เจริญพร ขอให้มีความสุขสมหวังและ ถึงความสิ้นทุกข์ในเวลาอันใกล้โดยง่ายเทอญ

ยินดีต้อนรับ สหธรรมิกผู้มีใจเป็นกุศลทุกๆท่านครับ

ขอเรียนเชิญ สหธรรมิกทุกๆท่านมาร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมของพระพุทธองค์ รวมทั้งแบ่งปันความรู้ ข้อคิด คำแนะนำ ด้วยใจที่เปี่ยมด้วยเมตตาครับ

" ความมืดแม้ทั้งโลก ก็บดบังลำแสงเพียงน้อยนิดมิได้ "


สันโดษ

สันโดษ
สุขใด เสมอความสงบ ไม่มี

หน้าเว็บ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
อดีตที่ผ่านมาเป็นบทเรียน อโหสิให้ทุกคน แต่อย่ามีเวรกรรมร่วมกันอีกเลย

ผู้ติดตาม

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประวัติ พระสุพรหมยานเถร (ครูบาเจ้าพรหมา พฺรหฺมจกฺโก)









เป็นครูบาอาจารย์ ที่พระอาจารย์เกษมให้ความเคารพศรัทธา
เป็นอย่างมาก ไป ณ ที่ใดก็จะเล่าถึงปฎิปทาอันน่าเลื่อมใส
ของครูบาเจ้าให้ฟังเสมอ






ประวัติ พระสุพรหมยานเถร (ครูบาเจ้าพรหมา พฺรหฺมจกฺโก)

ท่านครูบาเจ้าพรมหมา พฺรหฺมจกฺโก มีนามเดิมว่า : - พรหมา พิมสาร กำเนิดวันอังคารที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ (เดือน ๑๒ เหนือ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑) ณ บ้านป่าแพ่ง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน (ป่าซางปัจจุบัน) บิดา - มารดา : - พ่อเป็ง พิมสาร และแม่บัวถา พิมสาร มีพี่น้องร่วมกัน ๑๓ คน ท่านเป็นคนที่ ๗ คือ
๑. พ่อน้อยเมือง พิมสาร
๒. เป็นเด็กหญิง
๓. แม่อุ้ย หล้าดวงดี
๔. พ่อหนานนวล พิมสาร
๕. พ่อหนานบุญ พิมสาร
๖. พระสุธรรมยานเถร (ครูบาอินทรจักรรักษา)
๗. พระสุพรหมยานเถร(ครูบาพรหมมา)
๘. พระครูสุนทรคัมภีรญาณ (ครูบาคัมภีระ วัดดอยน้อย)
๙. พ่อหนานแสง พิมสาร
๑๐. แม่ธิดา สุทธิพงศ์
๑๑. แม่นางหลวง ณ ลำพูน
๑๒. เด็กหญิงตุมมา พิมสาร (ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก)
๑๓. นางแสนหล้า สุภายอง

บิดามารดาเป็นผู้มีฐานะพอมีอันจะกิน มีอาชีพทำนา ทำสวน ประกอบสัมมาอาชีวะ ไม่มีการยิงนกตกปลา ไม่เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ และไม่มีการเลี้ยงหมูขาย มีความขยันถี่ถ้วนในการงาน ปกครองลูกหลานโดยยุติธรรม ไม่มีอคติ หนักแน่นในการกุศล ไปนอนวัดรักษาศีลอุโบสถเป็นประจำทุกวันพระ บิดาท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้ถึงแก่กรรมในสมณเพศเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ อายุ ๙๐ ส่วนมารดาของท่านได้นุ่งขาวรักษาอุโบสถศีลทุกวันพระตลอดอายุได้ถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ อายุ ๗๐ เมื่อเด็กชายพรหมาวัยพอสมควรได้ช่วยพ่อแม่ทำงาน ทำนา ทำสวน เลี้ยงวัว เลี้ยงควายงานประจำคือตักน้ำ ตำข้าว ปัดกวาดทำความสะอาดบ้านเรือนเป็นการตอบแทนบุญคุณของบิดามารดาเท่าที่พอจะทำ ได้ตามวิสัยของเด็ก


การศึกษา : -
ท่านครูบาพรหมมาได้เรียนหนังสืออักษรลานนาและไทยกลางที่บ้านจากพี่ชายที่ได้บวชเรียนแล้วได้สึกออกไป เพราะสมัยนั้นตามชนบทยังไม่มีโรงเรียนสอนกันอย่างปัจจุบันแม้แต่กระดาษจะเขียนก็หายาก ผู้สอนคือพี่ชายก็มีงานมาก ไม่ค่อยได้อยู่สอนเป็นประจำ จึงเป็นการยากแก่การเล่าเรียน อาศัยความตั้งใจและความอดทนเป็นกำลังจึงพออ่านออกเขียนได้

เหตุบรรพชา :-
อาศัยที่ได้ติดตามบิดามารดาไปวัดบ่อยๆ ได้เห็นพระภิกษุสามเณรอยู่ดีกินดี มีกิริยาเรียบร้อยก็เกิดความเลื่อมใส ยิ่งได้เห็นพระพี่ชายที่บวชอยู่หลายรูปพากันมาฉันข้าวที่บ้านยิ่งเพิ่มความ เลื่อมใสยิ่งขึ้น ต่อมาท่านก็จำได้ว่าปีนั้นเป็นปีชวด ปี พ.ศ. ๒๔๕๕ เป็นปีที่สงครามโลกครั้งที่ ๑ กำลังจะเกิด ปีนั้นดินฟ้าอากาศก็วิปริตผิดปกติ บ้านเรือนแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง ผู้คนต่างถูกทุพภิกขภัยเบียดเบียนระส่ำระส่าย ทั้งทางราชการก็เร่งรัดเกณฑ์ผู้คนไปเป็นทหารกันวุ่นวาย ท่านได้เห็นเหตุการณ์ดังนั้นก็รู้สึกไม่สบายใจ จึงน้อมใจไปในการบวชมากขึ้น ประกอบกับได้เห็นพวกเพื่อน ๆ ที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงหนีไปบวชกันแทบทุกวัน จะเป็นการบวชหนีทหารหรือบวชผลาญข้าวสุก หรือบวชเพื่อความพ้นทุกข์อย่างไรไม่ทราบ


บรรพชา :-
เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๕ เวลา ๑๕.๐๐ น. อายุ ๑๕ ปี ท่านถือผ้าจีวรกับดอกไม้ธูปเทียนลงจากเรือนไปด้วยความอาลัยบิดามารดาเป็นที่ สุด ขณะนั้นมีพี่ชายติดตามไปด้วย ครั้นไปถึงวัดป่าเหียง ตำบลแม่แรง อำเภอปากบ่วง (ป่าซางในปัจจุบัน) พระพี่ชายก็จัดการโกนหัวโกนคิ้วให้แล้วบิดานำเด็กชายพรหมากราบขอบรรพชา ณ.วัดป่าเหียง ต.แม่แรง อ.ป่าซาง มีเจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย เป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้นพระอุปัชฌาย์มอบผ้ากาสาวพัสตร์ให้แล้วก็มีพระพี่ชายกับใครอีกท่านหนึ่ง ได้มาช่วยกันนุ่งห่มให้ ในขณะนั้นได้ก้มมองดูผ้ากาสาวพัสตร์อันเหลืองอร่ามอันเป็นธงชัยของพระ อรหันต์ก็เกิดความรู้สึกซาบซึ้งนึกว่าเป็นบุญลาภ อันประเสริฐที่ได้เกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา จะขอบวชอุทิศตนต่อพระพุทธศาสนาจนกว่าชีวิตจะหาไม่ เมื่อบวชแล้วพระอุปัชฌาย์ผู้เคร่งครัดในวินัยได้เมตตา แนะนำสั่งสอนศีลาจารวัตร พร้อมทั้งการปฏิบัติธรรม เมื่อเป็นสามเณรต้องท่องจำสวดมนต์ ๑๕ วาร ตั้งแต่เยสันตาจนถึงมาติกามหาสมัย โดยเขียนใส่กระดานชนวนกว้าง ๑ คืบ ยาว ๑ ศอก กำหนดต้องท่องจำวันละ ๑ แป้น ท่านว่าชั้นแรกรู้สึกหนักใจ เห็นตัวหนังสือเล็กขนาดอ่านจนไม่ถนัด นึกว่าเราจะจำได้หรือไม่หนอ แต่เมื่อตั้งใจท่องอย่างจริงจัง ก็ได้วันละ ๑ แป้นจริง ๆ แป้นนั้นท่านยังเก็บไว้เป็นอนุสรณ์ ขณะที่กำลังเรียนอยู่ได้พยายามหลีกเร้นหลบหนีหน้าคนอื่นเสมอ แม้เดินทางไปฉันข้าวยังบ้าน ก็พยายามไปคนเดียว เพื่อฉวยโอกาสสวดมนต์ไปตามทาง นอกจากนั้นสามเณรพรหมาได้เข้าโรงเรียนประชาบาล จนจบประถมศึกษาปีที่ ๓ ซึ่งเทียบกับประถมปีที่ ๔ สมัยนี้ เพราะเวลานั้นประถม ๔ ยังไม่มีสอนกัน เมื่ออายุย่างเข้า ๑๗-๑๘ ก็ได้ศึกษานักธรรมตรีตามลำพังเพราะเวลานั้นยังไม่มีโรงเรียนและครูสอน หนังสือเรียนก็หายาก ีเพียงนวโกวาทกับธรรมนิเทศและวินัยวินิจฉัย ๒-๓ เล่มเท่านั้น ครั้นรอบปีมาทางจังหวัดก็จัดให้มีการสอบครั้งหนึ่งเป็นการสอบเฉพาะจังหวัด เพราะทางคณะสงฆ์ยังไม่ได้เปิดสนามสอบอย่างสมัยนี้ ใครสอบได้ก็ออกประกาศนียบัตรรับรองให้ ทำกันอย่างนี้เป็นเวลา ๒ ปี ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๙ จึงมีสำนักเรียนและครูสอนเป็นหลักแหล่ง โดนคณะสงฆ์ได้จัดตั้งสำนักเรียนที่วัดฉางข้าวน้อยเหนือซึ่งเป็นวัดเจ้าคณะ อำเภอสมัยนั้น ท่านกับสามเณรมอน อินกองงาม ได้พากันเดินไปศึกษาตลอดพรรษาซึ่งมีระยะทางไกลประมาณ ๓ กิโลเมตร ต้องเดินผ่านทุ่งนาการไปมาลำบากมาก ครั้นออกพรรษาแล้วก็ได้ย้ายไปอยู่วัดฉางข้าวน้อย เพื่อการศึกษาทั้งนักธรรมและวิชาสามัญ


อุปสมบท :-
อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ณ พัทธสีมาวัดป่าเหียง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เมื่อวันที่ ๑๖ ม.ค. ๒๔๖๑ เจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย (ครูบาขัตติยะ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ฮอน โพธิโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สม สุวินโท เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่า"พรหมจักโก" เมื่อเป็นพระภิกษุท่านได้หมั่นเล่าเรียนศึกษาปฏิบัติ จนปี พ.ศ.๒๔๖๒ ทางการคณะสงฆ์ได้ทำการเปิดสอบนักธรรมสนามหลวงขึ้น ท่านก็ได้เข้าสอบนักธรรมสนามหลวง มีนักเรียนใน ๗ จังหวัดภาคพายัพ จำนวน ๑๐๐ รูป ได้มาสอบรวมแห่งเดียว จังหวัดลำพูนมีเข้าสอบ ๑๑ รูป ทำการสอบ ณ วัดเชตุพน จ.เชียงใหม่ พระมหานายกเป็นผู้นำข้อสอบมาเปิดสนามสอบ ในสมัยนั้นข้อสอบวิชาละ ๒๑ ข้อ ผลการสอบออกมามีผู้สอบได้ ๒ รูป คือครูบาพรหมา พรหมจักโก และพระทองคำ วัดเชตุพน นอกนั้นไม่ผ่าน สอบตกหมด นับว่าเป็นพระรูปแรกของจังหวัดลำพูนที่สอบได้ ท่านพระมหานายก (พระมหานายกคือ พระปลัดขวาของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส) พร้อมคณะผู้นำข้อสอบมีความสนใจ ได้ติดตามมาถึงวัดป่าเหียงซึ่งเป็นวัดเดิมของท่านพระภิกษุพรหมา ท่านพระมหานายกได้มาขอต่อพระอุปัชฌาย์และพ่อแม่พี่น้องเพื่อจะรับไปศึกษาต่อ ที่กรุงเทพฯ แต่พระอุปัชฌาย์และพ่อแม่พี่น้องต่างก็เป็นห่วงเป็นใยไม่อนุมัติให้ไป โดยอ้างเหตุผลไปต่างๆ นาๆ มีตอนหนึ่งพระอุปัชฌาย์ได้หันมากล่าวแก่ท่านครูบาพรหมาว่า "ถ้ารักตัวก็จงตั้งใจปฏิบัติธรรม" ท่านครูบาระลึกถึงคำพระอุปัชฌาย์ เรื่องก็ยุติลงไป แต่ท่านก็รู้สึกเห็นใจและขอบพระคุณพระมหานายกเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้กรุณามาขอถึงที่อยู่ด้วยความหวังดี แต่ท่านก็รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจในตนเองที่มีบุญไม่ถึง จึงมีอุปสรรคทำให้ไม่ได้ไปศึกษาต่อให้มีความรู้ทางธรรมเท่าที่ควร ต่อนั้นมาท่านก็ได้ระลึกถึงคำพูดของพระอุปัชฌาย์ที่ว่า "ถ้ารักตัวก็จงตั้งใจปฏิบัติธรรม" นั้นยังก้องอยู่ในหู ท่านจึงได้พยายามศึกษาหาความรู้ทางด้านการปฏิบัติธรรม จากครูบาต่างๆ หลายๆองค์ อาทิ ท่านพระครูพิทักษ์พลธรรม (ครูบาหวัน มหาวโน) และพระครูภาวนาภิรัต (ครูบาอินทจักโก) ซึ่งเป็นพระพี่ชายที่อยู่สำนักเดียวกัน ยิ่งกว่านั้นยังได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้ ในข้อวัตรปฏิบัติธรรมจากครูบาอาจารย์อีกหลายท่านคือ ท่านครูบาแสน ญาณวุฑฒิ วัดหนองเงือก ท่านครูบาบุญมา ปารมี วัดกอม่วง และท่านครูบาอนุ ธัมมวุฑฒิ วัดพานิช เป็นต้น เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาหาทางปฏิบัติที่ถูกต้องพร้อมกับเวลานั้นก็รู้สึก สังเวชในชีวิตของตน เนื่องด้วยชีวิตเป็นของไม่แน่นอนความตายเป็นของแน่นอน ก่อนที่ยังไม่ถึงแก่ความตายนี้ ขอให้ได้บำเพ็ญสมณธรรมไว้ให้เต็มความสามารถ จะเป็นที่อุ่นใจและพอใจในชีวิต จึงได้น้อมจิตไปในทางปฏิบัติธรรม



ออกอยู่ป่าถือธุดงค์ :-
อาศัยความตั้งใจ และความนึกคิดเป็นแรมปี ลุถึงอายุ ๒๔ พรรษาที่ ๔ วันอังคารที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ เดือนเพ็ญ ๘ (เดือน ๑๐ทางหนือ) ซึ่งเป็นวันเข้าพรรษา ครูบาพรหมาได้ตัดสนใจกราบลาพระอุปัชฌาย์ โยมพ่อ โยมแม่ พร้อมทั้งญาติพี่น้องเพื่อออกไปอยู่ป่าบำเพ็ญสมณธรรม เมื่อเดินทางออกจากวัด ท่านได้มุ่งตรงสู่ดอยน้อย ซึ่งตั้งอยู่ฝากแม่น้ำปิง เขต อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ ๑๒ กิโลเมตร มีสามเณรอุ่นเรือน (ต่อมาเป็นพระอธิการอุ่นเรือน โพธิโก วัดบ้านหวาย) ติดตามไปด้วย วันต่อมาก็มีท่านพระครูพิทักษ์พลธรรม (ครูบาหวัน วัดป่าเหียง) ได้กรุณาติดตามไปอีกท่าหนึ่ง โดยได้พักจำพรรษาอยู่ในศาลาเก่าคนละหลัง บำเพ็ญสมณธรรมได้รับความอุปถัมภ์จากญาติโยมที่อยู่แถวนั้นเป็นอย่างดี พอออกพรรษาท่านครูบาพร้อมคณะที่ติดตามได้พากันเดินทางกลับมาคาราวะพระ อุปัชฌาย์ พักอยู่ ๓ คืนก็ได้กราบลาท่านพระอุปัชฌาย์เพื่อเดินทางสู่ป่า พอได้เวลาประมาณตี ๓ ก็ถือเอาบาตร จีวรกับหนังสือ ๒-๓ เล่ม พร้อมทั้งกาน้ำและผ้ากรองน้ำและออกเดินทางเข้าสู่ป่า เพื่อแสวงหา ความสงบ บำเพ็ญสมณธรรมให้เต็มความสามารถน้อมจิตไปในทางปฏิบัติ

ภัยธรรมชาติ :-

การอยู่ป่าปีแรกรู้สึกว่าลำบากมาก เนื่องจากเวลานั้นในจังหวัดภาคเหนือ ยังไม่ปรากฏว่าจะมีพระรูปไหนออกอยู่ป่ามาก่อน จึงทำให้ประชาชนเกิดความสนใจแล้วพากันมาดูถามนั่นถามนี่ บางพวกก็พากันมานั่งจ้องมองดูเป็นเวลานานตั้งครึ่งวัน ทำให้เกิดความรำคาญไม่สงบ จึงต้องมีการโยกย้ายมาเพื่อหลีกเร้นหลบหน้าผู้คนอยู่เสมอ บางครั้งก็มีเพื่อนสหธรรมิกได้ติดตามไปหลายรูป ในตอนแรกก็มีพระน้องชายกับโยมบิดาซึ่งได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วได้ติดตาม ไปด้วย ในตอนหลังบางครั้งก็มีครูบาอาจารย์หลายๆ ท่าน อาทิ ท่านครูบาคำ คันธิโย วัดดงหลวงสิบลี้ เป็นต้น ได้กรุณาให้ความอบอุ่นไปอยู่ด้วย บางครั้งก็ได้ติดตามท่านครูบาภาวนาภิรัต (พี่ชาย) วัดวนารามน้ำบ่อหลวงไปเป็นครั้งเป็นคราว ตอนกลางคืนจะได้ยินเสียงร้องของสัตว์ เช่น เสือ นกปู่ต๊ก (นกถืดทือ) เป็นต้น พอถึงฤดูใบไม้ร่วงก็ร้อนจนเกือบจะไม่มีที่จะกำบัง มีครั้งหนึ่งฝนตกพื้นดินชื้นแฉะนอนไม่ได้ ก็ขึ้นไปนอนตามขอนไม้แต่แล้วพอตื่นขึ้นก็ปรากฏว่าลงไปนอนอยู่ตามพื้นดินกัน หมด บางครั้งต้องนอนในน้ำเหมือนควายนอนปลัก มีครั้งหนึ่งท่านครูบาพรหมาพร้อมด้วยคณะได้ไปอาศัยอยู่ป่าไกลจากหมู่บ้าน ห้วยปันจ้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ประมาณ ๒ กิโลเมตร ก็เกิดมีฝนห่าใหญ่หลั่งไหลตกลงมา พระทุกรูปไม่มีกลดไม่มีร่ม ต่างก็พากันลุกขึ้นไหว้พระเอาผ้าคลุมศีรษะนั่งภาวนาอยู่ ในที่สุดก็นอนลง ทันใดนั้นก็มีน้ำป่าไหลหลากลงมา ทั้งฝนก็กระหน่ำตกไม่ขาดสาย พวกท่านก็ปล่อยเลยตามเลย นอนกันอยู่อย่างงั้นก็เพราะต่างก็ง่วงเต็มแก่ พอตื่นขึ้นมาก็เป็นเวลาสว่าง ท่านครูบาพรหมาได้เหลือบตามองดูจีวรที่ห่มอันเปียกชุ่มว่ามันเป็นอย่างไร ปรากฏว่าเป็นดินทรายไปหมด ยกเกือบไม่ขึ้น น่าสังเวชใจในชีวิตของตนเป็นกำลัง นึกปลอบในตนเองว่าช่างมันเถอะ อะไรๆ ล้วนแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งนั้น พอถึงเวลาภิกขาจารก็มีพวกศรัทธาชาวบ้านมากันมากหลายเพื่อตักบาตร พวกท่านก็เอาจีวรที่เปียกแฉะเป็นดินเป็นทรายนั่นแหละห่มคลุมไปบิณฑบาต ขณะนั้นมีคนแก่คนหนึ่งชื่อ พ่อพญาอักขระราชสาราจารย์ พอแกมองเห็นสภาพของพระธุดงค์เปียกม่อลอกเช่นนั้น แกก็ร้องไห้โฮออกมาด้วยความสงสารสภาพของพระธุดงค์พลอยทำให้คนอื่นพลอยหลั่ง น้ำตาลงด้วยเป็นแถว ครูบาท่านออกธุดงค์ ไปตามป่าเขาเกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือ เดินทางเข้าไปเขตพม่าและจำพรรษาอยู่ในเขตพม่าเป็นเวลานาน ๕ ปี หรือตามหมู่บ้านกระเหรี่ยงชาวเขา จนท่านครูบาสามารถพูดภาษากระเหรี่ยงได้เป็นอย่างดี เมื่อคราวจำพรรษาอยู่ในที่ต่างๆ ท่านถือธุดงค์วัตร อยู่ป่าเป็นวัตร ออกบิณฑบาตเป็นกิจวัตร ฉันภัตตาหารวันละ ๑ มื้อ นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ภายหลังจากที่ท่านครูบาพรหมาได้ออกจาริกธุดงค์ไปตามป่า ตามนิคมต่างๆ หลายแห่งเป็นเวลา ๒๐ พรรษา ท่านได้ต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคได้รับความสุข ความทุกข์ ความลำบาก บางครั้งไม่ได้ฉันท์ภัตตาหาร ๑-๒ วัน ท่านเพียรพยายามอดทนด้วยวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดที่สุด

