไม่ว่าใครจะนิมนต์ ไม่ขึ้นรถ ลงเรือ แม้ที่สุดถึงจะเกิด อาพาธป่วยไข้หนักเพียงใดก็ตาม จะไม่ยอมเข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรงตัวอยู่ตลอดไปไม่ได้ ก็จะให้สิ้นไปในป่า ันเป็นที่อยู่ตามอริยโคตรอริยวงศ์ ซึ่งบูรพาจารย์ท่านเคยปฏิบัติแล้วในกาลก่อน"

กุฏิย่างกิเลส
หลังจากที่หลวงปู่แหวน มาพำนักที่วัดดอยแม่ปั๋ง ไม่นานนัก ท่านก็เริ่มอาพาธอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้เกิดเป็นตุ่มคันไปทั้งตัว นับวันแต่จะเป็นมากขึ้นปกติร่างกายของหลวงปู่ นั้นผ่ายผอมอยู่แล้ว พอเกิดตุ่มคันทั้งตัวเช่นนั้น ก็ทำให้ท่านฉันไม่ ได้ นอนไม่หลับ ร่างกายท่านก็ยิ่งทรุดโทรมจนแทบจะว่ามีแต่หนังหุ้มกระดูก หลวงปู่หนู ต้องเป็นผู้ขวนขวาย ในการรักษาพยาบาลท่านอย่างสุดความสามารถ ซึ่งเป็น รื่องที่ลำบากมากในสมัยนั้น เพราะทางวัดขาดแคลนไปเสียทุกอย่างเมื่ออาการของโรคกำเริบมากขึ้น การรักษาด้วยการฉีดยา ฉันยาก็ไม่ช่วยให้ดีขึ้น แต่เป็นเพียงทุเลาลงบ้างเล็กน้อย เมื่อเห็นว่า การรักษาด้วยยาไม่มีทางหาย หลวงปู่จึงบอกให้หลวงปู่หนู ช่วยสร้างเตาผิงไว้ในกุฏิสำหรับอบตัวท่าน

หลวงปู่หนูจึงบอกให้ชาวบ้านมาช่วยกันสร้างเป็นกุฏิโรงไฟขึ้น ซึ่งมีที่ก่อไฟอยู่กับพื้นดิน แล้วยกพื้นอีกด้านหนึ่งให้สูงขึ้นสำหรับเป็นที่นอนของหลวงปู่ กุฏิโรงไฟหลังนี้ ไม่ว่าไม้พื้น ฝา และประตู ล้วนทำจากไม้โลงผี ที่ชาวบ้านเผาศพ แล้วเอา โลงมาไว้ที่วัดกุฏิหลังนี้ อยู่ใต้ต้นไทรใหญ่ เก็บไว้ให้เห็นเป็นอนุสรณ์มาจนปัจจุบัน ลูกศิษย์ลูกหา เรียกว่า กุฏิโรงไฟ แต่หลวงปู่ท่านเรียกว่า กุฏิย่างกิเลส ภายในกุฏิ จะมีไฟก่อด้วยฟืนลุกโชนอยู่ตลอด ๒๔ ชั่วโมง หลวงปู่ก็จะอยู่ภายในกุฏินี้ ตลอดเวลา จะออกมานอกกุฏิบ้างเฉพาะเวลาฉันอาหาร เวลาสรงน้ำ และออกมาเดินจงกรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้างเท่านั้น เวลานอกจากนั้น ท่านจะอยู่ในกุฏินี้ตลอด ติดต่อกันหลายปี ไม่ว่าหน้าแล้ง หน้าฝน หรือ หน้าหนาว

รักษาโรคตุ่มคันหายขาด

การอาพาธ ด้วยโรคตุ่มคันของหลวงปู่ ต้องรักษากันอยู่หลายปี ใช้ทั้งวิธีย่างไฟ การฉีดยา การฉันยา แต่ก็ยังไม่หาย ภาระนี้ตกอยู่กับหลวงปู่หนูทั้งหมด ต่อมาได้มีโยมชื่อ คุณแม่บู่ทอง กิติบุตร ได้มีจิตศรัทธาให้ความอุปถัมภ์วัด ให้ความอุปถัมภ์หลวงปู่ ได้มารับภาระในการจัดหายา และปัจจัยจำเป็นอื่นๆ มาถวาย ทำให้ภาระหนักของหลวงปู่หนูผ่อนคลายลงไปได้บ้าง ขณะที่การอาพาธ จากตุ่มคันตามร่างกายของหลวงปู่ไม่ดีขึ้น วันหนึ่งมีเจ้าหน้าที่กองปราบโรคเรื้อนของกระทรวงสาธารณสุข ขึ้นไปกราบหลวงปู่ที่วัด หลวงปู่หนูได้เล่าอาการอาพาธของ หลวงปู่ให้เจ้าหน้าที่กลุ่มนั้นฟัง