พระพุทธบาทตากผ้า :-

หลังจากที่ท่านได้เดินธุดงค์ไปตามป่าและตามนิคมหลายที่หลายแห่งเป็นเวลา นานหลายสิบปี ได้รับความสุข ความทุกข์ทรมาน ได้ผ่านประสบการณ์มามากต่อมากแล้ว ท่านก็ได้มาพักอยู่วัดป่าหนองเจดีย์ ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี ตามคำนิมนต์ของครูบาอาจารย์ญาติโยม ได้มาประจำอยู่ที่นั้น ๔ พรรษา หลังจากนั้นก็ได้ย้ายมาอยู่วัดพระพุทธบาทตากผ้า อันเป็นปูชนียสถานสำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นวัดร้างมาตั้งพันกว่าปีได้ อยู่ได้พรรษาเดียวก็ได้ย้ายไปอยู่ป่าม่อนมะหิน ประจำอยู่ที่นั่น ๒ พรรษาแล้วได้ย้ายไปอยู่วัดป่าหนองเจดีย์อีก ๒ พรรษา พ.ศ.๒๔๙๑ ท่านจึงได้กลับมาจำพรรษา ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า และได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้ท่านจะชราภาพและได้จำพรรษาในวัดเป็นประจำแล้ว แต่ท่านยังถือธุดงค์ศรัทธาเป็นประจำ ในฤดูแล้งปีไหนมีโอกาส ท่านก็อุตส่าห์พาภิกษุสามเณรไปเดินธุดงค์อยู่ตามป่าหรือป่าช้าเป็นครั้งคราว เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาได้ทราบปฏิปทาในการเดินธุดงค์ แล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดพระพุทธบาทตากผ้า บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ยังวัด ท่านได้อาศัยร่มไม้บุนนาคต้นหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่หน้ากุฏิเป็นที่นั่งบำเพ็ญสมณธรรม เป็นประจำมาทุกเช้า ตลอดฤดูแล้งและกลางพรรษา ท่านปกครองลูกศิษย์เหมือนพ่อปกครองลูก ไม่มีอคติ ยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง ติเตียนบุคคลที่ควรติเตียน ท่านพร่ำสอนลูกศิษย์ สอนแล้วสอนอีก ท่านจะค่อยๆ พูดช้าๆ หนักแน่น ชักเรื่องราวมาประกอบ พยายามให้ศิษย์เข้าใจและเป็นคนดี ท่านไม่เคยด่าว่าลูกศิษย์ด้วยคำหยาบคายเลยแม้แต่ครั้งเดียว อย่างหนักก็พูดด้วยความท้อใจว่า "คนนี้มันจากที่ไหนมาเกิดหนอ" เท่านั้น การเฆี่ยนตีศิษย์ก็ไม่เคยมี ท่านมีความเมตตากรุณา มีความเคร่งครัดในศีลวัต เป็นผู้ไม่สะสม มีความสันโดษ อนุเคราะห์ช่วยเหลือบำรุง ทั้งด้านความเป็นอยู่ และการศึกษาของพระภิกษุ สามเณร ตลอดจนถึงงานสาธารณกุศล สงเคราะห์คนยากจนโดยทั่วไป ได้ก่อสร้างถาวรวัตถุ เสนาสนะ สิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ภายในวัดพระพุทธบาทตากผ้าและที่อื่นๆ รวมถึงงานเผยแพร่แสดงพระธรรมเทศนา งานเขียนหนังสือธรรมะและหนังสือสุภาสิตคำสอนหลายเล่ม ตัวอย่างหนังสือของท่านเพียงบางส่วน

๑. หนังสือคำถามคำตอบเรื่องหนานตั๋นกับหนานปัญญา
๒. หนังสือสุภาษิตคำสอน
๓. หนังสือทาน ศีล ภาวนา
๔.หนังสือคำถามคำตอบเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา
๕. หนังสืออภิณหปัจเวกขณ์
๖. หนังสือเขมสรณาคมน์

ท่านพร่ำสอนลูกศิษย์ลูกหาให้อยู่ในศีลธรรม จัดตั้งสำนักโรงเรียนพระปริยัติ นักธรรมบาลี จัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน พัฒนาวัดพระพุทธบาทตากผ้าให้เจริญรุ่งเรืองจนได้รับการยกย่องว่าเป็นวัด พัฒนาตัวอย่างที่มีความสำคัญทางศาสนาแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน และด้วยการสั่งสมบุญบารมี คุณงามความดีของท่านนี้เองทำให้ ท่านได้รับความเคารพศรัทธาจากพระภิกษุสงฆ์ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ศรัทธาประชาชนทุกเพศทุกวัยทั้งในประเทศ และนานาประเทศ พระครูบาเจ้าพรหมา พรหมจักโก ทรงไว้ซึ่งคุณแห่งพระสุปฏิปันโน พระอริยสงฆ์ ผู้มีความบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิงมีจริยาวัตรอันงดงาม มีวัตรปฏิบัติเคร่งครัด มีปฏิปทาอันอุดมและมั่นคง บำเพ็ญสมณธรรมอยู่เนืองนิจ คือผู้นำประโยชน์ความสุข ความสงบให้เกิดแก่หมู่คณะ ทรงไว้คือสังฆรัตนะคุณควรบูชาสักการะแก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย

มรณภาพ :-

ครูบาเจ้าพรหมจักรได้บำเพ็ญสมณธรรมจนเข้าสู่วัยชราภาพ สังขารของท่านชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา อาการเจ็บไข้ได้ป่วยจึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ท่านครูบาเจ้าได้เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ก่อนที่ท่านครูบาท่านจะละสังขาร ท่านครูบาได้ตื่นจากจำวัด แต่เช้าปฏิบัติธรรมตามกิจวัตร เมื่อถึงเวลาท่านลุกนั่งสมาธิ สำรวมจิตตั้งมั่นสงบระงับ ครูบาเจ้าพรหมจักรได้ดับขันธ์ (มรณภาพ) ในท่านั่งสมาธิภานา เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๒๗ เวลา ๐๖.๐๐ น.อายุ ๘๗ ปี ๖๗ พรรษา คณะศิษยานุศิษย์ได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศลเป็นเวลา ๓ ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงครูบาเจ้าพรหมจักรด้วยพระองค์เอง หลังจากพระราชทานเพลิงเสร็จสิ้นแล้วได้เก็บอัฐิ ปรากฏว่าอัฐิของครูบาเจ้าพรหมจักรได้กลายเป็นพระธาตุ มีวรรณะสีต่างๆ หลายสี

ประวัติ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ








ขอน้อมบูชาคารวะธรรม
พระเดชพระคุณหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระอริยสงฆ์สุปฎิปันโน
แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่







ประวัติ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
หลวง ปู่แหวน สุจิณโณ เกิดในตระกลูของช่างตีเหล็ก เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2430 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน ณ บ้านนาโป่ง ตำบลหนองใน อำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยเป็นบุตรของนายใสกับนางแก้ว รามสิริ โดยมีน้องสาวร่วมบิดา- มารดาอีกหนึ่งคนคือ นางเบ็ง ราชอักษร และบิดามารดาของท่านได้ ตั้งชื่อว่า ญาณ ซึ่งแปลว่า ปรีชา กำหนดรู้ พอท่านมีอายุ ได้ประมาณ 5 ขวบเศษ โยมมารดาของท่านก็ล้มป่วย แม้จะได้รับการดูแลเยียวยารักษาเป็นอย่างดีจากสามี แต่อาการของท่านก็มีแต่ทรงกับทรุด ในที่สุดเมื่อท่านรู้ตัวว่า คงจะไม่รอดชีวิตไปได้แน่แล้วท่านจึงได้เรียกหลวงปู่แหวน เข้าไปใกล้ แล้วกล่าวความฝากฝังเอาไว้ว่า ลูกเอํย...แม่ยินดีต่อลูก สมบัติใด ๆ ในโลกนี้ล้วน กี่โกฎก็ตามแม่ไม่ยินดี แม่จะยินดีมากถ้าลูกจะบวชให้แม่ เมื่อลูกบวชแล้วก็ให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมา มีลูกมีเมียนะ... หลวงปู่แหวนพยักหน้า รับคำเท่านั้น ดวงวิญญาณของท่านก็ออกจากร่างไป มาอีกไม่นาน ดึกสงัดของค่ำคืนวันหนึ่งขณะที่คุณยายของหลวงปู่แหวนกำลังนอนหลับสนิทก็เกิด ฝันประหลาด อันเป็นมงคลนิมิตหมายที่ดีงาม ท่านจึงได้นำเอาความฝันมาเล่าสู่ลูกหลานและหลวงปู่แหวนฟัง ในวันรุ่งขึ้นว่า เมื่อคืนนี้ ยายนอนหลับและได้ฝันประหลาดมาก ฝันว่าเจ้าไปนอนอยู่ในดงขมิ้น จนกระทั่งเนื้อตัวของเจ้าเหลือง อร่ามไปหมด ดูแล้วน่ารักน่าเอ็ดดูยิ่งนัก ยายเห็นว่า เจ้านี้จะมีอุปนิสัยวาสนาในทางบวช ฉะนั้นยายขอให้เจ้าบวชตลอดชีวิต และขอให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมามีลูกมีเมียเจ้าจะทำได้ไหม

การบรรพชา

จาก นั้น วันเวลาผ่านมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2439 ท่านมีอายุได้ 9 ขวบ คุณยายของท่านที่ได้เลี้ยงดูแลเอาใจใส่มาอย่างทะนุถนอม ได้เรียกท่านพร้อมกับ หลานชายอีกคนหนึ่ง ที่เป็นญาติสนิทรุ่นราวคราวเดียวกัน เข้าไปหาแล้วพูดว่า ยายจะให้เจ้าทั้งสองบวชเป็น สามเณร เมื่อบวชแล้วไมต้องสึก เจ้าจะบวชได้ไหม ท่านหันมามองหลวงปู่แหวนอย่างตั้งใจฟังคำตอบ หลวงปู่แหวนก็พยักหน้ารับ พอใกล้เข้าพรรษา คุณยายของท่านจึงได้ตระเตรียมเครี่องบริขาร จนครบเรียบร้อยแล้ว จึงได้พาเด็กชายทั้งสองเข้าถวายตัวต่อพระอุปัชฌาย์ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า เข้าพรรษาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์ชัย พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นเด็กชาย ญาณ เป็นสามเณร แหวนนับแต่นั้นมา

ตลอดพรรษาที่ได้บรรพชา เป็นสามเณรนั้น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้แต่ทำวัตร สวดมนต์ต์บ้างตามโอกาส เท่าที่พระภิกษุและ สามเณร ภายในวัดจะร่วมกันทำสังฆกรรม นอกจากนั้นก็จะใช้เวลา ไปในทางเล่นซุกซนตามประสาเด็ก ในที่สุดพระอาจารย์อ้วน ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่าน มองเห็นว่าหากปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ จะทำให้สามเณรน้อยไม่มีความรู้ จึงพาไปฝากฝังถวาย เป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนังตยาคโน ณ วัดบ้านสร้างถ่อ อำเภอกษมสีมา จังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่น่าอัศจรรย์ ขณะที่พระอาจารย์อ้วนกำลังพาสามเณรน้อย เดินฝ่าเปลวแดดสีทองมุ่งหน้าเข้าสู่บริเวณวัดในยามบ่ายนั้น พระอาจารย์สิงห์ขนัง ศิษย์สำคัญสูงสุดของพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานคือ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต กำลังมองที่ร่างสามเณรน้อย พลันก็บังเกิดฤทธิ์อำนาจ แห่งอภิญญาณทำให้ท่านเห็นรัศมีเป็นแสงสว่างโอภาส เปล่งประกายออกมาจากร่างของสามเณรน้อยผู้นี้ เป็นผู้ที่มีบุญญาธิการมาเกิด ดั้งนั้นพระอาจารย์สิงห์ จึงได้ถ่ายทอดความรู้ตลอดจนข้อวัตรปฏิบัติทั้งหมดให้

การออกจาริกแสวงบุญ

* ปี พ.ศ. 2464 ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาธรรมกับ ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์

* ปี พ.ศ. 2478 ได้เข้าพบ ท่านเจ้า คุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ที่วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่ ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนจากมหานิกายเป็น ธรรมยุติ และได้รับฉายาว่า สุจิณโณ จากนั้นได้ออกจาริกแสวงบุญต่อ ขณะที่ศึกษาธรรมกับพระอาจารย์มั่นฯ ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ จังหวัดอุบลราชธานี มีศิษย์พระอาจารย์มั่นฯ ที่มีอัธยาศัย ที่ตรงกัน 2 ท่านคือ หลวงปู่ขาว อนาลโย และ หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม เช่นเดียวกับคราวที่ จากท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ก็ได้ หลวงปู่ขาว จาริกแสวงธรรมเป็นเพื่อนจนถึงเมืองหลวงพระบาง

* ปีพ.ศ. 2489 หลวงปู่แหวนจำพรรษาที่วัดป่าบ้านปง อ.แม่แตง ในพรรษานั้นท่านอาพาธเป็นแผลที่ขาอักเสบต้องผ่าตัด โดยมีพระอาจารย์หนู สุจิตโต ซึ่งเดินทางมาจากดอยแม่ปั๋งพยายามอยู่ใกล้ๆ เมื่อครบ 7 วัน ต้องกลับไปดอยแม่ปั๋ง เพราะอยู่ระหว่างพรรษา จนกระทั่งเดือนเมษายนในปีต่อมา อาการอาพาธจึงดีขึ้นแต่ก็ยังไม่หายสนิทยังเดินไปไหนไกลๆ ไม่ได้ นับแต่นั้นมาอาจารย์หนูได้พยายามอยู่ใกล้ๆ เพื่อดูแลหลวงปู่แหวน ต่อมาท่านอาจารย์หนูได้ดำริว่า ปัจจุบันหลวงปู่มีอายุมากแล้ว ไม่มีพระภิกษุสามเณรอยู่ด้วย เพื่อเป็นอุปัฏฐาก ถ้านิมนต์มาอยู่ที่ดอยแม่ปั๋งก็จะได้ถวายการดูแลได้โดยง่ายไม่ต้องไปๆ มาๆ อยู่อย่างนี้ แต่ก็ต้องเป็นเพียงความคิดของพระอาจารย์หนูเท่านั้น เพราะในเวลาดังกล่าว ดอยแม่ปั๋งยังไม่มีอะไรพร้อมแม้แต่กุฏิก็ยังไม่มี

* ปีพ.ศ. 2505 ขณะที่หลวงปู่แหวนมีอายุ 75 ปี คืนวันหนึ่งท่านอาจารย์หนูนั่งภาวนาอยู่เกิดเป็นเสียงหลวงปู่ดังขึ้นมาที่หู ว่า จะมาอยู่ด้วยคนนะ หลังจากวันที่ได้ยินเสียงหลวงปู่แหวนอีกสามวัน พระอาจารย์หนูได้ถูกนิมนต์ไปที่วัดบ้านปงสถานที่ที่หลวงปู่อยู่ และถือโอกาสนิมนต์หลวงปู่แหวนมาที่วัดดอยแม่ปั๋งด้วย

ข้อตกลงและสัจจะอธิษฐาน

เมื่อหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ได้มาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งและเข้าพักที่กุฏิไม้หลังน้อย เป็นที่เรียบ ร้อยแล้ว หลวงปู่จึงได้มีข้อตกลงกับหลวงปู่หนู ดังนี้ :-

" หน้าที่ต่างๆ เช่น การดูแลรักษาเสนาสนะก็ดี การปกครองพระภิกษุสามเณรก็ดี การต้อน รับแขกก็ดี การเทศนาสั่งสอนอบรมประชาชนก็ดี และกิจอื่นๆ บรรดามีที่จะเกิดขึ้นภายในวัดและ นอกวัด ให้ตกเป็นภาระของพระอาจารย์หนูแต่ผู้เดียว" สำหรับตัวของหลวงปู่แหวนเอง ท่านขออยู่ในฐานะพระผู้เฒ่า ผู้ปฏิบัติธรรม จะไม่รับภาระใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากการปฏิบัติธรรมอย่างเดียว นอกจาการปล่อยวางภาระทุกอย่างแล้ว หลวงปู่ ยังได้ตั้งสัจจะอธิษฐานว่า" ต่อไปนี้ จะไม่รับนิมนต์ไปที่ไหนๆ ไม่ว่าใครจะนิมนต์ ไม่ขึ้นรถ ลงเรือ แม้ที่สุดถึงจะเกิด อาพาธป่วยไข้หนักเพียงใดก็ตาม จะไม่ยอมเข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรงตัวอยู่ตลอดไปไม่ได้ ก็จะให้สิ้นไปในป่า ันเป็นที่อยู่ตามอริยโคตรอริยวงศ์ ซึ่งบูรพาจารย์ท่านเคยปฏิบัติแล้วในกาลก่อน"

กุฏิย่างกิเลส
หลังจากที่หลวงปู่แหวน มาพำนักที่วัดดอยแม่ปั๋ง ไม่นานนัก ท่านก็เริ่มอาพาธอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้เกิดเป็นตุ่มคันไปทั้งตัว นับวันแต่จะเป็นมากขึ้นปกติร่างกายของหลวงปู่ นั้นผ่ายผอมอยู่แล้ว พอเกิดตุ่มคันทั้งตัวเช่นนั้น ก็ทำให้ท่านฉันไม่ ได้ นอนไม่หลับ ร่างกายท่านก็ยิ่งทรุดโทรมจนแทบจะว่ามีแต่หนังหุ้มกระดูก หลวงปู่หนู ต้องเป็นผู้ขวนขวาย ในการรักษาพยาบาลท่านอย่างสุดความสามารถ ซึ่งเป็น รื่องที่ลำบากมากในสมัยนั้น เพราะทางวัดขาดแคลนไปเสียทุกอย่างเมื่ออาการของโรคกำเริบมากขึ้น การรักษาด้วยการฉีดยา ฉันยาก็ไม่ช่วยให้ดีขึ้น แต่เป็นเพียงทุเลาลงบ้างเล็กน้อย เมื่อเห็นว่า การรักษาด้วยยาไม่มีทางหาย หลวงปู่จึงบอกให้หลวงปู่หนู ช่วยสร้างเตาผิงไว้ในกุฏิสำหรับอบตัวท่าน

หลวงปู่หนูจึงบอกให้ชาวบ้านมาช่วยกันสร้างเป็นกุฏิโรงไฟขึ้น ซึ่งมีที่ก่อไฟอยู่กับพื้นดิน แล้วยกพื้นอีกด้านหนึ่งให้สูงขึ้นสำหรับเป็นที่นอนของหลวงปู่ กุฏิโรงไฟหลังนี้ ไม่ว่าไม้พื้น ฝา และประตู ล้วนทำจากไม้โลงผี ที่ชาวบ้านเผาศพ แล้วเอา โลงมาไว้ที่วัดกุฏิหลังนี้ อยู่ใต้ต้นไทรใหญ่ เก็บไว้ให้เห็นเป็นอนุสรณ์มาจนปัจจุบัน ลูกศิษย์ลูกหา เรียกว่า กุฏิโรงไฟ แต่หลวงปู่ท่านเรียกว่า กุฏิย่างกิเลส ภายในกุฏิ จะมีไฟก่อด้วยฟืนลุกโชนอยู่ตลอด ๒๔ ชั่วโมง หลวงปู่ก็จะอยู่ภายในกุฏินี้ ตลอดเวลา จะออกมานอกกุฏิบ้างเฉพาะเวลาฉันอาหาร เวลาสรงน้ำ และออกมาเดินจงกรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้างเท่านั้น เวลานอกจากนั้น ท่านจะอยู่ในกุฏินี้ตลอด ติดต่อกันหลายปี ไม่ว่าหน้าแล้ง หน้าฝน หรือ หน้าหนาว

รักษาโรคตุ่มคันหายขาด

การอาพาธ ด้วยโรคตุ่มคันของหลวงปู่ ต้องรักษากันอยู่หลายปี ใช้ทั้งวิธีย่างไฟ การฉีดยา การฉันยา แต่ก็ยังไม่หาย ภาระนี้ตกอยู่กับหลวงปู่หนูทั้งหมด ต่อมาได้มีโยมชื่อ คุณแม่บู่ทอง กิติบุตร ได้มีจิตศรัทธาให้ความอุปถัมภ์วัด ให้ความอุปถัมภ์หลวงปู่ ได้มารับภาระในการจัดหายา และปัจจัยจำเป็นอื่นๆ มาถวาย ทำให้ภาระหนักของหลวงปู่หนูผ่อนคลายลงไปได้บ้าง ขณะที่การอาพาธ จากตุ่มคันตามร่างกายของหลวงปู่ไม่ดีขึ้น วันหนึ่งมีเจ้าหน้าที่กองปราบโรคเรื้อนของกระทรวงสาธารณสุข ขึ้นไปกราบหลวงปู่ที่วัด หลวงปู่หนูได้เล่าอาการอาพาธของ หลวงปู่ให้เจ้าหน้าที่กลุ่มนั้นฟัง

ก่อนลากลับ เจ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าวได้ถวายยาไว้ให้หลวงปู่ฉันจำนวนหนึ่ง หลวงปู่ฉันยานี้ แล้ว ปรากฏว่า อาการคันทุเลาลงตามลำดับ เมื่อยาใกล้หมด หลวงปู่หนูได้ไปจัดหามาเพิ่มปรากฏว่า หลวงปู่ ฉันยาไม่นาน โรคตุ่มคันก็หายสนิท ผิวหนังของท่านดูดำไปทั้งตัว ต่อมา หนังก็ลอกออกเป็นแผ่นๆ เหมือนงูลอกคราบหลังจากนั้น ผิวหนังของหลวงปู่ก็ดูสดในเป็นปกติ จึงกล่าวได้ว่า อาพาธเกือบเอาชีวิตไม่รอดของหลวงปู่ในครั้งนั้น รักษาหายด้วยยาของเจ้าหน้าที่ชุดปราบโรคเรื้อนของกระทรวงสาธรณสุขชุดนั้นโดย แท้

ย้ายไปอยู่กุฏิหลังใหม่

แม้ว่าหลวงปู่จะหายจากโรคร้ายนั้นแล้วก็ตาม ท่านก็ยังคงพักในกุฏิโรงไฟ หรือกุฏิย่างกิเลส ของท่านเหมือนที่เคยอยู่มา คือ ก่อไฟตลอด ๒๔ชั่วโมง และออกจากกุฏิเฉพาะตอนฉัน ตอนสรงน้ำ และออกมาเดินจงกรมเปลี่ยนอิริยาบถเท่านั้น ท่านอยู่อย่างนั้นทุกฤดูกาล ทุกวันไม่เปลี่ยนแปลงหลวงปู่หนูเห็นว่า เมื่อโรคร้ายของหลวงปู่หายแล้ว ก็ควรจะหยุดก่อไฟได้แล้ว จึงไปกราบเรียนหลวงปู่ ซึ่งท่านก็อนุญาตให้เลิกกองไฟนั้นได้ต่อมามีผู้มีจิตศรัทธาสร้างกุฏิถวายหลวงปู่หลังหนึ่ง ตอนแรกๆ หลวงปู่ก็ไปพักฉลองศรัทธา ให้เฉพาะเวลากลางวัน ส่วนเวลากลางคืน ท่านก็ลงมาพักจำที่กุฏิโรงไฟของท่านอย่างเดิมเมื่อท่านหายจากอาพาธ จนมีกำลังแข็งแรงเป็นปกติแล้ว ในฤดูแล้ง เวลากลางวัน บางวัน ท่านก็จะขึ้นไปพักภาวนาอยู่ในกุฏิหอเย็นตลอดวัน จะลงมาเมื่อถึงเวลาสรงน้ำ เป็นอันว่า หลวงปู่มีกุฏิพักอยู่ ๓ หลัง กลางคืนพักที่กุฏิโรงไฟ กลางวันไปพักภาวนาที่กุฏิหลังใหม่บ้าง ที่กุฏิหอเย็นบ้างต่อมาภายหลัง โยมอุปัฎฐากคือ คุณแม่บู่ทอง กิติบุตร ได้สร้างกุฏิถวายหลวงปู่หลังหนึ่ง หลวงปู่ก็ได้มาพำนักฉลองศรัทธาตราบจนมรณภาพ ตั้งแต่หลวงปู่แหวนได้ขึ้นไปทางเหนือ ท่านไม่เคยไปจำพรรษาที่ภาคอื่นเลย เพราะอากาศทางภาคเหนือสัปปายะสำหรับท่าน หลวงปู่แหวนได้มรณภาพลงที่วัดดอยแม่ปั๋งแห่งนี้ เมื่อวันที่ 2 ก.ค.2528 สิริอายุ 98 ปี

คำสอนของหลวงปู่แหวน

" อดีตก็เป็นทำเมา อนาคตก็เป็นทำเมา จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้อยู่ในปัจจุบัน ละอยู่ในปัจจุบันนี้จึงเป็นพุทโธ เป็นธัมโม ปัจจุบันก็พอแล้ว อดีต และอนาคตไม่ต้องคำนึงถึง เกิด แก่ เจ็บ ตาย วัน คืน เดือน ปี สิ้นไป หมดไป อายุเราก็หมดไป สิ้นไป หมั่นบำเพ็ญจิต บำเพ็ญทาน รักษาศีล ภาวนาต่อไป




























ชมภาพอิริยาบถ และอัำฐิหลวงปู่แหวน ที่แปรสภาพเป็นพระธาตุ


กลับไปด้านบน


วัดป่าสหธรรมิการาม ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
WatPasahadhammikaram Meapang Prao Chiangmai
ติดต่อ Email : pksjaipa@hotmail.com or watpa-sdm@hotmail.com
Tel. 053-257317. Mobile .089527064

เวียงกุมกาม











เวียงกุมกาม




www.MooHin.com > จังหวัดเชียงใหม่ > เวียงกุมกาม / Wiang Kum Kam



เวียงกุมกาม/ Wiang Kum Kam

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.montfort.ac.th

เวียงกุมกาม : เมืองประวัติศาสตร์ใต้แผ่นดิน
สมโชติ อ๋องสกุล บทความ : กฤษนรา ภิมุข ถ่ายภาพ

น้ำท่วมใหญ่ในสมัยเรา
น้ำท่วมใหญ่ในภูมิภาคของไทยเกิดขึ้นตลอดช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ในยุคของเรามีน้ำท่วมใหญ่ผู้คนล้มตายจำนวน มากอย่างน้อย 4 ครั้งดังนี้ (1.) 22 พฤศจิกายน 2531 สมัยพลเอกชาติชาย เป็นนายกฯ เหตุเกิดที่ ต.กระทูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช คนตามไม่น้อยกว่า 700 ราย (2.) สิงหาคม 2542 สมัยนายยกชวน เป็นนายก ฯ เหตุเกิดที่เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี และ จ.ตราด (3.) 4 พฤษภาคม 2544 สมัย พตท.ทักษิณ เป็นนายก ฯ เหตุเกิดที่ ต.สรอย /ต.แม่พุง /ต.แม่กระต๋อม / ต.แม่ลา อ.วังชิ้น จ.แพร่ คนตายไม่น้อยกว่า 32 ราย (4.) 11 สิงหาคม 2544 สมัยนายยกชวน เป็นนายก ฯ เหตุเกิดที่ ต.น้ำก้อ ต.น้ำชุน ต.หนองไขว่ อ.หล่มสัก จ.เพรชบูรณ์ คนตายไม่น้อยกว่า 73 ราย และในปัจจุบันน้ำเริ่มเข้าท่วมบ้านเรือนในจังหวัดต่างๆ หลายจังหวัดในขณะนี้ ในอดีตราวสามร้อยปีที่ผ่านมา เหตุเกิดที่เชียงใหม่ กรณีเวียงกุมกามและประมาณพันกว่าปีที่ผ่านมาเหตุเกิดที่เชียงแสน จ. เชียงราย กรณีเวียงหนองล่มและก่อนหน้านั้นเหตุเกิดที่ริมแม่น้ำโขงกรณีเมืองสุวรรณโคมคำ เมืองต่างๆ ดังกล่าวเป็นเมืองใน ตำนานที่มีจริงและล่มสลายด้วยพลังสายน้ำ
2527 ร่องรอยโบราณคดีเวียงกุมกามเริ่มปรากฏ
ร่องรอยเวียงกุมกามเมืองในตำนานปรากฏให้เห็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2527 โดยชาวบ้านขุดพบพระพิมพ์ดินเผาแบบต่างๆ จำนวนมากในวัดช้างค้ำ บริเวณสนามหญ้าหนาโรงเรียนวัดช้างค้ำ หน่วยศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ ต้องเข้า ระงับแล้วดำเนินการขุดแต่งทางโบราณคดีพบว่า บริเวณสนามหญ้าหน้าโรงเรียน เป็นวิหารใหญ่ (2528) จากนั้นได้ขุดแต่งแหล่งอื่นๆ ที่ใกล้เคียงเช่นโบราณ สถานวัดอีก้าง วัดปู่เปี้ย วัดน้อย (2529) วัดหัวหนอง วัดกู่ไม้ซ้ง วัดพระเจ้าองค์ดำ วัดพระธาตุขาว (2532)(ดูรายงานการขุดแต่งศึกษาและบูรณะ โบราณสถานเวียงกุมกาม หน่วยศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ พ.ศ.2531-2532) และมีการสำรวจเรื่อยมาล่าสุด (2545)พบว่ามีร่องรอยวัดร้างในเขตกำแพงเวียงกุมกาม 25 แห่ง และนอกกำแพง 5 แห่ง (ไทยรัฐ 16 สค. 2545 )

2529 ร่องรอยประวัติศาสตร์เวียงกุมกาม
การขุดแต่งทางโบราณคดีพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งที่ เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรจำนวนมาก ซึ่งเป็นการขุดพบข้อมูลเพิ่มเติมจากที่ถิ่น รัติกนก(2451-2538)เคยพบเศษจารึกวัดกานโถมเมื่อ พ.ศ. 2509-2511 2529 สรัสวดี อ๋องสกุล ได้เริ่มทำวิจัยเรื่องเวียงกุมกาม ทำให้ทราบว่าบริเวณนี้เคยเป็นชุมชนมาตั้งแต่สมัยหริภุญไชย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 รุ่นเดียวกันกับชุมชนโบราณริมน้ำปิงแห่งอื่นเช่น เวียงมโน เวียงท่ากาน เวียงเถาะ โดยมีเศษจารึกภาษามอญโบราณเป็นหลักฐานครั้นพญามังรายเข้ายึดครองเมืองลำพูนได้แล้ว ก็มาตั้งเวียงกุมกามเป็นศูนย์กลางการปกครองก่อนคิดสร้างเมืองเชียงใหม่ในเวลาต่อมา จาการสำรวจร่องน้ำปิงห่างและปิงเก่าประกอบกับข้อมูลทางธรณีวิทยา ทำให้ทราบสาเหตุที่ทำให้เวียงกุมกามอยู่ใต้แผ่นดินคือการเปลี่ยนแปลงเส้นทางของสายน้ำปิงห่างโดยการทับถมของตะกอนทราบปรากกให้เห็นเด่นชัด(ดู สรัสวดี อ๋องสกุล เวียงกุมกาม:การศึกษาชุมชนโบราณในล้านนา เชียงใหม่ 2537) ศักราชสร้างเวียงกุมกาม
ปีสร้างเวียงเชียงใหม่ชัดเจนเพราะมีจารึกวัดเชียงมั่น ระบุตรงกับ พ.ศ.1839 เวียงกุมกามสร้างก่อนเชียงใหม่ต้องมีอายุมากกว่า 700 ปี และไม่มีหลักฐานร่วมสมัยยืนยัน เอกสารที่เขียนสมัยราชวงค์มังรายเช่นชินกาลมาลีปกรณ์ ตำนานมูลศาสนา ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ล้วนเขียนหลังสมัยหลายปีจึงระบุปีที่สร้างเวียงกุมกามต่างกัน แต่กุญแจสำคัญคือเวียงกุมกามสร้างหลังพญามังราย ยึดเมืองหริภุญไชยได้แล้วปีที่พญามังราย ตีได้เมืองหริภุญไชยมาจาก 2 แหล่ง ทำให้เกิดแหล่งความรู้ 2 ชุดคือ 1.จากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ คือ จุลศักราช 643(ตรงกับ พ.ศ. 1824) หลักฐานนี้ระบุว่าจากนั้นพญามังรายสร้างเมืองแม่แช่ว อยู่ 3 ปี แล้วมาสร้างเวียงกุมกาม เมื่อจุลศักราช 648(ตรงกับ พ.ศ. 1835)(ดู ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี ) 2.จากชิลกาลมาลีปกรณ์ซึ่งเขียนโดยพระรัตนปัญญาเถระ เมื่อ พ.ศ.2067 ระบุว่าพญามังรายตีได้เมืองลำพูนเมื่อจุลศักราช 654(ตรงกับ พ.ศ. 1835)โดยมีแผนยุธศาสตร์ทำสัญญาสามกษัตริย์ เมื่อ จุลศักราช 649(ตรงกับ พ.ศ.1830) หลักฐานนี้ระบุว่าเมื่อยึดลำพูนได้แล้วก็มาสราง"นครกุมกาม"ต่อมาจึงมาสร้างเมืองเชียงใหม่ (ดู ชิลกาลมาลีปกรณ์ : รตท.แสง มนวิทูร 2517) โดยไม่ได้กล่าวถึงการสร้างเมืองแช่ว หลังจากยึดเมืองลำพูนได้แล้วพญามังรายอยู่ลำพูนได้ 2 ปี จึงสร้างเวียงแห่งใหม่ พญามังรายคงสร้าง เวียงกุมกามขึ้นเมื่อ พ.ศ.1837 ตำนานกล่าวว่าพญามังรายได้แผ่อำนาจ ไปทางพม่าได้กำลังคนเป็นช่างฝีมือกลับมาจำนวนมาก ร่องรอยฝีมือช่างพม่าจึงปรากฏ ชัดเจนที่เวียงกุมกามเช่นหัวบันใดขึ้นวิหาร (จุลทรรศน์ พยาฆรานนท์ 5 กย. 2545)






การดำรงอยู่และหายไปของเวียงกุมกามยุคแรก


การดำรงอยู่และหายไปของเวียงกุมกามยุคแรก
เมื่อพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ.1839 แล้ว เวียงกุมกามยังได้รับการบำรุงสืบมา ร่องรอยปูนปั้นเจดีย์วัดปู่เปี้ย ซึ่งเหมือนกับวัดเจ็ดยอดเป็นหลักฐานที่ทำให้ทราบว่ามีการทนุบำรุงถึงสมัยพญาเมืองแก้วเป็นอย่างน้อยทั้งนี้มีหลักฐานเอกสาร ระบุว่าพญาเมืองแก้วเสด็จไปเวียงกุมกามเมื่อ พ.ศ. 2062 (สรัสวดี อ๋องสกุลเวียงกุมกาม )

ปลายสมัยพญาเมืองแก้วใน พ.ศ. 2067 เกิดอุทกภัยใหญ่ในเมืองเชียงใหม่คนตายมาก(ตำนานเพื้นเมืองเชียงใหม่)แม้น ไม่ได้กล่าวถึงเวียงกุมกามซึ่งนำปิงท่วมเป็นประจำดังหลักฐานกล่าวว่า "ยามกลาววรรษาน้ำท่วมฉิบหายมากนัก" (พศาวดารภาคที่ 61)ก็กล่าวได้ว่าครั้งนั้นเกิดน้ำท่วมใหญ่ที่เวียงกุมกามด้วย ปลายสมัยราชวงศ์มังรายคือสมัยท้าวแม่กุ (พ.ศ.2094-2101) แม่นำปิงนังใหลอยู่ตามแนวปิงห่างแสดงว่านำปิงยังไม่ เปลี่ยนสายทางเดิน แต่สมัยกองทัพธนบุรีที่ขึ้นมาขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ.2317มาพักทัพที่ท่าวังตาลริมน้ำปิง เส้นทางปัจจุบันแล้ว แสดงว่าแม่น้ำปิงเปลี่ยนทางเดินครั้งใหญ่ในช่วงพม่าปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2101-2317)โดยไม่พบเอกสารระบุปี หลังจากการขุดแต่งทางโบราณคดีตั้งแต่ 2527 พบแต่ตะกอนดิน ทรายและกรวดทับถมโบราณสถานหนาประมาณ1.50-2.30 เมตร (สรัสวดี อ๋องสกุล เวียงกุมกาม )

เวียงกุมกาม:เมืองประวัติศาสตร์ใต้ดิน
หลังจากกรมศิลปากรขุดแต่งโบราณคดีช่วงแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2527-2532 ร่องรอยวัดที่อยู่ใต้ดินก็เริ่มปรากฏให้เห็นทั้งวัดพบรากฐานค่อนข้างสมบุรณ์ ครั้น พ.ศ.2544 รัฐบาล พตท.ทักษิณ ชินวัตร จัดสรรงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ 58,000 ล้านบาทให้โครงการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองประวัติศาสตร์เวียงกุมกามจำนาน 39.4 ล้านบาท งบประมาณดังกล่าว ส่วนหนึ่งใช้ในการขุดแต่งทางโบราณคดีเพิ่มเติมอีก 3-4 แหล่ง พบวัดแห่งใหม่เพิ่มขึ้น 1. พบซุ้มประตูโขงบริเวณริมแม่น้ำปิงห่าง ทางเดินปูด้วยอิฐเข้าวัด
ยิ่งขุดยิ่ง พบร่องรอยถาวรวัตถุในวัดมากขึ้น 2.พบวิหารขนาดใหญ่ 2 วิหารคู่กันโดยเปิดหน้าดินไว้ เพียงวิหารเดียวส่วนอีวิหารหนึ่งยังคงอยู่ใต้ดิน 3. พบวิหารอยู่ริมถนนเข้าชุมชนเวียงกุมกาม ทำให้เห็นว่าถ้าหากทำการสำรวจเพิ่มขึ้น ทั้งหมดของเวียงกุมกามและมีการขุดแต่ง ทางโบราณคดีทุกแหล่งรวมกันรวมทั้ง ร่องรอยของปิงห่างเมืองประวัติศาสตร ใต้ดินก็จะปรากฏชัดมากขึ้นอีกและอย่างข่อนข้างสมบูรณ์ ทิศทางอนุรักษ์เพื่อการเป็นมรดกโลก (The Word Heritage)
ปี 2534 UNESCO ขึ้นบัญชีให้ไทยเป็นมรดกโลก 3 แห่ง
1.อุทยานประวิศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร
2.นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
3.เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-ท่งใหญ่นเรศวร
ต่อมาปี 2535 มีมติให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อ.หนองหาร จ.อุดรเป็นมรดกโลกแห่งที่ 4 ของไทย เงื่อนไขหนึ่งการเป็นมรดกโลกของ UNESCO คือต้องเป็นแหล่งวัฒนธรรมที่เป็นของแท้ดังเดิม และมีรูปแบบ พิเศษทางสถาปัตยกรรมหรือมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มีความสัมพันธ์กับแนวคิดหรือความเชื่อที่มีความสำคัญเป็นสากลหรือ อาจเป็นตัวอย่างที่เด่นของวิถีชีวิต ตามโบราณประเพณีดังนั้นกรณีเวียงกุมกามหากทุกฝ่ายช่วยกันเช่น
1.สนับสนุนทุนในการเปิด หน้าดินแหล่งโบราณคดีทั้งหมด
2.ดูแลรักษาโบราณสถานส่วนที่เปิดหน้าดินไปแล้วอย่างมีระบบเช่นมีผังเมืองเฉพาะเป็นต้น
เวียงกุมกามซึ่งมีลักษณ์พิเศษในฐานะเมืองประวัติศาสตร์ ที่อยู่ใต้ดินเพราะน้ำท่วมครั้งใหญ่ ก็อาจจะได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกแหล่งต่อไป



ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ http://lanna.arc.cmu.ac.th/L

เวียงกุมกามคือชื่อของ เวียงโบราณแห่งหนึ่ง บนแอ่งที่ราบ เชียงใหม่-ลำพูน มีความสัมพันธ์ กับอาณาจักรหริภุญไชยในฐานะชุมชนโบราณแห่งหนึ่ง ที่ขยายตัวเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรล้านนาในเวลาต่อมา สันนิษฐานว่าเป็นเมืองที่สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 1837 ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตก ของเมืองเชียงใหม่ ในเขต ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันยังคงปรากฎหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรม และโบราณคดี จำนวนมากมาย