ก่อนลากลับ เจ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าวได้ถวายยาไว้ให้หลวงปู่ฉันจำนวนหนึ่ง หลวงปู่ฉันยานี้ แล้ว ปรากฏว่า อาการคันทุเลาลงตามลำดับ เมื่อยาใกล้หมด หลวงปู่หนูได้ไปจัดหามาเพิ่มปรากฏว่า หลวงปู่ ฉันยาไม่นาน โรคตุ่มคันก็หายสนิท ผิวหนังของท่านดูดำไปทั้งตัว ต่อมา หนังก็ลอกออกเป็นแผ่นๆ เหมือนงูลอกคราบหลังจากนั้น ผิวหนังของหลวงปู่ก็ดูสดในเป็นปกติ จึงกล่าวได้ว่า อาพาธเกือบเอาชีวิตไม่รอดของหลวงปู่ในครั้งนั้น รักษาหายด้วยยาของเจ้าหน้าที่ชุดปราบโรคเรื้อนของกระทรวงสาธรณสุขชุดนั้นโดย แท้

ย้ายไปอยู่กุฏิหลังใหม่

แม้ว่าหลวงปู่จะหายจากโรคร้ายนั้นแล้วก็ตาม ท่านก็ยังคงพักในกุฏิโรงไฟ หรือกุฏิย่างกิเลส ของท่านเหมือนที่เคยอยู่มา คือ ก่อไฟตลอด ๒๔ชั่วโมง และออกจากกุฏิเฉพาะตอนฉัน ตอนสรงน้ำ และออกมาเดินจงกรมเปลี่ยนอิริยาบถเท่านั้น ท่านอยู่อย่างนั้นทุกฤดูกาล ทุกวันไม่เปลี่ยนแปลงหลวงปู่หนูเห็นว่า เมื่อโรคร้ายของหลวงปู่หายแล้ว ก็ควรจะหยุดก่อไฟได้แล้ว จึงไปกราบเรียนหลวงปู่ ซึ่งท่านก็อนุญาตให้เลิกกองไฟนั้นได้ต่อมามีผู้มีจิตศรัทธาสร้างกุฏิถวายหลวงปู่หลังหนึ่ง ตอนแรกๆ หลวงปู่ก็ไปพักฉลองศรัทธา ให้เฉพาะเวลากลางวัน ส่วนเวลากลางคืน ท่านก็ลงมาพักจำที่กุฏิโรงไฟของท่านอย่างเดิมเมื่อท่านหายจากอาพาธ จนมีกำลังแข็งแรงเป็นปกติแล้ว ในฤดูแล้ง เวลากลางวัน บางวัน ท่านก็จะขึ้นไปพักภาวนาอยู่ในกุฏิหอเย็นตลอดวัน จะลงมาเมื่อถึงเวลาสรงน้ำ เป็นอันว่า หลวงปู่มีกุฏิพักอยู่ ๓ หลัง กลางคืนพักที่กุฏิโรงไฟ กลางวันไปพักภาวนาที่กุฏิหลังใหม่บ้าง ที่กุฏิหอเย็นบ้างต่อมาภายหลัง โยมอุปัฎฐากคือ คุณแม่บู่ทอง กิติบุตร ได้สร้างกุฏิถวายหลวงปู่หลังหนึ่ง หลวงปู่ก็ได้มาพำนักฉลองศรัทธาตราบจนมรณภาพ ตั้งแต่หลวงปู่แหวนได้ขึ้นไปทางเหนือ ท่านไม่เคยไปจำพรรษาที่ภาคอื่นเลย เพราะอากาศทางภาคเหนือสัปปายะสำหรับท่าน หลวงปู่แหวนได้มรณภาพลงที่วัดดอยแม่ปั๋งแห่งนี้ เมื่อวันที่ 2 ก.ค.2528 สิริอายุ 98 ปี

คำสอนของหลวงปู่แหวน

" อดีตก็เป็นทำเมา อนาคตก็เป็นทำเมา จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้อยู่ในปัจจุบัน ละอยู่ในปัจจุบันนี้จึงเป็นพุทโธ เป็นธัมโม ปัจจุบันก็พอแล้ว อดีต และอนาคตไม่ต้องคำนึงถึง เกิด แก่ เจ็บ ตาย วัน คืน เดือน ปี สิ้นไป หมดไป อายุเราก็หมดไป สิ้นไป หมั่นบำเพ็ญจิต บำเพ็ญทาน รักษาศีล ภาวนาต่อไป




























ชมภาพอิริยาบถ และอัำฐิหลวงปู่แหวน ที่แปรสภาพเป็นพระธาตุ


กลับไปด้านบน


วัดป่าสหธรรมิการาม ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
WatPasahadhammikaram Meapang Prao Chiangmai
ติดต่อ Email : pksjaipa@hotmail.com or watpa-sdm@hotmail.com
Tel. 053-257317. Mobile .089527064

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น