เรื่องราวของเวียงกุมกามในระยะแรกเป็นที่รู้จักกันเฉพาะผู้ที่สนใจทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี จนกระทั่งต่อมา มีราษฎรในพื้นที่ ขุดพบพระพิมพ์ดินเผาจำนวนมากบริเวณวัดกานโถม เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลทำให้ทางราชการเริ่ม ให้ความสนใจเรื่องราว ของเวียงกุมกาม และในที่สุดใ นปี พ.ศ. 2527 กรมศิลปากรก็ได้เข้าไปทำการขุดค้น และบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานต่างๆ และทำต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ในช่วงเวลาดังกล่าวเรื่องราวของเวียงกุมกามในแง่มุมต่างๆ ได้ถูกเปิดเผยขึ้นเป็นระยะๆ ผลงานที่สำคัญได้แก่รายงานการขุดค้นของกรมศิลปากร ซึ่งได้ให้ข้อมูลในแนวกว้างจากการขุดค้นแหล่งโบราณสถานที่สำคัญหลายแห่ง รายละเอียดส่วนใหญ่จึงเป็นการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลและสันนิษฐานเบื้องต้นเป็นสำคัญ

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวถือว่ามีความสำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง อีกส่วนหนึ่งคือการค้นคว้าของนักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ในกลุ่มนี้จะทำการศึกษาเชิงวิเคราะห์ในทางลึกโดยให้ความสนใจถึงข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ และหลักฐานทางด้านโบราณเป็นสำคัญ อาทิเช่นผลงานการศึกษาจารึก ของ อ.ฮันส์ เพนธ์ จากสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ผลงานของ คุณก่องแก้ว วีระประจักษ์ และ คุณเทิม มีเต็ม จากกองหอสมุดแห่งชาติ ได้เน้นศึกษาถึงจารึกต่างๆที่พบในเวียงกุมกาม และผลงานที่สำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งได้แก่ งานวิจัย ของ อ.สรัสวดี อ๋องสกุล ทำการศึกษาถึงเรื่อง "เวียงกุมกาม การศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนโบราณในล้านนา"

ผลงานเหล่านี้ช่วยให้ภาพ ของเวียงกุมกามที่เคยคลุมเครือ กระจ่างขึ้นเป็นลำดับ ในส่วนของการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม เวียงกุมกาม ยังถือว่าอยู่ในระยะเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าผลงานของ อ.สุรพล ดำริห์กุล อดีตหัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 4 และผู้ดำเนินการขุดค้นเวียงกุมกาม ได้เสนอบทความ เรื่อง เวียงกุมกาม : แหล่งความรู้ของล้านนายุคทอง ซึ่งถือว่าเป็นผลงานการศึกษา ในเชิงประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในทางลึกได้ไกลที่สุดในขณะนี้ ปัญหาอย่างหนึ่งของการชะลอตัวในการศึกษา อาจจะเนื่องมาจากข้อจำกัดของหลักฐานที่เหลืออยู่ ส่วนใหญ่ไม่สามารถตอบข้อสงสัยให้กระจ่างได้ทั้งหมด ส่วนที่เหลือก็ยังไม่ได้รับการขุดค้น ด้วยจำกัดในเรื่องงบประมาณ แต่เป็นที่น่ายินดีว่าทางกรมศิลปกรเอง ก็ไม่ได้หยุดเสียทีเดียว เวียงกุมกามยังคงเป็นโครงการที่กรมศิลปากร ให้ความสนใจอยู่อย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญขณะนี้ก็กำลังอยู่ในระหว่างการขุดค้นกลุ่มโบราณสถานใหม่ อีก 8 แห่ง หลังเสร็จสิ้นโครงการเราน่าจะพบหลักฐานใหม่ ่อันเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมมากยิ่งขึ้น

ผลการศึกษาที่ผ่านมา

1.เวียงกุมกามจากศิลาจารึก และเอกสารโบราณ เรื่องราวของเวียงกุมกาม เริ่มปรากฏหลักฐานในศิลาจารึก และเอกสารโบราณ ประเภท คัมภีร์ทางศาสนา, ตำนาน และพงศาวดาร หลายฉบับ เอกสารที่สำคัญได้แก่

1. ศิลาจารึกหลักที่ 38 วัดพระยืน จ.ลำพูน มีอายุราวจุลศักราช 732 (พ.ศ.1913) ในรัชสมัยของพระเจ้ากือนา ราชวงค์มังราย

2. ตำนานมูลศาสนา น่าจะเป็นเอกสารที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งเอกสารในช่วงหลังใช้เป็นต้นเค้า

3. ชินกาลมาลีปกรณ์ แต่งโดย พระรัตนปัญญา เถระ ราว ปี พ.ศ. 2059

4. พงศาวดารภาคที่ 61 ตำนานประวัติศาสตร์ของล้านนา

5. ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ เป็นเอกสารจากใบลาน นายสงวน โชติสุขรัตน์ได้รวบรวมและปริวรรต และจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2514

6. พงศาวดารโยนก เป็นเอกสารชั้นรอง รวบรวมและเรียบเรียงจากเอกสารโบราณต่างๆ โดยพระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุญนาค) พิมพ์เป็นตอนๆ ในหนังสือวชิรญาณ ระหว่างปี พ.ศ. 2441-2442 และจัดพิมพ์รวมเล่ม เมื่อ ปี พ.ศ. 2450

จารึกและ เอกสารโบราณดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นหลักฐานชั้นต้นและชั้นรองที่เก่าแก่ที่สุด ที่มีการกล่าวถึง เวียงกุมกาม เรื่องราวส่วนใหญ่ในเอกสารดังกล่าว เขียนสอดคล้องกันเกี่ยวกับการมีอยู่จริงของ เวียงโบราณแห่งหนึ่งลุ่มแม่น้ำปิง สร้างโดยพญามังราย แต่ยังคงมีความขัดแย้งกันอยู่มาก ในเรื่องการระบุศักราชที่สร้างเวียงกุมกาม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติของเอกสารโบราณ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการรวบรวมเรียบเรียง จากคำบอกเล่าภายหลังเหตุการณ์ต่างๆ เป็นเวลานาน ย่อมมีข้อผิดพลาดในการคัดลอก

อย่างไรก็ตาม เอกสารดังกล่าวก็สามารถใช้อ้างอิงเป็นข้อมูลเบื้องต้นได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ต้องอาศัยการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี และสถาปัตยกรรมรอบข้าง ประกอบเป็นสำคัญ สำหรับเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม เอกสารได้กล่าวถึงเรื่องสำคัญๆ ประกอบประกอบไปด้วย เรื่องของการสร้างเมือง, และเรื่องของการสร้างวัด เรื่องของการสร้างเมือง ส่วนใหญ่กล่าวถูกต้องตรงกันว่า เวียงกุมกามสร้างโดยพระยามังราย โดยเลือกชัยภูมิอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกของเมืองหริภุญไชย แปลงบ้านอยู่ 3 แห่ง คือบ้านกลาง บ้านลุ่ม และบ้านแหม (บ้านแห้มแล) โปรดให้ขุดเวียงทั้งสี่ด้าน ไขแม่น้ำระมิงค์เข้าใส่คือ ตั้งลำเวียงรอดทุกเบื้อง ตั้งบ้านเรือนอยู่มากนัก

.. ยามกลางวรรษาน้ำท่วมฉิบหายมากนัก…ยามฤดูพรรษา ช้างม้า โค กระบือ หาที่อาศัยมิได้…แล้วให้ขุดหนองสระอันหนึ่ง ณ ที่ใกล้เรือนหลวง ยามเมื่อขุดนั้นพระยาเมงรายเยี่ยมพระแกลดูคนทำการทุกวัน เหตุฉะนั้นจึงให้ชื่อสระนั้นว่า หนองต่าง(คือหน้าต่าง) ปรากฎมาจนทุกวันนี้…..แล้วพระยามังรายให้ตั้งตลาดกุมกามเป็นที่ประชุมซื้อขายแห่งชนทั้งหลาย ตลาดนั้นเป็นที่สนุกสนานยิ่งนัก….. เจ้าเมงรายเห็นคนชาวแจ้ช้าง เชียงเรือ ขี่เรือข้ามน้ำมาตลาด เรือคับคั่งกันล่มหลายลำ เหตุนั้นเธอจึงสร้างสะพานข้าม แม่น้ำเรียนกว่าสะพานกุมกามแต่นั้นมา

นี่คือส่วนหนึ่งของการบรรยายเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเวียงกุมกาม หลักฐานทางด้านโบราณและสภาพภูมิศาสตร์กายภาพในปัจจุบันมีความสอดคล้องกันกับ เรื่องของการสร้างวัด ปรากฎหลักฐานกล่าวถึงการสร้างวัดกู่คำ และวัดกานโถม ในชินกาลมาลีปกรณ์ ความว่า ต่อจากได้ชัยชนะพระเจ้าญีบาแล้ว พระเจ้ามังรายได้สร้างนครกุมาม เมื่อจุลศักราช 665 แล้วโปรดให้สร้างเจดีย์กู่คำ ขึ้นในนครนั้น เรียงรายไปด้วยพระพุทธรูป 60 องค์ ในพงศวดารโยนก กล่าวว่า ลุจุลศักราช 650 ปีชวด สัมฤทธิศก เจ้าเมงรายให้เอาดินที่ขุดหนองต่างมาทำอิฐก่อเจดีย์กู่คำไว้ในเวียงกุมกาม ส่วนการสร้างวัดกานโถมนั้นปรากฎ หลักฐานในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่...และพงศวดารโยนก กล่าวถึงช่างกานโถม..โดยโปรดให้ช่างกานโถม ปรุงเครื่องไม้พระวิหาร มาจากเมืองเชียงแสนแล้วนำมาสร้างที่เวียงกุมกาม และโปรดให้ก่อเจดีย์ที่วัดการโถม..เจดีย์นั้นตีนธรณีกว้าง 6 วา สูง 4 วา แปงที่อยู่พระเจ้า 2 ชั้น ชั้นลุ่มพระเจ้านั่ง 3 องค์ ชั้นบนไว้พระเจ้ายืนองค์หนึ่งแปงรูปพระสารีบุตรโมคคัลลานและรูปพระยาอินทร์และนางธรณีรักษา พระพุทธรูปนั้นแล

2.การศึกษาประวัติศาสตร์เวียงกุมกาม ทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ภายหลัง ปี พ.ศ. 2537 กรมศิลปากรได้เสนอรายงานการขุดค้นและบูรณะโบราณสถานในเวียงกุมกาม เป็นระยะๆ ได้แก่

- รายงานการขุดแต่งศึกษาและบูรณะวัดน้อย เวียงกุมกาม ปี พ.ศ. 2528

- รายงานการปฏิบัติงานทางโบราณคดี โบราณสถานวัดอีก้าง บ้านช้างค้ำ พ.ศ. 2528-2529

- รายงานการปฏิบัติงานทางโบราณคดี กลุ่มโบราณสถานวัดปูเปี้ยฯ พ.ศ. 2529

-รายงานการขุดค้นศึกษาโบราณสถานวัดกุมกาม บ้านช้างค้ำ หมู่ที่11 ปี พ.ศ. 2529

-รายงานการปฏิบัติงานทางโบราณคดี โบราณสถานวัดธาตุขาว ต.ท่าวังตาล พ.ศ. 2529

-รายงานการขุดแต่ง และบูรณะเสริมความมั่นคง วัดหัวหนอง เวียงกุมกาม ปี พ.ศ. 2531

- รายงานการปฏิบัติงานทางโบราณคดีแหล่งโบราณคดี วัดพระเจ้าองค์ดำ ปี พ.ศ. 2532

- รายงานการขุดแต่งและบูรณะเสริมความมั่นคงแหล่งโบราณคดี "กู่ไม้ซ้ง" พ.ศ.2532

- เวียงกุมกาม รายงานการขุดแต่งศึกษาและบูรณะโบาณสถาน พ.ศ. 2531-2532

รายงานการขุดค้น ขุดแต่ง และบูรณะ โบราณสถานต่างๆ ในเวียงกุมกามนี้ ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเบื้องต้นจากการสำรวจขุดค้น ประกอบไปด้วย ภาพถ่าย ภาพลายเส้น ของกลุ่มโบราณสถานต่าง ๆ มีการสันนิษฐานรูปแบบและกำหนดอายุ ในเบื้องต้น ซึ่งถือว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุด ที่ช่วยทำให้การศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสถาปัตยกรรมเกิดความเคลื่อนไหว ผลงานจากการศึกษาของนักวิชาการรุ่นต่อๆมา ได้ใช้ข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าวเป็นฐานในการศึกษาต่อไป ควบคู่กับการศึกษาและค้นคว้าของกรมศิลปากร นักวิชาการทางด้านโบราณคดี ที่สนใจทางด้านจารึกก็ได้เสนอผลการศึกษาที่น่าสนใจ และสามารถสนับสนุนการศึกษาในส่วนอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ผลงานที่สำคัญได้แก่การศึกษาของ อ.ดร.ฮันส์ เพนธ์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจารึกอักษรล้านนา จากสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ทำการศึกษา จารึกพบที่วัดกานโถม ในปีพ.ศ. 2528 ตลอดจนถึง ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และ คุณเทิม มีเต็ม จากกองหอสมุดแห่งชาติ ได้ศึกษาจารึกที่วัดกานโถม วัดหัวหนอง และที่วัดเจดีย์เหลี่ยม

ผลจากการศึกษาเราพบว่า จารึกหลักที่เก่าที่สุด เป็นจารึกที่เขียนด้วยอักษรมอญ ซึ่งแสดงว่า ชุมชนบริเวณวัดกานโถมเป็นชุมชนร่วม สมัยกับหริภุญไชย มีอายุราว พุทธศตวรรษที่ 17 ร่วมสมัยกับชุมชนเวียงมโน เวียงท่ากาน และเวียงเถาะ ส่วนทางด้านประวัติศาสตร์ ปรากฏผลงานวิจัยชิ้นสำคัญที่สุดในการเปิดประตูสู่กระบวนการศึกษาเรื่องเมืองโบราณเวียงกุมกาม ได้แก่ผลงานของ อ.สรัสวดี อ๋องสกุล ซึ่งได้ทำการศึกษาเรื่อง "เวียงกุมกาม การศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนโบราณในล้านนา" ปีพ.ศ.2537 ผลงานของ อ.สรัสวดี เน้นไปที่การศึกษาและวิเคราะห์ทางด้านประวัติศาสตร์เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการของชุมชนเวียงกุมกาม ผลสรุปของงานวิจัย ผู้เขียนได้เสนอว่า เวียงกุมกามเป็นชุมชนโบราณมาแล้วตั้งแต่สมัยหริภุญไชย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณวัดกานโถม มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 โดยบริเวณนี้เป็นชุมชนที่มีผู้คนอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงสมัยพระยามังราย พระองค์ก็ได้ใช้บริเวณนี้สร้างเวียงกุมกามขึ้น โดยใช้แนวคิดในการสร้างเวียงแบบหริภุญไชย และเวียงกุมกามก็อยู่ในฐานะเมืองใหญ่ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ

เนื่องจากพระยามังรายทรง ย้ายไปสร้างเมืองใหม่ที่ เวียงเชียงใหม่เนื่องจากมีชัยภูมิที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม เวียงกุมกามก็ไม่ได้รกร้างไปเสียทีเดียว แต่ยังคงเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีพัฒนาการต่อเนื่องไปจนกระทั่งล่มสลายเพราะถูกน้ำท่วมในสมัยพม่าปกครอง ในปี 2101-2317 และกลับมาเป็นชุมชนขึ้นใหม่ในสมัย รัชกาลที่ 5 นอกเหนือจากข้อเสนอแนะของพัฒนาการของเมือง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรม ผู้เขียนก็ได้ให้ข้อมูลเบื้องต้น พร้อมทั้งเสนอแนะข้อสันนิษฐานถึงแบบทางสถาปัตยกรรมไว้บางส่วน ซึ่งวิเคราะห์จากหลักฐานทางด้านโบราณคดี ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่สุดส่วนหนึ่ง 3.การศึกษาเวียงกุมกามทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ผลจากการขุดค้นทางด้านโบราณคดี ของกรมศิลปากรทำให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมในเวียงกุมกามถูกเผยแพร่ออกไป และนักวิชาการต่างๆได้ใช้เป็นข้อมูล ในการศึกษาต่อไป

อย่างไรก็ตามในช่วงแรกผลงานส่วนใหญ่ยังคงเป็นของ นักวิชาการที่เคยทำงานคลุกคลีกับงานขุดค้นในส่วนของกรมศิลปากร ผลงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งได้แก่ จากการศึกษาของ อาจารย์สุรพล ดำริห์กุล อดีตหัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 4 และเป็นผู้หนึ่งที่ได้ร่วมดำเนินการขุดค้นเวียงกุมกาม อ.สุรพลได้เสนอผลการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรม ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2528 ในบทความเรื่อง "เวียงกุมกามแหล่งหลักฐานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์"และทำการปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ.2539 ในรวมบทความเรื่อง แผ่นดินล้านนา เวียงกุมกาม:แหล่งความรู้ของล้านนายุคทอง ผู้เขียนได้สรุปงานสถาปัตยกรรมทั้งที่ได้รับการขุดแต่งและยังไม่ได้รับการ ขุดแต่งมีทั้งหมดจำนวน 25 แห่ง ประกอบไปด้วยซากโบราณสถาน 21 แห่ง และ โบราณสถานที่ยังคงมีการใช้งาน 4 แห่ง ภายในบริเวณประกอบไปด้วยงานสถาปัตยกรรมประเภทต่างๆ จำนวน 52 แห่ง และได้แบ่งแยกรูปแบบเจดีย์ออกเป็น 6 แบบ ได้แก่เจดีย์เหลี่ยมหรือเจดีย์แบบสี่เหลี่ยม, เจดีย์ทรงกลมแบบพื้นเมืองเชียงแสนหรือพื้นเมืองล้านนา, เจดีย์แบบสี่เหลี่ยม ผสมทรงกลมหรือทรงปราสาท, เจดีย์แบบช้างล้อม, เจดีย์ทรงกลมแบบเชียงใหม่, และเจดีย์แปด ส่วนงานสถาปัตยกรรมประเภทวิหารและอุโบสถ พบจำนวน 16 แห่ง

โดยอาจารย์เสนอว่า วิหารส่วนใหญ่น่าจะเป็นวิหารโถง มีการทำผนังเฉพาะด้านหลังพระประธาน และบางส่วนเป็นวิหารทรงปราสาท มีอายุอยู่ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-23 นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้เสนอเรื่องการหัน ทิศทางของวิหารกับการเปลี่ยนแปลงของลำน้ำปิง ซึ่งน่าจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง ในปี 2538 อ.สุรพล ดำริห์กุลได้เสนอรายงานวิจัยเรื่อง เจดีย์ช้างล้อมในดินแดนล้านนา ในงานวิจัยดังกล่าวได้ศึกษาถึงเจดีย์ 2 องค์ที่อยู่ในพื้นที่เขตเวียงกุมกาม ได้แก่ เจดีย์ประธานวัดหัวหนอง, และเจดีย์วัดช้างค้ำ กานโถม เวียงกุมกามซึ่งผลการศึกษา สรุปว่าเจดีย์ช้างล้อมที่เวียงกุมกามนี้ เป็นเจดีย์ที่ผู้เขียนจัดให้อยู่ในเจดีย์กลุ่มที่ 3 ซึ่งมาพร้อมกับการเข้ามาของพุทธศาสนาลังกาวงศ์นิกายสีงหล มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย ในปี 2540 สายันต์ ไพรชาญจิตร์ นักโบราณคดี ของกรมศิลปากร และอดีตเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในงาน ขุดค้นและบูรณะโบราณสถานในเวียงกุมกาม ได้เสนอผลการศึกษาเรื่อง "เรื่องโบราณคดีของพระเจดีย์เหลี่ยมเวียงกุมกาม (กู่คำ)

ผลการศึกษาผู้เขียนเสนอว่า เจดีย์เหลี่ยมน่าจะมีลักษณะอิทธิพลวัฒนธรรมหริภุญไชยอยู่มาก ส่วนศิลปกรรมที่ปรากฎในปัจจุบันนั้นเป็นแบบพม่า ซึ่งได้รับการบูรณะใหม่เมื่อปี 2451 และในส่วนของลานประทักษิณและกำแพงแก้ว น่าจะมีการก่อสร้างทับซ้อนกันอย่างน้อย 7 ครั้ง และสำหรับในปี 2543 นี้ กรมศิลปากรได้เริ่มโครงการขุดค้น และบูรณะกลุ่มโบราณสถานในเวียงกุมกามที่ยังเหลืออยู่อีกจำนวน 8 แห่ง ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ เดือนมกราคม ขณะนี้ยังไม่เสร็จสิ้น กลุ่มโบราณทั้ง 8 แห่งได้แก่ กู่ป้าต้อม, วัดโบสถ์, กู่อ้ายหลาน, กู่ริดไม้, กู่อ้ายสี, กู่จ๊อก ป๊อก, กู่มะเกลือ, เนินโบราณสถานกุมกามร้างร้าง, และแนวกำแพงเมืองและคูเมืองด้านทิศตะวันตก (ด้านหน้าวัดธาตุขาว) หลักฐานจากการขุดค้นทำให้เราพบข้อมูลใหม่ๆ ที่สำคัญ อาทิเช่น อาคารประเภทวิหาร ซึ่งพบว่าหลายแห่งยังคงมีความ สมบูรณ์มากในเรื่องของลวดลาย และวัสดุ ตลอดจนถึงแบบของแผนผังวิหาร เราพบหลักฐานของวิหารแบบทรงปราสาทจำนวนมาก

นั่นแสดงให้เห็นว่าลักษณะของวิหารประเภทนี้ ได้รับความนิยมมากช่วงหนึ่งในเวียงกุมกาม ซึ่งควรจะต้องมีการศึกษาให้ลึกต่อไป นอกจากนี้ยังมีเรื่องของแนวกำแพงเมืองทางทิศตะวันตก ซึ่งที่ผ่านมามีการขุดค้นเนินดินทางทิศตะวันตก ของวัด พระเจ้าองค์ดำ และวัดพระเจ้ามังราย โดยได้สันนิษฐานว่าเป็นแนวกำแพงเมือง หลักฐานเบื้องต้นพบลักษณะของแนวเนินดิน อัดแน่นมีลักษณะเป็นเนินดิน 2 ชั้น เนื้อดินผสมด้วยอิฐหักและกระเบื้อง กรมศิลปากรได้ทำการตัด Section ของชั้นดิน เมื่อตรวจสอบแล้ว ไม่พบแนวการก่ออิฐ ซึ่งเป็นไปได้ 2 กรณีคือ หากเป็นเป็นแนวกำแพงเมืองจริงก็น่าจะเป็นกำแพงเมืองในลักษณะของกำแพงดิน หรือไม่ก็เป็นแค่เนินดินที่ยกขึ้นเป็นลำเหมือง ทั้งหมดนี้คือสถานภาพการศึกษาเรื่องสถาปัตยกรรมในเวียงกุมกาม ซึ่งเรายังคงมองเห็นว่า ยังคงอยู่ในวงอันจำกัด สาเหตุที่สำคัญ ยังคงอยู่ที่หลักฐานต่างๆ ที่จำกัด ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี อย่างไรก็ตามการขุดค้น และหลักฐานใหม่ๆ ของกรมศิลปากรที่เพิ่มขึ้น คงจะช่วยทำให้เกิดความก้าวหน้าทางการศึกษาขึ้นในอนาคต






รูปภาพถ่ายสถานที่ท่องเที่ยวเวียงกุมกาม

ภาพจากการค้นหา www.google.com

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

พระพุทธศาสนากับฟิสิกส์ควอนตัม "ความเหมือนที่แตกต่าง"


พระพุทธศาสนากับฟิสิกส์ควอนตัม "ความเหมือนที่แตกต่าง"



เรียบเรียงจากปาฐกถา แสดงที่สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)


พระพุทธศาสนาไม่เคยทะเลาะกับวิทยาศาสตร์

การค้นพบทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ เป็นต้นมามีส่วนช่วยให้เราเกิดความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น เพราะว่าหลักของพระพุทธศาสนานั้นถือว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบสัจธรรมซึ่งมีอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าเพียงนำสัจธรรมนั้นมาประกาศแก่ชาวโลก ดังพุทธพจน์ที่ว่า

“อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา”เป็นต้น แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเจ้าทั้งหลายจะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม ธาตุนั้นคือ ธรรมฐิติ (ความดำรงอยู่ตามธรรมชาติ)ธรรมนิยาม (กฎธรรมชาติ)อิทัปปัจจยตา (ภาวะที่สรรพสิ่งเกิดดับตามเหตุตามปัจจัย)ก็ยังมีอยู่ พระตถาคตเจ้าย่อมตรัสรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้นแล้วบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่าย”

พระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบและประกาศเปิดเผยกฎธรรมชาติไว้เมื่อสองพันห้าร้อยปีมาแล้ว ต่อมาวิทยาศาสตร์สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ได้ค้นพบกฎธรรมชาติเดียวกันนั้นหรือเพิ่มเติมอื่นใด สิ่งที่ศาสตร์ทั้งหลายค้นพบย่อมจะนำไปสู่ความจริงเดียวกัน นั่นคือสัจธรรม พระพุทธศาสนาไม่เคยทะเลาะกับวิทยาศาสตร์เพราะพระพุทธศาสนาไม่ได้ผูกขาดความจริงเรื่องสัจธรรม ดังนั้นสัจธรรมที่ศาสตร์ต่างๆ ค้นพบจะคลี่คลายขยายตัวมาส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจพระพุทธศาสนาดียิ่งขึ้น

มีข้อความตอนหนึ่งในพระไตรปิฎกที่แสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นธรรมวาทีคือผู้กล่าวสัจธรรม ผู้ที่เป็นธรรมวาทีย่อมไม่ขัดแย้งกับพวกธรรมวาทีด้วยกันเพราะต่างฝ่ายต่างพูดถึงสัจธรรมหรือความจริง ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

“นาหํ ภิกฺขเว โลเกน วิวทามิ” เป็นต้น แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตย่อมไม่ขัดแย้งกับชาวโลก แต่ชาวโลกย่อมขัดแย้งกับเรา ธรรมวาทีย่อมไม่ขัดแย้งกับใครๆในโลก”

เมื่อพระพุทธเศาสนาและวิทยาศาสตร์ต่างก็เป็นธรรมวาทีที่กล่าวถึงสัจธรรมความจริงด้วยกัน จึงไม่มีอะไรที่จะต้องขัดแย้งกัน มีแต่จะส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความเข้าใจกันดียิ่งขึ้น หากจะมีความแตกต่างอยู่บ้างก็เพราะมีเป้าหมายที่ต่างกันในการแสวงหาความจริง วิทยาศาสตร์แสวงหาความจริงเพื่อเป็นนายเหนือโลกที่ควบคุมสภาวการณ์ต่างๆไว้ได้ ขณะที่พระพุทธศาสนาแสวงหาความจริงเพื่อความเป็นผู้พ้นโลกคือดับทุกข์ เมื่อเข้าใจวัตถุประสงค์ที่ต่างกันอย่างนี้แล้ว เราจะมาลองเปรียบเทียบสัจธรรมในพระพุทธศาสนากับความจริงที่วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งคือฟิสิกส์ควอนตัมได้นำเสนอว่ามีความเหมือนหรือความต่างกันอย่างไร



"ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม"


ตอบโดย : ปราชญ์ขยะ
ตำแหน่ง : สมาชิกขาประจำ
เพศ : ชาย

ความคิดเห็นที่ : 1 โพสเมื่อ : 07 พฤษภาคม 2009 , 10:48:11 30 แจ้งลบ!

ฟิสิกส์ดั้งเดิม
ปัจจุบันวิทยาศาสตร์เสนอทฤษฎีฟิสิกส์ไว้ ๒ สำนักใหญ่คือ ฟิสิกส์ดั้งเดิม (Classical physics)กับฟิสิกส์ควอนตัม (Quantum physics) ถ้าเปรียบเทียบกันระหว่างฟิสิกส์ดั้งเดิมกับฟิสิกส์ควอนตัม ฟิสิกส์ทั้ง ๒ สำนักมีแนวความคิดบางอย่างที่ขัดแย้งกัน แต่กลายเป็นว่าฟิสิกส์ควอนตัมกลับช่วยอธิบายหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาได้ดีกว่าฟิสิกส์ดั้งเดิมหรือฟิสิกส์นิวตัน (Newton physics) ในเรื่องที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา ๒ เรื่องคือ ปฏิจสมุทปบาทและไตรลักษณ์

ปฏิจสมุทปบาทหรืออิทัปปัจจยตาเป็นคำสอนที่ว่าด้วยการที่สิ่งต่างๆอาศัยกันและกันเกิดขึ้นที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบด้วยการตรัสรู้ ส่วนเรื่องไตรลักษณ์ ซึ่งก็คือคำสอนว่าด้วยลักษณะ ๓ ประการของสิ่งทั้งหลาย ได้แก่ “อนิจจัง (ไม่เที่ยง) ทุกขัง (เป็นทุกข์) อนัตตา (ไม่มีแก่นสาร) ”อันเป็นหัวใจของการปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น

เราปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์ รู้แล้วละ รู้แล้ววาง ทุกวันนี้เราเข้าใจเรื่องไตรลักษณ์ได้ยากขึ้นเพราะมีแนวคิดของฟิสิกส์ดั้งเดิมมาขวางกั้นเป็นอุปสรรคของการเข้าถึงธรรม เพราะฟิสิกส์ดั้งเดิมหรือฟิสิกส์นิวตันมีแนวคิดหลักอยู่ที่ ๔ หัวข้อคือ ๑.อะตอม ๒.กาละ ๓.เทศะ และ ๔.แรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดของโลกเซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) ถือว่าสรรพสิ่งมีมวลสารที่แบ่งแยกไม่ได้และตั้งอยู่ด้วยตัวของมันเอง ซึ่งเรียกว่าอะตอม(Atom) จริงๆ แล้วความคิดเรื่องอะตอมเป็นแนวคิดหลักของฟิสิกส์ดั้งเดิมที่ถือว่าหน่วยที่เล็กที่สุดของสสาร(Matter)ในโลกที่ถูกแบ่งย่อยให้เล็กลงๆ ในที่สุดจะถึงจุดที่เล็กที่สุดซึ่งแบ่งย่อยต่อไปไม่ได้อีก ซึ่งทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบเล็กที่สุดสำหรับสร้างจักรวาล เราเรียกว่า “Building blocks” ก็เหมือนกับก้อนอิฐแต่ละก้อนสำหรับสร้างบ้านนั่นเอง เพราะฉะนั้นหากเราแบ่งอะไร ต่อมิอะไรจนไปถึงหน่วยที่เล็กที่สุดแล้วมันจะถึงจุดที่แบ่งแยกไม่ได้ ในเชิงสสารจุดที่แบ่งแยกไม่ได้นี้เรียกว่า “อะตอม”

อะตอม(Atom)เป็นภาษากรีก แปลว่า “ตัดแบ่งไม่ได้ (Uncuttable)”อะตอมคือสิ่งที่เราไม่สามารถจะแบ่งย่อยต่อไปได้อีก หลักของเรื่องนี้ก็คือไม่ว่าเราแบ่งอะไรก็ตาม ในที่สุดมันต้องไปถึงจุดสุดท้าย จุดสุดท้ายที่แบ่งต่อไปไม่ได้นั่นแหละคือ “อะตอม”ซึ่งเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดของสสาร ความคิดอย่างนี้เราเรียกว่าเป็น “paradigm” หรือความเชื่อพื้นฐานของวิทยาศาสตร์โลกตะวันตกมากว่า ๒,๐๐๐ ปี จนมาถึงสมัยนิวตันก็ยังเชื่อว่ามีอะตอม

นิวตันเชื่อว่าสสารซึ่งมีองค์ประกอบที่เล็กที่สุดคืออะตอมได้สร้างจักรวาล สร้างดวงดาว สร้างอะไรต่างๆ ที่เคลื่อนไหวก่อให้เกิดแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อกันในกล่องใบใหญ่ซึ่งเป็นที่ว่างคือเทศะในจักรวาลอันว่างเปล่าใหญ่โตและขึ้นอยู่กับกาลเวลา อีกประเด็นหนึ่งที่ฟิสิกส์ดั้งเดิมของนิวตันเห็นขัดแย้งกับพระพุทธศาสนาก็คือเรื่องกาลเวลา นิวตันเชื่อว่ากาลเวลาเป็นเรื่องที่มีอยู่ในตัวของมันเอง แต่พระพุทธศาสนาถือว่ากาละหรือเวลา เป็นสิ่งที่เราคิดขึ้น ในพระอภิธรรมเราเรียกว่าบัญญัติ คือคนเราคิดขึ้นมาโดยที่กาลเวลาไม่ได้มีอยู่ในตัวมันเอง แต่นิวตันถือว่ากาละหรือเวลาเป็นความจริงอีกมิติหนึ่งมีอยู่จริง มวลสารของจักรวาลที่เรียกว่าอะตอมหรืออนุภาคที่เล็กที่สุดมารวมตัวกันเป็นสิ่งต่างๆ เช่นดวงดาวแล้วเคลื่อนไหวในเทศะหรือที่ว่างในอวกาศ ที่ว่างหรือเทศะนี้ก็เป็นความจริงอีกมิติหนึ่งเช่นเดียวกับกาละ สิ่งต่างๆในจักรวาลที่เคลื่อนไหวนั้นได้สร้างแรงที่กระทำต่อกันเรียกว่าแรงดึงดูดหรือแรงโน้มถ่วง สิ่งทั้งหลายเคลื่อนไหวและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันภายใต้กฎที่ชัดเจนแน่นอน เหมือนกับเครื่องจักรกลของนาฬิกาที่เดินอย่างเที่ยงตรงจนเราคาดเวลาล่วงหน้าได้ ในทำนองเดียวกัน ถ้าเรารู้ความสัมพันธ์ที่เป็นแบบแผนของสิ่งต่างๆว่าอะไรกระทำต่ออะไร ณ จุดไหนในจักรวาล เราก็สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นที่ไหนเมื่อไร

เพราะฉะนั้น ฟิสิกส์ดั้งเดิมของนิวตันจึงถือว่า ถ้าเรารู้เทศะคือจุดที่สสารตั้งอยู่ และรู้แรงทั้งหมดที่มากระทำต่อสสารนั้นๆในเวลานั้น เราก็จะสามารถพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต ดังที่นักคณิตศาสตร์ฝรั่งเศสชื่อปิแอร์ ซีโมน ลาปลาซ (Pierre Simon Laplace)กล่าวอย่างมั่นใจว่า

“ในขณะใดขณะหนึ่งที่กำหนดให้ปัญญาซึ่งรู้แรงทุกแรงที่กระทำอยู่ในธรรมชาติ และรู้ตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นโลก สมมติว่าปัญญาดังกล่าวนั้นกว้างขวางพอที่จะนำเอาข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์ มันย่อมจะรวมสูตรการเคลื่อนที่ของก้อนวัตถุที่ใหญ่ที่สุดในจักรวาลและของอะตอมที่เล็กที่สุดเอาไว้ด้วย ไม่มีสิ่งที่ไม่แน่นอนสำหรับมัน และเช่นเดียวกับอดีต อนาคตจะปรากฏแก่สายตาของมัน”

คนเราทุกวันนี้ตกอยู่ใต้อิทธิพลความคิดของฟิสิกส์ดั้งเดิมแบบนี้ เพราะเราเชื่อว่าวิทยาศาสตร์จะสามารถบอกอดีต ทำนายอนาคต ทำให้เกิดการป้องกันต่างๆ เพราะเชื่อว่าสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นภายใต้การควบคุมของกฎจักรวาล เมื่อเรารู้กฎวิทยาศาสตร์แล้วเราก็สามารถที่จะควบคุมตัวแปรต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ได้ และสามารถที่จะปรับตัวให้สอดคล้องกับอนาคตที่จะตามมาได้

ดังนั้น ฟิสิกส์ดั้งเดิมได้สร้างภาพของจักรวาลให้เป็นเหมือนเครื่องจักรกลมโหฬารที่ค่อนข้างจะมีความแน่นอน มั่นคงและปลอดภัยจนมนุษย์สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ด้วยเหตุนี้ฟิสิกส์ดั้งเดิมจึงส่งเสริมความเชื่อแบบนิยัตินิยม (Determinism) คือแนวคิดที่ว่าทุกเหตุการณ์ในโลกนี้ถูกกำหนดล่วงหน้าไว้แล้วว่าต้องเกิดขึ้นเมื่อนั้นเมื่อนี้

"ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม"
ตอบโดย : ปราชญ์ขยะ
ตำแหน่ง : สมาชิกขาประจำ
เพศ : ชาย

ความคิดเห็นที่ : 2 โพสเมื่อ : 07 พฤษภาคม 2009 , 10:49:18 30 แจ้งลบ!

ฟิสิกส์ควอนตัม
อย่างไรก็ตาม ฟิสิกส์ควอนตัมได้เข้ามาทำให้ความเชื่อเรื่องความแน่นอน มั่นคงและปลอดภัยแบบนี้หมดไป เปรียบเหมือนกับการที่เรากำลังยืนอยู่บนพรมแห่งความมั่นคงปลอดภัยของฟิสิกส์ดั้งเดิมของนิวตันแล้วอยู่ๆ ก็มีคนมากระตุกพรมออกจากใต้เท้าของเราจนเราล้มทั้งยืน ฟิสิกส์ควอนตัมทำลายความมั่นใจของฟิสิกส์ดั้งเดิมให้หมดไป

คำว่า “ควอนตัม (Quantum)”เป็นภาษาลาตินแปลว่า “ขนาดไหน”หรือ “จำนวนเท่าไร”เป็นคำที่ใช้พูดถึงจำนวนหรือขนาดพลังงานของอะตอม คล้ายกับคำว่า “นาโน (Nano)”ซึ่งเป็นภาษากรีก แปลว่า “คนแคระ”เป็นคำที่ใช้วัดขนาดของสิ่งที่เล็กมากๆ เช่น อะตอม ดีเอ็นเอ ในนาโนเทคโนโลยี

ฟิสิกส์ควอนตัมเสนอภาพใหม่ของจักรวาลที่มีความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ความคิดที่ว่าจักรวาลมีความเป็นเหตุเป็นผลที่เราพยากรณ์ล่วงหน้าได้กลายเป็นความไม่แน่นอน จนกระทั่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)เจ้าของทฤษฎีสัมพัทธ์ที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดทฤษฎีควอนตัมขึ้นมาก็ได้พยายามปฏิเสธทฤษฎีควอนตัมในบั้นปลายชีวิต โดยที่ไอน์สไตน์กล่าวว่าถ้าทฤษฎีควอนตัมเป็นจริง โลกใบนี้ก็จะไม่มีกฎระเบียบอะไรเลย ซึ่งเขาใช้คำว่าเพี้ยน (Crazy) ดูเหมือนว่าตอนนี้โลกเพี้ยนจริงๆ คือบางครั้งดูจะไร้กฎ ไร้ระเบียบ ไม่มีความแน่นอนอะไรเลย ดังที่เรามักจะพูดว่าไม่มีอะไรแน่นอนนอกจากความไม่แน่นอน

ทฤษฎีควอนตันจึงโยงไปถึงคำสอนเรื่อง ‘อนิจจัง ความไม่ที่ยง’ในพระพุทธศาสนา ทั้งนี้เพราะว่าทฤษฎีควอนตันได้เปิดเผยสภาวะที่เรียกว่าความไม่แน่นอน (Uncertainty)เนื่องจากว่า แนวคิดสำคัญประการหนึ่งของฟิสิกส์ควอนตัมก็คือหลักการที่ว่าด้วยความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle) ในฟิสิกส์ดั้งเดิมของนิวตัน จักรวาลมีกฎระเบียบแน่นอนจนเราพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น โลกนี้มีกฎธรรมชาติที่แน่นอน แต่ฟิสิกส์ควอนตันกลับเสนอว่าโลกนี้มีความไม่แน่นอน ดังนั้นไอน์สไตน์จึงกล่าวว่า ถ้าทฤษฏีของฟิสิกส์ควอนตัมเป็นจริง มันจะไม่มีความเป็นเหตุเป็นผล ไม่มีความเป็นกฎที่แน่นอน แสดงว่าเราจะไม่สามารถบอกได้ว่ามันจะเป็นอย่างไรต่อไปเพราะมันเป็นไปตามหลักการที่ว่าด้วยความไม่แน่นอนของฟิสิกส์ควอนตัมเสียแล้ว

ควรทราบว่า การที่ทฤษฏีควอนตัมทำให้ภาพของจักรวาลเปลี่ยนไป เพราะฟิสิกส์ควอนตัมไม่ได้ไปสนใจเรื่องกฎของจักรวาลแบบมหภาค ฟิสิกส์ควอนตัมไม่ได้สนใจเรื่องการโคจรดวงดาว เรื่องดวงจันทร์ หรือเรื่องน้ำขึ้นน้ำลงอะไรต่างๆ เหล่านี้ แต่ฟิสิกส์ควอนตัมกลับสนใจศึกษาโครงสร้างของอะตอมที่เป็นอนุภาคพื้นฐานสำหรับสร้างจักรวาล ซึ่งถ้าเราเข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานตรงนี้ เราจะเข้าใจภาพรวมของจักรวาลทั้งหมด ดังนั้น ฟิสิกส์ควอนตัมจึงเป็นการกลับไปหาจุดเริ่มต้นดั้งเดิมของจักรวาล

ภาพรวมของจักรวาลอย่างที่เราศึกษากันอยู่ในทุกวันนี้นั้นส่วนใหญ่เป็นแนวคิดแบบฟิสิกส์ดั้งเดิมของนิวตัน ซึ่งเป็นการพูดถึงเรื่องใหญ่แบบมหภาค แต่ฟิสิกส์ควอนตัมหันมาศึกษาเรื่องที่เล็กมาก แบบจุลภาค (Micro)นั่นคือโครงสร้างของอะตอมหรือปรมาณู จึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ควอนตัมสนใจส่วนที่เล็กที่สุดของจักรวาล

นักวิทยาศาสตร์ในอดีตเชื่อว่า อะตอมไม่มีโครงสร้างอะไรเพราะมันเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดในจักรวาล คนสมัยก่อนเชื่อว่าอะตอมแบ่งแยกไม่ได้ตามที่นักปรัชญากรีกเชื่อกันมาเป็นพันๆ ปี แม้แต่ในอินเดีย ปรัชญาฮินดูสำนักไวเศษิกะก็สอนว่ามีอะตอมหรือปรมาณู ตรงกับที่เรียกว่า “อัตตา” หรือ “อาตมัน” นั่นคือ มีสิ่งที่แบ่งแยกย่อยต่อไปไม่ได้ เรียกว่า ปรมาณู อะตอม อัตตาหรืออาตมัน ในบรรดาศาสนาสำคัญของโลกมีเพียงศาสนาเดียวเท่านั้นที่ปฏิเสธอะตอม ปฏิเสธอัตตาหรืออาตมัน นั่นก็คือพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาเดียวที่ยืนยันว่าไม่มีแก่นสารทั้งในฝ่ายจิตและฝ่ายสสาร แก่นสารในฝ่ายจิตเรียกว่าอาตมันหรือวิญญาณอมตะ (Immortal soul)ส่วนแก่นสารในฝ่ายสสารเรียกว่าอะตอมหรือปรมาณู ศาสนาคริสต์ อิสลาม พราหมณ์-ฮินดูต่างสอนว่ามีอาตมันหรือวิญญาณอมตะในมนุษย์และมีอะตอมหรือปรมาณูในสสาร

"ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม"
ตอบโดย : ปราชญ์ขยะ
ตำแหน่ง : สมาชิกขาประจำ
เพศ : ชาย

ความคิดเห็นที่ : 3 โพสเมื่อ : 07 พฤษภาคม 2009 , 10:50:48 30 แจ้งลบ!

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สัพเพ ธัมมา อนัตตา”แปลว่า “สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา”หมายความว่า สรรพสิ่งทั้งที่เป็นจิตและสสารล้วนไม่มีแก่นแท้ถาวร คือเป็นอนัตตา เมื่อแปลคำว่าอนัตตาเป็นภาษาอังกฤษก็ต้องใช้คำ ๒ คำ นั่นคือ ถ้าใช้คำว่าอนัตตาให้หมายถึงว่าไม่มีอาตมันหรือวิญญาณอมตะในมนุษย์ เราต้องแปลว่า Not-self หรือ Non-ego แต่ถ้าใช้อนัตตาให้หมายถึงว่าไม่มีอะตอมหรือแก่นสารที่เที่ยงแท้ในสสาร เราต้องแปลว่า Non-substantiality (ไม่มีแก่นแท้ถาวร)

พระพุทธศาสนาสอนเรื่องอนัตตาในจิตและสสารมากว่าสองพันปี พระพุทธศาสนาถือว่าไม่มีอัตตาหรืออะตอมสสาร ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีแก่นแท้ถาวรที่ตั้งอยู่ได้ในตัวของมันเอง สรรพสิ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้นตลอดเวลาตามหลักปฏิจจสมุปบาท ดังที่ควอนตัมฟิสิกส์ระบุว่าไม่มีอะตอมที่อยู่ได้ตามลำพังตัวเอง โครงสร้างอะตอมประกอบด้วยอีเล็คตรอน โปรตอนและนิวตรอน อนุภาคของอะตอมที่เป็นประจุไฟฟ้าบวก(โปรตอน)และประจุไฟฟ้าลบ(อีเล็คตรอน)ต่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน อีเล็คตรอนวิ่งโคจรรอบนิวเคลียสด้วยความเร็วที่สูงมาก การเกาะกลุ่มของประจุไฟฟ้าเหล่านั้นกลายเป็นอะตอม และประจุไฟฟ้าเหล่านั้นก็ไม่อาจอยู่ได้ตามลำพัง ทั้งหมดต่างอาศัยกันและกันเกิดขึ้นตามหลักปฏิจจสมุปบาทในพระพุทธศาสนา
โดยสรุปแล้วภาพของจักรวาลในทฤษฎีควอนตัมต่างจากฟิสิกส์ดั้งเดิมของนิวตันก็คือ อะตอมถูกแบ่งย่อยออกไปเป็นองค์ประกอบที่เล็กกว่าซึ่งเป็นประจุไฟฟ้าที่วิ่งวนกันเองคืออีเล็คตรอน โปรตอนและนิวตรอน อะตอมจึงเป็นสนามพลังงานขนาดจิ๋ว องค์ประกอบย่อยของอะตอมนั้นบางครั้งก็เป็นอนุภาค(Particle)บางครั้งก็เป็นคลื่น (Wave) อีเล็คตรอนของอะตอมเคลื่อนที่รอบแกนกลางคือนิวเคลียสตลอดเวลา ขณะที่อีเล็คตรอนกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง อีเล็คตรอนปรากฎเป็นคลื่น ด้วยความเร็วระดับนั้น เราจึงไม่อาจกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของอีเล็คตรอนนั้นในขณะใดขณะหนึ่งได้ ถ้าเราจะพยายามหาตำแหน่งที่ตั้งของมันก็ต้อง

จับให้อีเล็คตรอนหยุดนิ่งอยู่กับที่ซึ่งจะทำให้มันสูญเสียคุณสมบัติแห่งความเป็นคลื่น อีเล็คตรอนที่หยุดนิ่งจะกลายเป็นอนุภาคทันที ดังนั้น องค์ประกอบย่อยของอะตอมบางครั้งจึงเป็นอนุภาคบางครั้งก็เป็นคลื่น ความเป็นทั้งอนุภาคและทั้งคลื่นนี้แหละที่ทำให้เกิดสภาวะที่ไม่สามารถพยากรณ์ได้ (Unpredictable) ตราบใดที่อนุภาคของอะตอมยังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง มันก็ปรากฎเป็นคลื่น เราไม่มีทางที่จะกำหนดคุณสมบัติที่แน่นอนของคลื่นนี้ได้ เมื่อเราพยายามหยุดมันไว้กับที่ มันก็สูญเสียคุณสมบัติของตัวมันเอง นอกจากนี้ วงโคจรของอนุภาครอบนิวเคลียสก็เปลี่ยนแปลงไปตามแรงที่กระทำต่อนิวเคลียส ดังนั้น พฤติกรรมขององค์ประกอบย่อยภายในโครงสร้างของอะตอมจึงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพราะมันมีคุณสมบัติที่เรากำหนดไม่ได้และมีวงโคจรที่ไม่แน่นอน นี่คือหลักการแห่งความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle)

หลักการแห่งความไม่แน่นอนของฟิสิกส์ควอนตัมได้เปลี่ยนแนวคิดของฟิสิกส์ดั้งเดิมที่ชูธงเรื่องความแน่นอนที่เราสามารถจะพยากรณ์อะไรก็ได้ ความเชื่อเรื่องความแน่นอนเหล่านี้เป็นไปไม่ได้อีกแล้วสำหรับฟิสิกส์ควอนตัม


"ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม"
ตอบโดย : ปราชญ์ขยะ
ตำแหน่ง : สมาชิกขาประจำ
เพศ : ชาย

ความคิดเห็นที่ : 4 โพสเมื่อ : 07 พฤษภาคม 2009 , 10:52:49 30 แจ้งลบ!

ควอนตัมกับพุทธธรรม
ความก้าวหน้าของฟิสิกส์ควอนตัมช่วยให้เราเข้าใจในพระพุทธศาสนาได้มากขึ้นอย่างไร?

ประการแรก ฟิสิกส์ควอนตัมช่วยสนับสนุนเรื่องอนัตตาในพระพุทธศาสนา นั่นคือทั้งพระพุทธศาสนาและทฤษฎีควอนตัมต่างยืนยันว่าไม่มีอะตอมหรืออัตตาที่แบ่งแยกไม่ได้ อะตอมหรืออัตตาเป็นสิ่งที่แบ่งย่อยออกไปได้ ไม่มีอะไรที่เป็นแก่นสารตั้งอยู่ได้ตามลำพังตนเอง ทุกสิ่งทุกอย่างอาศัยกันและกันเกิดขึ้นตามหลักปฏิจจสมุปบาท ประการต่อมา หลักการแห่งความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle) ของฟิสิกส์ควอนตัมช่วยให้เราเข้าใจคำสอนเรื่องอนิจจังคือความไม่เที่ยงในพระพุทธศาสนาได้ดียิ่งขึ้น

อนิจจังหรือความไม่เที่ยงนี้มีเหตุ มีปัจจัย มีตัวแปรมากมายเกินกว่าที่จะมาคิดในเชิงนิยัตินิยมแบบนิวตัน ดังที่หลักกรรมในพระพุทธศาสนากำหนดว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” เมื่อพูดถึงพระพุทธศาสนากับฟิสิกส์ควอนตัม คนมักสงสัยว่าความเชื่อของชาวพุทธในเรื่องกฎแห่งกรรมจะขัดกับหลักการของฟิสิกส์ควอนตัมหรือไม่? ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจกฎแห่งกรรมในมุมมองที่ว่า ใครก็ตามที่เชื่อว่าปัจจุบันที่เราเป็นอยู่นี้เป็นผลมาจากกรรมในอดีต ความเชื่อนี้ถูกต้อง

แต่ใครที่เชื่อว่ากรรมที่เราทำทุกอย่างในวันนี้เราจะต้องได้รับผลในอนาคตอย่างแน่นอน ความเชื่อนี้ผิดหลักพระพุทธศาสนา เพราะอะไร? ก็เพราะถ้าคิดว่ากรรมที่เราทำทุกอย่างในวันนี้ เราจะต้องได้รับผลหรือวิบากตามในอนาคตทั้งหมด คนที่ทำบาปกรรมมามากก็ไม่สามารถจะเป็นพระอริยะได้เพราะเขาต้องไปชดใช้กรรมไม่รู้จักจบสิ้น

หลักคำสอนของพระพุทธศาสนามีอยู่ว่า เราสามารถทำกรรมดีในปัจจุบันเพื่อล้างบาปกรรมในอดีตได้ เราจึงสามารถเปลี่ยนอดีตได้ ด้วยเหตุนี้ คนเคยทำบาปก็สามารถเป็นพระอรหันต์ได้ ชีวิตของเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการทำกรรมดีในปัจจุบัน หลักการแห่งความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle) ของฟิสิกส์ควอนตัมช่วยทำให้เราสามารถสร้างอนาคตของเราได้ใหม่ ชีวิตของเราไม่ได้ถูกลิขิตตายตัวจากอดีต ชีวิตของเรามีความไม่แน่นอนรออยู่ข้างหน้า ถ้าเราหมั่นทำดี เราก็จะเจริญก้าวหน้า เป็นการยากที่จะพยากรณ์ล่วงหน้าได้ว่าคนที่ทำดีอย่างนั้นๆจะได้ดีในอนาคตเมื่อไร เพราะมีตัวแปรมากมาย เนื่องจากคนเราทำกรรมทั้งดีและชั่วคละเคล้ากันไป จึงเป็นการยากที่จะบอกว่าที่คนคนนี้ได้ดีครั้งนี้เพราะทำความดีนั้นไว้เมื่อวันนั้นวันนี้ในอดีต พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าเส้นทางการให้ผลของกรรมเป็นอจินไตยคือเป็นเรื่องที่ไม่ควรคิดปัจจัยตัวแปรมากจึงมีความไม่แน่นอนอยู่เสมอ

"ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม"
ตอบโดย : ปราชญ์ขยะ
ตำแหน่ง : สมาชิกขาประจำ
เพศ : ชาย

ความคิดเห็นที่ : 5 โพสเมื่อ : 07 พฤษภาคม 2009 , 10:53:45 30 แจ้งลบ!

เป็นที่น่าสังเกตว่า คำว่า “Uncertainty (ความไม่แน่นนอน)” ซึ่งเป็นหลักการหนึ่งของฟิสิกส์ควอนตัม ก็ตรงกับคำว่า “อนิจจตา (ความไม่เที่ยง)” ในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาเรื่องโครงสร้างของอะตอมกลับยิ่งมาส่งเสริมความเข้าใจในเรื่อง “ทุกขัง (เป็นทุกข์)”

คำว่าทุกข์มี ๒ ความหมายที่สำคัญคือประการแรกทุกข์หมายถึง “ทุกขเวทนา” ได้แก่ความไม่สบายกายไม่สบายใจซึ่งหมายของทุกข์ในอริยสัจ

ทุกข์ในอีกความหมายหนึ่งคือ “ทุกขลักษณะ” ซึ่งเป็นทุกช์ในไตรลักษณ์ ทุกขลักษณะหมายความว่า สรรพสิ่งตกอยู่ภายใต้การบีบคั้นให้ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราโยนก้อนดินขึ้นไปบนท้องฟ้าแล้วมันก็ต้องตกลงมาแตกบนพื้นดิน การที่ก้อนดินตกลงมาแตกเป็นอนิจจังคือความไม่เที่ยง แต่เหตุที่ก้อนดินตกลงมาจากท้องฟ้าก็เพราะถูกแรงดึงดูดของโลกบีบคั้นให้ต้องตกลงมา ก้อนดินไม่อาจจะอยู่บนฟ้าเพราะมีแรงที่ไปกด ไปบีบ ไปดึงก้อนดินให้ตกลงมานั่นแสดงว่าก้อนดินเป็น“ทุกขัง” คือทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก

ในจักรวาลนี้ไม่มีอะไรที่อยู่ได้ด้วยตัวของมันเองโดยไม่ถูกกระทำจากพลังอื่น อีเล็คตรอน โปรตอนและนิวตรอนไม่ได้อยู่ตามลำพัง มันมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันก่อให้เกิดพลังบีบถูกคั้นให้ต้องเปลี่ยนแปลง มันจึงเป็นทุกขัง คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ การที่อนุภาคพื้นฐานของอะตอมอยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ก็หมายถึงว่ามันเป็น“อนัตตา”คือไม่มีแก่นสารของตัวเอง ไม่มีสิ่งใดที่ตั้งอยู่ถาวรด้วยตัวของมันเอง สรรพสิ่งต่างอาศัยกันและกันเกิดขึ้นตามหลัก “ปฏิจจสมุปบาท” ซึ่งมาจากคำว่า “ปฏิจจะ”แปลว่า อาศัยกันและกัน “สมุปบาท” แปลว่า เกิดร่วมกัน

ในโลกนี้ไม่มีอะไรอยู่ได้ด้วยตัวลำพังของมันเอง เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนั้นก็มี เมื่อสิ่งนี้เกิด สิ่งนั้นก็เกิด เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นก็ดับ เรื่องนี้เรานำมาโยงกับเรื่องอริยสัจ ๔ ในพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มีทุกข์เพราะมีสมุทัยคือมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อดับเหตุได้ก็เกิดนิโรธคือความดับทุกข์ จะดับทุกข์ได้ก็ต้องมีมรรคคือวิธีการดับทุกข์ นี่คือประยุกต์ปฏิจจสมุทปบาทเอามาใช้ในชีวิตจริง

"ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม"
ตอบโดย : ปราชญ์ขยะ
ตำแหน่ง : สมาชิกขาประจำ
เพศ : ชาย

ความคิดเห็นที่ : 6 โพสเมื่อ : 07 พฤษภาคม 2009 , 10:55:01 30 แจ้งลบ!

สติกับควอนตัม
ในการประยุกต์ปฏิจจสมุทปบาทเอามาใช้ในชีวิตจริงนั้น ตัวมรรคหรือวิธีปฏิบัติที่เป็นหัวใจสำคัญก็คือ “สติ” เรามักจะพูดว่า “สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดมักเกิดปัญหา” เวลาที่เรามีความทุกข์ในใจ เวลาเราเครียด เวลาเรากลุ้ม เวลาเราโกรธ เราจะดับทุกข์ได้อย่างไร

สติมี ๒ อย่างคือ ๑.ระลึกรู้ทันสิ่งที่เกิดกับเรา อย่างเช่น มองเห็นสิ่งต่างๆ ภายนอกในขณะปัจจุบันนี้ หรือเสียงที่เข้าหูเรา ปัจจุบันอยู่ตรงไหนรู้ทันหมด เหมือนเราขับรถก็เห็นไฟเขียวไฟแดง นี่คือมีสติกับสิ่งภายนอก ๒.ระลึกรู้ทันความคิดที่เกิดขึ้นในจิตของเรา เวลาเราเห็น เวลาเราฟังแล้วคิดอย่างไร เรารู้ทันความคิดที่มาเกิดขึ้นภายในจิตใจ เราก็เรียกความรู้ทันนี้ว่าสติ เช่น จิตโกรธก็รู้ว่าโกรธ เซ็งก็รู้ว่าเซ็ง เครียดก็รู้ว่าเครียด


ฟิสิกส์ควอนตัมช่วยให้เข้าใจเรื่องสติได้อย่างไร ?

ทฤษฎีเรื่องความไม่แน่นอนของฟิสิกส์ควอนตัมช่วยให้เราเข้าใจว่า เมื่อเราพยายามจะสังเกตความเร็วหรือธรรมชาติของอีเล็คตรอน เราก็จะต้องหยุดอีเล็คตรอนไม่ให้เคลื่อนที่ พออีเล็คตรอนหยุดมันก็จะเสียความเคลื่อนไหว ธรรมชาติของมันก็เปลี่ยนไป เราก็ศึกษาธรรมชาติของมันไม่ได้ นี่เรียกว่ามีผลกระทบจากผู้สังเกตต่อสิ่งที่ถูกสังเกต การสังเกตได้เข้าไปเปลี่ยนธรรมชาติของสิ่งที่ถูกสังเกต มันจึงมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น เมื่อเราไปเข้าสังเกตหรือศึกษามันเมื่อใด มันก็เปลี่ยนแปลงไปเมื่อนั้น

เพราะฉะนั้นสิ่งนี้ก็คือความไม่แน่นอน แม้แต่ในทฤษฎีสัมพัทธ์ก็เหมือนกัน “กาละ” หรือ “เวลา” ขึ้นอยู่กับจุดที่เราสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เคลื่อนไหว คนคนหนึ่งไปสังเกตสิ่งหนึ่งตรงจุดนี้ เวลาขณะนั้นผ่านไปช้ามาก เช่น เวลาแห่งการรอคอยที่ผ่านไปอย่างเชื่องช้า อีกคนหนึ่งไปสังเกตสิ่งหนึ่งอยู่ที่อื่นเวลาก็ผ่านไปเร็วมาก ดังเช่น เมื่อเรามีความสุข เวลาผ่านไปอย่างกับมีปีกบิน เวลาจึงเป็นเรื่องของความสัมพัทธ์ตามทฤษฎีของไอน์สไตน์

ในทำนองเดียวกัน สิ่งที่อยู่ภายในตัวเราคือจิต มันเคลื่อนที่เร็วมาก มันเกิดดับเร็วมาก โกรธขึ้นมาปั๊บเราไม่ทันรู้ตัวเราเลย เมื่อเครียดขึ้นมา ความเครียดก็ท่วมทับจิตใจของเรา โดยที่เราไม่ได้สังเกตมันเลย และเราก็มักจะปล่อยให้ความทุกข์มันท่วมหัว เราเครียด เราทุกข์ โดยไม่เคยหันมาสังเกต สภาวะจิตของเราในขณะนั้นเลย ถามว่าเราจะสามารถสังเกตสภาวะของจิตในขณะปัจจุบันได้หรือไม่ ?
คำตอบก็คือไม่ได้

สมมติว่าตอนนี้เรากำลังมีความสุขเหลือเกิน มีความสุขจากการทานอาหารที่อร่อย ถามว่ารู้ได้อย่างไรว่าอร่อย เราเอาจิตมองมาที่ความรู้สึกของเรา จิตเกิดต่อกันเป็นกระแสอย่างนี้ จิตปัจจุบันจะไม่สามารถรู้ตัวของมันเอง จิตที่มีความรู้สึกว่าอร่อย มันเป็นคนละดวงกับจิตที่สังเกตความรู้สึกอร่อย
จิตผู้สังเกตเป็นดวงปัจจุบัน ขณะที่จิตที่ถูกสังเกตเป็นดวงจิตอดีต จิตที่เป็นปัจจุบันจะมองหรือเพ่งตัวเองไม่ได้ เหมือนกับคมมีดที่ไม่อาจจะตัดตัวมันเองหรือเหมือนกับไฟฉายที่ส่องไปที่อื่น ไฟฉาย ส่องตัวเองไม่ได้ จิตในปัจจุบันจึงสังเกตรู้จิตที่เป็นอดีตเท่านั้น เมื่อหนึ่งนาทีที่ผ่านมาท่านรู้สึกอย่างไร ท่านกำหนดรู้ได้ อธิบายได้ เพราะเป็นการใช้จิตปัจจุบันมองจิตอดีต ถามว่าเป็น ‘อดีต’ ที่แท้จริงหรือเปล่า ?

"ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม"
ตอบโดย : ปราชญ์ขยะ
ตำแหน่ง : สมาชิกขาประจำ
เพศ : ชาย

ความคิดเห็นที่ : 7 โพสเมื่อ : 07 พฤษภาคม 2009 , 14:04:37 30 แจ้งลบ!

นี่ก็เหมือนกับหลักการแห่งความไม่แน่นอนในทฤษฎีควอนตัม พอเราไปหยุดจิตเพื่อศึกษามัน มันก็ไม่เป็นความจริงร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะจิตได้สูญเสียความเป็นผู้รู้ (subject) และกลายเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดรู้ (object) ยกตัวอย่างการที่เราผิดหวังเพราะไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ฟังข่าวครั้งแรกนี่ช็อคเลย ทำไมเจ้านายทำกับเราอย่างนี้ เราอุตส่าห์ขยันทำงาน บุญก็ทำมามาก เราช็อคจนทำอะไรไม่ถูกแล้วก็ไม่มีความสุข พอผ่านไปอีก ๕ วัน ความรู้สึกมันคลายลงไป หายช็อค หายทุกข์ หายเครียด แล้วเราก็มองย้อนกลับมาดูตอนที่เราได้ฟังข่าวครั้งแรกที่เราเครียด เราช็อค รู้สึกผิดหวัง เราย้อนมองความรู้สึกตอนนั้น ถ้าให้บรรยายราก็สามารถที่จะบอกได้ว่าช็อคอย่างนั้นเสียใจอย่างนี้ แต่สิ่งที่บอกเล่าวันนี้ไม่ใช่ความรู้สึกที่แท้จริงเมื่อสามวันก่อน ยิ่งเวลาผ่านไปปีหนึ่ง เรายิ่งรู้สึกเฉยมากกับเหตุการณ์ครั้งนั้น แม้เราพยายามจะฟื้นความรู้สึกนั้นมันก็ไม่กลับมา มันเป็นความทรงจำที่ลางเลือน ไม่เข้มข้นเต็มที่เหมือนตอนที่เราได้ฟังข่าวร้ายครั้งแรก

เพราะอะไร ก็เพราะสถานะของเราในปัจจุบันมันไปกระทบกับสิ่งที่ถูกมอง เราไม่ได้ไปเสวยอารมณ์ในอดีต เรามองอดีตเหมือนกับสิ่งที่อยู่ภายนอก เหมือนกับไม่ใช่ตัวของเรา ผลก็คือผู้มองได้เปลี่ยนสถานะความเป็นจริง เปลี่ยนความเข้มข้นของสิ่งที่ถูกมองในกระแสจิตเดียวกัน ทำไมต้องรอให้มันผ่านไปสามวัน เราค่อยมามองตัวเอง ทำไมจึงไม่มองตัวเองในวินาทีแรก? ในขณะที่เรากำลังโกรธ ถ้าเราลองเอาจิตของเรามองความโกรธของเราเองทันที การมองจะเปลี่ยนสถานะของสิ่งที่ถูกมอง นั่นคือ ความโกรธจะลดลงทันที นี่คือหลักในการปฏิบัติธรรม

ถ้าอธิบายด้วยหลักของฟิสิกส์ควอนตัมก็คือว่าผู้สังเกตได้ไปจับสิ่งที่สังเกตให้หยุดนิ่งจนมันเปลี่ยนสถานะ ตัวอย่างเช่น เรากำลังร้องเพลงคาราโอเกะอย่างสนุกสนานกับเพื่อนๆ ทันทีนั้นเรานึกถึงตัวเองว่าเรามาทำบ้าอะไรอยู่ที่นี่ ลูกกำลังอดข้าวอยู่ที่บ้านยังจะมาร้องเพลงอยู่อีกหรือ เห็นอะไรไหม?
จิตเปลี่ยนไปเลยใช่หรือไม่?

เพราะผู้สังเกตได้เปลี่ยนสิ่งที่ถูกสังเกตนั่นก็คือเปลี่ยนตัวเอง เหมือนกับการปฏิบัติกรรมฐาน หลายคนพอนั่งกรรมฐานทีไรฟุ้งซ่านทุกที ลืมกำหนดหายใจเข้า หายใจออก คิดเตลิดไปไหนก็ไม่รู้ เห็นภาพอะไรเต็มไปหมด อาจารย์สอนว่า เวลาจิตคิดฟุ้งซ่านให้กำหนดรู้ว่าฟุ้งหนอ ฟุ้งหนอ เรากำลังฟุ้งคิดอะไรให้รู้ทันว่ากำลังคิด พอเราเอาจิตไปมองจิตที่กำลังฟุ้ง มันจะหยุดกระแสของความฟุ้งซ่านทันที เพราะผู้สังเกตมีผลกระทบต่อสิ่งที่ถูกสังเกต ถ้าเวลาที่เราโกรธ เรามีสติกำหนดรู้ว่าเรากำลังโกรธ ความโกรธจะลดลงทันที ตรงกับหลักการแห่งความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle) ที่ผู้สังเกตมีผลกระทบต่อสิ่งที่ถูกสังเกต เราเอาใจมองใจ ใจที่มองจะมีผลกระทบต่อใจที่ถูกมอง
แต่สิ่งสำคัญก็คือ ต้องมีสติทันที เช่นพอโดนด่าว่าแล้วเกิดความโกรธ เราย้อน มองตัวเองทันทีว่าทำไมต้องโกรธ พอเรามองดูความโกรธเท่านั้น ความโกรธก็จะเจือจางลงทันที ปัญหาก็คือ เราไม่ได้ฝึกสติ สติจึงมาไม่ทัน เราก็เลยสติแตกเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นถ้าสติมาปัญญาก็เกิด คือเห็นตัวเองตามความเป็นจริง แต่ถ้าสติเตลิด มักเกิดปัญหา เพราะฉะนั้นในการปฏิบัติธรรมเราต้องฝึกมองด้านในคือมองตน ดังคำกลอนที่ว่า
โลกภายนอกกว้างไกลใครๆ รู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่รู้บ้างไหม
จะมองโลกภายนอกมองออกไป
จะมองโลกภายในให้มองตน


โลกภายนอกในระดับมหภาคขึ้นอยู่กับกฎแห่งเหตุผลในฟิสิกส์ดั้งเดิม แต่โลกภายในอะตอมระดับจุลภาคขึ้นอยู่กับหลักการแห่งความไม่แน่นอนในฟิสิกส์ควอนตัม การที่พระพุทธศาสนาสอนให้มองด้านใน เราก็มองให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาภายในจิตใจ

"ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม"

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันเทิงธรรม(หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช) 6


ณ ขณะที่เขียนบทความบันเทิงธรรมนั้น หลวงพ่อปราโมทย์ยังอยู่ในสถานะฆราวาสโดยใช้ชื่อว่า อุบาสกนิรนาม หรือ สันตินันท์ หรือ ปราโมทย์ สันตยากร19. ชาติหน้ามีจริงหรือ
คราวนี้มากล่าวถึงเรื่องชาติหน้า หรือเรื่องตายแล้วเกิดบ้าง. ผู้เขียนเคยเห็นการตายและเกิดมาหลายคราวแล้ว. ในที่นี้จะเล่าถึงการตายแล้วเกิดสัก 4 ราย.


การตายแล้วเกิดนั้น ไม่ใช่ว่าพอร่างกายนี้แตกดับลง. จิตดวงเดิมก็ออกจากร่างไปเกิดใหม่. เพราะจิตเองก็ตายและเกิดอยู่แล้วตลอดเวลา.


เรื่องนี้ผู้เขียนเคยนั่งดูพ่อแท้ๆ ถึงแก่กรรม. ตอนนั้นพ่อป่วยหนักอยู่ที่ศิริราช. ในขณะที่จะตายนั้น ต้องนอนหายใจด้วยการขยับไหล่ขึ้นลง. เพราะกระบังลมไม่มีกำลังจะหายใจแล้ว. ขณะนั้นมีเวทนาทางกายอย่างรุนแรง สลับกับการตกภวังค์เป็นระยะๆ. ผู้เขียนก็เพียรแผ่เมตตาให้เรื่อยๆ ไป. ถึงจุดหนึ่งจิตของพ่อเคลื่อนขึ้นจากภวังค์ แต่ไม่ได้ออกมาสู่โลกภายนอก. เป็นสภาวะคล้ายๆ การฝันไปนั้นเอง. จิตของผู้เขียนได้สร้างกายทิพย์ขึ้นในรูปของภิกษุ. ส่วนจิตของพ่อก็สร้างกายทิพย์ขึ้นมาประนมมือไหว้พระลูกชาย. ผู้เขียนก็เตือนให้พ่อระลึกถึงบุญที่เคยบวชลูกชายหลายคน. จิตของพ่อก็เบิกบานอยู่ช่วงหนึ่งแล้วตกภวังค์. พอเคลื่อนจากภวังค์ จิตมีอาการหมุนอย่างรวดเร็ว. ที่ว่าตายเป็นทุกข์นั้น จุติจิตหรือจิตที่เคลื่อนที่หมุนนี้ มันก็แสดงทุกข์ออกมาอย่างสาหัส. ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนกับตัวเรานี้เหมือนลูกข่างที่หมุนติ้วๆ จนสลบเหมือด. มันเป็นการหมุนอยู่กับที่ ไม่ได้เคลื่อนออกจากกายไปทางไหนเลย. จากนั้นก็ตกภวังค์ขาดความเชื่อมโยงกับกาย. ขณะเดียวกันก็มีจิตอีกดวงหนึ่ง หมุนขึ้นมาในภพใหม่. แสดงความทุกข์ของการเกิด. แล้วตกภวังค์อีกทีหนึ่ง. พอจิตถอนขึ้นจากภวังค์ คราวนี้ความปรากฏแห่งอายตนะที่ยึดเป็นชีวิตใหม่ ก็เกิดขึ้นแล้วอย่างสมบูรณ์.


จึงเห็นว่า จิตไม่ได้ออกจากร่างไปเกิด. และทันทีที่ตาย ก็เกิดทันที มีภวังค์คั่นอยู่นิดเดียวเท่านั้น.


อีกรายหนึ่งเป็นพ่อของเพื่อน แต่สนิทคุ้นเคยกันดี. เพราะที่บ้านของเพื่อนคนนี้ สร้างกุฏิไว้ให้พระป่ามาพัก. ในเวลาที่พ่อของเขาเจ็บหนักนั้น. เขาได้นิมนต์ครูบาอาจารย์พระป่า 2 รูปไปแผ่เมตตาให้. ผู้เขียนก็ตามไปดูด้วย. คนเจ็บนอนหลับๆ ตื่นๆ อยู่ แล้วก็ร้องโวยวายว่า. นั่นมดดำเดินเต็มไปหมดเลย. ลูกก็ร้องไห้กระซิกๆ บอกว่าพ่อเจอมดดำเดินแถวไม่ได้. จะเอานิ้วโป้งรูดฆ่าทั้งแถวด้วยความสนุกเสนอ. ทั้งลูกและพระก็ช่วยกันเตือนสติ ว่าไม่มีมดดำ. จิตของแกก็ตกภวังค์ลงอีกครั้งหนึ่ง.


ขณะที่จิตเคลื่อนออกจากภวังค์ มาอยู่ตรงที่เหมือนฝันนั้น. แกนิมิตเห็นไก่บ้านตัวหนึ่ง. พระทั้งสองรูปและผู้เขียนก็เร่งแผ่เมตตาให้มากขึ้น. นิมิตไก่ก็ดับลง เกิดนิมิตของอสุรกาย แล้วจิตก็เคลื่อน. พอตกภวังค์ลง ก็ไปเกิดเป็นอสุรกายทันที.


บางคนไม่ทำกรรมดี แต่กะว่าตอนตายจะค่อยตั้งใจตายให้ดี. โดยจะท่องนามพระอรหันต์บ้าง พุทโธบ้าง. ขอเรียนว่า เป็นความคิดที่เหลวไหลสิ้นเชิง. เพราะพอจะตายจริงๆ นั้น จิตจะเกิดนิมิตขึ้นเหมือนกับฝันไป. สิ่งที่ตั้งใจท่องไว้นั้น จะลืมจนหมด. แล้ววิบากก็จะแสดงนิมิตขึ้นมาให้จิตผูกพันเข้าสู่ภพใหม่ตามกรรมที่ให้ผล.


ถ้าควบคุมความฝันไม่ได้ ก็ควบคุมการเกิดข้ามภพข้ามชาติไม่ได้. รายพ่อของเพื่อนนั้น เมื่อเล่าให้เขาฟังว่าหวุดหวิดจะไปเป็นไก่. เขาก็สารภาพว่าพ่อนั้นตั้งแต่หนุ่มๆ ชอบดื่มเหล้า. ตกเย็นจะมีเพื่อนมาชุมนุมที่บ้าน. พ่อจะสั่งเชือดไก่เลี้ยงเพื่อนทุกวัน วันละตัว. กรรมชั่วที่สะสมจนเคยชินเป็นเวลาหลายสิบปี จึงจะมารอให้ผล. แต่อาศัยที่เคยทำบุญมาในช่วงปลายชีวิต. ในขณะสุดท้ายนิมิตเกิดเปลี่ยนแปลงไป. จึงรอดจากสัตว์เดียรัจฉาน ไปเกิดเป็นอสุรกาย. เรียกว่าดีขึ้นขั้นหนึ่ง แต่ยังต่ำกว่าเปรต.


หลังจากตายไม่นาน คืนหนึ่งลูกสาวนั่งภาวนาแล้วนึกถึงพ่อ. ขอให้มารับส่วนบุญด้วยตนเอง. ทันใดนั้น ทั้งบ้านก็เหม็นเน่าตลบไปหมด. ทั้งลูกทั้งหลานกลัวกันลนลาน. รีบกำหนดจิตบอกว่า ไม่ต้องมารับเองก็ได้ จะอธิษฐานจิตไปให้. วันนั้นพอดีมีพระเถระรูปหนึ่งมาพักในบ้าน. พอรุ่งเช้าท่านก็บ่นขึ้นเองว่า ไม่น่าไปเรียกเขามาเลย.


อีกรายหนึ่งเป็นสุนัขในบ้านของผู้เขียน. เป็นหมาไทยธรรมดาไม่มีประวัติและดีกรี. ผู้เขียนไปอุ้มมาจากจุฬาฯ เอามาเลี้ยงไว้ตั้งแต่เล็ก. เขาเป็นสุนัชตัวเมียที่มีจิตใจงดงามมาก. รู้จักให้ทาน ให้ลูกสุนัขอื่นๆดูดนมได้. เวลากินอาหาร จะให้แมวและสุนัขอื่นๆ กินก่อน ตัวอื่นอิ่มแล้วเขาจึงจะกินข้าว. และแม้จะถูกสัตว์เล็กกว่ารังแก เขาก็จะเดินหนี ไม่ตอบโต้ทำร้าย ทั้งที่ทำได้. ในเวลาที่เขาตายนั้น เขานอนตาแป๋ว. มีความรู้สึกตัวอย่างต่อเนื่อง. และไปสู่ภพภูมิที่สูงกว่าพ่อของผู้เขียนเสียอีก.


คนไปเกิดเป็นสัตว์ สัตว์ไปเกิดเป็นเทวดา. สังสารวัฏนี้เอาแน่นอนอะไรไม่ได้เลย. แต่มีความเที่ยงธรรมอย่างที่สุด.


รายสุดท้ายเป็นยายห่างๆ ของผู้เขียน. แกเป็นคนขี้โมโหโทโส แถมเป็นนักเข้าทรงหลวงพ่อทวด. เป็นคนที่มีพลังจิตกล้าแข็งมาก. แกตายแล้วไปเกิดเป็นอสรุกาย มีผีหลายตัวเป็นบริวาร. ทั้งนี้โอปปาติกสัตว์นั้น. เขานับถือกันตามพลังอำนาจและบุญวาสนา.


ลูกหลานรู้สึกสงสารแก แต่ที่มากกว่าสงสารคือกลัวแก. เพราะญาติบางคนเห็นแกในสภาพที่น่ากลัวมาก. ผู้เขียนจึงเป็นต้นคิดจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ นอกเหนือจากการจัดงานศพตามประเพณี. โดยนำผ้าไตรไปถวายหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ที่วัดหินหมากเป้ง. เมื่อถวายทานแล้ว ก็กำหนดจิตอุทิศส่วนกุศลให้. พอกำหนดจิตถึง ภาพของแกก็ปรากฏขึ้นต่อหน้าต่อตามีผู้เห็นถึง 3 คน. ในภาพนั้นแกยังเป็นอสุรกาย แต่หน้าตาสดใสขึ้นบ้าง. ในมืออุ้มผ้าไตรไว้อย่างงงๆ ว่าแกจะเอาไปทำอะไร. ทั้งนี้เพราะแกเองไม่เคยทำบุญชนิดนี้. เป็นเพียงบุญที่ผู้อื่นอุทิศให้ จึงขาดความประทับใจเท่าที่ควร.


รุ่งเช้าถวายอาหารต่อพระทั้งวัดโดยนำเงินไปทำบุญที่โรงครัว ให้เขาจัดการให้. แต่ทำบุญแล้วลืมอุทิศส่วนกุศลให้. ตกเย็นก็นั่งรถสองแถวที่จ้างไว้ออกจากวัด. สิ่งที่พากันเห็นนั้นน่ากลัวมาก. คืออสรุกายยายพร้อมทั้งบริวารพากันติดตามมาจากวัด. ตอนขึ้นรถไฟที่หนองคาย ขณะที่รถวิ่งลงมาทางจังหวัดอุดรธานี. อสุรกายก็มาโผล่หน้าใหญ่เต็มหน้าต่างรถไฟ. เล่นเอาสะดุ้งไปตามๆ กัน. ผู้เขียนนึกได้ว่ายังไม่ได้อุทิศส่วนกุศลให้. จึงกำหนดจิตบอกยายว่า เมื่อเช้านี้ได้ทำทานถวายอาหารพระทั้งวัด เพื่ออุทิศให้กับเขา. เมื่อบอกกล่าวถึงตอนนี้ อสุรกายก็ระลึกได้ว่า. เมื่อสมัยยังสาวนั้น เขาชอบนำอาหารใส่ปิ่นโตไปถวายพระ. ภาพพระนั่งฉันอาหารเต็มศาลาก็ปรากฏทางมโนทวารของเขา. จิตในขณะนั้นเกิดความร่าเริงเบิกบานในบุญที่ตนเองเคยสร้างไว้. จิตก็เคลิ้มลงเรื่อยๆ. ขณะนั้นเกิดกลุ่มควันสีขาวพวยพุ่งขึ้นจากเท้าของเขา. แผ่ขยายจนคลุมตัวไว้ทั้งหมด. พอจิตตกภวังค์ดับวับลง กายอสุรกายก็สลายหายไป. เกิดรูปเทพธิดารูปหนึ่งลอยทะลุกลุ่มควันสีขาวนั้นขึ้นไป.


ความตายของโอปปาติกะนั้น เมื่อจิตจับนิมิตใหม่และดับลง รูปโอปปาติกะก็ดับลงด้วย. แล้วจิตดวงใหม่ในภพใหม่ก็เกิดขึ้น. แต่ผู้เขียนดูไม่ทันว่า รูปในภพใหม่เกิดก่อน หรือจิตเกิดก่อน.


สัตว์ในภพอสุรกาย และภพอื่นๆ จะไม่รับส่วนบุญของผู้อื่น. อย่างมากก็เพียงอนุโมทนาบุญ. มีเพียงเปรตบางอย่างที่เป็นภพใกล้คนที่สุด จึงจะรับส่วนบุญจากผู้อื่นได้. กรณีที่เล่ามานี้ อสุรกายเพียงแต่อนุโมทนาบุญ และระลึกได้ถึงบุญของตนเอง.


อนึ่ง ธรรมดาสัตว์ตระกูลโอปปาติกะทั้งหลายนั้นมักจะอายุยืน. หากไม่มีบุญของตนเองเป็นที่พึ่งอาศัย. ก็จะอยู่ด้วยความยากลำบาก. เพราะจนลูกหลานเหลนตายหมดแล้ว สัตว์พวกนี้ก็ยังมักจะมีชีวิตอยู่. ดังนั้น ถ้ามีโอกาสทำบุญ ก็ควรจะทำไว้ เพื่อเป็นที่พึ่งอาศัยในการท่องสังสารวัฏต่อไป.
(16 มิถุนายน 2542)


ที่มา http://www.bangkokmap.com/pm/content/view/27/36/


บันเทิงธรรม(หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช) 5


ณ ขณะที่เขียนบทความบันเทิงธรรมนั้น หลวงพ่อปราโมทย์ยังอยู่ในสถานะฆราวาสโดยใช้ชื่อว่า อุบาสกนิรนาม หรือ สันตินันท์ หรือ ปราโมทย์ สันตยากร17. พบผู้รู้ ให้ทำลายผู้รู้
ผู้เขียนมีวาสนาได้ศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่ดูลย์เพียงปีเศษ. และได้ไปกราบท่านครั้งสุดท้ายในเดือนกันยายน 2526. เป็นเวลาเพียง 36 วันก่อนท่านจะละขันธ์. ผู้เขียนได้ฟังธรรมของท่านในช่วงเย็น จนกระทั่งค่ำ. สังเกตเห็นว่าหลวงปู่เหนื่อยมากแล้ว ถึงขนาดเริ่มหอบนิดๆ. เห็นสมควรแก่เวลาแล้วก็ลงกราบท่าน เรียนท่านว่าจะลากลับเพราะท่านเหนื่อยมากแล้ว. หลวงปู่ผู้มีวัยกว่า 96 ปี กลับมองหน้าผู้เขียนแล้วกล่าวว่า "จะกลับหรือ". แล้วไม่อนุญาตให้กลับ แต่กล่าวธรรมต่อไปอีก. ด้วยธรรมที่แปลกประหลาด ไม่เคยได้ยินได้ฟัง กระทั่งคิดมาก่อน. คือท่านกล่าวว่า "พบผู้รู้แล้ว ให้ทำลายผู้รู้ จิตจึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง". ท่านสอนอีกว่า "ถ้าเมื่อใดเข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้งด้วยปัญญา. ว่าจิตไม่ใช่จิต. เธอจะเข้าใจความจริงอันลึกซึ้งนั้นได้ในพริบตาเดียว".


ท่านถามว่า เข้าใจไหม. ก็กราบเรียนท่านว่า ผมจำได้แล้ว แต่ไม่เข้าใจ จะขอลองนำกลับไปปฏิบัติดูก่อนครับ. หลวงปู่กล่าวว่า "ดีแล้ว เอ้า ไปได้แล้ว". ตอนที่กราบลาท่านนั้น ไม่ได้เฉลียวใจเลยว่า จะไม่มีโอกาสได้ฟังธรรมจากท่านอีกแล้ว.


วันรุ่งขึ้นผู้เขียนแวะไปกราบหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ที่วัดป่าสาลวัน โคราช. อันเป็นสิ่งที่ปฏิบัติตลอดมาเมื่อไปกราบหลวงปู่ดูลย์ที่สุรินทร์. เมื่อหลวงพ่อเห็นผู้เขียนก็ร้องทักว่า "เอ้าว่าอย่างไรนักปฏิบัติ คราวนี้หลวงปู่สอนอะไรให้อีกล่ะ". ก็กราบเรียนว่า หลวงปู่สอนว่า พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้. หลวงพ่อพุธทวนคำสอนของหลวงปู่ว่า. "อือ พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ อันนี้เป็นสุดยอดของกรรมฐานแล้ว. เมื่อไม่กี่วันนี้หลวงพ่อไปกราบหลวงปู่. ท่านก็กล่าวกับหลวงพ่อว่า..เจ้าคุณ การปฏิบัติจะยากอะไร พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ก็เพียงเท่านี้เอง". แล้วหลวงพ่อก็ขยายความให้ฟังว่า "การทำลายผู้รู้ ก็คือการไม่ยึดมั่นในตัวผู้รู้". จากนั้นท่านก็แสดงธรรมเรื่องอื่นๆ ต่อไป. ก่อนที่ผู้เขียนจะลากลับ ท่านได้มอบหมายงานให้เรื่องหนึ่ง. คือสั่งว่า "หลวงพ่ออยากให้คุณเขียนประสบการณ์การปฏิบัติของคุณเองออกเผยแพร่. ท่านให้เหตุผลว่า "หลวงพ่อเป็นพระ ติดด้วยพระวินัย จะกล่าวธรรมที่ลุ่มลึกนักก็ไม่ได้. คนที่เขามีจริตนิสัยแบบคุณ และเป็นผู้มีอุปนิสัยยังมีอยู่. ถ้าเขาได้ฟังแล้ว เขาอาจจะทำตามได้ต่อไป".


หลายปีต่อมาผู้เขียนจึงเข้าใจได้ว่า. ถ้าไม่เคยฟังธรรมเรื่องการทำลายผู้รู้มาก่อน. ผู้เขียนคงไม่มีปัญญาผ่านด่านสุดท้ายที่พระอนาคามีพากันไปติดอยู่ได้. สิ่งที่หลวงปู่สอนไว้นั้น เป็นมรดกธรรมที่จะต้องเอาไว้ใช้ในอนาคต. ไม่ใช่ธรรมที่จะสามารถปฏิบัติได้ในขณะนั้น. นับเป็นความเมตตา และความละเอียดรอบคอบของครูบาอาจารย์อย่างยิ่ง. ที่มอบมรดกธรรมชิ้นนี้ไว้ให้ในนาทีสุดท้ายที่จะลาจากท่าน และไม่ได้พบกันอีกแล้วในสังสารวัฏนี้.
(12 มิถุนายน 2542)


18. ชาติก่อน มีจริงหรือ
ในช่วงที่ผู้เขียนเรียนอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น. เป็นช่วงที่แนวความคิดของท่านอาจารย์พุทธทาส อินทปัญโญ มีอิทธิพลต่อนักศึกษาอย่างสูง. หลักการสำคัญของแนวทางนี้ก็คือ ท่านเน้นที่การดับทุกข์ในปัจจุบัน. ทำให้ลูกศิษย์ซึ่งฟังคำสอนอย่างไม่รอบคอบเข้าใจว่า. ท่านอาจารย์ปฏิเสธเรื่องชาติก่อนและชาติหน้า. คิดว่าท่านอาจารย์เชื่อว่าตายแล้วสูญ. คิดว่าท่านอาจารย์เห็นว่า โอปปาติกสัตว์ เช่นเทวดาและพรหม ไม่มีจริง. และทุกอย่างที่แปลกๆ จะถูกอธิบายด้วยเรื่องภาษาคน ภาษาธรรม. เช่นอธิบายว่าสวรรค์คือจิตที่เป็นสุข นรกคือจิตที่เป็นทุกข์. อธิบายว่าพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานในวันเดียวกัน. หมายถึงว่าการตรัสรู้ คือการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า. และกิเลสก็นิพพานจากพระทัยของท่านในขณะเดียวกัน เป็นต้น. มีการตีความธรรมะออกไปอย่างกว้างขวาง และสมเหตุสมผล. รวมทั้งสอนกันเรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่นในธรรมทั้งปวง.


ผู้เขียนเป็นศิษย์หน้าโง่ของท่านอาจารย์พุทธทาสอย่างเต็มภูมิ. ตอนนั้นเชื่อสนิทว่า เมื่อตายแล้วก็สูญ. พระไตรปิฎกตัดทิ้งเสียบ้างก็ได้. พระพุทธรูปก็ไม่ต้องไหว้ เพราะเป็นก้อนอิฐและทองเหลือง. ตอนไปบวชที่วัดชลประทานก็ได้รับคำสอนว่า ให้รู้จักถือศีลอย่างฉลาด. กิเลสก็เลยพาฉลาดแกมโกงไปเลย เช่นฉันข้าวจนเกือบๆ จะเที่ยง เพราะไม่ถือมั่นในสิ่งทั้งปวง.


ขนาดรู้เห็นภพภูมิต่างๆ มาตั้งแต่เด็ก. แต่พอเป็นวัยรุ่นที่ร้อนแรงเข้า กลับเชื่อลัทธิวัตถุนิยมเต็มหัวใจ. ความน่ากลัวของสังสารวัฏนั้น มันน่ากลัวขนาดนี้ทีเดียวครับ. คืออาจจะหลงผิดเมื่อไรก็ได้ แล้วแต่ความคิดปรุงแต่งจะพาไป.


บุญที่ผู้เขียนได้พบท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ (_/I\_). ท่านได้กรุณาชี้แจงให้ฟังว่า ผู้เขียนกำลังหลงผิดด้วยอุทเฉททิฏฐิ (คือเชื่อว่าตายแล้วขาดสูญ). ผู้เขียนจึงเริ่มเฉลียวใจ หันมาศึกษาพระไตรปิฎกอย่างจริงจัง ด้วยจิตใจที่เปิดกว้างกว่าเดิม. แทนที่จะเชื่อตามๆ ที่ได้รับคำบอกเล่ามา. ตั้งใจอ่านพระไตรปิฎกจนจบ ส่วนใดสงสัยก็กราบเรียนถามท่านอาจารย์สุชีพฯ เรื่อยมา.


เมื่อได้ครูบาอาจารย์ทางปฏิบัติอย่างหลวงปู่ดูลย์ และหลวงปู่เทสก์. และปฏิบัติอย่างจริงจังจนเข้าใจจิตตนเองอย่างแจ่มแจ้งแล้ว. ผู้เขียนจึงทราบว่า ชาติก่อนและชาติหน้ามีจริง. แต่ไม่ได้เป็นอย่างที่เข้าใจมาแต่เดิมว่า. พอร่างกายแตกดับ จิตก็ออกจากร่างไปเกิดใหม่. ซึ่งทัศนะนั้นเกิดจากความเห็นผิดว่าจิตเป็นอัตตา.


เหตุผลที่ทำให้ผู้เขียนเชื่ออย่างหมดใจก็คือ. เมื่อผู้เขียนมีสติระลึกรู้ลงในกายในจิตของตนเอง. ผู้เขียนเห็นสันตติ คือเกิดดับสืบเนื่องกันตลอดเวลาของรูปและนาม. เหมือนสายน้ำที่ไหลผ่านมาอย่างไม่ขาดสาย. ส่วนที่ดับไปแล้วก็เป็นอดีต หาประโยชน์อะไรไม่ได้. ส่วนที่ยังมาไม่ถึง แต่มีเหตุปัจจัยอยู่ มันก็จะต้องมาถึงในอนาคต. จะห้ามไม่ให้มันเกิดขึ้นก็ไม่ได้. ส่วนปัจจุบันเองก็สั้นจนหาระยะเวลาไม่ได้. แม้จะมีอยู่ ก็เหมือนไม่มีอยู่ เพราะจับต้องอะไรไม่ได้เลย. เพียงแต่ปรากฏแล้วก็ผ่านไป ๆ เท่านั้น. ความยึดมั่นถือมั่นทั้งหลาย จึงเป็นไปด้วยอำนาจของสัญญาและสังขาร. คือตามหลงสิ่งที่เป็นอดีตไปแล้วบ้าง. เพ้อเจ้อไปถึงสิ่งที่เป็นอนาคตบ้าง. ส่วนปัจจุบันจริงๆ เหมือนความกว้างของเส้นๆ หนึ่ง. คือไม่มีความกว้างพอที่สิ่งใดจะตั้งลงได้. เว้นแต่มหาสติเท่านั้น ที่จะหยั่งลงในปัจจุบันได้.


ผู้เขียนเป็นคนมีความจำดี. เรื่องที่ผ่านมาแล้วบางเรื่อง ที่เป็นอารมณ์อันรุนแรงประทับใจ. ก็ยังจำได้แม้วันเวลาจะผ่านไปนานนักหนาแล้ว. สิ่งนี้เป็นเครื่องมือเฉพาะตัว ที่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าชาติก่อนมีอยู่. แต่ไม่สามารถพิสูจน์ให้ผู้อื่นเห็นตามได้. ผู้เขียนจึงไม่เคยเปิดเผยมาก่อน นอกจากกับคนใกล้ชิดจริงๆ เท่านั้น. ไม่เหมือนการตามรู้วาระจิตผู้อื่น. ซึ่งผู้ถูกรู้สามารถเป็นพยานให้กับผู้เขียนได้. แต่เนื่องจากในลานธรรมแห่งนี้มีแต่กัลยาณมิตร. ปรึกษากับคุณดังตฤณแล้ว ก็เห็นว่าน่าจะพูดกันได้บ้าง.


ผู้เขียนจึงขอยกตัวอย่างเล็กน้อย เพียง 3 ชาติสุดท้ายนี้. ในช่วงประมาณสมัยต้นรัตนโกสินทร์. ผู้เขียนบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง ริมแม่น้ำใกล้จังหวัดนนทบุรี. จิตใจในชาตินั้นท้อแท้ต่อการค้นหาสัจจธรรมอย่างยิ่ง. เพราะไม่ว่าจะหันหน้าไปทางใด ก็มีแต่ผู้ไม่รู้เหมือนๆ กัน. ความทอดอาลัยนั้น ทำให้กลายเป็นพระขี้เกียจ. วันหนึ่งๆ เอาแต่นั่งเหม่ออยู่ที่ศาลาท่าน้ำบ้าง. ดูพระอื่นแกะสลักไม้ทำช่อฟ้าและหน้าบันบ้าง.


ในชาตินั้นผู้เขียนอายุสั้น ด้วยผลกรรมในอดีตห่างไกลมาแล้ว. จึงเป็นลมตกน้ำตายตั้งแต่ยังหนุ่ม. และเพราะอกุศลกรรมที่สั่งสมในการปล่อยจิตหลงเหม่อไปเนืองๆ. ประกอบกับที่เป็นพระขี้เกียจ. ฉันข้าวของชาวบ้านโดยไม่ทำประโยชน์ใดๆ. ผู้เขียนจึงพลาดลงสู่อบายภูมิ ไปเกิดเป็นวัวของชาวบ้านข้างวัดนั้นเอง. และถูกนำตัวมาถวายวัด กลับมาอยู่ในวัดเดิมในฐานะใหม่.


เมื่อสิ้นอายุขัยลง ผู้เขียนได้ตามครูบาอาจารย์ไปเกิดทางตอนใต้ของจีน แซ่ฉั่ว ชื่อเอ็ง. ต่อมาได้บวชเป็นเณรในวัดเซ็นอยู่บนเขาเตี้ยๆ ลูกหนึ่ง. ผู้เขียนก็หัดดูจิตอยู่เสมอๆ. ตอนเป็นหนุ่มขึ้นมาเกิดไปหลงรักสาวซึ่งถวายดอกลิลลี่มาให้. ประกอบกับทางบ้านไม่มีผู้สืบตระกูล จึงลาสิกขากลับมาทำนา. เรื่องนี้ชาวบ้านไม่ค่อยชอบใจอยู่แล้ว เพราะพระจีนนั้นเมื่อบวชแล้วมักนิยมบวชเลย. นอกจากนี้ ผู้เขียนยังทำตัวไม่เหมือนชาวบ้านทั้งหลาย. ซึ่งนอกจากจะทำนาแล้ว เพื่อนบ้านยังเลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ และจับปลา. ส่วนผู้เขียนสมาทานมั่นในศีลสิกขา แม้จะอดอยากเพียงใดก็ไม่ยอมฆ่าสัตว์. ชีวิตความเป็นอยู่จึงแร้นแค้นกว่าคนอื่นๆ. และเป็นที่ดูถูกเหยียดหยามของชาวบ้านทั่วไป. ว่าเป็นคนไม่รู้จักทำมาหากิน. กระทั่งพวกเด็กๆ เมื่อเจอผู้เขียน ก็ร้องเป็นเพลงเล่นว่า. ฉั่วเอ็งเป็นคนประสาท ฉั่วเอ็งเป็นคนอ่อนแอ. ผู้เขียนถือมั่นในศีลอยู่ท่ามกลางแรงกดดันนั้นด้วยความอดทนอย่างยิ่ง.


ต่อมาเกิดฝนแล้งต่อกัน 2 - 3 ปี. คราวนี้ทั้งหมู่บ้านเผชิญกับความอดอยากอย่างยิ่ง. กระทั่งคนที่เคยจับปลาก็ไม่มีปลาให้จับ. ถึงตอนนั้นชาวบ้านทั้งหมู่บ้านจำต้องทิ้งถิ่นเข้าไปหางานทำในเมือง. ผู้เขียนและครอบครัวก็ไปกับเขาด้วย. และไปพบการเกิดจราจลในเมือง พลอยถูกลูกหลงตายไปด้วย.


ในบรรดาศิษย์ของหลวงปู่ดูลย์ นั้น มีพระที่ทรงอภิญญาเลื่องชื่ออยู่หลายองค์. เช่นหลวงปู่ฝั้น อาจาโร และเจ้าคุณโชติ แห่งวัดวชิราลงกรณ์. ส่วนในบรรดาศิษย์รุ่นหลัง ที่จะหาผู้ทรงอภิญญา. เสมอด้วยหลวงพ่อกิม ทีปธัมโม แห่งวัดป่าดงคู ผู้เขียนยังไม่เคยพบเลย.


หลวงพ่อกิมสนิทกับผู้เขียนมาก. แต่ท่านก็ไม่ค่อยยอมเล่าเรื่องแปลกๆ ให้ผู้เขียนฟังอย่างเปิดเผย. เพราะติดด้วยพระธรรมวินัย. แต่ถ้าแสดงธรรมอยู่แล้วพาดพิงไปถึง ท่านก็จะยอมเล่าให้ฟัง.


เคยถามท่านว่า อะไรเป็นเหตุให้ท่านเบื่อหน่ายในสังสารวัฏ. ท่านตอบว่า ท่านเห็นทุกข์ของการเวียนว่ายตายเกิด. บางชาติเกิดเป็นท้าวพระยามหากษัตริย์. บางชาติตกนรกหมกไหม้ หรือมาเป็นสัตว์เดียรัจฉาน. มีชาติหนึ่งเกิดเป็นวัว เจ้าของเอาไปผูกกับหลักไม้ไว้กลางนาตั้งแต่เช้า. แล้วเขาไปทำธุระโดยคิดว่าไม่นานจะกลับมา. ปรากฏว่าเขาติดธุระจนเย็นจึงกลับมาพาท่านกลับบ้าน. ท่านบอกว่าวันนั้นแดดร้อนจัด. ท่านกระหายน้ำทรมานมาก. พอเห็นคนเดินผ่านไปมา ก็นึกดีใจว่าเขาคงเอาน้ำมาให้ดื่มบ้าง. แต่คนกลับกลัววัวที่ดิ้นไปดิ้นมา ไม่กล้าเข้าใกล้. จนเย็นเจ้าของจึงมาพากลับเข้าคอก.


หลังจากท่านทิ้งขันธ์แล้ว พระอุปัฏฐากท่านจึงเล่าเรื่องอันหนึ่งให้ฟังว่า. หลวงพ่อกิมท่านบอกว่าเมื่อชาติก่อนหลวงปู่ดูลย์ และหลวงพ่อกิมเป็นพระจีน. ในชาตินี้มาเกิดที่เมืองไทย และมีศิษย์ในยุคนั้นตามมาอีก 10 คน. ขณะที่ท่านเล่านั้น เป็นพระ 3 รูป อุบาสก 3 คน และอุบาสิกา 4 คน.


สังสารวัฏนี้ยาวนานนัก ไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลาย. พระผู้มีพระภาคจึงทรงกล่าวว่า คนที่มาพบกันนั้น. ที่จะไม่เคยเป็นพ่อแม่พี่น้องกันมา หาได้ยากนัก.


จากการที่ผมจำอดีตได้ยาวไกลมาก. จึงได้ข้อสรุปมาอย่างหนึ่งว่า. นิสัยของคนเรานั้น หมื่นปี ก็ยังแทบไม่เปลี่ยนแปลงเลย. เว้นแต่จะตั้งอกตั้งใจพัฒนาตนเองอย่างจริงจัง. จึงจะพัฒนาไปในทางที่ดีได้.


คนที่เคยขี้เกียจมาอย่างไร ก็มักจะขี้เกียจอย่างนั้น แล้วก็จะขี้เกียจต่อไปอีก. คนที่ชอบศึกษาปริยัติธรรม ก็จะชอบศึกษาปริยัติธรรม แล้วชาติหน้าก็จะชอบอย่างนั้นอีก.


สิ่งเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงคนได้เร็วที่สุด คือการเจริญมหาสติปัฏฐาน. แต่ถึงจะปฏิบัติจนเป็นพระอรหันต์แล้ว. บรรดาวาสนาคือความเคยชินต่างๆ ก็ยังติดอยู่เหมือนเดิม.